หัวข้อที่น่าสนใจ
- หนูกัดสายไฟรถ ประกันชั้น 1 เคลมได้ไหม ?
- ประกันชั้น 1 หนูกัดสายไฟ ต้องเสียค่า Excess ไหม ?
- สาเหตุที่ทำให้หนูเข้ารถยนต์และวิธีป้องกัน มีอะไรบ้าง ?
- 1. เหมือนเป็นบ้านที่อบอุ่น
- 2. ปลอกสายไฟมีส่วนผสมของถั่วเหลือง
- 3. เศษขยะภายในรถ
- วิธีป้องกันไม่ให้หนูกัดสายไฟต้องทำยังไง ?
- 1. ใช้ลูกเหม็นหรือการบูร
- 2. เปิดฝากระโปรงทิ้งไว้
- 3. ผสมน้ำกับพริกป่น
- 4. กำจัดแหล่งอาหารของหนู
- 5. ทำความสะอาดห้องเครื่องอยู่เสมอ
ปัญหากวนใจเล็ก ๆ ชวนปวดหัวของคนใช้รถและไม่อยากพบเจอคือ “เรื่องหนู” หนูกัดสายไฟรถ เพราะนอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับตัวรถยนต์แล้ว ยังต้องคอยหาเงินมาซ่อมรถอีก หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังมองหาวิธีป้องกันหนูกัดสายไฟ รวมถึงกำลังหาคำตอบ ว่าหนูกัดสายไฟรถ เคลมประกันได้ไหม ? มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ไปดูกันเลย!
หนูกัดสายไฟรถ ประกันชั้น 1 เคลมได้ไหม ?
หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่าการที่หนูกัดสายไฟทำให้รถสตาร์ทไม่ติด ไฟฟ้าในรถยนต์เปิดไม่ได้ หรือได้รับความเสียหายอื่น ๆ ตามมา บอกตรงนี้เลยว่าหนูกัดสายไฟรถประกันชั้น 1 สามารถเคลมได้ไม่ว่าจะราคาประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ทุกบริษัทเป็นอย่างไร ? เว้นแต่ว่า ! “สายไฟขาด” เพราะเกิดจากการดัดแปลงรถยนต์หรือจอดทิ้งไว้จนสายไฟเสื่อมสภาพ จะไม่สามารถเคลมประกันได้ แบบนั้นจะเคลมประกันไม่ได้
ในส่วนของประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือ 3+ จะไม่คุ้มครองกรณีหนูกัดสายไฟรถ ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด หากไม่อยากปวดหัวกับปัญหาเหล่านี้ “ประกันชั้น 1” ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีมาก ๆ เพียงแค่ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐาน แจ้งวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุก็สามารถเคลมประกันได้เลย
ประกันชั้น 1 หนูกัดสายไฟ ต้องเสียค่า Excess ไหม ?
คนที่ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมาก่อน ว่าหนูกัดสายไฟรถประกันชั้น 1 ต้องเสียค่า Excess ด้วยไหม ? คงสงสัยอยู่ไม่น้อยถึงเรื่องความคุ้มครอง เพราะบางเว็บบอกว่าเสีย บางเว็บก็บอกว่าไม่เสีย ตอบตรงนี้เลยว่า “ไม่ต้องเสีย แจ้งเคลมได้เลย” สำหรับประกันชั้น 1
หรือถ้าหากกำลังพบเจอกับเหตุการณ์หนูกัดสายไฟรถเคลมประกัน แล้วโดนเรียกเก็บค่า Excess แนะนำให้พูดคุยกับบริษัทประกันก่อน ในกรณีที่บริษัทประกันไม่ยอม จะเรียกเก็บค่า Excess ให้ได้ ผู้เอาประกันสามารถร้องเรียนที่ คปภ.ได้เลย
แต่ว่าก็มีกรณีที่ต้อง “เสียเงินเพิ่ม” เช่น ประกันจ่าย 70% ผู้เอาประกันจ่าย 30% ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นกับรถที่ค่อนข้างเก่า เพราะตามปกติแล้วประกันรถยนต์จะยึดตามหลักการ “ซ่อมให้เหมือนกับสภาพก่อนเกิดเหตุ” หากมีอะไหล่รถที่ต้องเปลี่ยน ประกันจะเปลี่ยนให้เลย แต่จะให้ผู้เอาประกันจ่ายส่วนหนึ่ง เนื่องจากสภาพอะไหล่เดิมไม่ใช่ 100% เนื่องจากใช้มานาน
ทั้งนี้ แม้จะเป็นประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด แต่ก็อาจมีข้อยกเว้นที่ควรรู้ก่อน แนะนำให้เช็คประกันรถยนต์ชั้น 1 ให้ดี ทั้งราคาประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ทุกบริษัท ความคุ้มครอง ด้วยการเปรียบเทียบประกันรถยนต์จนกว่าจะได้ความคุ้มครอง ในราคาที่พึงพอใจและตอบโจทย์มากที่สุด
สาเหตุที่ทำให้หนูเข้ารถยนต์และวิธีป้องกัน มีอะไรบ้าง ?
นอกจากการเช็คประกันรถยนต์ชั้น 1 เพื่อดูว่าคุ้มครองเรื่อง หนูกัดสายไฟรถเคลมประกันได้หรือเปล่า ? เริ่มต้นง่าย ๆ ก่อนที่ตัวคุณ ด้วยการไปทำความเข้าใจว่าเพราะอะไรหนูถึงกัดสายไฟตัวรถ และวิธีป้องกัน เรามาดู “สาเหตุ” ที่ทำให้หนูเข้าไปในรถยนต์ จนเกิดเหตุการณ์หนูกัดสายไฟรถกันก่อนดีว่า หลัก ๆ แล้วมีสาเหตุ 2 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. เหมือนเป็นบ้านที่อบอุ่น
ภายในห้องเครื่องยนต์ถือเป็น “บ้านหลังใหญ่” ที่แสนอบอุ่นของพวกมัน เนื่องจากเป็นจุดที่มิดชิด ปลอดภัย และอุ่นจากเครื่องยนต์ เหมาะสำหรับเป็นที่พักพิงสุด ๆ ซึ่งระหว่างที่พากันย้ายเข้ามาอยู่ภายในห้องเครื่องยนต์ และที่หนูกัดสายไฟรถก็เพราะต้องการเคลียร์เส้นทางเข้า-ออก เพื่อให้เข้าบ้านหลังใหม่ได้อย่างสะดวกสบาย
2. ปลอกสายไฟมีส่วนผสมของถั่วเหลือง
เนื่องจากในปัจจุบันค่ายรถใหญ่ ๆ เริ่มหันมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะ “ปลอกหุ้มสายไฟ” ที่มีส่วนประกอบจากถั่วเหลือง แม้จะเป็นมิตรกับโลกแต่กลับไม่เป็นมิตรกับเจ้าของรถเอาซะเลย เพราะมันเป็นสิ่งที่เชิญชวนให้หนูกัดสายไฟ ทำให้ได้รับความเสียหาย สายไฟขาด แถมยังทำให้รถยนต์ทำงานผิดปกติอีกด้วย
3. เศษขยะภายในรถ
หากคุณชอบทานขนมหรืออาหารภายในรถ เมื่อกินเสร็จแล้วไม่ได้เก็บถุงขนมไปทิ้ง หรือเก็บเศษอาหารที่หล่นให้เรียบร้อย เมื่อหนูได้กลิ่นก็จะพากันเข้ามาหาของกิน นอกจากจะเข้ามาหาของกิน หนูกัดสายไฟแล้ว พวกมันยังจะปักหลักปักฐาน ทำให้รถมีปัญหาตามมาด้วย
ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ที่เราหยิบยกมาเมื่อข้างต้น มีทั้งสาเหตุที่ป้องกันได้และป้องกันไม่ได้ปะปนกัน หากคุณไม่อยากปวดหัวกับ “ความเสียหาย” ที่อาจตามมา เราได้รวบรวมวิธีป้องกันหนูกัดสายไฟมาให้เรียบร้อยแล้ว จะมีวิธีจัดการยังไงบ้างตามไปทำความเข้าใจในหัวข้อถัดไปกันได้เลย
หนูตายในรถ กำจัดกลิ่นเหม็นเน่ายังไงดี ?
ปัญหาหนูกัดสายไฟรถจะดูเบาลงทันที เมื่อเทียบกับกลิ่นเหม็นเน่าของหนูกัดสายไฟที่เข้ามาตายภายในรถ แล้วจะต้องกำจัดกลิ่นยังไง มิสเตอร์ คุ้มค่า มีมาบอกต่อ ดังนี้
- ก่อนอื่นให้ค้นหาซากหนูที่ตายแล้วให้พบ จากนั้นทิ้งในถุงขยะแบบใช้แล้วทิ้ง พร้อมกับเช็ดบริเวณที่พบซากหนูกัดสายไฟรถด้วย “น้ำส้มสายชู” เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงวันมาตอม
- ใช้สเปรย์ระงับกลิ่นกายพ่นบริเวณดังกล่าว แต่ต้องบอกก่อนว่ามันจะช่วยยับยั้งกลิ่นได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
- เปิดเครื่องสร้างโอโซน (ถ้ามี) เพื่อทำปฏิกิริยาออกซิไดซ์ ซึ่งถือเป็นวิธีกำจัดกลิ่นที่ดีที่สุด
- ดับกลิ่นด้วยน้ำมันหอมระเหย และกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้เนื่องจากกลิ่นของมันจะช่วยให้ทุกส่วนในรถสู้กับแบคทีเรีย
วิธีป้องกันไม่ให้หนูกัดสายไฟต้องทำยังไง ?
บางคนอาจมองว่าการที่หนูเข้าไปในรถ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลอะไรมากมาย เพราะ “เข้าได้ก็ออกได้” แต่ถ้าหากหนูกัดสายไฟขึ้นมา บอกเลยว่าเริ่มไม่สนุกแน่ เพราะอาจทำให้เสียเงินซ่อมรถโดยไม่จำเป็นได้ ถ้าอย่างนั้นตามไปดูวิธีป้องกันหนูกัดสายไฟกันเลยดีกว่า
1. ใช้ลูกเหม็นหรือการบูร
“หนู” เป็นสัตว์ที่ไวต่อกลิ่นค่อนข้างมาก ดังนั้นการนำลูกเหม็นหรือการบูรใส่ถุงตาข่าย ผ้าขาวบาง หรือภาชนะใด ๆ ก็ตาม แล้วนำไปวางตามจุดต่าง ๆ ภายในรถ ก็จะช่วยไล่หนูไม่ให้เข้ามาวุ่นวาย หรือพักอาศัยในรถของคุณได้ดีมาก ๆ เลยล่ะ
2. เปิดฝากระโปรงทิ้งไว้
หากรถยนต์คู่ใจของคุณมีที่จอดที่มิดชิด ปลอดภัย เช่น จอดในบ้าน โรงรถส่วนตัว ฯลฯ แนะนำให้เปิดฝากระโปรงทิ้งไว้ เพื่อช่วยให้สังเกตได้ง่ายขึ้น ว่ามีหนูแอบเข้าไปในห้องเครื่องยนต์หรือไม่ นอกจากนี้ยังทำให้หนูไม่กล้านอนใต้กระโปรงรถ เนื่องจากรู้สึกไม่ปลอดภัยนั่นเอง
3. ผสมน้ำกับพริกป่น
“พริกป่น” มีคุณสมบัติในการไล่หนูกัดสายไฟรถได้ดีมาก ๆ ทั้งแสบ ร้อน ฉุน เพียงแค่หากระบอกที่มีหัวฉีดสเปรย์มาใส่น้ำและพริกป่นลงไป จากนั้นเขย่าให้เข้ากัน พร้อมกับนำไปฉีดบริเวณที่มีหนูชอบเข้ามาบ่อย ๆ
4. กำจัดแหล่งอาหารของหนู
หากคุณจอดรถข้าง ๆ ถังขยะ หรือสถานที่ที่สกปรก รวมถึงนำอาการและขนมไปกินบนรถแล้วไม่เก็บให้เรียบร้อย เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หนูกัดสายไฟ แนะนำให้ทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวเป็นพิเศษ เพื่อกำจัดแหล่งอาหารของหนู ไม่ว่าจะเป็นปิดฝาถังขยะให้มิดชิด และหมั่นล้างถังขยะบ่อย ๆ
5. ทำความสะอาดห้องเครื่องอยู่เสมอ
ควรทำความสะอาดห้องเครื่องอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อไล่สิ่งสกปรกต่าง ๆ โดยเฉพาะเศษอาหารที่อาจกระเด็นเข้ามาติดในห้องเครื่อง หรือบริเวณล้อรถขณะที่รถวิ่งอยู่ แน่นอนว่าหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้หนูเข้ามาบริเวณห้องเครื่องได้
ขอย้ำอีกครั้งว่าหนูกัดสายไฟรถเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหนูกัดสายไฟอาจนำพาความเสียหายมาให้แบบไม่รู้จบ แม้หนูกัดสายไฟรถ เคลมประกันได้ก็จริง แต่จะต้องเป็นประกันชั้น 1 เท่านั้น นอกจากจะต้องราคาประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ทุกบริษัท ความคุ้มครองต่าง ๆ ให้ดีแล้ว ยังต้องดูเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ดีด้วย เพราะบางกรณีอาจไม่ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมเสมอไป
คำจำกัดความ
เครื่องสร้างโอโซน | เครื่องกำเหนิดก๊าซโอโซนO3 ทำงานด้วยระบบ Corona โดยไม่ต้องเติมน้ำยาใดๆ มีหน้าที่กำจัดกลิ่นอับชื้น |
ยับยั้ง | หยุดไว้, ห้ามไว้, รั้งรอไว้ |
ฉุน | แรง, กล้า, ใช้กับกลิ่นและรส / โกรธ หรือไม่พอใจขึ้นมาในทันทีทันใด |