อายุมากขึ้นเรื่องการออกกำลังยิ่งสำคัญกับทุกคน ออกกําลังกายผู้สูงอายุ จึงเป็นอีกหนึ่งข้อมูลสำคัญที่ลูก ๆ หลาน ๆ ไม่ควรมองข้าม เพราะสภาพร่างกายเริ่มเสื่อมลง ไม่กระฉับกระเฉงเหมือนตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว รวมถึงการตอบสนองอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นจึงควรมี “ความระมัดระวัง” เกี่ยวกับร่างกายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราได้รวบรวมรายละเอียดที่เป็นประโยชน์มาให้เรียบร้อยแล้ว ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย
ประเภทของ การออกกําลังกายผู้สูงอายุ
การออกกำลังกายผู้สูงอายุ จะมีท่าออกกำลังกายผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
-
1. การออกกำลังกายเฉพาะส่วน
เช่น การบริการกล้ามเนื้อหลังในกรณีมีอาการปวดหลัง การบริการข้อไหล่กรณีเกิดอาการไหล่ติด และการบริการกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าในกรณีข้อเข่าเสื่อม
-
2. การออกกำลังกายโดยทั่วไป
สำหรับการออกกำลังกายประเภทนี้ จะมีส่วนทำให้จิตใจแจ่มใส ร่าเริง รวมถึงมีร่างกายที่แข็งแรง ช่วยให้ผู้สูงอายุมีการทรงตัวที่ดีขึ้น รวมถึงช่วยลดอุบัติเหตุการณ์ลื่นล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของกระดูกหักได้เป็นอย่างดี
คนที่อายุมากส่วนใหญ่ควรออกกำลังกายแบบเน้นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การเดิน การเต้นแอโรบิคผู้สูงอายุ การวิ่งเหยาะ ๆ แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถออกกำลังกายได้ เพราะมีบางคนเหมือนกันที่มีโรคประจำตัวหรืออาการเหล่านี้ที่อาจต้องเลี่ยงการออกกำลังกาย
- มีความดันโลหิตสูงขณะออกกำลังกาย
- มีอาการเวียนศีรษะ
- มีอาการเจ็บหน้าอก ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้
- มีภาวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
- มีสภาพแวดล้อม และภูมิอากาศไม่เหมาะสม
แต่ละช่วงอายุควรออกกำลังกายแบบไหน ?
ใช่ว่าการออกกำลังกายแต่ละรูปแบบจะเหมาะสำหรับทุกช่วงอายุเสมอไป โดยเฉพาะการออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่ควรให้ความสำคัญด้าน “ความปลอดภัย” ด้วยการออกกำลังตามช่วงอายุอย่างเหมาะสม ซึ่งแต่ละช่วงอายุจะต้องออกกำลังกายอย่างไร ? ไปดูพร้อม ๆ กับเราได้เลย
การออกกำลังกายช่วงอายุ 30
แนะนำให้ออกกำลังกายที่เน้นความยืดหยุ่นครบทุกส่วน อย่าง “โยคะ” ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ลดความเครียด แถมยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้เป็นอย่างดี เนื่องจากช่วงอายุ 30 ปี ยังเป็นช่วงที่ทำงานลักษณะรูทีน นั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อไหล่ หลัง เอว และคอเกิดความเหนื่อยล้า
การออกกำลังกายช่วงอายุ 40
ช่วงอายุ 40 ปี ควรออกกำลังกายแบบบริหารได้ทั้งรูปร่าง เช่น แขน ขา ลำตัว เนื่องจากช่วงวัยนี้เริ่มมีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว เจ็บกล้ามเนื้อกระดูกกันแล้ว หากยังไม่รู้ว่าจะออกกำลังกายแบบไหนดีที่สุด เราขอแนะนำเบอร์พี, สควอช, แพลงก์ และลันจ์
การออกกำลังกายช่วงอายุ 50
เมื่อเข้าสู่วัย 50 หลายคนมักมีอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นเพราะว่าเกิดจากปัญหาด้าน “การเผาผลาญพลังงาน” แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือเน้นการเคลื่อนไหวร่างกายให้มาก ๆ แต่ไม่หนักหน่วงเกินไป เช่น การเดิน วิ่ง หรือเต้น 4 ครั้ง/สัปดาห์ (พัก 1 วัน) หรือฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 3 ครั้ง/สัปดาห์ (พักอย่างน้อย 1 วัน) เป็นต้น
การออกกำลังกายช่วงอายุ 60
การออกกำลังกายของช่วงวัย 60 ปี ไม่ควรหักโหม ควรออกกำลังกายเพียง 20-30 นาทีต่อวัน โดยอาจแบ่งเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ช่วงละ 10-15 นาที ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 2-3 วันต่อสัปดาห์ เช่น การวิ่งเหยาะ ๆ ช้า ๆ การเดินในน้ำ การเดินแกว่งแขน เป็นต้น
อายุเท่าไรก็ออกกำลังกายได้ แต่ต้องถูกวิธี
แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นวิธีดูแลตัวเองที่ดี แต่สำหรับผู้สูงอายุยังมีข้อจำกัดและข้อควรระวังอยู่มากมาย ซึ่งเราได้ลิสต์มาให้คุณดูกัน ว่าการออกกำลังกายควรเป็นอย่างไร ไปดูกันเลย
ความบ่อย หรือความถี่ในการออกกำลังกาย
ในช่วงเริ่มต้นของการออกกำลังกาย ควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หรือทำวันเว้นวันเพื่อให้กล้ามเนื้อได้รับการพักผ่อน หากสังเกตว่าร่างกายสามารถปรับตัวได้แล้ว ให้เพิ่มเป็น 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่ควรเกิน 5 ครั้งต่อสัปดาห์
ระยะเวลาในการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายควรอยู่ในช่วง 20-30 นาที โดยแบ่งเป็นช่วงอบอุ่นร่างกาย เหยียด และยืดกล้ามเนื้อประมาณ 5-10 นาที ช่วงออกกำลังกายไม่ต่ำกว่า 12 นาที และช่วงฟื้นฟูร่างกายให้กลับสู่สภาพปกติประมาณ 5-10 นาที (สามารถปรับเปลี่ยนช่วงเวลาได้ตามความเหมาะสม)
ความหนักของการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่ดี ควรออกกำลังกายที่ความหนักร้อยละ 60 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของแต่ละบุคคล แต่ไม่ควรเกินร้อยละ 85 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดแต่ละบุคคล
ความก้าวหน้าในการออกกำลังกาย
ให้เริ่มจากจำนวนน้อย ๆ ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มขนาดหรือความหนักของการออกกำลังกาย ในช่วงแรกให้เริ่มจากความหนักร้อยละ 55 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มเป็นร้อยละ 60 ร้อยละ 65 หรือร้อยละ 70 ตามลำดับ
ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนออกกำลังกาย
การออกกำลังกายให้ได้ผลดี ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่หรือออกกำลังกายนานแค่ไหน ควรแบ่งการออกกำลังออกเป็น 3 ชนิด คือ ความยืดหยุ่น ความแข็งแรง และความทนทาน ด้วยการเรียงลำดับจากระดับเบาไปจนถึงระดับหนัก รวมถึงปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน แนะนำให้อบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายเสมอ และดูอัตราการเต้นของหัวใจ ตามอายุในผู้สูงอายุ อาจจะใช้วิธีง่าย ๆ เช่น เดินรอบบ้าน เดินในบ้าน เดินบนสายพาน หรืออื่น ๆ ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน และใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้มากขึ้น รวมถึงป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี
ข้อจำกัดในการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
ก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง ผู้สูงอายุควรสำรวจสภาพร่างกายของตัวเองให้ดีก่อน หากมีโรคประจำตัวแนะนำให้พบแพทย์ เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพราะบางโรคอาจเกิดการ “กำเริบ” ขณะออกกำลังกายได้ง่าย ๆ โดยข้อจำกัดในการออกกำลังกายในผู้สูงอายุมีดังนี้
- ควรตรวจสุขภาพก่อนออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่มีการเกร็งหรือเบ่งมากจนเกินไป เนื่องจากอาจจะทำให้ความดันสูง โดยเฉพาะท่าที่จะต้องกลั้นหายใจ
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการปะทะหรือการแข่งขัน เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดอันตรายตามมาได้
นอกจากนี้ยังควรเลือกออกกำลังกายด้วยท่าง่าย ๆ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ หรืออันตรายในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับความดัน หากจะให้ดีควรควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติก่อนจะดีกว่า
ประโยชน์ของการออกกําลังกายในผู้สูงอายุ
สำหรับประโยชน์ของการออกกำลังกายผู้สูงอายุ มีดังนี้
- เพิ่มภูมิต้านทาน
- ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี
- กล้ามเนื้อและข้อต่อยืดหยุ่นดีขึ้น
- ช่วยเรื่องการทรงตัว
- ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและทนการทำงานได้นานขึ้น
- ช่วยชะลอความชรา
- การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ มีการประสานกันดีขึ้น
" การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ "
มีประโยชน์แบบครบทุกรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นช่วยชะลอความเสื่อมของระบบต่าง ๆ แถมยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ รวมถึงควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้มีความสมดุล นอกจากนี้ในกรณีที่ออกกลังกายนอกบ้าน ยังช่วยให้ได้เข้าสังคม ส่งผลให้สภาพจิตใจดีขึ้น เพียงทำความเข้าใจข้อจำกัดและข้อควรระวังให้ดี เพียงเท่านี้จะไม่มีปัญหาใด ๆ มายุ่งวุ่นวายแล้วล่ะ !