หัวข้อที่น่าสนใจ
บ่อยครั้งที่การขับขี่รถด้วยความเร็วสูง ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ความเสียหาย และความสูญเสียเป็นวงกว้าง ทางรัฐบาลจึงได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 ซึ่งกฎหมายจราจรใหม่เริ่มมีการบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2565 เป็นต้นไป โดยกฎระเบียบการขับรถมีอะไรที่ต้องรู้บ้าง ? โดยเฉพาะค่าปรับขับรถเร็ว มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์ข้อควรรู้มาให้แล้ว ตามไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า
ว่าด้วยเรื่องกฎหมายขับรถ 2567 ที่คนมีรถควรรู้ ?
ต้องยอมรับว่าอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะปฏิบัติตามกฎหมายจราจรเบื้องต้น หรือยึดหลักการขับขี่ตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดแค่ไหนก็ตาม เนื่องจากสามารถเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ และ 1 ในนั้น คือ การขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด รวมถึงการฝ่าฝืนกฎจราจร, ไม่สวมหมวกกันน็อก
ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เมื่อข้างต้น ล้วนก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นได้ รวมถึงมีค่าปรับขับรถเร็ว และมีการเพิ่มบทลงโทษสำหรับความผิดหลายกรณี ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- ขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 4,000 บาท
- ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร มีโทษปรับไม่เกิน 4,000 บาท
- ฝ่าฝืนเครื่องหมายทางม้าลาย ไม่หยุดให้คนข้าม มีโทษปรับไม่เกิน 4,000 บาท
- ขับรถย้อนศร มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ไม่สวมหมวกนิรภัย มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยต่อชีวิตหรือร่างกายผู้อื่น มีโทษปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถตู้ รถกระบะ หากผู้ขับขี่และผู้โดยสารไม่รัดเข็มขัดนิรภัย ปรับสูงสุด 2,000 บาท
- ไม่ดื่มสุราหรือเสพยาเสพติดก่อนหรือระหว่างการขับขี่ จำคุกไม่เกิน 1 ปี มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- แข่งรถบนถนนทางสาธารณะ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎระเบียบการขับรถ ฉบับ 2567 มีอะไรบ้าง ?
สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม ร่างกฎหมายใหม่โดยได้กำหนดให้ใช้ความเร็วไม่เกินตามประเภทของรถ ดังนี้
ความเร็วรถยนต์ (ระดับดิน)
- รถยนต์ 4 ล้อ : ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- ขับเลนขวาสุดบนทางหลวง : ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถแทรกเตอร์ รถบดถนน รถที่ใช้ในการเกษตร : ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ : ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็วรถบรรทุก (ระดับดิน)
- รถบรรทุกที่มีน้ำหนัก 2,200 กิโลกรัม ผู้โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง : ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถบรรทุกผู้โดยสารเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน : ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน : ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็วรถจักรยานยนต์/มอเตอร์ไซค์
- รถจักรยานยนต์ : ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถจักรยานยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป : หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ซีซีขึ้นไป ให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
กฎหมายจราจร ว่าด้วยการขับรถขวางรถฉุกเฉินหรือรถพยาบาล
หนึ่งในประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงกันมานาน ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีมาตรฐาน หรือไม่ออกกฎหมายจราจรทางบก เพื่อลงโทษคนที่ขับรถขวางรถฉุกเฉิน หรือรถพยาบาลบ้างหรือยังไง? ทำไมปัจจุบันถึงมีเหตุการณ์น่าสลดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จริง ๆ แล้วมันมีกฎจราจรการขับรถเรื่องนี้อยู่ด้วย แต่หลายคนมักมองข้าม
กฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 76
เมื่อเห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยิเสียงสัญญาณไซเรน จะต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อน หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
หากการกระทำดังกล่าวเป็น “เหตุโดยตรง” ที่ทำให้ผู้เจ็บป่วยในรถพยาบาลถึงแก่ชีวิต ผู้ที่ฝ่าฝืนการขับขี่ตามกฎจราจร อาจเข้าข่ายกระทำความผิดโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือกระทำโดยเจตนาเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ขับรถ
*หมายเหตุ: หากขับรถตามหลังรถฉุกเฉิน ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ในระยะไม่ถึง 50 เมตร มีโทษปรับ 1,000 บาทเกิดอุบัติเหตุ เพราะขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด ประกันคุ้มครองไหม ?
กรมทางหลวง โดยสำนักอำนวยความปลอดภัย ได้สรุปรายงานข้อมูลอุบัติเหตุบนทางหลวงทั่วประเทศ ประจำเดือนกันยายน 2567 จากการรายงานอุบัติเหตุทางระบบ HAIMS พบว่า “อุบัติเหตุเกิดขึ้นบนทางหลวง ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง จำนวน 1,001 ครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 110 คน ได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 741 คน จำนวนรถที่เกิดอุบัติเหตุ 1,497 คัน เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของกรมทางหลวงเสียหายประมาณ 17 ล้านบาท”
และ “เมื่อเปรียบเทียบสถิติอุบัติเหตุประจำเดือนกันยายน 2566 จำนวนอุบัติเหตุลดลงจากปีที่ผ่านมา 38% ผู้เสียชีวิตลดลง 35% บาดเจ็บลดลง 37% จำนวนรถที่เกิดอุบัติเหตุลดลง 37%” (ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1148643)
แม้ว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุจะลดลงมากถึง 38% แต่ก็ยังมีหลายคนที่ฝ่าฝืนกฎจราจร ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎจราจรการขับรถกำหนดอยู่ดี แล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา สามารถเคลมประกันได้ไหม? บอกไว้ตรงนี้เลยว่าประกันรถยนต์แต่ละชั้น มีเงื่อนไขการคุ้มครองแตกต่างกัน ดังนี้
ประกันรถยนต์ชั้น 1
ยังคงให้ความคุ้มครองกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากฝ่าฝืนกฎจราจร (ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด) ครอบคลุมทั้งค่าซ่อมแซมรถของผู้เอาประกันและคู่กรณี รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ในกรณีที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
แต่บริษัทประกันอาจทำการตรวจสอบอย่างละเอียด ว่าอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมายจราจรหรือไม่ และอาจใช้เหตุผลนี้ในการ “ปรับลดหรือเพิ่มค่าเบี้ยประกันในปีถัดไป”
ประกันรถยนต์ชั้น 2+
ประกันรถยนต์ชั้นนี้ ยังคงให้ความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากขับเร็วเกินกำหนดด้วยเช่นกัน โดยจะคุ้มครองทั้งของผู้เอาประกันและรถคู่กรณี “เฉพาะกรณีที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะ” และไม่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ชนสิ่งของหรือเสาไฟฟ้า เป็นต้น
ประกันรถยนต์ชั้น 2
ให้ความคุ้มครองเฉพาะรถคู่กรณี และความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก หากเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎระเบียบการขับรถกำหนด ยังสามารถเคลมความเสียหายของคู่กรณีได้
ประกันรถยนต์ชั้น 3+
คุ้มครองกรณีที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะ โดยจะคุ้มครองความเสียหายของรถคู่กรณีและรถของผู้เอาประกัน
ประกันรถยนต์ชั้น 3
คุ้มครองเฉพาะความเสียหายของรถคู่กรณี หากเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถด้วยความเร็วสูง รถของคู่กรณีจะได้รับความคุ้มครองตามปกติ แต่ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบค่าซ่อมแซมรถตัวเองทั้งหมด
แม้ว่าคุณจะปฏิบัติตามกฎหมายจราจรเบื้องต้นอย่างเคร่งครัด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากความประมาทของคนอื่น ดังนั้นการเลือกซื้อประกันรถยนต์ติดรถเอาไว้ ถือเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะจะให้ความคุ้มครองในทุก ๆ กรณี แม้ว่าคุณจะทำผิดกฎจราจรก็ตาม หากสนใจและอยากเลือกซื้อประกันรถยนต์ เข้ามาเช็คราคาประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนตัดสินใจทำประกันได้เลย
ขับรถเร็วเกินที่กฎจราจรกำหนด ไม่จ่ายค่าปรับได้ไหม ?
ในกรณีที่คุณฝ่าฝืนกฎจราจรการขับรถ และได้รับใบสั่งปรับ แต่เลือกที่จะไม่จ่ายค่าปรับขับรถเร็วตามระยะเวลาที่กำหนด เจ้าพนักงานจราจรจะออกหนังสือแจ้งเตือนการไม่ปฏิบัติตามใบสั่ง หรือเรียกว่า “ใบเตือน” โดยจะจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระค่าปรับในใบสั่ง ไปยังที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของผู้กระทำผิด
หากยังไม่ชำระค่าปรับขับรถเร็ว จนพ้นระยะเวลาที่กำหนดในใบเตือน เจ้าพนักงาน บช.น.จะส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบก เพื่องดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี และพนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อให้มาชำระค่าปรับ หากยังไม่มาตามหมายเรียกทั้ง 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่ เพื่อออกหมายจับต่อไป
หากไม่อยากเสียค่าปรับขับรถเร็ว และไม่อยากเผชิญหน้ากับความเสียหาย หรือความสูญเสียต่าง ๆ การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรเบื้องต้นและยึดหลักการขับขี่ตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าหากกังวล กลัวว่าจะเกิดอุบัติเหตุเพราะความประมาทของคนอื่น แนะนำให้ซื้อประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ติดรถเอาไว้ เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้คุณไม่ต้องแบกรับภาระทางการเงินแม้แต่นิดเดียว
คำจำกัดความ
ฝ่าฝืน | ไม่ปฏิบัติตาม, ขัดขืน, ละเมิด, ล่วง |
ระบบ HAIMS | ระบบสารสนเทศอุบัติเหตุบนทางหลวง |
น่าสลด | หน้าแสดงความเศร้าเสียใจ |