เจาะความคุ้มครองกรณีไฟไหม้รถ ประกันรถจะรับผิดชอบให้ยังไงบ้าง ?

แชร์ต่อ
เจาะความคุ้มครองกรณีไฟไหม้รถ ประกันรถจะรับผิดชอบให้ยังไงบ้าง ?

กับเหตุการณ์ที่คนใช้รถคงไม่มีใครอยากเจอมากที่สุด เพราะว่าผลลัพธ์สร้างความเสียหายร้ายแรงไม่ต่างจากการอุบัติเหตุใหญ่ ว่าด้วยเรื่อง ไฟไหม้รถ ถือเป็นอุบัติเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่ทันตั้งตัว แถมยังมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวอีกต่างหาก แล้วแบบนี้จะเคลมประกันได้ไหม ? MrKumka จะพาคุณไปหาคำตอบในประเด็นนี้กัน ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

สาเหตุที่ทำให้ไฟไหม้รถเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

อย่างที่บอกว่าเหตุการณ์ไฟไหม้รถหลายคนมักมองเป็น “เรื่องไกลตัว” แต่ถ้าไม่อยากเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ระทึกขวัญดังกล่าว เราไปดู “สาเหตุ” ที่ทำให้รถไฟไหม้้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกันเลยดีกว่า

  • 1. อุณหภูมิเครื่องยนต์สูง

    ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “เครื่องยนต์” ไม่ใช่สาเหตุหลักของเหตุการณ์ไฟไหม้ แต่การที่เครื่องยนต์มีอุณหภูมิสูงเกินไป ของเหลวต่าง ๆ เช่น น้ำยาหล่อเย็น น้ำมัน หรืออื่น ๆ มีอุณหภูมิสูงขึ้นตามไปด้วย ยิ่งถ้าหากของเหลวเหล่านั้นรั่วออกมา มันจะกระจายไปทั่วห้องเครื่องและทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้รถได้

  • 2. ระบบเชื้อเพลิงรั่วไหล

    ระบบเชื้อเพลิงมีความเกี่ยวข้องกับการเผาไหม้ หากมีการรั่วไกลเกิดขึ้น แม้มีประกายไฟเพียงแค่นิดเดียวก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้รถได้ ซึ่งสาเหตุนี้ถือเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อย เนื่องจากเชื้อเพลิงมีจุดเผาไหม้ที่ต่ำมาก เมื่อมีการรั่วซึมก็ย่อมเพิ่มโอกาสไฟไหม้ได้

  • 3. ขาดการซ่อมบำรุง

    หากรถยนต์คู่ใจของคุณถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน และไม่เคยเช็คสภาพเลยแม้แต่น้อย นอกจากจะทำให้เสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว ยังอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ได้อีกด้วย แนะนำให้นำรถเข้าตรวจเช็กสภาพรถอย่างสม่ำเสมอ หากชิ้นส่วนไหน ๆ ได้รับความเสียหาย จะได้ทำการซ่อมแซมได้ทันเวลา

  • 4. อุบัติเหตุ

    ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ได้รับการออกแบบให้ปกป้องเครื่องยนต์ ถังเชื้อเพลิง และแบตเตอรี่เป็นพิเศษ แต่ถึงอย่างนั้นหากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นมา จนทำให้ของเหลวไวไฟต่าง ๆ รั่วไหลออกมา ก็อาจสร้างประกายไฟจนทำให้ไฟไหม้รถได้เช่นกัน

  • 5. การปรับแต่งที่ไม่ได้มาตรฐาน

    หากคุณเป็นสายรถแต่ง ชอบดัดแปลงหรือปรับแต่งรถ สามารถทำได้แต่ควรอยู่ในข้อกำหนดของกฎหมาย และคำนึงถึงความปลอดภัยของการขับขี่เป็นหลัก เพราะการปรับแต่งที่ไม่ได้มาตรฐานก็สามารถก่อให้เกิดจุดบกพร่อง จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้ได้เช่นกัน

ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุเพียงแค่บางส่วนที่ทำให้ไฟไหม้รถเท่านั้น หากไม่อยากเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ไฟไหม้รถ หลัก ๆ แนะนำให้นำรถยนต์คู่ใจไปตรวจเช็คสภาพรถอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น แต่ถ้าหากคุณกังวลใจ และอยากรู้ “วิธีรับมือ” เผื่อเอาไว้ ไม่ต้องไปหาข้อมูลจากที่ไหนไกล เพราะ MrKumka ก็ได้รวบรวมมาให้แล้วเหมือนกัน ไปดูกันเลย

เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ไฟไหม้รถ ต้องรับมืออย่างไร ?

สาเหตุที่ทำให้ไฟไหม้รถเกิดจากอะไรได้บ้าง

แม้ว่าจะพาตัวเองและรถยนต์คู่ใจออกจากสาเหตุที่ทำให้ไฟไหม้รถได้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุแน่นอนว่ามันยากเกินกว่าจะควบคุม ดังนั้นเมื่อพบเจอกับเหตุการณ์ไฟไหม้ยานพาหนะคู่ใจ จะต้องทำยังไงถึงจะปลอดภัยไปดูกันเลย

  1. อย่างแรกสิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือตั้งสติ จากนั้นพยายามนำรถจอดข้างทางโดยเร็วที่สุด แต่ถ้าหากไม่สามารถนำรถเข้าข้างทางได้ ให้เปิดไฟฉุกเฉินแล้วจอดรถ
  2. ในกรณีที่มีแค่ควันพวยพุ่งออกมาให้ดับเครื่องยนต์ เพื่อลดโอกาสเกิดเพลิงไหม้
  3. ทิ้งสัมภาระและให้ทุกคนในรถออกจากรถทันที
  4. พยายามอยู่ห่างจากตัวรถ ‘อย่างน้อย’ 30 เมตร เพื่อป้องกันการได้รับอันตรายในกรณีที่มีการระเบิด
  5. รีบโทรแจ้งส่วนด่วนนิรภัย เบอร์ 1784, เจ้าหน้าที่ดับเพลิง หรือหน่วยกู้ภัยทันที

ไฟไหม้รถคุณจะดับไฟด้วยตัวเองได้ไหม ?

กรณีที่ต้องเผชิญหน้ากับเหตุไฟไหม้รถแต่ยังไม่รุนแรงมากนัก ประกอบกับคุณมีถังดับเพลิงติดรถมาด้วย สามารถดับไฟด้วยตัวเองเพื่อลดความเสียหายได้ แต่ “ห้ามเปิดฝากระโปรงรถเด็ดขาด” เพราะจะเป็นการเติมออกซิเจนจนทำให้รถไฟไหม้และลุกลามมากกว่าเดิม

แนะนำให้ปลดฝากระโปรงหรือท้ายรถ แล้วฉีดเข้าเข้าไปทางช่องว่างดังกล่าว เมื่อไฟเบาลงแล้ว จึงจะสามารถเปิดจุดที่ไฟไหม้ เพื่อใช้ถังดับเพลิงฉีดให้ทั่วจนกว่าจะมั่นใจว่าไฟดับสนิทได้เลย

เคลมประกันไฟไหม้รถ ประกันรถประเภทไหนคุ้มครองบ้าง ?

หากต้องการได้รับความคุ้มครองเรื่องไฟไหม้รถ “ประกันภาคสมัครใจ” ถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ดีที่สุด แต่จะต้องเลือกซื้อประกันชั้นไหนถึงสามารถเคลมประกันประเด็นนี้ได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้วตาม MrKumka ไปดูกันเลย!

ประกันชั้นไหนบ้างที่ให้ความคุ้มครอง ?

หากคุณต้องการเคลมประกันไฟไหม้รถ ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่ให้ความคุ้มครอง มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ ประกันชั้น 1, 2+ และชั้น 2 ที่ครอบคลุมการเกิดไฟไหม้ทุกกรณี ซึ่งให้ความรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนตามวงเงินทุนประกัน แต่จะมี “เงื่อนไข” ความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

ประกันชั้นไหนบ้างไม่คุ้มครอง เพราะอะไร ?

สำหรับประกันภัยที่ไม่สามารถเคลมประกันกรณีไฟไหม้ได้ คือ ประกันชั้น 3+ และ ประกันชั้น 3 รวมไปถึงยังไม่คุ้มครองกรณีภัยธรรมชาติอีกด้วย โดยบริษัทประกันรถยนต์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเฉพาะอุบัติเหตุจราจรเท่านั้น ซึ่งครอบคลุมความเสียหายของตัวรถ ทรัพย์สิน ค่ารักษาพยาบาล และประกันอุบัติเหตุ

จะเห็นได้ว่าประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท มี “ขอบเขต” ในการคุ้มครองที่ต่างกันออกไป ดังนั้นหากต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุม อย่าได้มองแค่เบี้ยประกันรถยนต์ที่ถูกลงมากเกินไป เพราะหมายความว่าความคุ้มครองที่จะได้รับก็น้อยลงตามไปด้วย แนะนำให้สำรวจไลฟ์สไตล์การขับขี่ และความเสี่ยงที่ต้องพบเจอในแต่ละวันให้ดี รวมถึงเช็คราคาประกันรถยนต์อย่างถี่ถ้วน เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ ตรงใจมากที่สุด

ไฟไหม้รถบริษัทประกันรถยนต์รับผิดชอบยังไง ?

การจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีไฟไหม้รถ ทั้งประกันชั้น 1, 2+ และ 2 จะพิจารณาจาก 2 กรณีเป็นปัจจัยคือ เรื่องระดับความเสียหายของตัวรถ ได้แก่ เสียหายหนักไม่สามารถซ่อมได้ และความเสียหายที่ซ่อมได้ โดยมีรายละเอียดความคุ้มครองดังต่อไปนี้

รถเสียหายหนัก ซ่อมไม่ได้

กรณีรถเสียหายหนักหรือ “เสียหายสิ้นเชิง” ไม่สามารถซ่อมให้เป็นเหมือนเดิมได้ ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นตีเป็นมูลค่ามากกว่า 70% ทางบริษัทประกันรถยนต์จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนทุนประกัน โดยเจ้าของรถจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ซากรถให้กับทางบริษัท หรือหากอยากเก็บซากรถเอาไว้เองก็สามารถทำได้ แต่จะได้รับเงินชดเชยไม่เต็มทุนประกัน

รถเสียหายหนัก ซ่อมได้

สำหรับรถยนต์ที่ไฟไหม้แต่ความเสียหายไม่รุนแรง สามารถซ่อมให้เป็นเหมือนเดิมได้ กรณีนี้เจ้าของรถสามารถพูดคุยกับบริษัทประกันรถยนต์ได้ว่า ต้องการซ่อมให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ หรือต้องการเปลี่ยนเป็นรถยนต์รุ่นเดิม ที่มีสภาพเดียวกันมาใช้ทดแทน นอกจากนี้ยังสามารถรับการชดเชย/ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินสดก็ได้เช่นกัน โดยทั้งหมดนี้จะขึ้นอยู่กับการตกลงกันของทั้ง 2 ฝ่าย

รถติดแก๊สไฟไหม้ ประกันจ่ายไหม ?

อีกหนึ่งกรณีที่ผู้เอาประกันสงสัยเป็นอันดับต้น ๆ คือ “รถติดแก๊สไฟไหม้ ประกันจ่ายไหม” ตอบตรงนี้เลยว่าประกันชั้น 1, 2+ และ 2 จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้อยู่แล้ว เนื่องจากอยู่ในขอบเขตความคุ้มครอง แต่มีเงื่อนไขที่บริษัทประกันมีสิทธิ์ที่จะไม่คุ้มครองด้วยเช่นกัน ดังนี้

  1. ติดตั้งระบบแก๊สที่ไม่ผ่านมาตรฐาน มอก.
  2. ไม่ได้แจ้งกับกรมขนส่งทางบกเรื่องการติดตั้งระบบแก๊ส
  3. ติดตั้งระบบแก๊สหลังทำประกันภัยรถยนต์ และไม่มีการส่งเอกสารเพื่อยืนยันการติดตั้งให้กับบริษัทประกันรถยนต์

ดังนั้นหากต้องการได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุม ไม่ว่าจะติดแก๊สก่อนหรือหลังทำประกัน ควรแจ้งการติดตั้งให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมาในภายหลัง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการประสบอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตาม ไม่น่าปวดใจเท่ากับไฟไหม้รถ เพราะยิ่งไฟไหม้รุนแรงมากเท่าไหร่ ความเสียหายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่คงจะดีไม่ใช่น้อยหากความเสียหายที่เกิดขึ้นสามารถเคลมประกันได้ หากคุณสนใจและอยากทำประกันภัยรถยนต์ที่ครอบคลุม แนะนำให้เปรียบเทียบเบี้ยประกันรถยนต์และความคุ้มครองที่จะได้รับให้ดี เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวคุณเอง

คำจำกัดความ
ฝากระโปรง ฝาครอบเครื่องยนต์ หรือฝาครอบที่เก็บของด้านหลังรถยนต์
ประกันภาคสมัครใจ การประกันภัยรถที่กฎหมายไม่ได้บังคับ ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เอาประกันภัย ที่เห็นถึงความเสี่ยงภัยแห่งตนและมีความคิดที่จะกระจายความเสี่ยงภัยออกไปยังบุคคลอื่น
ภัยธรรมชาติ ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งไม่อาจควบคุมได้ เป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่