ก่อนจะต่อทะเบียนรถยนต์ของคุณ ต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องภาษีรถ

แชร์ต่อ
รู้ก่อนว่าการต่อทะเบียนรถยนต์คืออะไร

เชื่อว่าอีกหนึ่งสิ่งน่าปวดหัวของใครหลาย ๆ คนที่ใช้รถใช้ถนน คือ การต่อทะเบียนรถยนต์ หรือที่เรียกกันว่า “ ต่อภาษีรถยนต์ ” เนื่องจากต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ไปยื่นที่กรมขนส่ง ขั้นตอนยุ่งยาก ยิ่งหากไปขนส่งโดยตรงอาจต้องเสียเวลาไปทั้งวันในการทำเรื่อง

วันนี้ MrKumka ได้รวบรวมรายละเอียดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ “เรื่องที่ต้องรู้” ก่อนต่อภาษีรถยนต์ เพื่อให้คุณดำเนินการได้อย่างถูกต้องและไม่ต้องเสียค่าปรับในภายหลังหากปล่อยให้ภาษีขาด ใช้รถเพลินจนลืมต่อภาษี มีรายละเอียดอะไรบ้าง ? รับรองว่ามีประโยชน์สำหรับคนใช้รถทุกคนอย่างแน่นอน ไปดูกันเลย

รู้ก่อนว่าการ ต่อทะเบียนรถยนต์ คืออะไร ?

รถยนต์ทุกคันจะต้องดำเนินการจ่ายภาษีตามที่กฎหมายบังคับ โดยเงินที่จ่ายไปนั้น ทางหน่วยงานภาครัฐจะนำไปพัฒนาปรับปรุงถนน รวมถึงการคมนาคมภายในประเทศ จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมผู้มีรถยนต์ทุกคน จำเป็นจะต้องต่อทะเบียนรถขนส่ง ทุกปี และถ้าหากปล่อยเอาไว้อาจทำให้เจอกับค่าปรับ และเสียเวลาในการดำเนินการต่ออีกด้วย

5 สิ่งที่คุณต้องรู้เมื่อจะ ต่อภาษีรถ

สำหรับการต่อภาษีรถยนต์มีกฎระเบียบที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เหมือนกับการ จองทะเบียนรถยนต์ต่างจังหวัด หรือ วิธีจองเลขทะเบียนรถออนไลน์ แน่นอนว่าการต่อภาษีรถยนต์ ก็สามารถทำออนไลน์ได้ แต่ก่อนไปต่อภาษีก็ควรทำความเข้าใจรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีก่อน เพื่อที่จะได้คำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้อย่างรอบคอบ และเราก็ได้รวบรวม “เรื่องที่ควรรู้” มาให้เรียบร้อยแล้ว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. การต่อภาษีรถยนต์ในแต่ละครั้ง จะต้องทำการ “ต่อภาษีรถยนต์ในปีที่หมดอายุ” โดยสามารถต่อภาษีได้ก่อนวันที่จะหมดอายุ “ล่วงหน้า 90 วัน” ซึ่งถือว่ามีเวลาเพียงพอในการ “คำนวณค่าใช้จ่าย” ในการต่อภาษีรถยนต์ได้อย่างรอบคอบ
  2. หากคุณต่อภาษีล่าช้ากว่าที่กฎหมายกำหนด โปรดจำไว้เลยว่า “ค่าปรับยิ่งเพิ่มมากขึ้น” ตามไปด้วย ตามปกติแล้วจะนับตั้งแต่วันที่ขาด 1 วันขึ้นไป ทางกฎหมายจะถือว่าเป็นการ “ขาดต่อภาษีรถยนต์” ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่ 1-3 ปี จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1% ต่อเดือน
  3. กรณีที่ “ขาดต่อภาษีรถยนต์” นานกว่า 3 ปีขึ้นไป ป้ายทะเบียนของรถยนต์คันนั้น ๆ จะถูกยกเลิกทันที หากต้องการต่อภาษีรถยนต์ใหม่จะต้องนำป้ายทะเบียนเดิม ไปคืนที่กรมขนส่งทางบก พร้อมกับ “ชำระค่าปรับ” ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถทำใหม่ได้
  4. การต่อภาษีรถยนต์ทุกครั้ง “รถยนต์ที่มีอายุไม่ถึง 7 ปี” ไม่จำเป็นจะต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี เว้นแต่รถยนต์มีอายุเกินกว่า 7 ปี จะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ให้ครบก่อน จึงจะสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้
  5. สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยเด็ดขาด คือ “ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์” หรือที่เรียกกันว่า “ประกันภาคบังคับ” ให้เรียบร้อยก่อน ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้

ต่อทะเบียนรถ ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

นอกจากจะต้องเตรียมตัวในการต่อภาษีรถยนต์ให้พร้อมแล้ว “เอกสาร” ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกัน โดยเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ มีดังนี้

5 สิ่งที่คุณต้องรู้เมื่อจะต่อภาษีรถ
  • คู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริงหรือสำเนา
  • หลักฐานที่ระบุไว้ว่าได้ทำประกันภัยตามที่กฎหมายบังคับ (พ.ร.บ. รถยนต์)
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ หากรถยนต์มีอายุเกินกว่า 7 ปีขึ้นไป รวมถึงกรณีที่รถมีการดัดแปลงสภาพ

ตรวจสภาพรถ” ก่อนต่อภาษี ต้องตรวจอะไรบ้าง ?

กรณีที่รถยนต์ของคุณมีอายุมากกว่า 7 ปี จำเป็นจะต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีทุกครั้ง ซึ่งถ้าหากคุณสงสัยว่าต้องตรวจอะไรบ้าง ? เราได้ลิสต์มาให้เรียบร้อยแล้ว

  1. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรถยนต์ เช่น ลักษณะรถ หมายเลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ แผ่นป้ายทะเบียน ฯลฯ
  2. ตรวจสภาพตัวรถ เช่น อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย สี ตัวถัง พวงมาลัย อุปกรณ์ไฟฟ้า ฯลฯ
  3. ตรวจสอบระบบภายในรถ เช่น ระบบรองรับน้ำหนัก ระบบบังคับเลี้ยว ระบบเชื้อเพลิง ฯลฯ
  4. ทดสอบประสิทธิภาพการเบรก โดยตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่
  5. ตรวจสอบวัดโคมหน้าไฟ ทิศทางการเบี่ยงเบนของแสง และวัดค่าความเข้มของแสง
  6. ตรวจสอบวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ของรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  7. รถยนต์เครื่องดีเซลต้องตรวจควันดำ โดยระบบการกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบความทึบแสงต้องไม่เกินร้อยละ 45
  8. การตรวจวัดเสียงรถ ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล

ต่อภาษีรถยนต์ที่ไหนได้บ้าง

หลังจากดำเนินการตามขั้นตอนทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารทั้งหมดยื่นเพื่อดำเนินการต่อภาษีผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

  1. กรมการขนส่งทางบก
  2. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
  3. ที่ทำการไปรษณีย์
  4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  5. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี”
  6. เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
  7. แอปพลิเคชัน mPay และ True Money Wallet
  8. ต่อภาษีรถออนไลน์โดยตรง ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ หรือแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

แม้การต่อภาษีรถยนต์จะมีขั้นตอนหรือรายละเอียดที่ค่อนข้างจุกจิก แต่ก็เป็นสิ่งที่คุณไม่ควรละเลยเด็ดขาด เพราะอาจนำพาผลเสียต่าง ๆ ตามมาในภายหลัง โดยเฉพาะ “ค่าปรับ” จำนวนมหาศาล ที่ทำเอาคุณปาดเหงื่อไปตาม ๆ กัน และเลวร้ายที่สุด “ป้ายทะเบียนรถอาจถูกระงับการใช้งาน” อีกด้วย สำหรับคนที่กำลังมองหา “ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ” เพื่อเสริมสร้างความอุ่นใจให้คุณ และคนที่คุณรักตลอดการเดินทาง MrKumka.com พร้อมมอบกรมธรรม์ดีที่สุดให้คุณเสมอ สามารถเข้ามา “เปรียบเทียบประกันรถยนต์ออนไลน์” ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่