ประกันรถเป็นสิ่งที่รถทุกคันควรมี และหนึ่งในประเด็นที่คนมีรถยนต์ไฟฟ้าควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ คือ ประกันรถไฟฟ้า ที่คอยให้ความคุ้มครองอย่างอุ่นใจตลอดการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นประกันรถไฟฟ้าชั้น 1 หรือประกันรถไฟฟ้าราคา ที่ควรเปรียบเทียบความคุ้มครองให้ดี รวมถึงเกณฑ์ใหม่ของประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเริ่มใช้จริงในปี 2567 ซึ่งจะมีรายละเอียดน่าสนใจแค่ไหน ? ตามไปดูกันเลย
อัปเดต ! เกณฑ์ใหม่ประกันรถไฟฟ้าปี 2567 มีอะไรที่ต้องรู้ ?
กรมธรรม์ประกันรถยนต์ไฟฟ้าฉบับ 2567 มีการปรับเปลี่ยนจากประกันรถยนต์ธรรมดา “หลายอย่าง” เนื่องจากต้องการแก้ไขปัญหาราคาเบี้ยประกันรถไฟฟ้าที่ค่อนข้างสูง ซึ่งหลัก ๆ แล้วแบ่งเกณฑ์ที่ปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดดังนี้
1. การรับประกันรถยนต์ไฟฟ้า
ถือเป็นข่าวดีของผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าสุด ๆ เนื่องจากจะได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุม ยืดหยุ่น และตอบโจทย์ โดยจะเริ่มบังคับใช้ทุกบริษัทวันที่ 1 มิถุนายน 2567
2. ความคุ้มครองแบตเตอรี่
จะมีการนำ “อายุการใช้งาน” เข้ามาคำนวณด้วย เป็นการคิดค่าเสื่อมของแบตเตอรี่ การคุ้มครองจะเริ่มต้นจากปีแรกที่ออกรถคุ้มครอง 100% และจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุการใช้งาน โดยลดลงสูงสุดที่ 50%
สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่กังวลว่าจะต้องจ่ายค่าแบตแพง ๆ สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ความคุ้มครองแบตเตอรี่ 100% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขแต่ละบริษัท
3. กรรมสิทธิ์ซากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้ามีสิทธิในการเป็นเจ้าของแบตเตอรี่ด้วย แต่จะเป็นได้ก็ต่อเมื่อร่วมจ่ายค่าแบตรถยนต์ไฟฟ้า เช่น เนื่องจากความคุ้มครองของแบตเตอรี่ลดลงตามอายุการใช้งาน หากในปีที่ 2 เกิดอุบัติเหตุรุนแรงจนต้องเปลี่ยนแบตใหม่ บริษัทจะคุ้มครองที่ 90% แต่หากมีกรณีที่บริษัทประกันรถไฟฟ้าจะต้องนำแบตไปขาย อาทิ ไม่สามารถซ่อมได้จึงต้องนำไปขาย บริษัทประกันจะได้รับ 90% ของราคาขาย และผู้เอาประกันจะได้รับเงิน 10% ของราคาขาย
4. ต้องระบุผู้ขับขี่
ส่วนนี้จะแตกต่างจากประกันภัยรถยนต์ทั่วไป ตรงที่ “ต้องระบุผู้ขับขี่” โดยสามารถระบุได้สูงสุด 5 คน หากเป็นนิติบุคคลที่ไม่ใช่รถประจำตำแหน่ง ไม่ต้องระบุผู้ขับขี่
5. เพิ่มความคุ้มครองสายชาร์จพกพา
กรมธรรม์ฉบับใหม่จะให้ความคุ้มครองเฉพาะ “สายชาร์จพกพาที่ติดมากับตัวรถ” เท่านั้น โดยความคุ้มครองนี้จะรวมอยู่ในทุนประกัน และคุ้มครองกรณีสายชาร์จสูญหายอันเนื่องมาจากถูกขโมย และความเสียหายจากอุบัติเหตุ แต่จะไม่คุ้มครอง Wall Charge ที่ติดอยู่ที่บ้าน
6. เพิ่มความคุ้มครองการ Hack Software รถยนต์ไฟฟ้า
ให้ความคุ้มครองกรณี Cyber Breach ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชุดคำสั่ง หรือระบบปฏิบัติการที่ใช้ควบคุมรถยนต์ แต่ถ้าหากผู้เอาประกันทำการเจลเบรก หรือปรับเปลี่ยนการทำงานซอฟต์แวร์เอง แล้วเกิดความเสียหายแบบนี้จะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ
7. เพิ่มส่วนลดพฤติกรรมการขับขี่
ประกันรถไฟฟ้าเดิมจะมีส่วนลดประวัติดีให้อยู่แล้ว สูงสุด 40% แต่ส่วนลดประวัติจะติดกับตัวรถ โดยมีรายละเอียดน่าสนใจดังนี้
เกณฑ์การได้รับส่วนลดประวัติดี
- ไม่มีการเคลมในกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด
- ต่อประกันรถยนต์ไฟฟ้ากับบริษัทเดิม
ส่วนลดประวัติดีจะเพิ่มระดับดังนี้
- ขั้นที่ 1 ลด 20%
- ขั้นที่ 2 ลด 30%
- ขั้นที่ 3 ลด 40%
ส่วนลดพฤติกรรมการขับขี่
ส่วนลดพฤติกรรมการขับขี่จะให้ส่วนลดที่ “คน” เป็นหลัก โดยมีเกณฑ์การได้รับส่วนลดดังนี้
- ไม่มีการเคลม ในกรณีที่ผู้เอาประกันรถไฟฟ้าเป็นฝ่ายผิด
- ต่อประกันกับบริษัทไหนก็ได้
- กรณีที่จะถูกลดระดับจะเกิดเมื่อชนกับรถไฟฟ้าด้วยกันเท่านั้น
ส่วนลดพฤติกรรมการขับขี่จะเพิ่มระดับดังนี้
- ขั้นที่ 1 ลด 10%
- ขั้นที่ 2 ลด 20%
- ขั้นที่ 3 ลด 30%
ประกันรถไฟฟ้าฉบับอัปเดตใหม่ ดีต่อผู้เอาประกันยังไง ?
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” มองว่ากรมธรรม์ประกันรถยนต์ไฟฟ้าฉบับอัปเดตใหม่ และเริ่มนำมาใช้จริงในปี 2567 นั้น ช่วยเพิ่มความชัดเจนในการทำประกันให้มีมาตรฐานเดียวกัน ทั้งในเรื่องของแนวทางการคิดเบี้ยประกันรถไฟฟ้า และขอบเขตความคุ้มครองของประกันรถไฟฟ้า byd และรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์อื่น ๆ
ที่สำคัญยังเหมารวมถึงความคุ้มครองในเรื่อง “แบตเตอรี่” ซึ่งเป็นชิ้นส่วนหลัก หรือหัวใจสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า ที่มีราคาสูงถึง 70-80% ของมูลค่ารถ แน่นอนว่ากรมธรรม์ประกันรถยนต์ไฟฟ้าฉบับใหม่ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ขับขี่และลดข้อพิพาทลงได้มาก ๆ เลยล่ะ แต่ทุก ๆ ครั้งที่จะซื้อหรือต่อประกัน แนะนำให้เปรียบเทียบประกันรถยนต์ไฟฟ้าให้ดีก่อนเสมอ
เบี้ยประกันรถไฟฟ้าราคาเริ่มต้นที่เท่าไหร่ แพงไหม ?
หนึ่งในประเด็นที่หลายคนสงสัยกันมากที่สุด คือ เบี้ยประกันรถไฟฟ้าราคาเริ่มต้นที่เท่าไหร่ เพราะถามใครต่อใครก็ได้รับคำตอบเพียงแค่ “แพงมาก” ซึ่งก็แพงจริง ๆ เพราะประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะเริ่มต้นที่ 28,000 บาทขึ้นไป แน่นอนว่าเป็นราคาที่สูงกว่าประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ประมาณ 10-20%
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความคุ้มครอง และบริษัทประกันรถไฟฟ้าชั้น 1 หรือประกันชั้นอื่น ๆ ที่เลือกทำแต่เหตุผลที่ประกันรถยนต์ไฟฟ้ามีราคาแพงกว่ารถยนต์สันดาป มันมีเหตุผลของมันอยู่เหมือนกัน ใช่ว่าเป็นรถยนต์ทางเลือกใหม่แล้วคิดจะตั้งเบี้ยประกันรถไฟฟ้าสูง ๆ เสียเมื่อไหร่ แต่มันแพงเพราะอะไร ลองไปดูรายละเอียดกันดูไหม?
เหตุผลที่เบี้ยประกันรถไฟฟ้าราคาสูงกว่ารถยนต์สันดาป
สำหรับ “เหตุผล” ที่หลายคนกำลังสงสัยกันมากที่สุด อย่าง “ทำไมประกันรถไฟฟ้าราคาแพง” อย่างที่บอกไปแล้วว่ามันมีเหตุผลในตัวเอง เนื่องจากประกันรถไฟฟ้ามีปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งถูกนำมาคิดรวมในค่าประกันด้วย ดังนี้
- ศูนย์ซ่อมน้อย ทำให้ค่าดำเนินการส่งเคลมสูงกว่าปกติ
- อะไหล่ราคาสูง แม้ว่าในปัจจุบันจะมีประกันรถยนต์ไฟฟ้าบ้างแล้ว แต่เมื่อเทียบกับรถยนต์ทั่วไปก็ถือว่าน้อยอยู่ดี
- อะไหล่ราคาสูง เพราะส่วนมากต้องรอเบิกอะไหล่จากทางศูนย์โดยตรง หรือรอนำเข้าโดยเฉพาะ
- ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุไม่แน่นอน เนื่องจากยังมีจำนวนน้อย ทำให้เก็บสถิติต่าง ๆ หรือข้อมูลอื่น ๆ ไม่เพียงพอ
รถยนต์ไฟฟ้า EV ทำประกันรถไฟฟ้าชั้น 1 ดีไหม ?
หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังหาคำตอบว่า ทำประกันรถไฟฟ้าทั้งที เอาดี ๆ คุ้ม ๆ ไปเลยดีไหม? โดยเฉพาะประกันรถไฟฟ้าชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองจัดเต็มทุกกรณี หากมองในเรื่องของราคารถ อะไหล่ และค่าซ่อมที่ค่อนข้างสูง การทำประกันรถไฟฟ้าราคาแพง แต่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ ครอบคลุม และตรงใจ ก็ถือเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลมาก ๆ
เพราะนอกจากจะช่วยคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ ทั้งของผู้เอาประกันและคู่กรณีแล้ว ยังให้ความคุ้มครองในส่วนของอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น สารหล่อลื่น แบตเตอรี่ ฯลฯ บอกเลยว่าเป็นเบี้ยประกันรถไฟฟ้าที่คุ้มค่าต่อการควักกระเป๋าจ่ายสุด ๆ
เลือกประกันรถไฟฟ้ายังไงให้ตอบโจทย์ ?
หากคุณกำลังมองหาประกันรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของเบี้ยประกันรถไฟฟ้าแล้ว “ความคุ้มครอง” ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรใส่ใจเช่นเดียวกัน ถ้าอย่างนั้นเราไปดูความคุ้มครองของประกันรถไฟฟ้าชั้น 1 และประกันรถยนต์ไฟฟ้าชั้นอื่น ๆ กันเลย
ประกันรถไฟฟ้าชั้น 1 คุ้มครองอะไรบ้าง ?
ประกันรถไฟฟ้าชั้น 1 นอกจากจะเป็นประกันรถไฟฟ้าราคาแพงที่สุด ยังให้ความคุ้มครองสูงสุดด้วยเช่นกัน แถมยังสามารถแจ้งเคลมประกันได้แบบมีและไม่มีคู่กรณี ที่สำคัญ “ทุกบริษัท” ยังมีความคุ้มครองใกล้เคียงกัน ดังนี้
- คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ไฟฟ้า
- คุ้มครองความเสียหายต่ออุปกรณ์แต่งรถ
- คุ้มครองความเสียหายผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร
- คุ้มครองต่อทรัพย์สิน ร่างกาย
- คุ้มครองชีวิตของคู่กรณี บุคคลภายนอก
- คุ้มครองค่าประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา
- คุ้มครองกรณีรถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม (ภัยพิบัติทางธรรมชาติ)
- คุ้มครองกรณีรถยนต์ไฟฟ้าหาย
นอกจากนี้ประกันรถไฟฟ้าชั้น 1 ของบางบริษัทยังมี “ความคุ้มครองเพิ่มเติม” ให้ด้วย ซึ่งความคุ้มครองของประกันรถไฟฟ้าชั้น 1 มีดังนี้
- ฟรีค่าตรวจรถยนต์ไฟฟ้าก่อนทำประกันภัย
- คุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอก ที่เกิดจากการชาร์จไฟฟ้าที่บ้าน หรือสถานีชาร์จต่าง ๆ
- คุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายต่อเครื่องชาร์จที่บ้าน
- คุ้มครองความเสียหาย หรือสูญหายต่อสายชาร์จ
- ไม่หักค่าเสื่อมราคา 4 รายการหลัก ในกรณีอุบัติเหตุเกิดความเสียหายต่อยาง แบตเตอรี่ น้ำมันเครื่อง และสารหล่อลื่น
ประกันรถไฟฟ้าชั้น 2 คุ้มครองอะไรบ้าง ?
เป็นประกันรถไฟฟ้าที่ให้ความคุ้มครองรองลงมาจาก ประกันรถไฟฟ้าชั้น 1 แถมยังเป็นประกันรถไฟฟ้าราคาจับต้องได้ โดยให้ความคุ้มครองดังนี้
- คุ้มครองกรณีรถยนต์สูญหาย ไฟไหม้
- คุ้มครองความเสียหายรถยนต์ ทรัพย์สินคู่กรณี
- คุ้มครองความเสียหายผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร
- คุ้มครองค่าประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา
- คุ้มครองชีวิต ค่ารักษาของคู่กรณี
ประกันรถยนต์ไฟฟ้าชั้น 3 คุ้มครองอะไรบ้าง ?
สำหรับประกันรถยนต์ไฟฟ้าชั้น 3 จะให้ความคุ้มครอง “เหมือน” รถยนต์ทั่วไป พูดง่าย ๆ ว่าเป็นประกันรถไฟฟ้าที่ให้ความคุ้มครองน้อยที่สุด และยังเป็นประกันรถไฟฟ้าราคาถูกที่สุดเช่นเดียวกัน โดยจะให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายต่อรถยนต์ของผู้เอาประกัน จากอุบัติเหตุแบบรถชนรถเท่านั้น
เป็นยังไงกันบ้างสำหรับประกันรถไฟฟ้า EV ฉบับอัปเดตใหม่ ที่เรานำมาบอกต่อในวันนี้ เรียกได้ว่าเพิ่มความคุ้มครองให้กับเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าได้สะใจมากเลยใช่ไหมล่ะ? หากคุณสนใจแนะนำให้เช็กเบี้ยประกันให้ดี ๆ ว่าเหมาะสมกับความคุ้มครองที่ได้รับหรือไม่ โดยเฉพาะประกันรถไฟฟ้าชั้น 1 ที่มีราคาแพงกว่าใครเขา เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้รถยนต์คู่ใจของคุณได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์แล้วล่ะ
คำจำกัดความ
Cyber Breach | การโจมตีทางไซเบอร์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเสียหาย หรือเข้าควบคุม หรือเข้าถึงเอกสารและระบบที่สำคัญภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของธุรกิจ หรือของส่วนบุคคล |
เจลเบรก | กระบวนการที่ผู้ใช้เข้าถึงระบบหรือส่วนที่ผู้ผลิตล็อคเอาไว้ เพื่อให้สามารถปรับแต่งหรือเพิ่มฟีเจอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ผลิต |