เข้าใจความหมายของ พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง เพราะอะไรต้องทำทุกปี ?

แชร์ต่อ
เข้าใจความหมายของ พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง | MrKumka.com

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นหรือเคยได้ยินคำว่า พ.ร.บ. รถยนต์ ผ่านหูมาบ่อย ๆ แต่ไม่รู้แบบเจาะลึกว่าคืออะไร ? พ.ร.บ. มีอะไรบ้าง ? รวมถึง พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ? เพื่อไม่ให้คุณเสียประโยชน์ไปแบบไม่รู้ตัว MrKumka ได้ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ มาให้ทำความเข้าใจเพิ่มเติมแล้ว จะน่าสนใจแค่ไหน ? ไปดูกันเลยดีกว่า

พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร ?

พ.ร.บ. รถยนต์ หรือประกัน พ.ร.บ. คือ “ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยกำหนดให้รถทุกคันต้องทำ หากตรวจสอบว่ารถคันไหนไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ หรือไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ด้วยวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. มีอะไรบ้าง ?

สำหรับวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้รถทุกคันทั้งรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ “จำเป็น” ต้องมี พ.ร.บ. มีทั้งหมด 4 ข้อหลัก ๆ ดังนี้

  1. เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจะสามารถเคลมประกันในส่วนของค่ารักษาพยาบาลได้ แต่ถ้าหากเสียชีวิตจะได้รับการช่วยเหลือเป็นค่าปลงศพ
  2. เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาผู้บาดเจ็บอย่างแน่นอน
  3. เป็น “สวัสดิการสงเคราะห์” ที่รัฐมอบให้กับประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุต่าง ๆ
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วม ในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ประสบภัยและครอบครัว

ขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ได้มากสุดกี่วัน ?

ด้วยความที่ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ จึงไม่ควรปล่อยให้ขาดหรือหมดอายุแม้แต่วันเดียว กรณีที่ลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ อาจทำให้คุณโดนค่าปรับและถือเป็นการทำผิดกฎหมาย โดยจะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และนอกจากจะต้องจ่ายค่าปรับแล้ว หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา คุณจะไม่สามารถเคลมประกันจาก พ.ร.บ. รถยนต์ ได้

พ.ร.บ. รถยนต์ ช่วยคุ้มครองอะไรให้คุณบ้าง ?

สำหรับคนที่กำลังหาคำตอบว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ไม่ต้องไปหาข้อมูลให้เสียเวลา เพราะ MrKumka ลิสต์ประเด็นสำคัญมาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูพร้อม ๆ กันได้เลย!

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ (ไม่พิสูจน์ความผิด)

  • ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
*หมายเหตุ: หากเสียหายรวมกันทั้งข้อ 1 และข้อ 2 ต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ (กรณีเป็นฝ่ายถูก)

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
  • การเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะตามเกณฑ์ จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  • ค่าชดเชยการรักษาตัวกรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท
  • จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท
  • วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5,000,000 ต่อครั้ง
  • วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 ต่อครั้ง

มี พ.ร.บ. รถยนต์ แล้ว ต้องทำประกันภาคสมัครใจด้วยไหม ?

เมื่อเข้าใจว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ประเด็นต่อมาของคนใช้รถสงสัยคือ เมื่อมี พ.ร.บ. รถยนต์ แล้ว จำเป็นต้องทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจด้วยหรือไม่ บอกไว้ก่อนเลยว่า “ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ” จะมีหรือไม่มีก็ได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เอาประกันล้วน ๆ แต่ถ้าหากถามว่าควรทำดีไหม? ตอบตรง ๆ เลยว่าควรทำด้วย

เพราะการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ จะช่วยให้ผู้เอาประกันอุ่นใจได้มากกว่า ทั้งในเรื่องของความรู้จัก การเงิน รวมถึงด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุบนท้องถนน ยิ่งทุนประกันสูงหรือเลือกประเภทประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด การเคลมประกันรถยนต์ก็ยิ่งครอบคลุม ไม่ต้องมานั่งแบกรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงลำพังแม้แต่นิดเดียว

สำหรับคนที่กำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ เคลมประกันได้อย่างครอบคลุมทุกประเด็น แถมช่วยเพิ่มความคุ้มครองเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. รถยนต์ ได้เป็นอย่างดี MrKumka เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ สามารถปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามใจชอบ แถมราคาสบายกระเป๋า สามารถเช็คประกันภัยรถยนต์ได้ก่อนใคร

5 เรื่องสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ มีอะไรบ้าง ?

5 เรื่องสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ มีอะไรบ้าง?

หลายคนมองว่า “ประกันภัยรถยนต์” คุ้มครองได้ตอบโจทย์มากกว่า ยิ่งประกันภัยชั้น 1 ที่สามารถเคลมประกันได้อย่างครอบคลุม ทั้งค่าเสียหายของรถยนต์อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ รถหาย ไฟไหม้ ถ้าอย่างนั้นเรามาดู “เรื่องสำคัญที่ควรรู้” ของ พ.ร.บ. รถยนต์ กันก่อนเลยดีกว่า

  • 1. หากไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้

    เนื่องจาก พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันต้องมี และจะต้องใช้ “เอกสารสำคัญ” ในการยื่นเมื่อต้องไปต่อภาษีรถยนต์ประจำปี จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ถึงไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้นั่นเอง

  • 2. พ.ร.บ. รถยนต์ช่วยจ่ายค่ารักษาตามจริง

    เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน พ.ร.บ. รถยนต์ จะเข้ามาดูแลความเสียหายกรณีรถตั้งแต่ 2 คันได้รับความเสียหาย ตลอดจนเฉี่ยวชนกันจนทำให้ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงคู่กรณีได้รับบาดเจ็บ ซึ่งจะดูแล “ค่ารักษาเบื้องต้น” ช่วยจ่ายตามจริง 30,000 บาท

  • 3. ขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ไม่เสียค่าปรับ

    กรณีที่ขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์จะไม่เสียค่าปรับ แต่จะไม่สามารถ “ต่อภาษีรถยนต์ประจำปี” ได้ และจะไปถูกปรับในตอนที่ไม่มีใบภาษีหรือป้ายวงกลมแทน โดยจะต้องจ่ายค่าปรับกับกรมขนส่ง กรณีที่ต่อภาษีล่าช้า 1% ต่อเดือน จะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจปรับในข้อหา “ขาดต่อภาษีประจำปี” โดยมีอัตราโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

  • 4. พ.ร.บ. รถยนต์ ช่วยค่ารักษาคนเจ็บทุกกรณี

    พ.ร.บ. รถยนต์ มีจุดประสงค์ในการ “ดูแลค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บและคนเสียชีวิตเบื้องต้น” โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด และหลังจากที่พิสูจน์เรียบร้อยแล้ว กรณีที่เป็นฝ่ายถูกจะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพเพิ่มด้วย

  • 5. ค่าใช้จ่ายในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

    สำหรับค่าใช้จ่ายในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

    1. ประเภทรถโดยสาร
      • รถยนต์เก๋งไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บาท
      • รถตู้ จำนวน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท
      • รถโดยสาร เกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
      • รถโดยสาร เกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
    2. ประเภทรถกระบะ – รถบรรทุก
      • รถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน 900 บาท
      • รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
      • รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
    3. รถประเภทอื่น ๆ
      • รถลากรถพ่วง รถหัวลากจูง 2,370 บาท
      • รถพ่วง 600 บาท
      • รถยนต์ใช้ในการเกษตร 90 บาท

    ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อควรรู้ที่ผู้ขับขี่ไม่ควรมองข้ามแม้แต่นิดเดียว เนื่องจาก พ.ร.บ. รถยนต์ มีเรื่องกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง แถมยังเกี่ยวกับ “ความคุ้มครอง” ที่เจ้าของรถทุกคนจะได้รับ หากมองข้ามไปแม้แต่ประเด็นเดียว อาจทำให้เสียผลประโยชน์ไปแบบไม่รู้ตัวได้

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

สำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถเดินทางไปที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งกรุงเทพฯ หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดในพื้นที่ เพื่อต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้เลย โดยมีเอกสารที่จำเป็นต้องเตรียมไปให้พร้อม ดังนี้

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
  • เอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (กรณีที่รถมีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป)
  • เงินสำหรับอัตราภาษีรถยนต์ตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522

กรณีที่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องเตรียมเอกสารใด ๆ ให้มากมาย แถมยังไม่ต้องเสียเวลาออกเดินทางไปไหนอีกด้วย ใช้เวลาเพียง 15 นาที ก็สามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์และชำระภาษีรถยนต์ด้วยตัวเองได้แล้ว

เป็นยังไงกันบ้างสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ MrKumka นำมาบอกต่อในวันนี้ ทั้งความหมาย ความคุ้มครอง และการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เรียกได้ว่าช่วยเพิ่มความเข้าใจได้เยอะมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะ? เห็นแบบนี้ก็อย่าปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ ขาดเด็ดขาด เพราะนอกจากจะโดนค่าปรับแล้ว ยังมีโอกาสต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเพียงลำพังอีกด้วย

คำจำกัดความ
ภาษีรถยนต์ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถยนต์ทุกคันจะต้องชำระเป็นประจำทุกปี เหมือนกับเวลาที่เราต้องเสียภาษีเงินได้ หรือเสียภาษีอื่น ๆ ซึ่งภาษีรถยนต์จะเป็นการจ่ายเงินเพื่อนำไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ทุนประกัน เงิน (ความคุ้มครอง) ที่เราจะได้รับจากบริษัทประกันชีวิต
ประกันภาคสมัครใจ คือประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยเลือกที่จะทำโดยสมัครใจเอง โดยไม่ได้ถูกบังคับให้ต้องทำ เช่น ประกันภัยรถยนต์ ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เป็นต้น ความคุ้มครองและเงื่อนไขต่างๆ จะขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่เลือกทำ ซึ่งบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้กำหนด

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่