เจาะลึกความต่าง ใบพ.ร.บ.รถยนต์ vs ป้ายภาษี ที่คนมีรถควรรู้

แชร์ต่อ
เจาะลึกความต่าง ใบพ.ร.บ.รถยนต์ vs ป้ายภาษี ที่คนมีรถควรรู้ | มิสเตอร์ คุ้มค่า

หลายคนมักเข้าใจผิด คิดว่าใบพ.ร.บ.รถยนต์ และป้ายภาษีรถยนต์คืออันเดียวกัน เพราะต่อพ.ร.บ.รถทีไร ก็ต้องต่อภาษีด้วยตลอด แต่จริง ๆ แล้วต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพียงแค่จ่ายพร้อมกันเฉย ๆ และอยู่ภายใต้กฎหมายที่ผู้ใช้รถต้องจ่ายในทุก ๆ ปี แต่ถ้ายังมองภาพไม่ออกว่ามันต่างกันยังไง และมีข้อควรรู้อื่น ๆ อะไรที่ต้องรู้บ้าง ? มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว

ใบพ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร ?

อธิบายก่อนว่า พ.ร.บ.รถยนต์ คือ “ประกันภัยภาคบังคับ” ซึ่งกฎหมายบังคับให้รถทุกคันจำเป็นต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำประกันประเภทนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ หากไม่ทำจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

คปภ. หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ในการประกาศใช้กฎหมาย ดังนี้

  • เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต เพราะประสบภัยจากรถ โดยจะได้รับค่ารักษาพยาบาลทันที หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต
  • เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
  • เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุประสบภัยจากรถ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัย เข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ?

  • ได้รับบาดเจ็บ : จ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
  • ทุพพลภาพถาวร : จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน
  • เสียชีวิต : ชดใช้เป็นค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาทต่อคน
  • เสียชีวิตภายหลัง : ค่ารักษาพยาบาลจ่ายไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท รวมไม่เกิน 65,000 บาท

แต่ต้องบอกก่อนว่า พ.ร.บ.รถยนต์ ให้ความคุ้มครองเฉพาะ ‘คน’ เท่านั้น ไม่ได้ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวรถแต่อย่างใด หากคุณต้องการได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากกว่า พ.ร.บ.รถยนต์ “ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ” เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี สามารถเข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์ออนไลน์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนใครได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความคุ้มครองที่คุ้มค่า ราคาสบายกระเป๋า

พ.ร.บ.รถยนต์หาย ต้องทำยังไง ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

หากรู้ตัวว่า พ.ร.บ.รถยนต์หาย อันดับแรกที่ต้องทำคือ “แจ้งความลงบันทึกประจำวัน” กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันในการดูแลความปลอดภัย และป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นแอบอ้างนำป้ายไปกระทำผิดกฎหมาย หลังจากนั้นค่อยไปดำเนินการขอ พ.ร.บ.รถยนต์ ใหม่ ดังนี้

เอกสารประกอบการขอ พ.ร.บ.รถยนต์ ใหม่

  • นำหนังสือในการจดทะเบียนรถตัวจริงพร้อมสำเนา กรณีที่รถติดไฟแนนซ์ ควรติดต่อบริษัทไฟแนนซ์เพื่อดำเนินการขอใบพ.ร.บ.รถยนต์ใหม่
  • เอกสารสำเนาใบแจ้งความ หรือสำเนาบันทึกประจำวัน เพื่อเป็นหลักฐานในการแสดง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

การยื่นคำของใบพ.ร.บ.รถยนต์ใหม่

  1. เดินทางไปที่กรมขนส่งทางบกใกล้บ้าน พร้อมแจ้งทำใบแทนเครื่องหมายการเสียภาษีสูญหาย
  2. นำใบแจ้งความยื่นให้เจ้าหน้าที่ และจะได้รับเอกสารให้กรอกเพิ่ม 1 ใบ พร้อมใบคำร้องอีก 1 ใบ
  3. ชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 25 บาท

ใบต่อภาษีรถขาด แต่ พ.ร.บ.รถยนต์ไม่ขาด มีผลต่อการใช้รถยังไง ?

ในกรณีที่พ.ร.บ.รถยนต์ และป้ายวงกลมรถ หมดไม่พร้อมกัน จะถือว่ารถยนต์ที่ใช้อยู่ “ผิดกฎหมาย” และถ้าหากไม่ต่อภาษีจะต้องเสียค่าปรับ เช่น ต่อป้ายวงกลมรถยนต์ล่าช้า จะต้องเสียค่าปรับ 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน สมมติว่าต้องจ่ายภาษีรถยนต์ปีละ 2,000 บาท หากจ่ายล่าช้าจะต้องจ่ายค่าปรับเดือนละ 20 บาท หรือหากเจอเรียกตรวจ จะต้องเสียค่าปรับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ “ถูกระงับ หรือยกเลิกทะเบียนรถ” หากไม่ได้ต่อทะเบียนรถนานเกิน 3 ปี โดยกรมการขนส่งจะสามารถระงับทะเบียนรถยนต์ได้ทันที ทำให้เป็นเรื่องยุ่งยากมากกว่าเก่า เพราะนำจะนำรถไปใช้ต้องยื่นขอจดทะเบียนใหม่ รวมถึงต้องจ่ายภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย

หากเป็นกรณีรถที่ต้องจอดเพื่อซ่อมข้ามปี หรือซ่อมเป็นระยะเวลานาน สามารถยื่นเรื่องให้กรมการขนส่งระงับใช้รถชั่วคราวล่วงหน้าได้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ในช่วงนั้น

ป้ายภาษีรถยนต์ เป็นแบบไหน ?

ส่วนป้ายภาษีรถยนต์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ ป้ายวงกลมรถ ” เป็นสิ่งที่ต้องต่อกันทุกปีตามที่กฎหมายกำหนด หากไม่ต่อป้ายภาษีรถยนต์ติดต่อกันนาน 3 ปี รถยนต์ของคุณจะถูกระงับทะเบียน และต้องทำรถไปจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่ พร้อมคืนป้ายภาษีเก่า นอกจากนี้ยังมีสิทธิถูกเก็บค่าภาษีย้อนหลังอีกด้วย

ทั้งนี้ หากกลัวว่าจะลืมต่อป้ายวงกลม รถยนต์ สามารถต่อก่อนหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน แต่อย่าลืมว่าต้องต่อพ.ร.บ.รถให้เสร็จก่อนต่อป้ายภาษีรถยนต์ ซึ่งคุณจะได้ป้ายภาษีสี่เหลี่ยมมาติดหน้ากระจกรถ และหากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าคุณไม่มีป้ายภาษี ไม่ว่าจะป้ายภาษีรถยนต์ หาย หรือไม่ได้ติด จะมีโทษปรับ 400-1,000 บาท

ต่อป้ายภาษีรถยนต์ได้ที่ไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

การต่อป้ายภาษีรถยนต์สามารถชำระภาษีได้ทั่วประเทศ สามารถเลือกได้ตามความสะดวก ไม่ว่าจะช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์ ดังนี้

  • กรมขนส่งทางบกทั่วประเทศ : ไม่ว่ารถยนต์ของคุณจะจดทะเบียนจังหวัดไหน ก็สามารถจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปีได้ทั้งหมด ตั้งแต่เวลา 07.30-16.30 น.
  • ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไทย : ให้บริการตามเวลาทำการ
  • ธนาคาร ธ.ก.ส. : รับชำระเฉพาะรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระ หรือค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปีที่นายทะเบียนได้ประเทศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีรถยนต์ประจำปี
  • บิ๊กซี 14 สาขา :ได้แก่ ลาดพร้าว, รัชดาภิเษก, เพชรเกษม, อ่อนนุช, สำโรง, สุวินทวงศ์, บางใหญ่, บางนา, รามอินทรา, บางปะกอก, สุขาภิบาล 3, แจ้งวัฒนะ, บางบอน, สมุทรปราการ เวลา 09.00-17.00 น.
  • เซ็นทรัล รามอินทรา : เวลา 10.00-17.00 น.
  • พาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ : ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.
  • เซ็นทรัลเวิลด์ : เวลา 11.00-18.00 น.
  • ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-15.00 น.

ต่อป้ายภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไหร่ ?

สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าป้ายภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไหร่ ต้องบอกก่อนว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าว จะพิจารณาจัดเก็บภาษีรถตามความจุรถ (หน่วย: ซีซี) เป็นหลัก เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง มีอัตราค่าใช้จ่ายดังนี้

  • 600 ซีซีแรก ราคา 0.50 บาทต่อซีซี
  • 601-1,800 ซีซี ราคา 1 บาท 50 สตางค์ต่อซีซี
  • มากกว่า 1,800 ซีซี ราคา 4 บาทต่อซีซี

ถ้าป้ายภาษีรถยนต์หาย ต้องแจ้งความไหม ?

ในกรณีที่พบว่าป้ายภาษีรถยนต์หาย ในส่วนนี้ต้องแจ้งความหรือไม่? คำตอบคือต้องแจ้งความ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรับทราบเรื่อง แถมยังเป็นการช่วยป้องกันผู้ไม่หวังดี ที่อาจนำป้ายภาษีรถยนต์ไปแอบอ้างทำสิ่งผิดกฎหมาย แต่ถ้าในกรณีที่ป้ายวงกลมรถหรือใบต่อภาษีรถชำรุด ฉีกขาด ไม่ต้องไปแจ้งความ ให้นำป้ายที่ชำรุดไปกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งเพื่อทำเรื่องเปลี่ยนใหม่ได้เลย

ข้อย้ำอีกครั้งว่าการต่อ ใบพ.ร.บ.รถยนต์ และการต่อต่อป้ายวงกลมรถยนต์เป็นหน้าที่ที่สำคัญมาก ๆ อย่าปล่อยให้ป้ายวงกลมรถหรือพ.ร.บ.รถยนต์ขาดเด็ดขาด เพราะทั้งสองมีภาระผูกพันทางกฎหมาย นอกจากจะโดนโทษปรับแล้ว ยังมีสิทธิ์ถูกระงับทะเบียนรถได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นแนะนำให้ดำเนินการทุกอย่างให้ถูกต้อง ถ้าไม่มีเวลาก็สามารถต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย

คำจำกัดความ
​​ประสบภัย ​พบกับความโชคร้าย อันตรายต่างๆ
​สวัสดิสงเคราะห์ ​การดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือบุคคลให้สามารถช่วยตนเองได้
​โทษปรับ ​โทษทางอาญาฐานหนึ่ง ซึ่งมีข้อดีในแง่ต้นทุนการบริหารจัดการที่ต่ำกว่าโทษจำคุก คุมประพฤติ และกักบริเวณ​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่