“อุบัติเหตุบนท้องถนน” เป็นเหตุการณ์ที่มีให้เห็นในทุก ๆ วัน และประเทศไทยยังอยู่ใน “5 อันดับแรก” ของประเทศที่เกิดอุบัติเหตุต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกัน แล้วคุณรู้ไหมว่า ? สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ คืออะไร ? ทำไมถึงมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกินขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ? MrKumka ได้รวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์มาให้แล้วในบทความนี้ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุ วิธีการป้องกัน และวิธีการเลือกซื้อประกัน จะน่าสนใจแค่ไหน ? ไปดูกัน !
เจาะลึกแบบเน้น ๆ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ในประเทศไทย
พูดไปก็หาว่าโม้ แต่ “สาเหตุ” ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศ มีมากถึง 8 สาเหตุด้วยกัน ซึ่งจะมีสาเหตุอะไรบ้าง ? ใช่ที่คุณคาดเดาไว้หรือไม่ ไปหาคำตอบกันเลย
1. เมาแล้วขับ
“เมาแล้วขับ” เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดในประเทศไทย สูงถึง 40% แม้ว่าทางรัฐบาลจะมีมาตรการที่เข้มงวด ปรับเพิ่มโทษกฎจราจรต่าง ๆ แต่ก็ยังคงเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้อยู่ดี
2. ขับรถเร็วเกินกำหนด
“ขับรถเร็วเกินกำหนด” เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ควบคุมได้ยาก และก่อให้เกิดอุบัติเหตุเป็นอันดับต้น ๆ เช่นเดียวกัน โดยปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจาก “ถนนบางสายไม่มีป้ายจำกัดความเร็ว” ทำให้ผู้ขับขี่เกิดความสับสน
3. ขับรถโดยประมาท
“ขับรถโดยประมาท” เช่น การขับรถตัดหน้าคนอื่น, การฝ่าฝืนกฎจราจร หรืออื่น ๆ ล้วน “เพิ่มความเสี่ยง” ต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ทั้งสิ้น ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการขับรถโดยประมาท คือ ความไม่อดทน และความไม่มีจิตสำนึก ไม่คำนึงถึงผู้ใช้ถนนคนอื่น ๆ
4. ใช้มือถือขณะขับรถ
“ใช้มือถือขณะขับรถ” ถือเป็นการขับรถอย่างขาดสติ เนื่องจากเป็น “สิ่งเร้า” ที่ทำให้ไม่มีสมาธิจอดจ่ออยู่กับการขับขี่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย นอกจากนี้ยังเหมารวมถึง “พฤติกรรมอื่น” เช่น การทานอาหารระหว่างขับรถ การวางสิ่งของกระจัดกระจายภายในห้องโดยสาร ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน
5. สภาพอากาศ
“สภาพอากาศ” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นฝนตกหนัก น้ำท่วม ทำให้พื้นถนนมีความอันตราย นอกจากนี้อุบัติเหตุจะ “ร้ายแรง” ยิ่งขึ้น หากผู้ขับขี่ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถของตัวเอง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ แน่นอนว่าจะทวีคูณ “ความเสียหาย” มากขึ้นไปอีก
6. สภาพถนน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “โครงสร้างพื้นฐานของถนน” ในประเทศไทยไม่สมบูรณ์ ขาดการบำรุงรักษา แถมแสงสว่างก็ไม่เพียงพอ ถนนบางเส้นแคบและคดเคี้ยว ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลจะพยายามปรับปรุงสภาพถนนให้ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ทั่วถึง ยังคงมีบางพื้นที่ถูกละเลยหรือเข้าไม่ถึง
7. ขับรถชนสัตว์
การเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ เป็นการเลี้ยงแบบ “ตามใจฉัน” อยากปล่อยไปไหนก็ปล่อย แม้กระทั่งวัว ควาย ม้า ก็ปล่อยให้เดินเต็มถนนไปหมด คนใช้รถใช้ถนนจึงต้องระมัดระวังกันเอาเอง แต่ต่อให้จะระมัดระวังมากขนาดไหน ก็ไม่มีใครหยุดยั้งเหตุการณ์ “สัตว์วิ่งตัดหน้ารถ” ได้เลย แม้ว่าจะไม่ได้ชนจัง ๆ แต่รถยนต์ก็อาจได้รับความเสียหาย เนื่องจากหักหลบจนลงข้างทาง
8. ตัวรถยนต์
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ ในประเทศไทย คือ “การบำรุงรักษารถยนต์” ที่ไม่เหมาะสม ไม่เปลี่ยนตามระยะที่กำหนด จนทำให้เครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น เบรกหรือยางชำรุด หม้อน้ำแห้ง ไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ซึ่งตอนแรกก็เป็นการละเลยเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ในแง่มุมของ “อุบัติเหตุ” บอกเลยว่าไม่เล็กเลยสักนิด
ทั้งหมดนี้คือ “สาเหตุ” ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ที่พบได้บ่อยครั้งในประเทศไทย จะเห็นได้ว่ามีหลากหลายสาเหตุด้วยกัน แถมต่อให้ระมัดระวังดีแค่ไหน แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะที่สัญจรบนถนนเส้นเดียวกันจะไม่ประมาท แล้วจะต้องทำยังไงเพื่อ “ลดความเสี่ยง” ที่อาจเกิดขึ้นให้ทุเลาลงบ้าง เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาให้ในหัวข้อต่อไปแล้ว ไปเตรียมรับมือกันเลยดีกว่า
วิธีป้องกันอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย
จากสาเหตุที่เรารวบรวมมาบอกคุณเมื่อข้างต้น หลัก ๆ จะเห็นได้เลยว่า “ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการขับขี่ที่อันตราย” ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่น ดังนั้นเราจึงอยากชวนคุณมา “ปรับทัศนคติ” ก่อนสตาร์ต ซึ่งจะป้องกันอุบัติเหตุได้ยังไงบ้าง ไปดูกันเลย
ขับรถด้วยความไม่ประมาท
อะไรที่เรียกว่าความประมาท หากคุณยังมองภาพไม่ออก เราลิสต์มาให้เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการขับรถเร็วเกินกำหนด การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็น “ความประมาทเลินเล่อ” ทั้งสิ้น หากไม่อยากพบเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ให้มากที่สุด และควรขับรถอย่างมีสติเสมอ
ปฏิบัติตามกฎจราจร
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “คนไทยไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ สักเท่าไหร่นัก” เช่น การเปิดไฟเลี้ยวในซอยเล็ก ๆ หรือแม้กระทั่งการย้อนศร โดยไม่สนว่าการจราจรบนถนนเส้นนั้น ๆ เป็นยังไง และที่พบเห็นบ่อยที่สุด คือ “การฝ่าสัญญาณไฟจราจร” ที่มักมีชุดความคิดผิด ๆ ว่า ‘ไฟเหลืองให้รีบเหยียบ’
พฤติกรรมและชุดความคิดแบบนี้ นอกจากจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว ยังผิดกฎหมายมีโทษจำและปรับอีกด้วย ดังนั้นหากไม่อยากปวดหัวกับสิ่งต่าง ๆ ที่อาจตามมา อย่าได้คิด “ลองดี” เด็ดขาด แนะนำให้สังเกตป้ายจราจรให้ดี ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ในระดับหนึ่งแล้วล่ะ
วิธีเลือกประกันภัยรถยนต์ ที่เหมาะกับคุณต้องเลือกยังไง ?
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วย “ลดความเสี่ยง” ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะความเสี่ยงในเรื่องของ “ค่าใช้จ่าย” ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันตัวผู้ขับขี่ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถอุ่นใจได้ง่าย ๆ ด้วยการ “ซื้อประกันภัยรถยนต์” ติดรถเอาไว้ และอย่าปล่อยให้ประกันขาดเด็ดขาด เพราะไม่งั้นมีหนาวแน่นอน แต่จะต้องเลือกซื้อประกันรถยนต์ยังไงให้ตอบโจทย์ เรารวบรวมประเด็นสำคัญมาให้แล้ว !
เลือก “ประกันภัยรถยนต์” แบบไหนดี ?
หากคุณกำลังมองหาประกันรถยนต์ที่ตอบโจทย์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเลือกยังไง ไปดู 4 ประเด็นหลัก ๆ พร้อมกับเรากันก่อนดีกว่า
ไลฟ์สไตล์การใช้รถ
คุณต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า “ไลฟ์สไตล์” การใช้รถของคุณเป็นแบบไหน ใช้รถมากหรือน้อย ออกต่างจังหวัดบ่อยไหม เส้นทางที่ใช้รถในแต่ละครั้งมีความเสี่ยงหรือเปล่า และคุณมีประสบการณ์การขับขี่มากน้อยแค่ไหน เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วย “กำหนดความเหมาะสม” ในการเลือกแผนประกันได้ดีมาก ๆ เลยทีเดียว
ความน่าเชื่อถือของบริษัทประกัน
อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ “ความน่าเชื่อถือ” ของบริษัทประกัน เช็กให้ดีว่าบริษัทที่สนใจเปิดให้บริการมานานแค่ไหน มีประสบการณ์ หรือมีผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้โดยตรงมั้ย ได้รับรางวัลการันตีหรือเปล่า เพื่อให้คุณเข้าใช้บริการได้อย่างวางใจ อุ่นใจ
การให้บริการง่ายหรือยุ่งยาก
“บริการหลังการขาย” นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณาด้วยเช่นกัน เพราะคงจะไม่ดีสักเท่าไหร่นักหากการเคลมล่าช้า เจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินเรื่อง ตกหล่น หรือใด ๆ ก็ตาม หากบริษัทที่สนใจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ในทันทีทันใด แนะนำให้เลี่ยงจะดีกว่า
ความครอบคลุมของศูนย์บริการ สาขา หรืออู่ในเครือ
อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรปล่อยผ่านก็คือ “ศูนย์-อู่ซ่อม” โดยจะต้องดูก่อนว่าครอบคลุมทุกพื้นที่มากน้อยแค่ไหน เพียงพอต่อความต้องการไหม เพื่อให้การดำเนินการหรือติดต่อประสานงานสะดวกมากที่สุด
สิ่งหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจให้ดี คือ “อุบัติเหตุไม่เลือกเวลาเกิด” และต่อให้คุณระมัดระวังมากน้อยแค่ไหน ก็ยังเสี่ยงต่อการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้เช่นกัน ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองใหม่ พยายามพาตัวเองให้ห่างไกลจาก “สาเหตุ” ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ พร้อมทั้ง “เปรียบเทียบประกันรถยนต์” ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกด้าน ก็จะช่วยให้การเดินทางของคุณราบรื่น และอุ่นใจได้มากขึ้น