เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมานาน สำหรับเหตุการณ์รถโดนทิ่มชนท้ายเพราะเบรกกระทันหันจนเป็นเหตุทำให้รถโดนชนท้าย แบบนี้ใครผิด ใครถูก บริษัทประกันจะรับเคลมไหม ทั้งแบบเคลมประกัน มีคู่กรณี และไม่มีคู่กรณี หากคุณกำลังสงสัยในประเด็นนี้อยู่ มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์รายละเอียดที่น่าสนใจมาให้แล้ว ตามไปทำความเข้าใจก่อนออกถนนกันหน่อยดีกว่า
รถคันหน้าเบรกกระทันหัน ใครผิด ?
ตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 40 ได้ระบุเรื่องระยะที่สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัยเอาไว้ว่า “ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากคันข้างหน้าพอสมควร ในระยะที่สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัยและเมื่อจำเป็นจะต้องหยุดรถ โดยที่ผู้ขับขี่จะต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถถอยหลังไปชนคันอื่นเมื่อขับรถขึ้นสะพานหรือทางลาดชัน”
ทั้งนี้ บางกรณีที่รถคันด้านหน้ามีการเบรกกระทันหันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร การพิจารณาความผิดอาจซับซ้อนขึ้น ดังกรณีต่อไปนี้
1. กรณีผู้ขับขี่รถคันหน้าผิด
ถ้าเกิดการเบรกกระทันหันโดยไม่มีเหตุผล เช่น เบรกเพื่อความสนุก, เบรกเพื่อลดความเร็วกระทันหัน หรือเบรกเพื่อให้รถโดนชนท้าย ฯลฯ การพิจารณาความผิดอาจเข้าข้างผู้ขับขี่รถคันหลังมากกว่า เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าว ถือเป็นการขับขี่ที่ไม่ระมัดระวัง หรือมีเจตนาทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
2. กรณีผู้ขับขี่รถคันหลังผิด
ปกติแล้วการชนท้ายมักถือว่าเป็นความผิดของรถคันด้านหลังเสมอ เพราะไม่รักษาระยะห่างที่ปลอดภัย หรือขาดสมาธิในการขับขี่ เช่น ขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด การขับขี่ในขณะที่เสียสมาธิ หรือการไม่ระมัดระวังในขณะขับขี่ เป็นต้น
ขับรถชนท้าย คันหลังผิดเสมอจริงหรือไม่ ?
ในปัจจุบันเมื่อเกิดเหตุการณ์รถโดนชนท้าย รถคันด้านหลังจะไม่ตกเป็นจำเลยสังคมอีกต่อไป หากรถคันด้านหน้ามีพฤติกรรมดังต่อไปนี้
- ผู้ขับขี่รถคันด้านหน้ามีอาการมึนเมา หากตรวจพบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือมีโทษปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- รถคันด้านหน้าเปลี่ยนเลนกระทันหัน โดยไม่ให้สัญญาณไฟ
- รถคันด้านหน้าเบรกกระทันหัน เนื่องจากความประมาท เช่น หลับใน, เหม่อลอย หรือเบรกรถโดยไม่มีเหตุอันสมควร
- รถคันด้านหลังขับมาชนท้ายรถเรา เลยทำให้รถเคลื่อนไปชนท้ายรถคันด้านหน้า
- รถคันด้านหน้าเบรกกระทันหัน เพราะมีรถคันอื่นตัดหน้า หรือมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับรถคันด้านหน้า
รถโดนชนท้ายเพราะเบรกกระทันหัน ประกันจ่ายไหม ?
อีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนคาใจมากที่สุด คือ เมื่อเกิดการเบรกกระทันหันจนรถโดนชนท้าย หากซื้อประกันรถยนต์เอาไว้ สามารถแจ้งเคลมประกัน มีคู่กรณีได้หรือไม่ ? ซึ่งแบ่งคำตอบออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. เมื่อคุณเป็นฝ่ายผิด
ตามปกติแล้วฝ่ายผิดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมรถ ค่ารถเช่า ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ หากทำ พ.ร.บ.รถยนต์ เอาไว้ จะชดเชยในส่วนของค่ารักษาพยาบาลได้เท่านั้น แต่ถ้าซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจด้วย ก็จะได้รับความคุ้มครองที่มากขึ้น ดังนี้
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.รถยนต์
คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ประสบเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารในรถทั้ง 2 คัน
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ความคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับประเภทประกันภัยที่เลือก หากเป็นประกันชั้น 1 จะคุ้มครองค่าเสียหายทั้งต่อรถยนต์ของผู้เอาประกันและของคู่กรณี ไปจนถึงค่ารักษาพยาบาล และความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก (กรณีมีผู้ได้รับบาดเจ็บ) แถมยังสามารถแจ้งเคลมเคลมประกัน มีคู่กรณี หรือไม่มีคู่กรณีก็ได้ด้วยเช่นกัน แนะนำให้เปรียบเทียบประกันรถยนต์ก่อนซื้อทุกครั้ง
2. เมื่อคุณเป็นฝ่ายถูก
ในกรณีที่เป็นฝ่ายถูก จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากฝ่ายคู่กรณีได้ แต่ถ้าคู่กรณีไม่มีประกัน ทางตัวแทนบริษัทประกันของเรา จะทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยและจัดการเรื่องค่าเสียหายให้แทนทั้งหมด (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขประกันรถยนต์ที่ทำไว้ และวงเงินที่ระบุในกรมธรรม์ด้วย)
รถโดนชนท้าย ฝ่ายถูกเรียกร้องอะไรได้บ้าง ?
ในกรณีที่รถโดนชนท้ายแล้วคุณเป็นฝ่ายถูก บอกเลยว่าสามารถเรียกร้องจากคู่กรณีได้มากถึง 4 ข้อด้วยกัน จะมีอะไรบ้าง? ตามไปดูกันเลย
ค่าซ่อมรถ
คุณสามารถเรียกร้องค่าซ่อมรถจากประกันของฝ่ายผิด หรือจากคู่กรณีได้เลย ซึ่งถ้าหากคุณซื้อประกันรถยนต์ติดรถเอาไว้อยู่แล้ว ทางบริษัทจะจัดการเรื่องนี้ให้ทั้งหมด
ค่ารักษาพยาบาล
หากมีคนได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเจ็บมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม สามารถเรียกค่ารักษาพยาบาลจากประกันของคู่กรณี หรือจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้เลย และแน่นอนว่าบริษัทประกันจะคอยประสานงานให้คุณเพื่อความสะดวกสบายมากที่สุด
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
เมื่อรถยนต์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จนต้องส่งซ่อมเป็นเวลานาน แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือ “คุณไม่มีรถใช้” ซึ่งคุณมีสิทธิ์เรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ เช่น ค่าเช่ารถ ค่าทดแทนการไม่ได้ใช้รถในช่วงที่รอซ่อมได้ด้วยเช่นกัน เพียงเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ให้พร้อม
- รูปถ่ายจุดเกิดเหตุและความเสียหาย
- เก็บภาพจากกล้องติดรถยนต์ ถ้าไม่มีให้รีบขอจากคันอื่น
- บันทึกข้อมูลจากพยานในเหตุการณ์
- เอกสารใบเสนอราคาค่าซ่อม
- ใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)
- ข้อมูลตั้งแต่เข้าซ่อม และวันที่ออกจากศูนย์บริการ
ค่าสินไหมทดแทนอื่น ๆ
กรณีที่ทรัพย์สินอื่น ๆ เสียหายจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ ยังสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้อีกด้วย ทั้งนี้การเรียกร้องต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาความเหมาะสมจากประกันของคู่กรณี
ขอย้ำอีกครั้งเป็นการทิ้งท้ายว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์เบรกกระทันหัน จนทำให้รถโดนชนท้าย “รถคันด้านหลังไม่ได้เป็นฝ่ายผิดเสมอไป” ซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด เมื่อซื้อประกันรถยนต์ติดรถเอาไว้ก็เพิ่มความอุ่นใจได้มากกว่า เพราะสามารถแจ้งเคลมประกัน มีคู่กรณีหรือไม่มีได้อย่างอิสระ (ขึ้นอยู่กับประเภทประกันที่เลือกซื้อ)
คำจำกัดความ
จดจ่อ | มีใจฝักใฝ่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, เอาใจมุ่งอยู่ |
ไกล่เกลี่ย | พูดจาเพื่อให้เขาประนีประนอมกัน, พูดจาเพื่อให้เขาตกลงกัน |
คู่กรณี | ผู้ที่มีเรื่องโต้แย้ง ขัดแย้งกัน หรือเกิดพิพาทกัน, บุคคล 2 ฝ่ายซึ่งมีเรื่องเกี่ยวพันกัน |