ทำทุกปี ต่อทุกปี แต่น่าเสียดายที่หลายยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของมัน! สิ่งที่เรียกว่า พ.ร.บ.รถยนต์ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินหรือรู้จัก พ.ร.บ.รถยนต์ มาบ้างแล้ว แต่ไม่เคยรู้เลยว่ามีประโยชน์อะไร ? ช่วยอะไรคุณได้บ้าง ? และหาก พ.ร.บ.รถยนต์หายต้องทำยังไง ? มีผลต่อการต่อภาษีรถยนต์หรือไม่ ? ชวนทำความเข้าใจให้มากขึ้นเรื่อง พ.ร.บ.รถยนต์ และภาษีรถยนต์ MrKumka ลิสต์ประเด็นสำคัญมาให้แล้ว ไปดูกันเลยในบทความนี้
พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร ? ทำไมต้องต่อ พ.ร.บ. ทุกปี ?
พ.ร.บ.รถยนต์ คือ “ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งกำหนดให้เจ้าของรถที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือผู้ครอบครองรถในกรณีเป็นผู้เช่าซื้อรถ และต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี นอกจากนี้ยังเป็น 1 ในหลักฐานที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ในทุก ๆ ปีอีกด้วย ในกรณีที่ไม่ทำจะถือว่าผิดกฎหมาย
ความสำคัญของ พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร ?
กรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน รถยนต์คันที่มี พ.ร.บ.รถยนต์ จะได้รับตามคุ้มครอง 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
1. คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น
หลังจากเกิดเหตุ ผู้ขับขี่, ผู้โดยสาร รวมถึงบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บ ค่าเสียหายกรณีทุพพลภาพ และค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต “โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด”
บริษัทประกันจะชดใช้ให้กับผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับคำร้องขอให้บริษัทชดเชยความเสียหาย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ จะได้รับชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
- กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อคน
- กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย จะได้รับชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ 35,000 บาทต่อคน
2. คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน
เป็นค่าเสียหาย “หลังจากพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก” โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนดังนี้
- กรณีได้รับบาดเจ็บ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง (มีหลักฐานการชำระเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน) แต่ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
- กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จะได้รับค่าทดแทนเป็นจำนวนเงินเฉลี่ย 200,000-500,000 บาทต่อคน ขึ้นอยู่กับจุดที่สูญเสียอวัยวะ และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนด
- กรณีเข้ารับการรักษาในฐานะ ‘ผู้ป่วยใน’ ภายในสถานพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน
- กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนสูงสุด ไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน
หากไม่ทำหรือต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ มีความผิดตามกฎหมายไหม ?
ขอย้ำอีกครั้งว่าพ.ร.บ.รถยนต์ มีภาระผูกพันตามกฎหมาย เนื่องจากเป็น “ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” หากไม่ทำหรือไม่ต่อพ.ร.บ. จะมีโทษปรับดังนี้
- กรณีเจ้าของรถไม่ทำพ.ร.บ.รถยนต์ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- กรณีคนที่ไม่เจ้าของรถ ขับขี่รถคันที่ไม่ได้ทำพ.ร.บ.รถยนต์ หรือไม่ได้ต่อพ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- กรณีเป็นเจ้าของรถไม่จัดทำพ.ร.บ.รถยนต์ และนำรถคันดังกล่าวไปใช้ ถือว่าผิดทั้ง 2 กระทง มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
นอกจากการให้ความใส่ใจพ.ร.บ.รถยนต์ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีต่าง ๆ และโทษของการไม่ทำหรือต่อพ.ร.บ.แล้ว“ประกันภัยรถยนต์” ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่น่าสนใจไม่แพ้กัน หากต้องการได้รับความคุ้มครอง “เพิ่มเติม” MrKumka พร้อมนำเสนอแผนประกันดีที่สุดให้คุณ คุ้มครองครอบคลุมทุกเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แถมค่าเบี้ยสบายกระเป๋า เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ที่ใช่ เลือกความคุ้มครองที่ชอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
พ.ร.บ.รถยนต์หาย ต้องทำยังไง ?
หลังจากรู้แล้วว่าพ.ร.บ.รถยนต์มีความสำคัญ และมีภาระผูกพันตามกฎหมายยังไง หากพบว่าพ.ร.บ.รถยนต์หาย อันดับแรกที่คุณต้องทำคือ “แจ้งความลงบันทึกประจำวัน” กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันในการดูแลความปลอดภัย และเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นแอบอ้างนำป้ายไปกระทำผิดกฎหมาย จากนั้นควรไปขอป้ายใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
เตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้
- หนังสือในการจดทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริงพร้อมสำเนา) กรณีที่รถยนต์ติดไฟแนนซ์ควรติดต่อบริษัทไฟแนนซ์เพื่อดำเนินการขอป้ายใหม่
- เอกสารสำเนาใบแจ้งความ หรือสำเนาบันทึกประจำวัน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
การยื่นคำขอทางกรมขนส่งทางบก
- เดินทางไปที่กรมขนส่งทางบกใกล้บ้าน พร้อมกับแจ้งทำใบแทนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย
- นำใบแจ้งความยื่นให้เจ้าหน้าที่ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะให้กรอกเอกสารเพิ่ม 1 ใบ และใบคำร้องอีก 1 ใบ
- รอรับบัตรคิวกับเจ้าหน้าที่ และรอดำเนินการ
- รอรับบัตรคิวกับเจ้าหน้าที่ และรอดำเนินการ
- รอรับพ.ร.บ.รถยนต์ใหม่
พ.ร.บ.รถยนต์หายต่อภาษีรถยนต์ได้ไหม ?
หากพ.ร.บ.รถยนต์หายบอกไว้เลยว่า “ยังไงก็ต้องทำใหม่” ไม่อย่างนั้นจะเกิดปัญหาในการต่อภาษีรถยนต์แน่นอน เนื่องจากปกติรถยนต์ทุกคันต้องต่อพ.ร.บ.รายปี ยื่นเสร็จแล้วก็เก็บเอกสาร เพื่อยื่นเรื่องต่ออายุป้ายภาษี หรือ “ป้ายกลม” ที่ติดอยู่บนกระจก หากไม่มีพ.ร.บ.รถยนต์ แล้วถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจ จะมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท
วิธีต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ และต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ มีขั้นตอนยังไงบ้าง ?
อยากต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ และต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ แต่ไม่อยากเดินทางไปขนส่ง หรือหาเวลาว่างไม่ได้ ไม่ต้องกังวล เพราะปัจจุบันสามารถต่อพ.ร.บ.และต่อภาษีออนไลน์ได้แล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้
ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ ทำยังไง ?
สำหรับการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ในปัจจุบัน สามารถทำได้ผ่าน 2 ช่องทาง คือ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax โดยมีขั้นตอนดังนี้
- เข้าสู่เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เพื่อลงทะเบียนสำหรับเข้าสู่ระบบ
- ดูที่หัวข้อ “บริการ” จากนั้นคลิกเมนูชำระภาษีรถประจำปี และตามด้วยเมนูชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
- ค้นหาข้อมูลการลงทะเบียนรถ ซึ่งจะมีข้อมูล 3 ช่องให้ระบุ คือ ประเภทรถ, จังหวัด และเลขทะเบียนรถ จากนั้นกดบันทึก จะมีรายการข้อมูลลงทะเบียนรถปรากฏขึ้นมา ให้คลิกช่องสี่เหลี่ยมด้านหน้ารายการ แล้วกด “ชำระภาษี” (หากไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน ให้คลิกที่ “ลงทะเบียน” จากนั้นลงทะเบียนให้เรียบร้อยแล้วค่อยกดชำระภาษี)
- เมื่อเว็บไซต์เข้าสู่หน้าข้อมูลการยื่นภาษี จะมีข้อมูล 3 ช่องปรากฏขึ้นมา ได้แก่ รายละเอียดรถ, ข้อมูล พ.ร.บ.รถยนต์ และรายการที่ต้องชำระ ซึ่งขั้นตอนการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ ให้ดูที่หัวข้อข้อมูล พ.ร.บ. จากนั้นคลิกที่ “ไม่มี (ซื้อผ่านระบบ)” หลังจากจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คลิกเลือก “ต้องการซื้อ พ.ร.บ.ใหม่”
- กรอกข้อมูลเพื่อต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ จากนั้นกรอกข้อมูลข้างล่างช่องซื้อ พ.ร.บ.เพิ่ม ให้กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัย และรายละเอียดสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน
- ชำระค่าต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ที่ปรากฏ โดยคลิกเลือกวิธีชำระเงิน ซึ่งสามารถเลือกวิธีชำระได้ตามสะดวก เมื่อชำระเรียบร้อยแล้วจะมีใบเสร็จขึ้นเป็นหลักฐาน จากนั้นก็รอรับพ.ร.บ.รถยนต์ตามที่อยู่ที่กรอกได้เลย
ต่อภาษีออนไลน์ทำยังไงบ้าง ?
สำหรับการต่อภาษีออนไลน์ ขั้นตอนไม่ได้ต่างจากการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์เลยสักนิด แถมหลายคนยังสับสนอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากการต่อทั้ง 2 อย่าง ทำผ่านเว็บไซต์เดียวกัน ขั้นตอนไม่ได้ต่างกันมาก โดยมีรายละเอียดการต่อภาษีออนไลน์ดังนี้
- เข้าสู่เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ดูที่หัวข้อ “บริการ” และเลือกเมนู “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”
- หากลงทะเบียนครั้งแรก ให้กรอกข้อมูลรถให้เรียบร้อย ทั้งประเภท, จังหวัด และเลขทะเบียน จากนั้นกดบันทึก หากมีรถมากกว่า 1 คัน สามารถลงทะเบียนได้ทั้งหมด หรือถ้าอยากแก้ไขรายละเอียดให้กดที่ “ยกเลิกลงทะเบียนรถ” แล้วกดลงทะเบียนใหม่
- จากนั้นจะมีรายการขึ้นมา ให้กดที่ช่องสี่เหลี่ยมตรงคำว่า “ยื่นชำระภาษี” ได้เลย
- ตรวจสอบข้อมูลรถ และกรอกข้อมูลทั้งหมดให้เรียบร้อย จากนั้นกดที่ “กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร” และคลิก “เลือกวิธีชำระเงิน”
- เมื่อเลือกวิธีชำระเงินได้แล้วให้กดตกลง ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งแล้วกดยืนยัน
- รอบรับเอกสารที่บ้านได้เลย แต่ถ้าหากระบบขึ้นว่าชำระเงินไม่สำเร็จ สามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงินได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางการชำระเงิน”
ขอย้ำอีกครั้งว่าหากพ.ร.บ.รถยนต์หายไม่ดำเนินการขอใหม่ หรือไม่ต่อพ.ร.บ. นอกจากจะมีผลกระทบต่อภาษีรถยนต์แล้ว ยังมีภาระผูกพันตามกฎหมาย ที่มาพร้อมกับค่าปรับที่คุณจำเป็นต้องชำระ เพราะฉะนั้นอย่าได้คิดมองข้ามประเด็นเหล่านี้เด็ดขาด ควรต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์และต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์เป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในภายหลัง
คำจำกัดความ
เช่าซื้อ | การที่เจ้าของเอาทรัพย์สินออกมาให้เช่า และให้คำสัญญาว่าเมื่อผู้เช่าทำการจ่ายเงินครบตามที่สัญญาก็จะทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้ |
ทายาทโดยธรรม | ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดกของผู้ตาย ซึ่งมี 2 ประเภท ประเภทที่ 1 คือ ทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติสืบสายโลหิต มี 6 ลำดับ เรียงตามความสำคัญ ประเภทที่ 2 คือ ทายาทซึ่งมีสิทธิตามพินัยกรรมระบุ |
ทุพพลภาพ | หย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติเพราะร่างกายไม่สมบูรณ์ |
ค่าปลงศพ | ค่าใช้จ่ายทุกชนิดในการจัดการศพของผู้ตาย |
ภาระผูกพันตามกฎหมาย | ภาระผูกพันที่เกิดจากรายการใด รายการหนึ่งต่อไปนี้ 1. สัญญา (ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างชัดแจ้งหรือโดยนัย) 2. กฎหมายที่ใช้บังคับ 3. กระบวนการตามกฎหมายอื่น |