คำศัพท์ประกันภัยเบื้องต้นที่ควรรู้

คำศัพท์ประกันภัยเบื้องต้นที่ควรรู้ ที่ มิสเตอร์ คุ้มค่า

หัวข้อที่น่าสนใจ

คลิกเลือกหัวข้อ

หมวดประกันทั่วไป

  • ใบเสนอราคาประกันภัย (Quote / Quotation)

    เอกสารหรือข้อมูลที่ระบุทุนประกันภัยโดยประมาณเพื่อรับประกันภัยโดยพิจารณาจากข้อมูลส่วนตัวของผู้เอาประกันและข้อมูลรถคันเอาประกันสำหรับประกันรถยนต์

  • ผู้รับประกันภัย (Insurer)

    บริษัทประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองและคุ้มครองผู้เอาประกันภัย บริษัทประกันภัยมีหน้าที่รับผิดชอบในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนและจัดการกรมธรรม์ตามเงื่อนไขและข้อกำหนด

  • ผู้เอาประกันภัย (Insured)

    บุคคลหรือองค์กรที่ได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งหมายถึงบุคคลหรือองค์กรที่ได้รับสิทธิประโยชน์หรือความคุ้มครองที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้

  • ตัวแทนประกันภัย (Insurance Agent)

    บุคคลที่เป็นตัวแทนบริษัทประกันภัยในการขายและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย

  • นายหน้าประกันภัย (Insurance Broker)

    ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยที่ทำให้เกิดการทำสัญญาประกันภัยระหว่างผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับความคุ้มครองและช่วยค้นหากรมธรรม์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้เอาประกันภัย

  • การรับประกันภัย (Underwriting)

    กระบวนการที่บริษัทประกันภัยใช้ในการประเมินความเสี่ยงในการทำประกันให้กับบุคคลหรือหน่วยงาน

  • ผู้พิจารณาการรับประกันภัย (Underwriter)

    ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจว่าจะรับหรือปฏิเสธการรับประกันภัย หรือรับประกันภัยโดยกำหนดเงื่อนไขบางอย่างเพิ่มเติม หรือคิดเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นจากปกติ

  • นักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary)

    ผู้เชี่ยวชาญที่วิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินโดยใช้คณิตศาสตร์ สถิติ และทฤษฎีทางการเงิน โดยมักทำงานให้กับบริษัทประกันภัย

  • กรมธรรม์ประกันภัย (Insurance Policy)

    สัญญาอย่างเป็นทางการระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกัน ซึ่งมีรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยจะให้ความคุ้มครองทางการเงินหรือการชดใช้เงินสำหรับการสูญเสียที่ระบุไว้ เอกสารนี้จะระบุถึงความคุ้มครอง ข้อยกเว้น เบี้ยประกัน และความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่าย

  • ผู้ถือกรมธรรม์ (Policyholder)

    บุคคลที่เป็นเจ้าของกรมธรรม์ประกันภัย บุคคลนี้มีอำนาจใช้สิทธิตามที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์ รวมถึงสิทธิในการจัดการกรมธรรม์

  • ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)

    บุคคลผู้มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตามข้อตกลงในสัญญาประกันภัย

  • เบี้ยประกันภัย (Premium)

    จำนวนเงินที่ชำระสำหรับกรมธรรม์เพื่อแลกกับความคุ้มครองประกันภัย โดยทั่วไปจะชำระเป็นรายเดือนหรือรายปี

  • การผ่อนชำระเบี้ยประกันภัย

    ตัวเลือกในการชำระเบี้ยประกันเป็นงวด (เช่น รายเดือน รายไตรมาส) แทนการชำระเป็นเงินก้อนเดียว ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้ถือกรมธรรม์ได้

  • เงื่อนไข (Condition)

    ข้อกำหนดเฉพาะที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยยังคงมีผลบังคับใช้ เช่น วิธีการยื่นคำเรียกร้องค่าสินไหมและขั้นตอนที่ต้องดำเนินการหลังจากเกิดการสูญเสีย

  • คำประกาศ (Declarations)

    ส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับผู้เอาประกัน ทรัพย์สินหรือบุคคลผู้เอาประกัน จำนวนความคุ้มครอง และระยะเวลาของกรมธรรม์ โดยสรุปประเด็นสำคัญของสัญญาประกันภัย

  • วงเงินคุ้มครอง (Coverage Limit)

    จำนวนเงินที่บริษัทประกันภัยชำระชดเชยให้สำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายใต้กรมธรรม์ วงเงินคุ้มครองจะระบุไว้อย่างชัดเจนในกรมธรรม์และสามารถนำไปใช้ต่อครั้งหรือตลอดระยะเวลาของกรมธรรม์

  • ขีดจำกัดความคุ้มครอง (Policy Limit)

    จำนวนเงินสูงสุดที่บริษัทประกันภัยจะชำระชดเชยให้สำหรับการสูญเสียที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ คำว่า “จำนวนเงินเอาประกันภัย” มักใช้แทนกันได้ แต่ในประกันภัยรถยนต์ “ขีดจำกัดความคุ้มครอง” จะรวมถึงความคุ้มครองในส่วนอื่นที่นอกเหนือจากจำนวนเงินเอาประกันภัย เช่น ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกต่อครั้ง หรือ ความรับผิดต่อการบาดเจ็บของบุคคลภายนอกต่อคน

  • ทุนประกันภัย หรือ จำนวนเงินเอาประกันภัย (Sum Insured)

    จำนวนเงินสูงสุดที่บริษัทประกันภัยจะชำระชดเชยให้สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวรถคันเอาประกัน ไม่รวมความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

  • ข้อยกเว้น (Exclusion)

    ข้อความที่ผู้รับประกันภัยระบุไว้ในกรมธรรม์ว่าจะไม่คุ้มครองภัยหรือเหตุแห่งภัยบางอย่าง วัตถุบางชนิด หรือเหตุการณ์บางอย่าง โดยจะระบุไว้อย่างชัดเจนในกรมธรรม์

  • การแก้ไขกรมธรรม์ (Amendment)

    การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยที่มีอยู่ซึ่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข สิทธิประโยชน์ หรือความคุ้มครอง

  • ใบสลักหลัง หรือ บันทึกการสลักหลัง (Endorsement)

    การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยที่มีอยู่ซึ่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือความคุ้มครองของกรมธรรม์เดิม

  • สิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ (Free Look Period)

    ระยะเวลาที่กำหนดไว้ซึ่งผู้ถือกรมธรรม์ใหม่สามารถยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยของตนได้โดยไม่มีค่าปรับ และได้รับเงินคืนเบี้ยประกันที่ชำระไปเต็มจำนวน โดยปกติระยะเวลาดังกล่าวจะอยู่ระหว่าง 10 ถึง 30 วัน ขึ้นอยู่เงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันภัย

  • ระยะเวลารอคอย (Waiting Period)

    ระยะเวลาที่ไม่สามารถเคลมประกันได้ โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ให้ความคุ้มครองหรือวันที่อนุมัติกรมธรรม์ จนถึงวันครบกำหนดตามที่กรมธรรม์กำหนด

  • วันที่หมดอายุกรมธรรม์ (Expiration Date)

    วันสุดท้ายที่ผลิตภัณฑ์หรือประกันภัยยังคงมีผลบังคับใช้หรือให้ความคุ้มครอง

  • ต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal)

    การต่ออายุกรมธรรม์เดิมที่มีอยู่อีกระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติจะเป็นรายปี เพื่อรักษาความคุ้มครองประกันภัยของกรมธรรม์

  • การยกเลิกกรมธรรม์ (Cancellation)

    การยุติความคุ้มครองประกันภัยก่อนวันหมดอายุกรมธรรม์ที่กำหนด

  • การสิ้นสุดการประกันภัย (Lapse)

    การยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเนื่องจากผิดนัดชำระเบี้ยประกัน ส่งผลให้สูญเสียความคุ้มครองและผลประโยชน์

  • ระยะผ่อนผัน (Grace Period)

    ระยะเวลาเพิ่มเติมที่อนุญาตให้ชำระเบี้ยประกันหลังจากวันครบกำหนดโดยไม่ถูกยกเลิกกรมธรรม์

หมวดประกันรถยนต์

  • ประกันภัยรถยนต์

    สัญญาระหว่างผู้ถือกรมธรรม์กับบริษัทประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางการเงินต่อการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุ การโจรกรรม หรือความเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับรถคันเอาประกัน

  • ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insuarnce)

    การประกันภัยที่เจ้าของรถแต่ละคันต้องจัดให้มีประกันภัยตามความคุ้มครองที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีแบบกรมธรรม์ที่ใช้ คือ พ.ร.บ.รถยนต์

  • ภาษีรถยนต์ (Car Tax)

    ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถยนต์จะต้องชำระเป็นประจำทุกปี เป็นการชำระเงินเพื่อนำไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

  • ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)

    การเอาประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์ หรือผู้ขับขี่รถยนต์ เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถหรือความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

  • กลุ่มประกันภัยรถยนต์

    การแบ่งกลุ่มประเภทรถยนต์ที่บริษัทประกันภัยใช้เพื่อกำหนดต้นทุนประกันภัยโดยอิงตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประสิทธิภาพ ต้นทุนการซ่อมรถ ราคาชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เบี้ยประกันรถยนต์ และคุณลักษณะด้านความปลอดภัย เช่น ประกันรถยนต์กลุ่ม 5 ประกอบด้วยรถเก๋งขนาดเล็กและรถอีโคคาร์ที่ราคาเข้าถึงง่าย เครื่องยนต์ขนาดเล็ก และชิ้นส่วนอะไหล่หาง่าย

  • ผู้ขับขี่หลัก (Main Driver)

    บุคคลที่ใช้รถยนต์บ่อยที่สุดและเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการใช้งานรถยนต์ บุคคลนี้มักจะเป็นเจ้าของที่จดทะเบียนหรือบุคคลที่มีชื่อระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

  • ผู้ขับขี่ที่ระบุชื่อ (Named Driver)

    บุคคลที่ถูกระบุชื่อในกรมธรรม์ประกันภัยและได้รับอนุญาตให้ขับรถคันเอาประกัน โดยจะได้รับความคุ้มครองในระดับเดียวกับผู้ขับขี่หลัก ผู้ขับขี่ที่ระบุชื่อมักจะถูกเพิ่มในกรมธรรม์เพื่อให้รถคันเอาประกันสามารถใช้งานได้หลายคน

  • ส่วนลดประวัติดี (NCB: No Claims Bonus)

    ส่วนลดเบี้ยประกันรถยนต์ในแต่ละปีที่คุณไม่ได้มีการเคลมประกันเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ส่วนลดนี้จะสะสมไปเรื่อย ๆ โดยเป็นการตอบแทนผู้ขับขี่ที่ปลอดภัยและไม่มีประวัติการเคลมโดยลดต้นทุนของเบี้ยประกันภัยรถยนต์ให้คุณ

  • บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน (Roadside Assistance)

    บริการที่ช่วยเหลือคุณหากรถของคุณเสียหาย รวมถึงบริการรถยก เปลี่ยนยางรถยนต์ และการจั๊มสตาร์ท

  • ค่าบริการ (Surcharge)

    ค่าธรรมเนียมพิเศษที่เพิ่มจากต้นทุนของกรมธรรม์หรือบริการประกันภัย โดยมักเกิดจากค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือบริการพิเศษที่ให้

  • การตรวจสภาพรถ

    การประเมินสภาพรถยนต์เพื่อพิจารณาการรับประกันภัยและระบุความเสียหายที่มีอยู่ก่อนรับประกันภัย

  • มูลค่าที่แท้จริง (Actual Cash Value)

    มูลค่าของรถยนต์เมื่อเกิดความเสียหาย หักค่าเสื่อมราคา

  • ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)

    มูลค่าของรถยนต์ที่ลดลงตามเวลาเนื่องจากอายุการใช้งาน การสึกหรอ และปัจจัยอื่น ๆ

  • กล้องติดรถยนต์

    กล้องวิดีโอที่ติดไว้ที่หน้าหรือหลังรถยนต์ ใช้บันทึกภาพและเสียงต่อเนื่องกัน สามารถใช้เป็นหลักฐานเมื่อเกิดอุบัติเหตุและช่วยป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ ซึ่งอาจช่วยลดเบี้ยประกันรถยนต์ได้

  • การดัดแปลงสภาพรถ

    การปรับแต่งรถยนต์เพื่อเพิ่มสมรรถนะหรือรูปลักษณ์ตามความชอบของเจ้าของรถ

  • ความคุ้มครองการชน (Collision Coverage)

    ประกันภัยที่ครอบคลุมความเสียหายต่อรถคันเอาประกันที่เกิดจากการชนกับยานพาหนะหรือวัตถุอื่น

  • ค่าซ่อม (Repair Cost)

    ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมความเสียหายของยานพาหนะหรือทรัพย์สิน ซึ่งอาจรวมถึงค่าอะไหล่รถยนต์ ค่าแรง และค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

  • ค่าเสียหายส่วนแรกตามข้อกำหนด/คปภ. (Deductible)

    จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบชำระเองสำหรับความเสียหายต่อตัวรถที่เกิดจากการชนแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขประกันภัย

  • ค่าเสียหายส่วนแรกตามกรมธรรม์ (Excess)

    จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันจะต้องชำระเองก่อนที่บริษัทประกันภัยจะชำระค่าใช้จ่ายในส่วนที่เหลือของการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

  • ฝ่ายผิด

    ผู้ที่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อสถานการณ์หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

  • การเคลมประกันภัย หรือ งานสินไหมทดแทน (Claims)

    คำร้องขอที่ผู้เอาประกันภัยยื่นต่อบริษัทประกันภัยเพื่อขอรับเงินชดเชยหรือผลประโยชน์ตามกรมธรรม์

  • การแจ้งเหตุการสูญเสียครั้งแรก (FNOL: First Notice of Loss)

    รายงานเบื้องต้นที่คุณแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบครั้งแรกถึงการสูญเสีย การโจรกรรม หรือความเสียหายของสิ่งที่ทำประกัน เช่น รถคันเอาประกัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของขั้นตอนการเรียกร้องค่าสินไหม ช่วยให้บริษัทประกันภัยสามารถตอบสนองและประเมินความเสียหายได้

  • เจ้าหน้าที่พิจารณาสินไหม (Claim Examiner)

    ผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินค่าสินไหมทดแทนประกันภัยเพื่อยืนยันความถูกต้องและครบถ้วน โดยจะตรวจสอบรายละเอียด ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายหากจำเป็น และตัดสินใจเกี่ยวกับจำนวนเงินความคุ้มครองที่ต้องชำระ

  • การชดใช้ค่าสินไหม (Claim Settlement)

    กระบวนการในการชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย

  • ผู้ที่เรียกร้องสิทธิ (Claimant)

    บุคคลที่ยื่นคำร้องภายใต้กรมธรรม์ประกันภัย

  • ความเสียหายต่อทรัพย์สิน (Property Damage)

    ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อ การกระทำโดยเจตนา หรือเหตุการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงความเสียหายต่ออสังริมทรัพย์ (เช่น บ้านหรือที่ดิน) หรือทรัพย์สินส่วนบุคคล (เช่น รถยนต์หรือจักรยาน)

  • บุคคลภายนอก (Third Party)

    บุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัยแต่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของผู้เอาประกัน

  • ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Third Party Liability)

    ประกันภัยที่คุ้มครองคุณจากการเรียกร้องค่าเสียหายหรือการบาดเจ็บที่เกิดจากคุณต่อบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น

  • ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury: TPBI)

    ความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันและบุคคลภายนอก โดยเป็นจำนวนเงินจำกัดความรับผิดส่วนเกินจากความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

  • ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage: TPPD)

    ความรับผิดต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

  • ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ (Own Damage: OD)

    ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถคันเอาประกัน รวมถึงอุปกรณ์และส่วนควบ ที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชน

  • การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (ร.ย.01)

    ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ทุพพลภาพชั่วคราวของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ซึ่งกำลังขับขี่ กำลังขึ้น กำลังลง หรืออยู่ในรถคันเอาประกันที่เกิดอุบัติเหตุ

  • ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล (ร.ย.02)

    ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ซึ่งกำลังขับขี่ กำลังขึ้น กำลังลง หรืออยู่ในรถคันเอาประกันที่เกิดอุบัติเหตุ

  • ความคุ้มครองการประกันตัว (ร.ย.03)

    ให้ความคุ้มครองเงินค่าประกันตัวผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถคันเอาประกัน กรณีเกิดอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้ถูกควบคุมตัวในคดีอาญา

  • ความคุ้มครองแบบครอบคลุม (Comprehensive Coverage)

    ในความหมายของประกันภัยรถยนต์คือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้ง 3 หมวดหลักคือ ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ความเสียหายต่อตัวรถ และการบาดเจ็บทางร่างกาย

  • การเกิดมหันตภัย (Catastrophe)

    เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขนาดใหญ่ เช่น ภัยธรรมชาติ หรืออุบัติเหตุครั้งใหญ่