รถหายแบบไหนที่บริษัทประกันรถยอมจ่ายเต็มคืนทุนประกัน

แชร์ต่อ
รถหายแบบไหนที่บริษัทประกันรถยอมจ่ายเต็มคืนทุนประกัน | มิสเตอร์ คุ้มค่า

พูดก็พูดเถอะว่าเรื่องรถหายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ทำให้เจ้าของรถปวดใจอยู่ดีแม้จะมีประกัน และบางคนดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่ก็ใช่ว่ามันจะไม่เกิดขึ้น “กับคุณ” บางครั้งแม้จะรู้วิธีป้องกันรถหายดีแค่ไหนแต่ใช่ว่ารถทุกคันจะไม่เสี่ยง ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ‘ เคลมประกัน ‘ ได้แค่ไหน หรือถ้าหายแบบไหนบริษัทประกันยินดีจ่ายให้เต็มทุนประกัน ตาม มิสเตอร์ คุ้มค่า ไปหาคำตอบกันเลย

รถหาย เคลมประกันได้ไหม ?

ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อประกันรถยนต์ นอกจาก “ ทุนประกันรถยนต์ “ จะเป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ แล้ว มาเจาะลึกเรื่อง “ความคุ้มครอง” ที่เป็นหนึ่งในเรื่องที่ควรพิจารณาควบคู่ประกอบไว้ โดยเฉพาะความคุ้มครองกรณีรถหาย จากการโดนปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ ไปจนถึงยักยอกทรัพย์

แน่นอนว่าเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เราพูดถึงไปเมื่อสักครู่ “สามารถเคลมประกันได้” แต่เฉพาะบางกรมธรรม์ที่มีประกันภัยรถหายเท่านั้น จึงเป็นเหตุที่ควรศึกษารายละเอียดกรมธรรม์ให้ดี รวมถึงตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทประกัน เพื่อให้รถยนต์คันโปรดได้รับความคุ้มครองตามที่ต้องการ สบายใจ อุ่นใจ แม้จะเกิดเหตุไม่คาดฝันใด ๆ ก็ตาม

รถหายแบบไหน ประกันภัยรถหายไม่จ่ายแน่ ๆ

แม้ว่าเหตุการณ์รถหายจะสามารถขอเคลมประกันได้ก็จริง แต่ลึก ๆ แล้วมันยังมี ‘ข้อยกเว้น’ ที่ควรทำความเข้าใจให้ดี โดยกรณีที่ประกันภัยรถหายจะไม่จ่ายแน่ ๆ คือ “เหตุการณ์รถหายที่เกิดจากความประมาทของเจ้าของรถเอง” ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. รถหายจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าของรถ
  2. รถหายจากความประมาทเลินเล่อร้ายแรง

ยกตัวอย่าง: เจ้าของรถจอดรถไว้ข้างทาง พร้อมกับเสียบกุญแจคาไว้ในรถ รวมถึงอาจเปิดกระจกหรือเปิดประตูรถทิ้งไว้ กลับมาอีกทีรถก็หายไปแล้ว แบบนี้ถือเป็นกรณีรถหายเพราะประมาทเลินเล่อร้ายแรง บริษัทประกันมองว่า ‘ผู้เอาประกันตั้งใจทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น’ จึงมีโอกาสที่จะถูกปฏิเสธการจ่ายเงินชดเชยได้

ประกันรถยนต์ชั้นไหนคุ้มครองรถหายบ้าง ?

อย่างที่บอกไปแล้วว่า “รถหาย สามารถเคลมประกันได้ แต่แค่เฉพาะบางกรมธรรม์เท่านั้น” หลายคนจึงเกิดความสงสัยตามมา ว่าประกันชั้นไหนคุ้มครองบ้าง ? ประกันชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด คุ้มครองกรณีรถหายด้วยไหม? ถ้าอย่างนั้นตามไปเปรียบเทียบประกันรถยนต์แต่จะชั้นกันเลยดีกว่า

  • 1. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1

    ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ถือเป็นประกันที่ทุนประกันรถยนต์สูงที่สุด แถมยังให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด เมื่อเทียบกับประกันแผนอื่น ๆ พูดง่าย ๆ ว่าให้ความคุ้มครองทั้งหมด ทั้งตัวผู้เอาประกัน รถยนต์ที่ทำประกัน และความคุ้มครองเพิ่มเติม เช่น ค่ารักษาพยาบาล ประกันอุบัติเหตุ โดยขึ้นอยู่กับ ‘เงื่อนไข’ ของแผนประกันนั้น ๆ

    และอีกหนึ่ง ‘สิทธิพิเศษ’ ที่ผู้เอาประกันที่ทำประกันชั้น 1 จะได้รับ คือ สามารถเคลมประกันได้แม้ว่าจะไม่มีคู่กรณีก็ตาม นอกจากนี้ยังมีประกันรถหายด้วย โดยความคุ้มครองหลัก ๆ ของประกันชั้น 1 มีดังนี้

    1. ความเสียหายต่อตัวรถที่ทำประกันภัย
      • สูญหาย
      • ไฟไหม้
      • อุบัติเหตุ
    2. ความเสียหายต่อบุคคลภายนอก
      • ทรัพย์สิน
      • ชีวิต และร่างกาย
    3. ความคุ้มครองเพิ่มเติมตามเอกสารแนบท้าย
      • อุบัติเหตุส่วนบุคคล
      • ค่ารักษาพยาบาล
      • ค่าประกันตัวผู้ขับขี่
  • 2. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ และชั้น 2

    ประกันภัยรถยนต์ 2+ และ 2 ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับประกันภัย ชั้น 1 ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อตัวรถคันที่ทำประกัน ความเสียหายต่อบุคคลภายนอก ความคุ้มครองเพิ่มเติมตามเอกสารแนบท้าย และประกันภัยรถหายหรือถูกขโมย

    ทั้งนี้ประกันภัยรถยนต์ 2+ และ 2 จะให้ความคุ้มครอง “เฉพาะมีคู่กรณีเท่านั้น” โดยมีรายละเอียดความคุ้มครองดังนี้

    1. ความเสียหายต่อตัวรถที่ทำประกันภัย
      • สูญหาย
      • ไฟไหม้
      • อุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก (เฉพาะแผนประกัน 2+)
    2. ความเสียหายต่อบุคคลภายนอก
      • ทรัพย์สิน
      • ชีวิต และร่างกาย
    3. ความคุ้มครองเพิ่มเติมตามเอกสารแนบท้าย
      • อุบัติเหตุส่วนบุคคล
      • ค่ารักษาพยาบาล
      • ค่าประกันตัวผู้ขับขี่
  • 3. ประกันรถยนต์ 3+ และชั้น 3

    สำหรับประกัน 3+ และชั้น 3 เป็นแผนประกันที่ให้ความคุ้มครอง ‘น้อยกว่า’ ชั้น 1, ชั้น 2+ และชั้น 2 โดยจะเน้นให้ความคุ้มครอง “ความรับผิดชอบของบุคคลภายนอก” เป็นหลัก ซึ่งไม่ได้ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ที่ทำประกัน ไม่ว่าจะเป็นการก่อการร้าย รวมถึงประกันภัยรถหายก็ไม่มีด้วยเช่นกัน

    โดยความคุ้มครองหลัก ๆ ของประกันภัยรถยนต์ 3+ และ 3 มีดังนี้

    1. ความเสียหายต่อตัวรถที่ทำประกันภัย
      • อุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก (เฉพาะแผนประกัน 3+)
    2. ความเสียหายต่อบุคคลภายนอก
      • ทรัพย์สิน
      • ชีวิต และร่างกาย
    3. ความคุ้มครองเพิ่มเติมตามเอกสารแนบท้าย
      • อุบัติเหตุส่วนบุคคล
      • ค่ารักษาพยาบาล
      • ค่าประกันตัวผู้ขับขี่

รถโดนขโมย รถหาย ต้องทำยังไง ?

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ร้ายแรง อย่าง ‘รถหาย’ ทั้งจากการชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ หรือใด ๆ ก็ตาม แน่นอนว่าหลายคนคงร้อนรน และอยากจะตามรถคืนกลับมาให้เร็วที่สุด แต่จะดีกว่าไหม ? หากคุณมีวิธีรับมือที่เป็นขั้นตอน ซึ่งจะต้องทำยังไงบ้าง ตามไปดูกันเลย

  • 1. ตั้งสติ

    เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง และน่ากังวลใจ โดยเฉพาะรถหาย รถโดนขโมย ไม่แปลกที่หลาย ๆ คนจะตั้งสติไม่อยู่ แต่เชื่อเถอะว่าหากคุณสามารถควบคุมสติอารมณ์ได้ดี จะช่วยให้คิดหาวิธีแก้ไข จนสามารถผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างแน่นอน

  • 2. ติดต่อบริษัทประกัน หรือบริษัทไฟแนนซ์ทันที

    สิ่งที่ควรทำหลังจากตั้งสติได้แล้ว คือการติดต่อบริษัทประกันภัยรถยนต์ หรือบริษัทไฟแนนซ์ทันที เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่รับทราบว่าเกิดเหตุอะไรขึ้น และจะได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้ทันที โดยไม่ติดขัดใด ๆ

  • 3. แจ้งความ

    เมื่อแจ้งบริษัทประกันหรือบริษัทไฟแนนซ์แล้ว อันดับต่อมาให้เดินทางไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวันเอาไว้เป็นหลักฐาน และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามคนร้ายมาดำเนินคดีตามกฎหมาย รวมถึงติดตามรถที่หายไปคืนมาด้วย

    นอกจากนี้ “บันทึกประจำวัน” ยังใช้เป็นหลักฐานประกอบการติดต่อเรื่อง ‘เคลมประกันรถหาย’ กับบริษัทประกันภัยรถยนต์ด้วยเช่นกัน เมื่อรถหายสิ่งที่ควรทำมาก ๆ คือการแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวันให้เรียบร้อย เพราะอาจมีปัญหาเรื่องการขอเคลมประกันนั่นเอง

  • 4. ติดต่อบริษัทประกันภัยรถยนต์อีกครั้ง

    หลังจากเดินทางไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการติดต่อบริษัทประกันรถยนต์อีกครั้ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ เพื่อประเมิน ‘ค่าสินไหมทดแทน’ ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

    ซึ่งแต่ละบริษัทจะไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ และมีขั้นตอนการดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในส่วนนี้ถือเป็น ‘ข้อควรระวัง’ ที่ต้องเปรียบเทียบประกันรถยนต์ รวมถึงเช็คทุนประกันรถยนต์ให้ดีก่อนทำประกันทุก ๆ ครั้ง

  • 5. ติดต่อหน่วยงานที่สามารถช่วยเหลือ หรือช่วยกระจายข่าวได้

    ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน “โซเชียลมีเดีย” เริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการกระจายข่าวสารต่าง ๆ ที่ทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว หมายความว่าการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสื่อต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือ หรือตามหาเบาะแสรถหาย ก็ทำให้มีโอกาสได้รถคืนเร็วขึ้น

    โดยช่องทางการกระจายข่าวสารที่สามารถขอความช่วยเหลือได้ มีดังนี้

    • สายด่วนรถหาย โทร.1192
    • จ.ส.100 โทร.1137
    • แจ้งรถหาย โทร.1599
    • ศูนย์วิทยุร่วมด้วยช่วยกัน สวพ. โทร.1677

วิธีป้องกันรถหาย ทำยังไง ?

วิธีป้องกันรถหาย ทำยังไง ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

สำหรับคนที่กำลังมองหาวิธีป้องกันรถหาย เพราะไม่อยากพบเจอเหตุการณ์ร้ายแรงนี้กับตัวเอง มิสเตอร์ คุ้มค่า ก็มีมาบอกต่อด้วยเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

  • 1. ไม่จอดรถในที่เปลี่ยว

    เมื่อต้องจอดรถในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย หรือบริเวณดังกล่าวค่อนข้างเปลี่ยว แสงไฟน้อย ไร้ผู้คน (ลับตาคน) แนะนำให้เลี่ยงการจอดรถบริเวณดังกล่าวจะดีกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้คนร้ายขโมยรถไปได้ง่าย ๆ

  • 2. ใช้อุปกรณ์ล็อกเกียร์

    หากจะเลือกใช้ ‘อุปกรณ์ล็อกเกียร์’ เป็นหนึ่งในวิธีป้องกันรถหาย แนะนำให้เลือกยี่ห้อที่มีชื่อเสียง วัสดุทำจากสแตนเลสหรือเหล็กกล้าอย่างดี อย่าได้คิดใช้ของราคาถูกเด็ดขาด เพราะแบบนั้นเหมือนขอประดับรถมากกว่า แทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย

  • 3. ใช้อุปกรณ์ล็อกเบรคคลัทช์

    อุปกรณ์ล็อกเบรคคลัทช์ถือเป็นวิธีป้องกันรถหาย ที่ได้รับความนิยมมาก ๆ ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง บางรุ่นคนร้ายอาจต้องใช้แก็สตัดเพื่อปลดล็อกกันเลยทีเดียว

  • 4. ใช้อุปกร์ล็อกพวงมาลัย

    อุปกรณ์ล็อกพวงมาลัยถือเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันรถหายที่ดี เพราะจะทำให้คนร้ายใช้เวลาในการปลดล็อกเพิ่มขึ้น

  • 5. ป้องกันการถูกปั้มกุญแจ

    การป้องกันการถูกปั้มกุญแจ จริง ๆ ต้องอาศัยความระมัดระวังในการใช้รถมาก ๆ เช่น เมื่อนำรถไปซ่อมตามอู่หรือนำรถไปล้างที่ร้าน ควรทิ้งไว้เฉพาะกุญแจรถเท่านั้น ส่วนกุญแจล็อกแบบอื่น ๆ ควรเก็บไว้กับตัว เพราะคนร้ายอาจใช้จังหวะนี้ในการแอบปั้มกุญแจ และสะกดรอยตามได้

หากจะมองว่าเหตุการณ์ “ รถหาย “ เป็นเรื่องไกลตัว หรือไม่มีทางเกิดขึ้นกับตัวเองแน่ ๆ เนื่องจากระมัดระวังตัวเองตลอด รู้วิธีป้องกันรถหายเป็นอย่างดี แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอด ดังนั้นเพื่อความอุ่นใจ สบายใจที่มากกว่า แนะนำให้เลือกทำประกันภัยรถหายเอาไว้ด้วย แม้จะมีทุนประกันรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าไม่มีความคุ้มครองใด ๆ เลย

คำจำกัดความ
​​ค่าสินไหมทดแทน ​เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน หรือแก่บุคคล อันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย
​วิกฤต ​อยู่ในขั้นอันตราย, ร้ายแรง, น่าเป็นห่วง มักใช้แก่เวลา หรือเหตุการณ์ เป็น วิกฤติกาล หรือวิกฤติการณ์, อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น จุดวิกฤติ
​เลินเล่อ ​ขาดความระมัดระวัง หรือไม่รอบคอบ​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่