ประกันมะเร็งคืออะไร ?
โรคมะเร็ง เป็นภัยเงียบอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะโรคชนิดนี้เป็นเชื้อโรคที่เกิดมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ และสามารถส่งต่อผ่านพันธุกรรมได้ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่า การใช้ชีวิตของเราจะเป็นไปด้วยความระมัดระวังแล้ว แต่ถ้าหากคนในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ก็ให้คำนึงเอาไว้เลยว่า คุณก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเช่นเดียวกัน ฉะนั้นการมีประกันโรคมะเร็งเอาไว้ มีความจำเป็นมาก เพราะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตรวจโรค ลดภาระค่ารักษา ลดความตึงเครียดในกรณีที่ไม่มีเงินรักษา และสำหรับแผนเจอจ่ายจบผู้เอาประกันสามารถรับเงินก้อนทันทีตามเงื่อนไขเพื่อไว้ใช้รักษาตัวได้
คำถามสุดฮิต ประกันมะเร็งจำเป็นแค่ไหน ทำไม่ถึงไม่ควรมองข้าม
ในยุคที่ภัยร้ายรอบตัวมีได้ทั้งอุบัติเหตุและโรคภัยต่างๆ โรคมะเร็ง ถือเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่มีโอกาสคร่าชีวิตผู้ป่วยได้สูง โดยที่ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าปัจจัยใด เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งในแต่ละบุคคลได้ และในปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งจากกรรมพันธุ์ ปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดโรค เช่น ฝุ่นควัน บุหรี่อาหารการกิน และภาวะเครียด เราจึงไม่รู้ว่าเจ้าโรคร้ายนี้จะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไหร่ ดังนั้นการมีความคุ้มครองเพื่อสร้างความอุ่นใจ และช่วยให้คุณคลายกังวลจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าวินิจฉัยช้ำ ค่าฉายแสง ค่ายาคีโม ค่ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือแม้แต่ค่าชดเชยในขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เป็นต้น
ประกันมะเร็งแบบไหนที่เหมาะกับคุณ
เจอ จ่าย จบ
รับเงินก้อนทันทีเมื่อตรวจเจอมะเร็ง เช่น ตรวจพบอาการเตือนของมะเร็งในระยะแรก หรือพบในระยะลุกลาม ส่วนใหญ่เป็นการจ่ายเงินก้อนเพียงแค่ครั้งเดียว แต่อาจจะมีบางบริษัทที่มีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลบางส่วนเพิ่มเติมให้ด้วย รวมทั้งอาจมีการจ่ายเงินชดเชยรายได้ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรรมธรรม์ เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการนำเงินก้อนไปจัดสรรค่ารักษาเอง
คุ้มครองค่ารักษา
แผนความคุ้มครองรูปแบบนี้จะช่วยดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา ทั้งค่าคีโม ค่าฉายรังสี รวมถึงค่ารักษาพยาบาลรูปแบบอื่นๆ ซึ่งบางแห่งอาจครอบคลุมถึงค่าห้องให้ด้วย หรือ เพิ่มวงเงินการดูแลเมื่อเข้า ICU รวมทั้งอาจมีการจ่ายชดเชยรายได้เมื่อต้องแอดมิดอยู่ที่โรงพยาบาลด้วย เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการให้บริษัทประกันดูแลค่าใช้จ่ายให้
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งมีอะไรบ้าง ?
โรคมะเร็ง และเนื้องอกทุกชนิด เป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า ในปี พ.ศ.2560 โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยเฉลี่ยถึง 120.5 คน ในทุก ๆ 100,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากในอดีตเป็นอย่างมาก โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง หรือสามารถพัฒนาเซลล์มะเร็งในร่างกาย มีดังนี้
อายุ
ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากขึ้นได้
บุหรี่
พบว่ามีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งหลายชนิด
ประวัติครอบครัว
ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของสารพันธุกรรม (ยีน)
แอลกอฮอล์
มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งช่องปกและลำคอ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งตับและมะเร็งเต้านม
รูปแบบการดำเนินชีวิต
เช่น การกินอาหาร ถึงแม้ว่าจะมีวิจัยการกินอาหารต้านโรคมะเร็ง แต่ปัจจัยการดำเนินชีวิต เช่น ความอ้วน ความเครียด หรือการออกกำลังกายน้อย จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน
*ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
5 อันดับ โรคมะเร็ง โรคที่คร่าชีวิตคนไทยมาก ?
ในปี พ.ศ.2557 พบผู้ป่วยที่เสียชิวิตจากโรคมะเร็ง จำนวน 70,075 คน เป็นเพศชาย 40,161 คน เพศหญิง 29,914 คน โดยมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตาย 5 อันดับแรกได้แก่
- มะเร็งตับและท่อน้ำดี
- มะเร็งปอด
- มะเร็งเต้านม (ยีน)
- มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
- มะเร็งปากมดลูก
คำถามที่พบบ่อยสำหรับประกันมะเร็ง
มะเร็ง คืออะไร ?
จากข้อมูลของมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย โรคมะเร็ง คือ โรคที่มีความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเซลล์ ก่อให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็งที่มีการเจริญเติบโต โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมที่เหมาะสม
*ที่มา: มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย
มะเร็งมีกี่ระยะ อะไรบ้าง ?
จากข้อมูลรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา จุฬาลงกรณ์ ระบุว่ามะเร็งมี 4 ระยะ ระยะ 0 หมายถึง มะเร็งระยะต้นๆ ที่อยู่บนชั้นของเซลล์ปกติยังไม่แทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติ ในขณะที่ระยะ 1 ระยะ 2 และระยะ 3 ขนาดต่างๆ กันของก้อนจากเล็กไปใหญ่ และระยะ 4 คือ เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
*ที่มา: รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา จุฬาลงกรณ์
ทำประกันโรคมะเร็งที่ไหนดี ?
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการทำประกันโรคมะเร็ง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สร้างความอุ่นใจให้กับเราได้มากยิ่งขึ้น เพราะมะเร็ง เป็นโรคที่มักไม่ค่อยมีสัญญาณบอกเหตุ หรือมีอาการเตือนของมะเร็งในระยะแรก ถึงแม้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าภัยร้ายจะมาเมื่อไหร่ แต่อย่างน้อยเมื่อเรามีความคุ้มครองเพื่อรองรับอยู่บ้าง ก็ทำให้เรามีหลักอะไรให้เดินต่อไปได้เมื่อเหตุร้ายมาถึงตัวจริง ๆ ทุกวันนี้การทำ ประกันมะเร็ง ไม่จำเป็นต้องใช้งบมากอย่างที่คิด มีงบจำกัดก็เลือกทำไว้ได้เช่นกัน
ทำไมต้องทำประกันโรคร้ายแรง แบบประกันมะเร็ง ถ้ามีประกันสุขภาพอยู่แล้ว ?
เนื่องจากแต่ละประกันสุขภาพจะมีความคุ้มครองครอบคลุมไม่เท่ากัน ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ครอบคลุมถึงโรคมะเร็ง ดังนั้น การซื้อประกันโรคมะเร็งแบบเจอจ่ายจบไว้ด้วย จะได้รับเงินก้อนเพื่อมาช่วยดูแลค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ หรือบางแผนอาจจะมีเงินชดเชย หากต้องหยุดงานขาดรายได้ ก็สามารถนำเงินก้อนนี้มาไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลตัวเองได้ หรือหากกรณีเสียชีวิต เงินก้อนจากการทำประกันมะเร็งก็จะเป็นมรดกให้คนที่คุณรักได้
โรคร้ายแรง ครอบคลุมโรคอะไรบ้าง ตั้งแต่ระยะไหน ?
แต่ละแบบประกัน จะมีความครอบคลุมโรค และระยะอย่างชัดเจน เพื่อให้คุณสามารถเลือกแบบประกันที่ตรงกับความคุ้มครองที่คุณต้องการ ซึ่งบางแผนอาจจะรวมถึงครอบคลุมถึงค่ารักษาเคมีบำบัด ชดเชยรายได้ และคุ้มครองชีวิตและอุบัติเหตุเพิ่มเติมด้วย
มะเร็งระยะใด ถือว่าไม่สามารถรักษาให้หายได้ ?
มะเร็งระยะลุกลาม หมายถึง มะเร็งที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และเซลล์มะเร็งได้กระจายออกนอกอวัยวะที่เริ่มต้น มะเร็งระยะลุกลามนั้นจะมีโอกาสหายขาดจากโรคมะเร็งน้อยกว่ามะเร็งระยะแรกหรือไม่มีเลยซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง แต่ยังสามารถมีการรักษาเพื่อบรรเทาความทรมานของอาการเจ็บป่วย ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
โรคใดบ้างที่ประกันมะเร็งไม่คุ้มครอง ?
- โรคที่ไม่เกี่ยวกับมะเร็ง และโรคมะเร็งที่พบในระยะเวลารอคอย 90 วัน (Waiting period)
- มะเร็งในผู้ป่วย HIV เนื่องจากการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการใช้ยาต้านไวรัส ถึงเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมาก และร่างกายสามารถติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย
- มะเร็งผิวหนังทั่วไป ที่ไม่ใช่ “เมโลโนมา” ที่จะได้รับความคุ้มครองประมาณ 20% ของทุนประกัน เพราะไม่ร้ายแรงและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยไม่ต้องใช้คีโม จึงทำให้ได้รับความคุ้มครองลดลงมา
รักษาโรคมะเร็งที่ไหนดี ?
ข้อมูลจากศูนย์มะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ การรักษามะเร็งของผู้ป่วยนั้นจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าเป็นมะเร็งอะไร อวัยวะไหน ระยะเท่าไหร่แล้ว และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยเรื่องโรคมะเร็งแล้ว ก็คือสภาพร่างกายของผู้ป่วย โรคประจำตัวต่างๆ แต่ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องสภาพร่างกาย ก็ให้การรักษาไปตามมาตรฐานของมะเร็งของอวัยวะนั้นตามระยะของโรค
*ที่มา: ศูนย์มะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
โรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็งฟรี มีที่ไหนบ้าง ?
ผู้ป่วยมะเร็งที่มีสิทธิบัตรทอง สามารถเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลที่รักษาโรคมะเร็งในระบบในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 228 แห่ง หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง จะได้รับทราบข้อมูลประวัติการรักษา และรายชื่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็ง เพื่อสามารถเลือกไปรับบริการที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ที่สะดวกใกล้บ้าน ผ่าน 3 ช่องทางคือ สายด่วน สปสช. 1330 แอปพลิเคชัน สปสช. และติดต่อที่หน่วยบริการโดยตรง โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ลดระยะเวลารอคอยการรักษา
การรักษามะเร็งมีกี่วิธี ?
การรักษามะเร็งมาตรฐานมี 3 วิธีการหลัก คือการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายแสง อาจใช้การรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ 2 อย่าง 3 อย่างก็ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาของมะเร็งนั้นๆ ซึ่งมะเร็งบางชนิดก็ให้แค่ยาเคมีบำบัดหรือการฉายแสงอย่างใดอย่างหนึ่ง บางกรณีก็ให้ทั้งยาเคมีบำบัดและการฉายแสงไปพร้อมกันในเวลาเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็ง ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องมีร่างกายที่แข็งแรงพอ เพราะผลข้างเคียงในการรักษาแบบนี้จะมากกว่าปกติ
ค่ารักษาโรคมะเร็ง ชนิดต่างๆ มีราคาเท่าไหร่บ้าง ?
จากข้อมูลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้นำเสนอค่ารักษามะเร็งที่มีผู้ป่วยมากที่สุด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- มะเร็งเต้านม ประมาณ 69,300 - 84,500 บาท
- มะเร็งปากมดลูก ประมาณ 144,400 บาท
- มะเร็งศรีษะและลำคอ ประมาณ 130,100 - 186,600 บาท
- มะเร็งปอด ประมาณ 141,100 บาท
- มะเร็งต่อมลูกหมาก ประมาณ 182,400 บาท
*ที่มา: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เบี้ยประกันมะเร็ง เพิ่มทุกปีเหมือนประกันสุขภาพไหม ?
เบี้ยประกันมะเร็ง จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละแบบประกัน โดยส่วนใหญ่จะมีการเพิ่มเบี้ยตามอายุที่เพิ่มขึ้น หรือคงที่ 5 ปี หรือคงที่ตลอดอายุสัญญาโดยนับจากอายุที่ซื้อประกันในครั้งแรก
สามารถผ่อนชำระเบี้ยประกันมะเร็งได้ไหม ?
เบี้ยประกันมะเร็งสามารถแบ่งชำระเป็นรายงวดได้ โดยอัตราค่างวด และระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับบริษัทประกันที่คุณเลือก
ถ้าไม่มีการเคลมประกัน ค่าเบี้ยประกันมะเร็งจะเหมือนกับเบี้ยสูญเปล่าหรือไม่ ?
ถึงแม้ว่าจะไม่เคลมประกัน แต่เบี้ยประกันสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
อยากได้ประกันมะเร็ง ที่ได้ทั้งเงินก้อนและคุ้มครองค่ารักษาต้องทำอย่างไร ?
แนะนำซื้อประกันมะเร็งแบบเจอจ่ายจบเพื่อรับเงินก้อน และทำประกันชีวิตแบบมีเบี้ยประกันมะเร็งเป็นสัญญาเพิ่มเติมเพื่อได้รับทั้งค่ารักษา หากตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรง
ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (waiting period) ในกรมธรรม์ประกันมะเร็ง คืออะไร ?
ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (waiting period) หมายถึง การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นภายใน 90 วันหรือบางแผนประกันจะเป็น 120 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองรรม์ หรือวันที่บริษัทอนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยในเฉพาะส่วนที่เพิ่ม
การต่ออายุกรมธรรม์เป็นอย่างไร ?
ประกันมะเร็งเป็นการต่ออายุประกันแบบปีต่อปี เพื่อรับความคุ้มครองแบบปีต่อปี โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องต่ออายุกรมธรรม์ตามวันที่ในกรมธรรม์ประกันภัย จนถึงรอบการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุไม่เกิน 60 ปี บางแผนประกันอาจจะต่ออายุถึง 64 ปี โดยการชำระเบี้ยประกันภัยในวันหรือก่อนวันครบรอบระยะเวลาเอาประกันภัย หรือภายในระยะเวลาผ่อนผัน (31 วัน) นับแต่วันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย โดยบริษัทจะให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์นี้ต่อเนื่อง
ขั้นตอนการเบิกค่ารักษาหรือค่าสินไหมทดแทนสำหรับประกันมะเร็งต้องดำเนินการอย่างไร ?
ผู้เอาประกันโรคมะเร็งต้องไม่เคยถูกตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งมาก่อนการทำประกัน และต้องไม่อยู่ภายในระยะเวลารอคอย 90 วัน (Waiting Period) ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งเคลมโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งส่งหลักฐานผลการวินิจฉัยการตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งครั้งแรก
เอกสารที่ต้องเตรียม สำหรับการยื่นคำขอเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับประกันมะเร็ง ?
กรอกรายละเอียดในใบเคลมฟอร์มของแต่ละบริษัทประกัน พร้อมรายงานผลการตรวจรักษาและวินิจฉัยทางการแพทย์ เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รายงานผลชิ้นเนื้อ และผลการตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT/ MRI) และผลการตรวจต้องรับรองโดยโรงพยาบาล พร้อมทั้งใบรับรองแพทย์ ซึ่งระบุผลการตรวจรักษาโดยแพทย์
สามารถซื้อประกันมะเร็งสำหรับผู้เยาว์ได้หรือไม่ ?
สามารถซื้อได้ โดยจะต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาสูติบัตรพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
หากผู้เอาประกันมะเร็งเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์หรือทายาทโดยธรรม จะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้าง ?
การได้รับผลประโยชน์จากประกัน ขึ้นอยู่กับแผนประกันที่คุณเลือก ซึ่งผลประโยชน์ที่ได้รับจะระบุในแผนประกัน เช่น ระบุมีเงินคืนเมื่อครบสัญญา หรือระบุรับผลประโยชน์กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิต
หากผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้เยาว์จะต้องดำเนินการอย่างไรในการรับผลประโยชน์ของผู้เอาประกัน ?
กรณีที่ผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้เยาว์ จะต้องรับรองสำเนาถูกต้องโดยบิดาหรือมารดาของผู้เยาว์ หรือผู้ปกครองของผู้เยาว์ หรือญาติสนิทของผู้เยาว์พร้อมนำส่งสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน ของผู้รับรองสำเนาถูกต้องหรือลงนามร่วมกับผู้เยาว์