​​เหตุการณ์ไหนเสี่ยงโดน​​ยกเลิกประกันรถ​​ เรื่องสำคัญที่คนมีรถควรรู้หน่อย​

แชร์ต่อ
​​เหตุการณ์ไหนเสี่ยงโดน​​ยกเลิกประกันรถ​​ เรื่องสำคัญที่คนมีรถควรรู้หน่อย​ | มิสเตอร์ คุ้มค่า

คนใช้รถมีประกันรู้หรือไม่ว่า กรมธรรม์ที่คุณทำไว้จาก บริษัทประกันรถยนต์มีสิทธิ์ยกเลิกประกันรถ หากมีการ “ทำผิดเงื่อนไข” จึงเป็นเหตุผลที่คนมีรถทุกคนควรรู้หน่อย เพื่อป้องกันกรณีการยกเลิกประกันภัยรถยนต์แบบไม่ทันตั้งตัว ในส่วนของ “ข้อมูลเพิ่มเติม” มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมมาให้แล้ว คนทำประกันรถยนต์ต้องอ่านตามไปดูกันเลย

เหตุการณ์สุ่มเสี่ยงต่อการโดนยกเลิกประกันรถ มีอะไรบ้าง ?

เหตุการณ์สุ่มเสี่ยงต่อการโดนยกเลิกประกันรถ มีอะไรบ้าง ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

การยกเลิกประกันภัยรถยนต์ ใช่ว่าบริษัทประกันรถยนต์อยากยกเลิกก็จะยกเลิกได้เลย ต้องมีเหตุ มีปัจจัย มี “เหตุการณ์” ที่ผิดเงื่อนไขเกิดขึ้นก่อนที่อยู่ในเงื่อนไขการยกเลิกของบริษัทประกัน ดังนี้

  • 1. ข้อมูลผู้เอาประกันไม่เป็นความจริง

    การทำประกันรถยนต์ไม่ว่าจะกับบริษัทประกันรถยนต์ใด ๆ ก็ตาม จะมีการเก็บข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว กรณีที่ผู้เอาประกันให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ไม่ว่าจะปกปิดหรือบิดเบือน หากบริษัทฯ ตรวจพบในภายหลังก็จะถูกยกเลิกประกันรถ รวมถึงไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ อีกด้วย

  • 2. มีการเคลมประกันบ่อยเกินไป

    การเคลมประกันรถยนต์บ่อย ๆ นอกจากจะทำให้เบี้ยประกันในปีต่อ ๆ ไปสูงขึ้นแล้ว ยังเสี่ยงต่อการถูกบริษัทยกเลิกกรมธรรม์ด้วยเช่นกัน เนื่องจากประเมินว่าผู้เอาประกันมีการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และอาจร้ายแรงจนถึงขั้นถูก Black List

  • 3. ประวัติการเคลมผิดปกติ

    หากบริษัทประกันรถยนต์เห็นถึง “ความผิดปกติ” ในการเคลมประกัน หรือความไม่สมเหตุสมผล ผู้เอาประกันมีสิทธิ์โดนยกเลิกประกันด้วยเช่นกัน

  • 4. ทุจริตในการเคลมประกัน

    ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตในการเคลมประกันรูปแบบใดก็ตาม อาทิ มีการทุจริตกับเจ้าหน้าที่ประกัน ผู้เอาประกันจะถูกยกเลิกประกันรถทันที นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องได้อีกด้วย

กรณีถูกยกเลิกประกันโดยไม่รู้ว่าเพราะอะไร รวมถึงไม่รู้ว่าผู้เอาประกันทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์หรือไม่ เรามีคำแนะนำมาบอกต่อ ซึ่งจะต้องทำยังไงหลังจากถูกยกเลิกกรมธรรม์ ตามไปทำความเข้าใจในหัวข้อถัดไปกันได้เลย

หากโดนยกเลิกประกันรถ ต้องทำอย่างไร ?

ต้องบอกก่อนว่าแต่ละบริษัทประกันรถยนต์มี “เงื่อนไข” ที่แตกต่างกันออกไป หากเกิดการยกเลิกประกันภัยรถยนต์ โดยที่ไม่รู้ว่าเพราะอะไร แนะนำให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ทำการติดต่อประกันภัยรถยนต์ก่อน เพื่อสอบถามถึง “สาเหตุ” ที่ประกันรถยนต์ถูกยกเลิก
  2. เมื่อทราบสาเหตุแล้ว แต่ผู้เอาประกันไม่ได้มีความผิดตามเงื่อนไข พร้อมกับไม่สะดวกใจจะต่อประกันกับบริษัทประกันรถยนต์เดิม สามารถ “ขอเวนคืนกรมธรรม์” ได้ จากนั้นค่อยเปลี่ยนบริษัทใหม่

เนื่องจากประกันภัยรถยนต์มี “เงื่อนไข” ที่ควรทำความเข้าใจมากมาย จึงเป็นเหตุผลที่ผู้เอาประกันทุกคน ควรเปรียบเทียบประกันรถยนต์ให้ดีก่อนตัดสินใจทำประกันรถยนต์ ทั้งการจ่ายเบี้ยประกันล่าช้า การใช้รถ รวมถึงข้อยกเว้นต่าง ๆ แนะนำให้เลือกแผนความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ ตรงกับไลฟ์สไตล์การขับขี่ของตัวเองให้ได้มากที่สุด เพื่อผลประโยชน์สูงสุด ต่อของผู้เอาประกันเอง

จ่ายเบี้ยประกันช้าจะโดนยกเลิกประกันรถไหม ?

อีกหนึ่งประเด็นข้อสงสัยเรื่องการถูกยกเลิกประกันรถ การจ่ายเบี้ยประกันช้าจะมีผลด้วยหรือไม่ ? จ่ายเบี้ยประกันล่าช้าเสี่ยงต่อการโดนยกเลิกกรมธรรม์ด้วยหรือเปล่า ? คำตอบคือ “มีสิทธิ์ถูกยกเลิกความคุ้มครอง” ได้ เนื่องจากถือว่าจ่ายค่าเบี้ยไม่ครบ กรมธรรม์ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้การคุ้มครองจะสิ้นสุดเมื่อไม่จ่ายเบี้ยประกันตามตกลง

ซึ่งตามปกติแล้วประกันรถยนต์จะมีกำหนดการจ่ายค่าเบี้ย “ล่าช้าไม่เกิน 30 วัน หรือ 60 วัน” ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท หากค้างจ่ายเกินกว่าที่กำหนด นอกจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองแล้ว ยังมีค่าปรับที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมด้วย

ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายยกเลิกประกันรถได้ไหม ?

สำหรับคนที่อยากเปลี่ยนไปใช้ประกันตัวอื่น บริษัทอื่น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม สามารถทำได้ โดยมีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • 1. ยกเลิกประกันก่อนคุ้มครอง

    กรณีนี้เป็นการยกเลิกประกันรถก่อนได้รับกรมธรรม์จากบริษัทประกันรถยนต์ ด้วยการโทรติดต่อประกันภัยรถยนต์ตัวแทน หรือโบรกเกอร์ที่ทำประกันด้วย พร้อมกับแจ้งรายละเอียดให้ครบถ้วน เช่น ชื่อผู้เอาประกัน, ทะเบียนรถยนต์ รวมถึงสาเหตุที่ต้องการยกเลิก ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายในการยกเลิกแต่อย่างใด

  • 2. ยกเลิกกรมธรรม์ก่อนคุ้มครอง (ได้รับกรมธรรม์แล้ว)

    กรณีนี้เป็นการยกเลิกประกันภัยรถยนต์ “หลังจาก” ได้รับกรมธรรม์ตัวจริงเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ถึงวันคุ้มครอง สามารถทำเรื่องยกเลิกได้เหมือนกับแบบยังไม่ได้รับกรมธรรม์ และต้องส่งกรมธรรม์คืนให้กับบริษัท โดยการยกเลิกแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์แต่ละประเภท

  • 3. การยกเลิกประกันภัยรถยนต์หลังได้รับความคุ้มครอง

    หากได้รับกรมธรรม์ตัวจริงแล้ว และถึงวันคุ้มครองแล้ว แต่อยากจะยกเลิกขึ้นมา ก็สามารถทำเรื่องยกเลิกได้เช่นกัน โดยวิธีการก็ไม่ได้ต่างจากทั้งสองแบบก่อนหน้าสักเท่าไหร่ ที่เพิ่มเติมเข้ามาก็จะเป็น “ระยะเวลารอเงินคืน” ที่นานกว่าเท่านั้นเอง

ซึ่ง “ข้อดี” ของการเวนคืนกรมธรรม์ก็มีด้วยกันหลากหลาย เช่น ช่วยให้ผู้เอาประกันได้รับสิทธิประโยชน์ที่มากกว่า, หมดพันธะกับกรมธรรม์เดิม, ได้ยกเลิกประกันที่ไม่ตอบโจทย์กับตัวเอง แต่ทั้งหมดนี้จะต้องผ่านการคิด ไตร่ตรอง และเปรียบเทียบมาเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียดายในภายหลัง

เอกสารที่ต้องใช้ ในการยกเลิกประกันรถมีอะไรบ้าง ?

หลังจากติดต่อประกันภัยรถยนต์เพื่อดำเนินการยกเลิกประกันภัยรถยนต์เรียบร้อยแล้ว ให้จัดเตรียมเอกสารเพื่อไปยื่นขอยกเลิก ดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เวนคืน
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
  • เล่มกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริง
  • กรอกแบบฟอร์มขอใช้สิทธิ์เวนคืนกรมธรรม์

ยกเลิกประกันรถจะได้เงินคืนเท่าไหร่ ? ใช้เวลากี่วัน ?

สำหรับการยกเลิกประกันภัยรถยนต์หรือ “เวนคืนกรมธรรม์” ขอยืนยันอีกครั้งว่าสามารถทำได้ แต่ส่วนใหญ่จะเวนคืนได้ตามระยะเวลาที่คุ้มครองไปแล้ว โดยจะคิดเป็น​ “เปอร์เซ็นต์” แล้วลบกับค่าเบี้ยประกันรายปีที่จ่ายไปทั้งหมด โดยมีอัตราการคืนเบี้ยประกันรถยนต์ และตัวอย่างการคำนวณดังต่อไปนี้

อัตราการคืนเบี้ยประกันรถยนต์

​​จำนวนวันประกันภัย (วัน) ​เงินที่ได้คืน (%)
​1 – 9 72
10 - 19 68
​20 – 29 65
​30 – 39 63
​40 – 49 61
​50 – 59 59
​60 – 69 56
​70 – 79 54
​80 – 89 52
​90 – 99 50
​100 – 109 48
​110 – 119 46
​120 – 129 44
​130 – 139 41
​140 – 149 39
​150 – 159 37
​160 – 169 35
​170 – 179 32
​180 – 189 30
​190 – 199 29
​200 – 209 27
​210 – 219 25
​220 – 229 23
​230 – 239 22
​240 – 249 20
​250 – 259 18
​260 – 269 16
​270 – 279 15
​280 – 289 13
​290 – 299 12
​300 – 309 10
​310 – 319 8
​320 – 329 6
​330 – 339 4
​340 – 349 3
​350 – 359 1

ตัวอย่างการคำนวณเงินคืนกรมธรรม์

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณซื้อประกันรถยนต์ จ่ายค่าเบี้ยประกัน 25,000 บาทต่อปี หลังจากผ่านไปประมาณ 6 เดือน (180 วัน) คุณตัดสินใจขายรถ เลยอยากยกเลิกประกันที่ทำไว้ หมายความว่ากรมธรรม์เดิมให้ความคุ้มครองไปแล้ว 180 วัน จาก “อัตราการคืนค่าเบี้ยประกัน” คุณจะได้รับเงินคืน 30% ของค่าเบี้ย คิดเป็น 25,000x30% = 7,500 บาทนั่นเอง

ในส่วนของ “ระยะเวลา” ในการคืนเงินที่บริษัทประกันรถยนต์จะคืนให้กับผู้เวนคืน ส่วนใหญ่จะกินระยะเวลาไม่เกิน 1-2 เดือน (หลังจากได้รับเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง) ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการดำเนินการของแต่ละบริษัท

จะเห็นได้ว่าการยกเลิกประกันรถ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งการยกเลิกประกันภัยรถยนต์จากบริษัทประกันรถยนต์ รวมถึงจากผู้เอาประกันเอง ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีขั้นตอนการดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่ว่าจะยกเลิกแบบไหน แนะนำให้ติดต่อประกันภัยรถยนต์เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และเพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจจะตามมาในภายหลังนั่นเอง

คำจำกัดความ
เวนคืนกรมธรรม์ การขอยกเลิกกรมธรรม์ที่ทำไว้ เพื่อขอรับเบี้ยประกันคืนบางส่วน
ผู้เอาประกัน คนที่ทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกัน เป็นผู้จ่ายเบี้ยประกัน หรือเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์
กรมธรรม์ เอกสารฉบับหนึ่ง ที่ทางบริษัทประกันภัยจะมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นเหมือนกับเครื่องยืนยันการซื้อประกันภัยเพื่อยืนว่า เราจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกัน ตามข้อตกลงที่อยู่ในเงื่อนไขของประกันนั้น ๆ

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่