รู้หน่อย ค่าสินไหมทดแทนคืออะไร เรียกร้องอะไรได้บ้าง

แชร์ต่อ
รู้หน่อย ค่าสินไหมทดแทนคืออะไร เรียกร้องอะไรได้บ้าง | มิสเตอร์ คุ้มค่า

คนมีรถหลาย ๆ คนมักเพิ่มความอุ่นใจด้วยการทำ พรบ.รถยนต์ และทำประกันภาคสมัครใจกันทั้งนั้น ซึ่งผลประโยชน์ของมันจริง ๆ มีมากกว่าแค่การซ่อมรถให้คุณ จากความคุ้มครองที่หลากหลายบริบท ทั้งซ่อมตัวรถ ความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ รวมไปถึงเรื่อง ค่าสินไหมทดแทน ความหมายลึก ๆ ของค่าสินไหมทดแทนคืออะไร เมื่อเกิดอุบัติเหตุสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน รถชนและค่าสินไหมทดแทน พ.ร.บ. รถยนต์อะไรได้บ้าง หากคุณยังไม่รู้ หรือรู้แต่ยังไม่เข้าใจ มิสเตอร์ คุ้มค่า จะเล่าให้ฟังเอง

รู้ไว้ใช่ว่า…ค่าสินไหม คืออะไร ?

ก่อนไปทำความเข้ารายละเอียดอื่น ๆ แบบเจาะลึก เรามาทำความเข้าใจตั้งแต่เริ่มแรกกันหน่อยดีกว่า ว่าค่าสินไหม คืออะไร ซึ่ง มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมมาให้ถึง 2 แบบด้วยกัน คือ ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตสถานและตามหลักวิชาการ โดยทั้งสองให้ความหมายของคำว่า ‘ ค่าสินไหมทดแทน ’ เอาไว้ดังนี้

ค่าสินไหมทดแทน ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน

ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตสถานพ.ศ.2542 ค่าสินไหมทดแทน หมายถึง เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน หรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย เช่น สินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้

ค่าสินไหมทดแทน รถชน ตามหลักวิชาการ

ตามหลักวิชาการ หมายถึง การเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิด เพื่อให้ผู้เสียหายกลับสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่มีการละเมิด หรือกลับคืนใกล้เคียงฐานะเดิมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การคืนทรัพย์ การซ่อมแซมทรัพย์ หรือชดใช้เงินเป็นค่าเสียหายให้แก่คู่กรณี

ค่าสินไหมทดแทน vs ค่าทำขวัญ ต่างกันไหม ?

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ค่าทำขวัญ” ผ่านหูมาบ่อย ๆ เรียกได้ว่ากลายเป็นธรรมเนียมที่ฝ่ายผิดต้องจ่ายให้กับฝ่ายถูก เพื่อ ‘เยียวยาจิตใจ’ ไปซะแล้ว ซึ่งบางคนเข้าใจว่ามันคือตัวเดียวกันกับค่าสินไหมทดแทน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันคนละส่วนกันเลย เพียงแค่เกี่ยวข้องกันในกระบวนการชดเชยเฉย ๆ

โดยค่าสินไหม คือเงินชดเชยที่ครอบคลุมความเสียหายที่เป็นตัวเงิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ แต่ค่าทำขวัญเป็นค่าชดเชยทางจิตใจ หรือความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ เช่น ความเจ็บปวดจากการบาดเจ็บ ตามปกติแล้วค่าทำขวัญจะตกลงกันระหว่างคู่กรณี และไม่ใช่เงื่อนไขที่บังคับตามกฎหมายหรือกรมธรรม์ประกันภัย

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอะไรได้บ้าง ?

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอะไรได้บ้าง ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าค่าสินไหมทดแทน ทั้งค่าสินไหมทดแทน กรณีประมาทร่วม ค่าสินไหมทดแทน กรณีบาดเจ็บ หรือใด ๆ ก็ตาม สามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง? มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมรายละเอียดมาให้เรียบร้อยแล้ว ตามไปดูกันหน่อย

  • 1. กรณีทรัพย์สินเสียหาย

    หากรถยนต์หรือทรัพย์สินของผู้เอาประกันหรือคู่กรณีได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ค่าสินไหมทดแทนจะครอบคลุมถึง 2 ประเด็นดังต่อไปนี้

    • ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์
    • ค่าชดเชยความเสียหายของทรัพย์สิน เช่น รั้วบ้าน, เสาไฟฟ้า เป็นต้น
  • 2. กรณีได้รับบาดเจ็บหรือป่วยไข้

    เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้เอาประกันหรือคู่กรณีสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน กรณีบาดเจ็บได้ เช่น

    • ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล
    • ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูร่างกาย
    • ค่าชดเชยรายวันหากต้องหยุดงาน
  • 3. กรณีเสียชีวิต

    แต่ถ้าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นร้ายแรงจนทำให้มีผู้เสียชีวิต ค่าสินไหมทดแทนจะครอบคลุมถึง…

    • ค่าปลงศพ
    • ค่าขาดรายได้ของครอบครัวผู้เสียชีวิต
    • ค่าขาดแรงงานของผู้ที่เป็นผู้นำครอบครัว

และถ้าหากกำลังสงสัยว่าปกติแล้ว ค่าสินไหมทดแทน รถชน บริษัทประกันจะชดเชยแบบไหน ไม่ต้องไปหาคำตอบจากที่อื่นให้เสียเวลา เพราะเราได้รวบรวมรายละเอียดเพิ่มเติมมาให้ทำความเข้าใจในหัวข้อถัดไปแล้ว ตามไปดูกันเลย

สินไหมทดแทนประกันรถยนต์ ชดใช้แบบไหน ?

ในกรณีที่คุณมีประกันภัยรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน คู่กรณีสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีต่าง ๆ ได้ ดังนี้

  • 1. ค่าซ่อมรถ

    หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้ขับขี่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทประกันภัยได้ ซึ่งการแจ้งข้อมูลการเคลมต่อเจ้าหน้าที่ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากหลักฐานสามารถนำส่งเพื่อให้บริษัทประกันไปเรียกร้องค่าเสียหายกับคู่กรณีหรือผู้ละเมิดได้

  • 2. ค่ารักษาพยาบาล/เกิดการเสียชีวิต

    กรณีที่เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายของบุคคลภายนอก บริษัทฯ จะทำการรับผิดชอบตามความเสียหายที่เกิดขึ้น หากมีความรุนแรงถึงแก่ความตาย จะชดเชยค่าสินไหมทดแทนไม่น้อยกว่า 100,000 บาท แต่ถ้าหากการเสียชีวิตดังกล่าว ทำให้มีผู้ที่ขาดไร้การอุปการะตามกฎหมาย บริษัทฯ จะชดเชยค่าสินไหมทดแทนไม่น้อยกว่า 300,000 บาท

    นอกจากนี้ในกรณีที่เกิดการทุพพลภาพถาวร บริษัทประกันจะทำการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่น้อยกว่า 300,000 บาท และถ้าบุคคลภายนอกมีสิทธิได้รับการชดใช้จากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มากกว่า 1 กรมธรรม์ บริษัทประกันจะร่วมกันเฉลี่ยจ่ายเท่า ๆ กัน

ซึ่งการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ไม่ว่าจะเป็นค่าสินไหมทดแทน กรณีบาดเจ็บ ค่าสินไหมทดแทน กรณีประมาทร่วม รวมถึงกรณีที่มีผู้เสียชีวิต จะเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หรือพูดง่าย ๆ ว่าจ่ายตามวงเงินที่กำหนด ในส่วนนี้หากผู้เอาประกันต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุม และลดค่าใช้จ่ายส่วนเกินให้ได้มากที่สุด แนะนำให้เปรียบเทียบประกันรถยนต์แต่ละเจ้าให้ดี ว่าแบบไหนคุ้มครองได้ดีที่สุด แถมราคาค่าเบี้ยไม่แพงจนเกินไป

ค่าสินไหมทดแทน พ.ร.บ. ชดเชยเท่าไหร่ ?

นอกจากค่าสินไหมทดแทนของประกันรถยนต์ภาคสมัครใจแล้วยังมีค่าสินไหมทดแทน พ.ร.บ. ที่ผู้ขับขี่/เจ้าของรถสามารถเรียกร้องได้เช่นกัน ซึ่งจะชดเชยเป็นเงินเท่าไหร่บ้าง? ตามไปดูกันเลย

  • ความเสียหายเบื้องต้น ได้รับทันทีไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด

    • ค่ารักษาพยาบาล : จ่ายให้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท แต่ถ้าหากต่อมาพิการหรือทุพพลภาพ จะจ่ายเพิ่มเติมให้ รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
    • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ :ค่าสินไหมทดแทน พ.ร.บ. รถยนต์ จะจ่ายให้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน
    • กรณีเสียชีวิต : หากเสียชีวิตทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ค่าสินไหมทดแทน กรณีเสียชีวิต พ.ร.บ. จะจ่ายค่าทำศพเป็นเงิน 35,000 บาทต่อคน แต่ถ้าหากเสียชีวิตในเวลาต่อมา จะจ่ายให้แบบเหมารวมกับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
  • การจ่ายชดเชยหลังจากพิสูจน์ความผิดแล้ว

    • ค่ารักษาพยาบาล :จ่ายชดเชยรวมค่าสินไหมให้ไม่เกิน 80,000 บาท
    • กรณีสูญเสียอวัยวะ : ได้แก่ หูหนวก เป็นใบ้ เสียความสามารถในการพูด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ มือ แขน ขา เท้า ตา ‘อย่างละ 1 ข้าง’ จะจ่ายชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 250,000 บาท
    • กรณีสูญเสียอวัยวะ : ได้แก่ มือ แขน ขา เท้า ตา ตั้งแต่สองอย่างหรือสองข้างขึ้นไป หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จะจ่ายชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
    • กรณีทุพพลภาพถาวร : จ่ายเงินชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
    • กรณีเสียชีวิต : จ่ายเงินชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาล (กรณีเสียชีวิตภายหลัง) สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
    • กรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) : จ่ายชดเชยให้วันละ 200 บาทรวมไม่เกิน 20 วัน

จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุประกันรถยนต์ และ พรบ.รถยนต์มีความสำคัญและจำเป็นมาก ๆ เพราะทั้งสองยินดีจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้คุณ โดยเฉพาะประกันภาคสมัครใจ ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (นอกเหนือจากค่าสินไหมทดแทน พ.ร.บ.) ได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นหากใครทำกำลังลังเลว่าจะทำประกันประเภทนี้ดีหรือไม่ บอกไว้เลยว่า “มีไว้ไม่ได้ใช้ ดีกว่าจะใช้แล้วไม่มี”

คำจำกัดความ
​​รู้ไว้ใช่ว่า ​เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือเสียหายอะไร
​พจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน ​พจนานุกรมอธิบายศัพท์ภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสภา (ชื่อเดิมคือ ราชบัณฑิตยสถาน) จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน ไม่ลักลั่น โดยมีการปรับปรุงแก้ไขตามลำดับเรื่อยมา
​ละเมิด ​จงใจ หรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ์​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่