เกิดอุบัติเหตุเป็นฝ่ายผิด ถูกเรียกค่าทำขวัญ ต้องจ่ายเองหรือประกันจ่ายให้ ?

แชร์ต่อ
เป็นฝ่ายผิด ถูกเรียกค่าทำขวัญ ต้องจ่ายเองหรือประกันจ่ายให้ ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

อุบัติเหตุ ไม่ว่าเล็กใหญ่ก็ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะนอกจากทรัพย์สินจะเสียหาย ยังเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรเสีย ยิ่งถ้าหากเป็นฝ่ายผิดและถูกคู่กรณีเรียกค่าทำขวัญ แบบนี้ยิ่งปวดหัว หากคุณกำลังสงสัยว่าประกันรถยนต์คุ้มครองกรณีรถชนเรียกค่าทําขวัญ หรือไม่ ? รวมถึงมีกฎหมาย การเรียกค่าทำขวัญที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมไหม ? มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ตามไปดูกันเลย

ค่าทำขวัญ คืออะไร ?

ค่าทำขวัญรถชน คือ “ค่าสินน้ำใจ” หรือค่าชดใช้ความเสียหายเพิ่มเติมที่คู่กรณียินยอมจ่าย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่นอกเหนือจากค่าชดเชยความเสียหาย ที่บริษัทประกันรถยนต์รับผิดชอบตามความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 รวมถึงประกันชั้นอื่น ๆ ด้วย โดยวัตถุประสงค์ของค่าทำขวัญคือ “เยียวยาผู้เสียหายเบื้องต้น” ตามที่ผู้เสียหายร้องขอ

นอกจากนี้บางกรณียังถือเป็นการ “แลกเปลี่ยน” เพื่อไม่ให้คู่กรณีไม่ร้องเรียนค่าชดเชยความเสียหายจากบริษัทประกันภัย หรือเพื่อแลกเปลี่ยนไม่ติดใจเอาความใด ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของทั้ง 2 ฝ่าย

ประกันจ่ายค่าทำขวัญให้ไหม หรือฝ่ายผิดต้องจ่ายเอง ?

หลังจากทำความเข้าใจคร่าว ๆ แล้วว่าค่าทำขวัญคืออะไร หลายคนคงเกิดความสงสัยว่าแบบนี้ใครต้องเป็นคนจ่าย ฝ่ายผิด หรือบริษัทประกันภัยรถยนต์ของฝ่ายผิด ตอบตรงนี้เลยว่า “ฝ่ายผิดต้องเป็นคนจ่าย” เนื่องจากการเรียกค่าทำขวัญไม่สามารถเรียกร้องจากประกันภัยรถยนต์ได้ ไม่ว่าจะเป็นประกันภาคบังคับหรือประกันภาคสมัครใจก็ตาม

เนื่องจากไม่มีระบุความหมายหรือคำจำกัดความไว้ในกฎหมายการเรียกค่าทำขวัญ หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นการตกลงปลงใจกันเองระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย (ระหว่างผู้กระทำความผิดความผิด และฝ่ายคู่กรณี) ซึ่งจะต้องจ่ายเท่าไหร่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน

นอกจากเรียกค่าทําขวัญรถชน คุณอาจต้องจ่ายค่าอะไรให้คู่กรณีอีกบ้าง ?

นอกจากค่าทําขวัญรถชน คุณอาจต้องจ่ายค่าอะไรให้คู่กรณีอีกบ้าง ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

ทุกครั้ง ๆ ที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน แล้วปรากฏว่าคุณเป็นฝ่ายผิดบอกไว้เลยว่า​ “เจ็บหนัก” แน่นอน โดยเฉพาะในเรื่องของการรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น นอกจากจะถูกคู่กรณีเรียกค่าทําขวัญรถชน แล้ว ยังมีค่าเสียหายอื่น ๆ อีกเพียบ จะมีอะไรบ้าง และต้องใช้เงินฉุกเฉินจ่ายเองไหม? หรือประกันรับผิดชอบทั้งหมด? ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลย

  • 1. เรียกร้องค่าเคลื่อนย้ายรถจากจุดเกิดเหตุ

    เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันบนท้องถนน แล้วคุณเป็นฝ่ายผิด ขับรถไปชนเขาชนรถยนต์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้ คู่กรณีสามารถเรียกร้องค่าเคลื่อนย้ายรถจากจุดเกิดเหตุได้ โดยบริษัทประกันของคุณจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ

  • 2. เรียกร้องค่าเสียหายต่อยานพาหนะ

    นอกจากเรียกร้องค่าเคลื่อนย้ายรถแล้ว คู่กรณียังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายต่อยานพาหนะได้อีกด้วย ซึ่งถ้าหากคุณทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ ก็อุ่นใจ สบายใจได้เลย เพราะบริษัทประกันจะรับหน้าที่ในการจ่าย “เงินชดเชย” ให้กับคู่กรณีตามวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

  • 3. เรียกร้องค่ารักษาพยาบาล

    ในกรณีที่คู่กรณี ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ก็ดี หรือผู้โดยสารก็ด้วย ได้รับบาดเจ็บจากความประสาทของคุณ คู่กรณีนี้สามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งบริษัทประกันภัยของคุณจะเยียวยาค่ารักษาพยาบาลให้กับคู่กรณี จนกว่าจะหายเป็นปกติ รวมถึงการจ่ายเงินชดเชยกรณีที่คู่กรณีขาดรายได้ เนื่องจากต้องนอนพักรักษาตัวจากอุบัติเหตุ

โดยคู่กรณีสามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลได้ตามความสมควร แต่ทั้งนี้การชดเชยกรณีดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทางบริษัทประกันอีกครั้ง และจะดำเนินการจ่ายค่าชดเชยให้หลังจากที่มีการเจรจาและส่งเอกสารเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ก็จะเป็นในเรื่องของค่าทำขวัญ รถ ชนที่ผู้เอาประกัน (ฝ่ายผิด) จะต้องเตรียมใช้เงินฉุกเฉินเองบ้างแล้ว เพราะอย่างที่บอกไปว่าในส่วนของค่าทำขวัญประกันชั้น 1 จะไม่ให้ความคุ้มครอง ไม่ว่าจะกรณีใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าคู่กรณี (ฝ่ายถูก) จะเรียกร้องหรือไม่ และเรียกร้องเท่าไหร่ ในส่วนนี้ให้ตกลงกันเองได้เลย แต่ถ้าตกลงแล้วก็ควรจ่ายไม่เช่นนั้นหากคู่กรณีแจ้งความเอาผิดขึ้นมา อาจต้องเจอกับปัญหาหนักมากกว่าเดิม

เห็นแล้วใช่ไหมว่าอุบัติเหตุไม่เลือกเวลาเกิด หากคุณกังวลว่าวันหนึ่งจะเกิดขึ้นกับคุณและตัวเองจะ “เป็นฝ่ายผิด” ถูกเรียกค่าทําขวัญรถชน รวมถึงค่าชดเชยจิปาถะ ดีที่สุดคือการมองหาประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ครบทุกมิติ ผ่านการเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ จะทำให้ได้ราคาประกันชั้น1 ที่คุณต้องการและเปรียบเทียบความคุ้มครองอย่างถี่ถ้วน

ค่าทำขวัญรถชน ใช่ตัวเดียวกับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถไหม

อย่างที่อธิบายไปก่อนหน้าแล้วว่า ค่าทำขวัญประกันชั้น 1 คือ “สินน้ำใจ” ตามแต่ตกลงกันเองระหว่างฝ่ายผิดและฝ่ายถูก ไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดตายตัว และไม่มีกฎหมาย การเรียกค่าทำขวัญเข้ามาเกี่ยวข้อง จะจ่ายหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่ง “ไม่เกี่ยว” กับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

เนื่องจากค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ “ค่าสินไหมทดแทน” รูปแบบหนึ่ง ที่ชดเชยให้กับเจ้าของรถคันที่เอาประกัน หรือคู่กรณีที่รถยนต์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุบนท้องถนน จนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ส่วนนี้สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากบริษัทของคู่กรณีได้

โดยอ้างอิงค่าชดเชยตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พร้อมแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ระหว่างที่รอรถยนต์จัดซ่อมแล้วเสร็จให้ครบถ้วน เพื่อประกอบการพิจารณาค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

หากคุณเป็นฝ่ายถูก คู่กรณีไม่จ่ายค่าทำขวัญ หรือเงินชดเชย ทำยังไงได้บ้าง ?

ในทางกลับกันหากคุณเป็นฝ่ายถูก มีประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ยื่นเรื่องเคลมแล้ว ค่าทำขวัญ รถ ชนกับคู่กรณีไปแล้ว แต่ปรากฏว่าคู่กรณีเท เบี้ยว ติดต่อไม่ได้ แนะนำให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. เดินทางไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวันว่าโดน “ชนแล้วหนี”
  2. แจ้งตำรวจเพื่อให้ช่วยตามตัวคู่กรณี เพื่อตกลงค่าสินไหมทดแทน และถ้าหากตกลงกันไม่ได้ให้ไปร้องต่อ คปภ.จังหวัด อย่าเพิ่งใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล
  3. แจ้งข้อเท็จจริงต่อ คปภ. เพื่อให้เรียกประกันและคู่กรณีมาไกล่เกลี่ย หากยังไม่ยอมจ่ายก็ให้ไปหาเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อนัดตกลงกันใหม่
  4. จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะสรุปสำนวนส่งฟ้องต่อศาล หรือหาทนายให้ดำเนินการฟ้องคู่กรณีทางแพ่งในเรื่องการละเมิด

ทั้งนี้ควรแจ้งความภายในอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ว่า “สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด”

เป็นฝ่ายผิดแถมไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ แบบนี้ทำยังไงดี ?

ในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิด ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ ก็ขาด แบบนี้สิ่งที่ทำได้คือคุณ “รับผิดชอบค่าเสียหายเองทั้งหมด” และกรณีที่ขับรถยนต์ที่ไม่มีประกันรถยนต์ภาคบังคับ(พ.ร.บ.รถยนต์) ยังแถมมากับความผิดตามกฎหมายเข้าอีกกระทง โดยมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท

แต่ยังไม่จบแค่นั้นเพราะเมื่อไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถได้ หากถูกจับเพราะป้ายวงกลมหมดอายุ จะต้องเสียค่าปรับเพิ่มอีกประมาณ 400-1,000 บาท เมื่อไปต่ออีกครั้งก็จะโดนค่าปรับดอกเบี้ยเดือนละ 1% มากไปกว่านั้นหากปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับการใช้งาน และโดนโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

อย่างที่เราบอกคุณมาตลอดถึงความสำคัญของ พ.ร.บ.รถยนต์ ว่าต้องมีติดรถเสมอ อย่าเผลอปล่อยให้ขาดต่ออายุ ก่อนใช้รถใช้ถนนนอกจากจะต้องเตรียมเงินฉุกเฉินสำรองจ่ายค่าประกันรถยนต์ ค่า พ.ร.บ.รถยนต์ หรือค่าทำขวัญ รถ ชนแล้ว อย่าลืมให้ความสำคัญในเรื่องของการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ด้วย เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจะได้มี “แผนสำรอง” ในการรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องควักจ่ายเองให้วุ่นวาย

สรุปได้ว่าค่าทำขวัญเป็นการ “เรียกร้องสิทธิ์” ที่ฝ่ายถูกสามารถพึงกระทำได้ แต่ไม่ได้มีนัยสำคัญในแง่ของกฎหมายการเรียกค่าทำขวัญ หากตกลงรถชนเรียกค่าทําขวัญกันได้ด้วยดี จ่าย ก็จบ แต่ถ้าหากตกลงกันไม่ได้แนะนำให้มองหา คู่กรณีเรียกค่าทำขวัญรถชนสูงเกินไป แนะนำให้มองหาแผนสำรอง เช่น ขอผ่อนจ่ายโดยตกลงกันต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ลงบันทึกประจำวัน) เพื่อให้อะไร ๆ มันง่ายและมีหลักฐานมากยิ่งขึ้น

คำจำกัดความ
ตกลงปลงใจ ยินยอมโดยสมัครใจ, ตัดสินใจเด็ดขาดหลังจากใคร่ครวญแล้ว
สินน้ำใจ เงินหรือทรัพย์ที่ให้เป็นรางวัล

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่