หัวข้อที่น่าสนใจ
- ภาษีรถยนต์ คืออะไร ?
- ภาษีรถยนต์ vs พ.ร.บ.รถยนต์ ต่างกันอย่างไร ?
- เรื่องควรรู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ มีอะไรบ้าง ?
- ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี ต้องทำอะไรบ้าง ?
- เอกสารสำหรับต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี
- ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี มีอะไรบ้าง ?
- ขั้นตอนต่อภาษีออนไลน์ ทางเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก
- ขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ทางแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
สิ่งที่ต้องทำทุกปีเหมือนกับการตรวจสุขภาพคือ ‘การต่อภาษีรถยนต์’ โดยเฉพาะต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี กับรถที่มีอายุมากขึ้นต่อภาษีทำได้เหมือนเดิมหรือไม่ หรือต่างจากรถอายุปีน้อยกว่า รวมถึงต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้หรือเปล่า ? มิสเตอร์ คุ้มค่า จะพาไปหาคำตอบกัน เข้าใจก่อนดำเนินการต่อภาษีรถยนต์รอบต่อไปของรถคุณ ตามไปดูกันเลย
ภาษีรถยนต์ คืออะไร ?
ภาษีรถยนต์ที่หลาย ๆ คนเรียกกันติดปากว่า “การต่อทะเบียนรถยนต์” คือ ‘ค่าใช้จ่าย’ ที่เจ้าของรถทุกคันต้องจ่ายทุกปี เพื่อนำเงิน (ค่าใช้จ่าย) ส่วนนี้ไปปรับปรุง พัฒนา หรือซ่อมแซมถนนหนทาง รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการเดินทางแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน
โดยการต่อภาษีรถยนต์เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งต้องทำเป็นประจำทุกปี หากรถยนต์คันใดไม่ต่อภาษีหรือต่อล่าช้า จะมี ‘ค่าปรับ’ 1% ต่อเดือน และถ้าหากขาดต่อภาษีรถยนต์นานติดต่อกัน 3 ปี จะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ รวมถึงต้องเสียค่าปรับในการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังด้วย
ภาษีรถยนต์ vs พ.ร.บ.รถยนต์ ต่างกันอย่างไร ?
หลายคนมักเกิดความสับสน ว่าภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ.รถยนต์ คือสิ่งเดียวกัน เนื่องจากการต่อภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ.รถยนต์ จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป แต่จริง ๆ แล้วต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดย พ.ร.บ.รถยนต์ คือ “ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” มีไว้เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่ภาษีรถยนต์ คือ การต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี โดยเงินภาษีจะถูกนำไปพัฒนาระบบคมนาคมให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ มีอะไรบ้าง ?
เพื่อให้การต่อภาษีรถยนต์เป็นไปอย่างราบรื่น เจ้าของรถควร ‘รู้’ เงื่อนไข และรายละเอียดในการเสียภาษีให้ดีก่อน โดยมีเรื่องที่ควรรู้ดังต่อไปนี้
- การต่อภาษีรถยนต์ในแต่ละครั้ง “ต้องทำก่อนหมดอายุ” โดยสามารถต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้ 90 วัน (3 เดือน)
- กรณีต่อภาษีรถยนต์ล่าช้ากว่าที่กำหนด แม้เพียงแค่ 1 วัน ทาง ‘กฎหมาย’ ถือว่าขาดต่อภาษี โดยจะนับเวลาตั้งแต่ 1-3 แี และต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน หมายความว่ายิ่งจ่ายล่าช้ามากเท่าไหร่ ค่าปรับยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
- กรณีขาดต่อภาษีรถยนต์ ‘มากกว่า’ 3 ปี ป้ายทะเบียนรถคันดังกล่าวจะถูกยกเลิกทันที หากต้องการต่อภาษีรถยนต์ใหม่ ให้นำป้ายทะเบียนเดิมไปคืนที่กรมการขนส่งทางบก และชำระค่าปรับให้เรียบร้อย ถึงจะรับป้ายทะเบียนรถใหม่ได้
- การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถอายุไม่ถึง 7 ปี สามารถดำเนินการจ่ายภาษีรถยนต์ได้ โดยไม่ต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อน แต่ถ้าหากเป็นการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี จำเป็นต้องตรวจสภาพรถให้เรียบร้อย ถึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้
- เจ้าของรถต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ‘ประกันภัยภาคบังคับ’ ก่อน จึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้
ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี ต้องทำอะไรบ้าง ?
สำหรับคนที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี อย่างที่บอกคือ “ต้องนำรถไปตรวจสภาพก่อน” โดยสามารถนำไปตรวจได้ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ต.ร.อ.) ได้เลย เพื่อประเมินว่าสภาพรถยนต์เป็นยังไง สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ รวมถึงเช็คการทำงานของอะไหล่ทั้งหมด ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายเท่านั้น
หลังจากที่นำรถตรวจสภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นำใบตรวจสภาพรถไปจ่ายภาษีรถยนต์ได้เลย ส่วนคนที่อยากต่อประกันรถยนต์ราคาถูกด้วยก็สามารถต่อพร้อมกับการต่อภาษีได้เลย ซึ่งการต่อบริษัทเดียวกันจะทำให้ยื่นเคลมง่ายกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกใจ และความพึงพอใจของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
หากกำลังมองหาประกันรถยนต์ชั้น 3 ราคาสบายกระเป๋า แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกบริษัทไหนดี เข้ามาเช็คประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนใครได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรามีแผนประกันประเภท 3 และประเภทอื่น ๆ ให้เลือกหลากหลาย สามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้จนกว่าจะพอใจ ตอบโจทย์ทุกความคุ้มครองแน่นอน
เอกสารสำหรับต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี ถือว่ารถยนต์มีอายุค่อนข้างเยอะมาก ๆ ทำให้มีขั้นตอนที่เยอะว่ารถใหม่พอสมควร หลังจากที่ได้ใบตรวจสภาพรถจาก ต.ร.อ. มาแล้ว ยังมีเอกสารอื่น ๆ ที่ต้องเตรียมไปด้วย ดังนี้
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (ใช้ตัวจริงหรือสำเนา)
- หนังสือรับรองจาก ต.ร.อ.
- เอกสารการชำระเงินกับ พ.ร.บ.รถยนต์ เพื่อเอามาต่อภาษีและรับป้ายสี่เหลี่ยม
เงื่อนไขที่ควรรู้ เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี
คนที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี โดยการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องเช็ก ‘เงื่อนไข’ ต่อทะเบียนรถยนต์ให้ดีก่อนว่าเข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
- ต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ให้เรียบร้อยก่อน
- รถยนต์ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี
- รถยนต์ที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด
- รถยนต์ทุกจังหวัดที่มีสถานะทะเบียนปกติ หรือไม่ถูกระงับทะเบียน เนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปีนานติดต่อกันครบ 3 ปี
- รถยนต์ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี / ไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ
- รถยนต์ที่ไม่ถูกอายัด
- สามารถต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ ‘ไม่เกิน’ 90 วัน
ทั้งนี้ “ค่าใช้จ่าย” ในการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษีออนไลน์ สำหรับรถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม จะอยู่ที่คันละ 200 บาท และรถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม จะอยู่ที่คันละ 300 บาท
ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี มีอะไรบ้าง ?
หลังจากนำรถยนต์ไปตรวจสภาพ พร้อมเตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้เรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อมาคือการยื่นต่อภาษีรถยนต์ โดยสามารถเลือกต่อภาษีออนไลน์ได้ 2 ช่องทาง ซึ่งแต่ละช่องทางมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนต่อภาษีออนไลน์ ทางเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก
- เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก พร้อมดำเนินการ ‘สมัครสมาชิก’ เพื่อเข้าสู่ระบบ และดำเนินการขั้นตอนต่อภาษีออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์
- หลังจากสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเข้าสู่ระบบ จากนั้นเลือกไปยัง Pop up ‘รายการชำระภาษีรถประจำปี’ เลือกตัวเลือก ‘ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต’
- กรอกรายละเอียดยืนยันตัวตนให้ครบ จากนั้นต่อด้วยรายละเอียดรถยนต์ เช่น เลขทะเบียน, ชื่อ-นามสกุลผู้ครอบครองรถ และอื่น ๆ ที่สำคัญ
- จากนั้นเลือกตัวเลือก ‘ยื่นชำระภาษี สำหรับต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี’
- กรอกที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสาร
- เลือกตัวเลือกชำระเงินตามที่สะดวก เช่น หักบัญชีธนาคาร, จ่ายผ่านบัตรเครดิต หรือจ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
- พิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีแล้วไปจ่ายเงินตามตัวเลือกที่เลือกไว้
- จากนั้นรอรับใบเสร็จ รวมถึงเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน, ป้ายภาษี และกรมธรรม์ พ.ร.บ.รถยนต์ โดยใช้เวลารอประมาณ 3-5 วัน
ขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ทางแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax สำหรับผู้ที่ใช้งานครั้งแรกให้ทำการลงทะเบียนให้เรียบร้อยก่อน ด้วยการกรอกชื่อ-นามสกุล, อีเมล, เลขประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ให้เรียบร้อย จากนั้นกด ‘กดเพื่อรับรหัส OTP’
- กรอกรหัส OTP ที่ได้รับจากอีเมล แล้วกดยืนยัน
- ตั้งรหัส PIN 6 หลัก
- เมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กดไปที่เมนู ‘ชำระภาษีรถ’
- เลือกรูปแบบการชำระภาษี
- กรอกข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคลผู้ครอบครองรถ
- เลือกประเภทรถที่ต้องชำระภาษี และกรอกข้อมูลทะเบียนรถ ข้อมูลรถให้ครบถ้วน
- กรอกข้อมูลประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.รถยนต์)
- เลือกรับเครื่องหมายการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ทั่วไป หรือตู้ kiosk (เฉพาะในกรุงเทพมหานคร)
- เลือกช่องทางการชำระเงินได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ SCB Easy App และ QR Code ชำระเงิน
จะเห็นได้ว่าการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด แถมยังสามารถต่อภาษีออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย หากไม่อยากโดนค่าปรับตามกฎหมาย แนะนำให้เช็คภาษีรถยนต์ให้ดี หรือจะต่อภาษีรถยนต์ ‘ล่วงหน้า’ ก็ได้ โดยสามารถทำได้ไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน)
คำจำกัดความ
ผู้ครอบครอง | ผู้ยึดถือทรัพย์สินไว้เพื่อตนหรือมีบุคคลอื่นยึดถือทรัพย์สินไว้แทน |
ค่าปรับ | มูลค่าหรือราคาที่ผู้ถูกปรับถูกลงโทษให้ชดใช้เงินเพราะทำผิดสัญญา |
QR Code | ย่อมาจาก Quick Response คือ สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนข้อมูลต่าง ๆ |