รถยก รถลากคืออะไร ? เมื่อเกิดอุบัติเหตุเลือกแบบไหนดีกว่ากัน

แชร์ต่อ
รถยก รถลากคืออะไร ? เมื่อเกิดอุบัติเหตุเลือกแบบไหนดีกว่ากัน | มิสเตอร์ คุ้มค่า

ตอนที่เกิดเหตุไม่คาดฝันอุบัติเหตุบนท้องถนนจนไม่สามารถเคลื่อนย้ายรถไปไหนได้ ทางออกเดียวคือการเรียกใช้บริการรถยก รถสไลด์ หรือรถลาก เพื่อทำการย้ายลากรถยนต์ไปยังศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมใกล้ ๆ คำถามก็คือ รถขนย้ายแต่ละแบบต่างกันยังไง เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันกับตัวเอง คุณต้องเลือกแบบไหนถึงจะตรงตามความต้องการ ตาม มิสเตอร์ คุ้มค่า ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลย

รถยก รถสไลด์ และรถลากคืออะไร ?

ทำความเข้าใจก่อนว่ารถยก รถสไลด์ และรถลาก คือ “บริการสำหรับการเคลื่อนย้ายรถ” ทั้งการลากรถยนต์ ยกรถยนต์ที่ประสบปัญหา ไม่สามารถเคลื่อนไปไหนมาไหนได้ เช่น รถเสียที่เกิดจากความขัดข้องของตัวรถ ไปจนถึงอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยบริการเหล่านี้จะช่วยพารถยนต์ของคุณไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ

  • รถยก

    บริการเคลื่อนย้ายรถแบบแรก “ รถยก “ เหมาะกับการเคลื่อนย้ายรถที่มีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ลักษณะสังเกตง่าย ๆ ของรถยก คือ จะทำการเคลื่อนตัวรถยนต์ที่ประสบปัญหาไปยัง ด้วยการยกล้อหน้าหรือล้อหลัง แล้วลากรถไปด้วย 2 ล้อที่เหลือแตะกับพื้น นำไปส่งยังจุดหมายปลายทาง แน่นอนว่าส่วนใหญ่คืออู่ซ่อมรถหรือศูนย์บริการใกล้ ๆ ส่วนค่าใช้จ่ายจะประหยัดกว่ากว่ารถสไลด์ แต่ข้อสังเกตที่ต้องระวังคือ จังหวะที่ทำการยกล้อขึ้นนั้นจะเสี่ยงทำให้ชิ้นส่วนรถเสียหายได้หากคนขับหรือเจ้าหน้าที่รถยกไม่ระวังหรือชำนาญมากพอ

  • รถสไลด์

    ในส่วนของ “ รถสไลด์ “ ส่วนใหญ่มักจะเป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่หรือเป็นรถกระบะที่ได้รับการดัดแปลงเป็นพิเศษเพื่อให้เหมาะกับการนำรถยนต์ทั้งคันขึ้นไปวางบรรทุกได้ ลักษณะการทำงานคือ จะเป็นถาดสไลด์ลงมาแนบกับพื้นแล้วให้รถที่เสียหายขึ้นไปถาด ล็อคล้อให้เรียบร้อย แล้วเปิดระบบไฮโดรลิคทำงานยกถาดขึ้นไปเพื่อให้พร้อมสำหรับขนย้าย เมื่อรถวิ่งสามารถมั่นใจได้มากขึ้นด้วยระบบล็อคล้อรถยนต์ที่จะช่วยให้รถที่ถูกบรรทุกอยู่ติดกับถาดรถสไลด์ ไม่เสี่ยงหลุดหรือไหลแม้จะใช้ความเร็วหรือเคลื่อนที่

    การเคลื่อนย้ายรถแบบนี้ ดีที่สุดแล้วในปัจจุบันเพราะตัวรถที่ถูกย้ายไม่เสี่ยงช้ำหรือเสียหายมากขึ้นเพราะขั้นตอนขนย้าย แต่ข้อสังเกตที่ต้องรู้คือ “ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่า” รถยกหรือลากจูง คนรักรถน่าจะชอบการขนย้ายในลักษณะนี้

  • รถลากจูง

    อีกหนึ่งบริการเคลื่อนย้ายรถยนต์ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ “รถลาก” เป็นรถเคลื่อนย้ายที่มาในระบบรถลากจูง โดยรถประเภทนี้จะทำการลากรถยนต์ผ่านอุปกรณ์ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และยืดหยุ่นสูง

    ซึ่งรถยนต์ที่เหมาะกับการใช้บริการรถลาก คือ รถที่มีระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อ ไม่ว่าจะเป็นกับขับเคลื่อนด้วยล้อหน้า หรือล้อหลังก็ตาม ซึ่งต่างจากรถยกตรงที่เหมาะกับรถยนต์ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น

รถยก รถสไลด์ หรือรถลาก แบบไหนตอบโจทย์ได้มากกว่า ?

ต้องบอกก่อนว่าทั้งบริการรถยก รถสไลด์ และรถลาก ล้วนมี “จุดประสงค์” ที่เหมือนกัน คือ เคลื่อนย้ายรถคันที่ประสบเหตุ ทั้งรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุหนัก จนไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้ ไปยังจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย แต่บริการเคลื่อนย้ายรถแต่ละประเภท มี “สถานการณ์” ในการเรียกใช้บริการที่ต่างกัน ดังนี้

เรียกใช้บริการรถยก รถสไลด์ เมื่อเกิดสถานการณ์แบบไหน ?

  • เมื่อรถที่มีปัญหาเป็น “รถที่มีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ”
  • เมื่อรถยนต์ประสบปัญหาหรือเจออุบัติเหตุอย่างรุนแรง ตัวรถเสียหายหนัก
  • เมื่อต้องเคลื่อนย้ายรถยนต์ไปไกลกว่า 20 กิโลเมตร
  • เมื่อต้องการถนอมตัวรถยนต์ ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการลากรถ
ข้อดี
  • เป็นการถนอมรถยนต์ เนื่องจากการใช้รถยก หรือรถสไลด์ตัวรถที่บรรทุกจะไม่สัมผัสกับถนน ทำให้ตัวรถและช่วงล่างไม่เสียหาย
  • สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้ แม้ว่าตัวรถจะได้รับความเสียหายอย่างหนัก
  • มีความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายสูง เนื่องจากรถได้ถูกล็อคไว้อย่างดี ทำให้ไม่เคลื่อนไหวขณะย้าย

สถานการณ์ไหน ควรเรียกใช้บริการรถลากจูง ?

  • เมื่อรถที่มีปัญหาเป็น “รถที่มีระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ”
  • เมื่อรถยนต์ประสบปัญหา หรือเสียหายไม่หนักมาก
  • เมื่อระยะทางในการเคลื่อนย้าย ‘ต่ำกว่า’ 20 กิโลเมตร
ข้อดี
  • มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ารถสไลด์หรือรถยก โดยขึ้นอยู่กับระยะทางที่ใช้บริการ หากเกินกว่านั้นอาจจะมีการเก็บค่าบริการเพิ่มเติม ต้องคุยให้จบตั้งแต่ก่อนเรียกใช้บริการ

บริการรถยก อยู่ในความคุ้มครองของประกันชั้นไหน ?

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ควรทำความเข้าใจให้ดีก่อนว่า “บริการรถยกเป็น ‘บริการเสริม’ ที่มีให้เพียงบางบริษัท” เท่านั้น แถมยังมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป โดยบริการ “ รถยก “ กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ มีให้บริการกับทุกบริษัท ที่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวรถยนต์ ดังนี้

  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 : สามารถใช้บริการรถยกได้ ในกรณีที่มีความเสียหายต่อรถยนต์ ทั้งแบบรถชนรถ และแบบรถชนแบบไม่มีคู่กรณี
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ และ ชั้น 3+ : สามารถเรียกใช้บริการรถยกในกรณีที่เป็นอุบัติเหตุรถชนรถ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เท่านั้น

หากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอยู่นอกเหนือขอบเขตการรับประกัน หรือมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาแทรกแซง ทำให้เกิด “ค่าใช้จ่ายส่วนต่างเพิ่มเติม” ตามมา แบบนี้ใครจะต้องจ่ายกันล่ะ? หากสงสัยในประเด็นนี้ ตามไปหาคำตอบในหัวข้อถัดไปกันได้เลย

เรียกใช้บริการรถยก รถสไลด์ ใครต้องเป็นคนจ่าย ?

อีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่หลาย ๆ คนเกิดคำถามมากที่สุด คือ เมื่อเรียกใช้บริการรถยก รถสไลด์ หรือรถลากจูง “ใคร”​ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ? ระหว่างบริษัทประกันหรือผู้เอาประกัน ซึ่งคำตอบของเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ “กรณี” ที่เกิดขึ้นขณะขับรถยนต์ รวมถึงเงื่อนไขของกรมธรรม์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

กรณีเกิดอุบัติเหตุ

ในกรณีที่รถยนต์คันที่เอาประกันประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน จนต้องเรียกใช้บริการลากรถยนต์ หรือยกรถยนต์ “บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าบริการตามเงื่อนไขกรมธรรม์” ส่วนใหญ่จะรับผิดชอบไม่เกินร้อยละ 20 ของค่าซ่อม

นอกจากนี้ยังมี “ข้อจำกัด” ในเรื่องของระยะทาง ที่สามารถใช้บริการเคลื่อนย้ายรถต่าง ๆ ได้เพียงระยะ 20 กิโลเมตรเท่านั้น (นับจากจุดเกิดเหตุ) หากเกินกว่านั้น อาจมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างเพิ่มเติม

กรณีรถเสีย

หากรถยนต์ที่จำเป็นต้องใช้บริการรถลากจูง รถยก หรือรถสไลด์ “กรณีรถเสีย ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบค่าบริการเอง” โดยสามารถติดต่อบริการยกหรือลากรถยนต์จากบริษัทยกรถได้ทันที

เว้นแต่ว่าประกันภัยรถยนต์ที่ซื้อไว้ มีบริการครอบคลุมด้านรถยก รถลาก หรือรถสไลด์ ก็สามารถติดต่อช่วยเหลือรถเสีย ฉุกเฉินกับเจ้าหน้าที่บริษัทประกัน เพื่อให้ช่วยเหลือเบื้องต้นได้

หากต้องจ่ายค่ารถยก รถสไลด์ หรือรถลากเอง ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ ?

ในกรณีที่ประกันรถยนต์ไม่ครอบคลุมบริการด้านรถยก รถสไลด์ หรือรถลาก หรือไม่มีประกันภัยรถยนต์ จำเป็นต้องควักจ่ายค่าบริการเองเพียงคนเดียว โดย ‘ค่าใช้จ่าย’ ที่เกิดขึ้นมีดังนี้

  • บริการรกยก: มีค่าใช้จ่ายในการเรียกใช้บริการ ‘เริ่มต้น’ ประมาณ 1,500-3,000 บาท และจะมีการใช้ระยะทางในการยกรถมาคำนวณ เพื่อให้ได้ราคารถสไลด์ ราคาถูกที่ถูกต้อง ชัดเจน
  • บริการรกลาก: มีค่าบริการเริ่มต้นประมาณ 1,000 บาท โดยจะมีการใช้ระยะทางในการลากรถยนต์มาใช้คำนวณด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่า “ประกันภัยรถยนต์” ก็เข้ามามีบทบาทในการให้ความคุ้มครองบริการรถยก รถสไลด์ รวมถึงบริการรถลากจูง หากคุณไม่อยากควักจ่ายค่าบริการต่าง ๆ ด้วยตัวเอง การมีประกันภัยที่คุ้มครองในส่วนนี้ ก็ช่วยเซฟเงินได้ดีมาก ๆ แต่ถ้าไม่รู้จะเลือกประกันชั้นไหน แผนประกันแบบใด เข้ามาเช็คความคุ้มครองและเช็คเบี้ยประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนได้

เบอร์โทรฉุกเฉิน ที่ควรเซฟติดเครื่องมีอะไรบ้าง ?

เบอร์โทรฉุกเฉิน ที่ควรเซฟติดเครื่องมีอะไรบ้าง | มิสเตอร์ คุ้มค่า

เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ทั้งรถเสียในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย หรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรง เชื่อว่าหลายคนคงสติเตลิดอยู่ไม่น้อย นอกจากจะต้องเซฟเบอร์บริษัทประกันไว้แล้ว ยังมี “เบอร์โทรฉุกเฉิน” อื่น ๆ ที่ควรเซฟติดเครื่องไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีเบอร์หน่วยงานไหนบ้าง ตามไปดูกันเลยดีกว่า

เบอร์โทรฉุกเฉินบนเส้นทาง

  • 1137 วิทยุ จส.100
  • 1146 กรมทางหลวงชนบท
  • 1193 ตำรวจทางหลวง
  • 1197 ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจรตำรวจ
  • 1543 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • 1584 กรมการขนส่งทางบก
  • 1586 สายด่วนกรมทางหลวง
  • 1644 สวพ. FM91

เบอร์โทรฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุร้าย

  • 191 ติดต่อแจ้งเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • 1192 ศูนย์ปราบขโมยรถ (สตช.)
  • 1418 มูลนิธิป่อเต๊กตึ๊ง กทม.
  • 1554 หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล
  • 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • 1691 โรงพยาบาลตำรวจ

การเรียกใช้บริการรถยก รถสไลด์ หรือรถลากจูง แม้จะอยู่ภายใต้ ‘เงื่อนไข’ ความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์ แต่ก็มีข้อจำกัดที่ควรทำความเข้าใจให้ดีก่อนเรียกใช้บริการ แนะนำให้สอบถามรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีก่อน เพื่อเลี่ยง “ค่าใช้จ่าย” ที่อาจเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง

คำจำกัดความ
​​ขัดข้อง ​ไม่ยอมให้ทำ, ไม่ตกลงด้วย, ติดขัด
​ยืดหยุ่น ​ลักษณะที่วัตถุสามารถเปลี่ยนรูปทรงได้เมื่อมีแรงมากระทำ และจะกลับคืนสู่รูปทรงเดิมเมื่อแรงนั้นหยุดกระทำ, รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา, เปลี่ยนแปลงได้ไม่ตายตัว
​เตลิด ​กระเจิดกระเจิง, แตกหมู่เพ่นพ่านไป, หนีกระเจิงไป, เพริดไป​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่