เกิดอุบัติเหตุแบบประมาทร่วมคืออะไร ? แบบนี้ประกันจ่ายให้ไหม ?

แชร์ต่อ
เกิดอุบัติเหตุแบบประมาทร่วมคืออะไร ? หาคำตอบที่ มิสเตอร์ คุ้มค่า

หัวข้อที่น่าสนใจ

ถึงคราวเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา คำว่าประมาทร่วมอาจเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง และยังไม่รู้กับความหมายที่แท้จริงว่าประมาทร่วมคืออะไร ? รวมไปถึงในเรื่องการคุ้มครองของประกัน สามารถเคลมประกันรถยนต์ ทั้งการเคลมสีรถเฉพาะจุด, เคลมสีรอบคัน รวมถึงการเคลมประกันด้านอื่น ๆ ได้หรือไม่ ? หากคุณกำลังหาคำตอบในเรื่องนี้ มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์รายละเอียดที่น่าสนใจมาในประเด็นเรื่องอุบัติเหตุประมาทร่วมมาให้ในบทความนี้ ตามไปชมกันเลย

ประมาทร่วมคืออะไร ? หาคำตอบความหมายของการประมาทร่วม

หากคุณกำลังหาคำตอบว่าประมาทร่วมคืออะไร ? ตอบตรงนี้เลยว่า “ประมาทร่วม” คือ เหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจาก “ความประมาทของทั้งสองฝ่าย” ซึ่งมีความหมายทางกฎหมายว่าต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หรือแปลตรงตัวได้ว่าทั้งคู่มีความประมาทจนกลายเป็นชนวนให้เกิดอุบัติเหตุ จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งคู่

แต่ที่น่าสนใจก็คือ ต้องอธิบายเพิ่มว่าคำนี้ “ประมาทร่วม คือ สิ่งที่ไม่มีอยู่ในข้อกฎหมาย” เพราะถ้ามีคำคำนี้เกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ ? มันจะหมายความว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นมาโดยเจตนาของทั้งสองฝ่าย ทำให้ต้องมีการแจกแจงเป็นต่างคนต่างประมาทนั่นเอง

ประมาทร่วมมีกี่กรณี อะไรบ้าง ?

ประมาทร่วมมีกี่กรณี อะไรบ้าง ? หาคำตอบที่ มิสเตอร์ คุ้มค่า

เมื่อทำความเข้าใจคร่าว ๆ แล้วว่าประมาทร่วมคืออะไร จากนี้เรามีดู “กรณี” ของประมาทร่วมกันต่อดีกว่า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ โดยรายละเอียดของแต่ละกรณีมีความละเอียดอ่อนต่างกันออกไป ดังนี้

  • 1. ประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอม

    กรณีประมาทร่วมแต่คู่กรณีไม่ยอม ต้องการให้เราเป็นฝ่ายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด หากเกิดกรณีนี้ขึ้นแนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อพูดคุยไกล่เกลี่ยทันที หรือจะใช้หลักฐานจากกล้องหน้ารถ เพื่อยืนยันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพราะประมาทร่วมก็ได้ ในท้ายที่สุดหากเจ้าหน้าที่ตัดสินว่าประมาทร่วม ก็ต้องมีการรับผิดชอบร่วมกัน

  • 2. ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บ

    กรณีที่ประมาทร่วมและคู่กรณีได้รับบาดเจ็บ คู่กรณีจะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. รถยนต์ (ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ) ได้ นอกจากนี้ยังได้รับการคุ้มครองจากประกันรถยนต์เพิ่มเติมด้วย

  • 3. ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส

    กรณีที่คู่กรณีได้รับบาดเจ็บจะมีสิทธิเหมือนกับข้อที่ 2 หากผู้ประมาทร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำประกันรถยนต์เอาไว้ ก็จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ พูดง่าย ๆ ว่าสามารถเคลมประกันรถยนต์ได้นั่นเอง วางใจได้เลยว่าหากทั้ง 2 ฝ่ายมีประกันอยู่แล้ว ต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบตัวเองจนจบได้แบบไม่มีปัญหามากวนใจกันต่อ

  • 4. ประมาทร่วม คู่กรณีไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์

    หากคู่กรณีไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นคู่กรณีจึงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด

  • 5. ประมาทร่วม คู่กรณีเสียชีวิต

    หากคู่กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุประมาทร่วมจะได้รับค่าชดเชยเบื้องต้นจาก พ.ร.บ. รถยนต์ 35,000 บาท/คน ส่วนความคุ้มครองด้านอื่น ๆ เช่น เคลมสีรถเฉพาะจุด เคลมสีรอบคัน ฯลฯ จะขึ้นอยู่กับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่ทำไว้ ว่าสามารถเคลมประกันอะไรได้บ้าง

  • 6. ประมาทร่วม ไม่มีประกัน

    กรณีที่ประมาทร่วมและไม่มีประกัน จะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. รถยนต์เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายด้านอื่น ๆ เช่น ทรัพย์สิน, ค่ารักษาบุคคลภายนอก หรือการเคลมประกันรถยนต์ในส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถ จะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ รวมถึงประกันรถยนต์ของคู่กรณีที่ประมาทร่วม ก็ให้ไม่คุ้มครองด้วยเช่นกัน เนื่องจากถูกตัดสินว่าประมาทร่วม ต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบตัวเอง

ประกันรถยนต์แบบไหนคุ้มครองกรณีประมาทร่วมบ้าง ?

เชื่อว่าเมื่ออ่าน “กรณีประมาทร่วม” มาแล้ว หลายคนคงเกิดความสงสัยอยู่หน่อย ๆ ว่าสรุปแล้วประกันรถยนต์ให้ความคุ้มครองกรณีประมาทร่วมหรือไม่ ถ้าอย่างนั้นเราไปดูกันดีกว่าว่าประกันรถยนต์ประเภทไหน ที่คุ้มครองกรณีประมาทร่วมบ้าง เพื่อให้คุณเปรียบเทียบประกันรถยนต์ และเช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

ประกันรถยนต์ชั้น 1

หากคุณทำประกันชั้น 1 เอาไว้ ไม่ต้องกังวลใด ๆ เลย เพราะไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุแบบไหน ประมาทร่วม มีหรือไม่มีคู่กรณี ก็จะได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

ประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือประกันรถยนต์ชั้น 3+

หากรถยนต์ของคุณทำประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือชั้น 3+ เอาไว้ ประกอบกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเหตุ “รถชนรถ” ก็ไม่ต้องกังวลใด ๆ เช่นเดียวกัน เนื่องจากเงื่อนไขการเคลมประกันรถยนต์ของประกันทั้ง 2 ประเภท จะให้ความคุ้มครองกรณีรถชนรถ

เพียงแต่จะต้องระบุคู่กรณีได้เท่านั้น หากคู่กรณีชนแล้วหนี หรือทำประกันชั้น 2 แบบนี้จะไม่สามารถเคลมประกันได้ และในกรณีประมาทร่วมที่สามารถชี้คู่กรณีได้ แม้จะจบลงที่ต้องซ่อมรถตัวเองก็ถือว่าโชคดี เนื่องจากยังอยู่ในเงื่อนไขความคุ้มครอง ไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้คู่กรณีเอง หรือจ่ายค่าซ่อมรถเองทั้งหมดเพียงคนเดียว

ประกันรถยนต์ชั้น 2 หรือประกันรถยนต์ชั้น 3

ประกันชั้น 2, ประกันชั้น 3 หรือประมาทร่วม ให้ทำใจได้เลย เพราะจะต้องควักเงินจ่ายค่าซ่อมรถของตัวเองแน่นอน แต่ถ้าหากมีส่วนที่ต้องชดใช้ให้คู่กรณี ประกันภัยรถยนต์ทั้งสองประเภทยังคงให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์

เมื่อเกิดเหตุการณ์ประมาทร่วม ควรรับมืออย่างไร ?

หาต้องเผชิญหน้ากับอุบัติเหตุแบบประมาทร่วม ก่อนอื่นแนะนำให้ตั้งสติให้ดี พร้อมกับทำตามแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • 1. บันทึกภาพและวิดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน

    หลักฐานเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น สิ่งแรกที่ควรทำหลังจากตั้งสติได้แล้ว คือ ถ่ายภาพหรือถ่ายวิดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยให้ถ่ายภาพ/วิดีโอจุดเกิดเหตุ รอยชน สภาพรถของคู่กรณี รอยบาดเจ็บ (ถ้ามี) รวมถึงทะเบียนรถของคู่กรณี

    เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะช่วยประกอบการพิจารณาหาสาเหตุของอุบัติเหตุ และใช้เป็นหลักฐานในการแจ้งเคลมประกัน หรือใช้ฟ้องศาลเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม กรณีที่คิดว่าตัวเองประมาทน้อย หรือไม่ได้ประมาทเลย

  • 2. ติดต่อบริษัทประกันเพื่อขอความช่วยเหลือ

    หลังจากบันทึกภาพ/วิดีโอไว้เป็นหลักฐานเรียบร้อยแล้ว ให้ติดต่อบริษัทประกันภัยรถยนต์เพื่อแจ้งเหตุ ขอความช่วยเหลือ ด้วยการบอกข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียด เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุ รายละเอียดคู่กรณี และข้อมูลประกันภัย จากนั้นเจ้าหน้าที่จะแนะนำวิธีเคลมประกันรถยนต์ รวมถึงการเตรียมเอกสารที่จำเป็นในการเคลมประกันรถยนต์

  • 3. แลกเปลี่ยนข้อมูลประกันภัยกับคู่กรณี

    ให้แลกเปลี่ยนข้อมูลประกันภัยกับคู่กรณี ไม่ว่าจะเป็นชื่อ-นามสกุล, เลขกรมธรรม์, บริษัทประกัน, เบอร์โทรศัพท์ รวมถึงข้อมูลรถ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทประกันสามารถติดต่อคู่กรณี เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนวิธีเคลมประกันรถยนต์ต่อไป

  • 4. แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

    หากไม่รู้ว่าประมาทร่วมคืออะไร อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ใช่ประมาทร่วมหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่ควรทุก “ทุกครั้ง” ที่เกิดอุบัติเหตุคือการแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือมีทรัพย์สินเสียหาย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำบันทึกประจำวัน สำหรับใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย

ขั้นตอนการเคลมประกันรถยนต์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ต้องทำอะไรบ้าง ?

สำหรับขั้นตอนการเคลมประกันรถยนต์บอกเลยว่าไม่ยากอย่างที่คิด และมีเพียง 5 วิธีเคลมประกันรถยนต์ง่าย ๆ ดังนี้

  1. เมื่อเกิดอุบัติเหตุให้โทรแจ้งบริษัทประกัน โดยสามารถแจ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  2. บริษัทประกันจะส่งเจ้าหน้าที่ และบันทึกความเสียหายที่เกิดขึ้น
  3. ผู้เอาประกันเลือกอู่/ศูนย์ซ่อมที่ต้องการส่งรถจัดซ่อม เพื่อให้ทางอู่/ศูนย์ประเมินราคา
  4. บริษัทประกันพิจารณา อนุมัติการซ่อม
  5. ทางอู่/ศูนย์ซ่อมติดต่อเพื่อนัดหมายการเข้าซ่อม
*หมายเหตุ: เมื่อเกิดอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตาม เช่น มีคู่กรณี ประมาทร่วม แนะนำให้แจ้งบริษัทประกันภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวกในการเก็บหลักฐานในเกิดเหตุ และความง่ายในการเคลมประกันรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเคลมสีรถ ฉพาะจุด ประกันชั้น 1, เคลมสีรอบคัน รวมถึงเคลมประกันความเสียหายอื่น ๆ

จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน แม้จะเป็นประมาทร่วมก็ยังได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์อยู่ดี แม้จะไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณี เนื่องจากต้อง “รับผิดชอบร่วมกัน” แต่อย่างน้อยก็ไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าซ่อมเอง จึงเป็นเหตุผลที่คุณควรเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองตรงใจ ครอบคลุม แนะนำให้เช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์และเปรียบเทียบประกันรถยนต์ให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อหรือต่อประกัน

คำจำกัดความ
ชนวน ต้นเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องลุกลามต่อไป เช่น ชนวนความขัดแย้ง, ชนวนสงคราม
ความละเอียดอ่อน ประณีต, นิ่มนวล, ลึกซึ้ง, ซับซ้อน, เข้าใจได้ยาก

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่