นับเป็นอีกหนึ่งคำถามที่คนมีรถหลายคนให้ความสนใจ หากเกิดอุบัติเหตุจากรถ และรถไม่มี พ.ร.บ. ใช้สิทธิบัตรทองได้หรือไม่ จะดูแลค่ารักษาให้หรือเปล่าสำหรับบัตรทอง มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้รวบรวมรายละเอียดที่น่าสนใจมาให้แบบครบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. / การใช้สิทธิบัตรทอง รวมถึง “ประโยชน์” ของประกันภัยรถยนต์
โดยทั้ง 3 ส่วนจะมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่อย่างไร และแบบไหนช่วยให้คุณรับมือกับ “ค่าใช้จ่าย” ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ดีกว่า ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กับเราได้เลย
ทำความเข้าใจ พ.ร.บ.รถยนต์ ก่อนรู้เรื่องรถไม่มี พ.ร.บ. ใช้สิทธิบัตรทองได้หรือไม่
พ.ร.บ. ย่อมาจากคำว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยรถ” กฎหมายข้อบังคับให้รถทุกคันที่วิ่งบนถนนเมืองไทยโดยจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จะต้องมี บังคับเหมือนเป็น “หลักประกัน” ให้กับผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงผู้ใช้รถใช้ถนนในการรับสิทธิความคุ้มครองและรับค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นเนื่องมาจากอุบัติเหตุ เป็นเหมือน “เงินกองกลาง” ที่รถทุกคันได้ทำไว้ ซึ่งมีความคุ้มครองดังต่อไปนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น
พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร “หลังเกิดอุบัติเหตุทันที” โดยไม่จำเป็นต้องรอพิสูจน์ว่าใครถูกหรือผิด ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยภายใน 7 วัน ตามเงื่อนไขดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดคนละไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดคนละไม่เกิน 35,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะตามมา ได้รับเงินชดเชยสูงสุดไม่เกินคนละ 65,000 บาท
- กรณีรักษาพยาบาลแล้วเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยคนละไม่เกิน 65,000 บาท
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าสินไหมทดแทน คือ “เงินชดเชย” ที่ผู้ที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก จะได้รับค่าสินไหมทดแทนทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ดังนี้
- หากได้รับบาดเจ็บคุ้มครองค่ารักษาตามจริง คนละไม่เกิน 80,000 บาท
- เหตุเสียอวัยวะ มีหลักเกณฑ์การรับเงินชดเชย ต่อไปนี้
- 300,000 บาท กรณีเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป
- 250,000 บาท กรณีเสียอวัยวะ 1 ส่วน
- 200,000 บาท หากเสียนิ้วตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป
- กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 500,000 บาท
- ได้รับค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยในได้รับค่าชดเชยวันละ 200 บาท ในระยะเวลาไม่เกิน 20 วัน
4 ขั้นตอน เคลมประกัน พ.ร.บ. ต้องรู้
การเคลม พ.ร.บ. คือ การเรียกร้องสิทธิประโยชน์ของผู้มี พ.ร.บ. หรือประกันภัยใด ๆ ก็ตาม ซึ่งการขอใช้สิทธิ์ พ.ร.บ.จะต้องดำเนินการ “ภายใน 180 วัน” หลังจากวันที่เกิดเหตุ สำหรับขั้นตอนการเคลมมีดังนี้
- หลังจากนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการแจ้งเจ้าหน้าที่ทางโรงพยาบาลว่า “ขอใช้สิทธิ์เบิกตาม พ.ร.บ.” และอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น เหตุเกิดที่ไหน เกิดได้อย่างไร รวมถึงแจ้งเลขทะเบียนรุ่น รถที่เกี่ยวข้อง
- ทางโรงพยาบาลจะดำเนินการประสานงาน เพื่อดูแลสิทธิ์การเคลมตาม พ.ร.บ. ซึ่งส่วนมากจะมีหน่วยงานภายในดูแลด้านนี้อยู่แล้ว
- ไปลงบันทึกประจำวันและดำเนินการสอบสวนนำมาเป็นหลักฐานในการเคลมค่าสินไหมที่ต้องพิสูจน์ว่าผู้ขับขี่เป็น “ฝ่ายถูก”
- ไปยื่นเอกสารการเคลม ณ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยใน 180 วันหลังเกิดเหตุ ใน 7 วันทำการจะได้รับเงินชดเชยหลังจากเรื่องที่ยื่นอนุมัติ
หากค่ารักษาพยาบาลเกินวงเงิน สามารถหักค่าใช้จ่ายจากสิทธิอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ เช่น ประกันสังคม, 30 บาทรักษาทุกโรค หรือแม้แต่ประกันสุขภาพและประกันชีวิต หลังจากนั้นคุณจะได้รับค่าชดเชยตามสิทธิ์ภายใน 7 วันหลังจากยื่นเอกสารครบถ้วน แนะนำให้เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการ โดยสามารถสอบเจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาลได้เลย หรือโทร.1791
อุบัติเหตุจากรถ แต่ไม่มี พ.ร.บ. ไม่มีใบขับขี่ จะใช้สิทธิบัตรทองได้หรือเปล่า ?
กรณีเกิดอุบัติเหตุจากรถ รถชน รถล้มเอง หรืออื่น ๆ หากไม่มี พ.ร.บ. ไม่มีใบขับขี่ “ไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้” ซึ่งคุณจะต้องจ่ายค่ารักษาเบื้องต้นเกิน 30,000 บาทเองก่อน จึงจะสามารถใช้สิทธิบัตรทองในส่วนที่เกิน 30,000 บาทได้ ยกตัวอย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาล 40,000 บาท คุณจะต้องรับผิดชอบเอง 30,000 บาท และใช้สิทธิบัตรทองอีก 10,000 บาท ในกรณีที่ไม่มีเงิน สามารถขอใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 15,000 บาท แต่จะโดนเรียกเก็บย้อนหลัง พร้อมดอกเบี้ยอีก 20%
ไม่อยากกังวลกับเรื่องค่าใช้จ่าย ประกันภัยรถช่วยได้ !
หากคุณต้องการ “เพิ่มความอุ่นใจ” ให้กับเดินทาง และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุต่าง ๆ “ประกันภัยรถยนต์” นับเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ช่วยคุณได้
ในปัจจุบันมีประกันภัยรถยนต์ให้เลือกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นชั้น 1, 2+, 3+ และอื่น ๆ ที่ให้ความคุ้มครองและมีเบี้ยประกันแตกต่างกันออกไป แนะนำให้เลือกซื้อกรมธรรม์ที่ตอบโจทย์การขับขี่ของตัวเองให้มากที่สุด เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้คุณไม่ต้องเผชิญหน้ากับอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาล และค่าซ่อมรถเพียงลำพังอีกต่อไป
เป็นอย่างไรกันบ้าง ? สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ บัตรทอง และประกันภัยรถยนต์ที่เรานำมาบอกต่อในวันนี้ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้ามมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะ ? เพราะทั้ง 3 สิ่งข้างต้น ล้วนให้ความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหาก พ.ร.บ. รถยนต์หมดอายุ ก็ควรจะดำเนินการต่อให้เรียบร้อย แล้วถ้าหากต้องการความอุ่นใจที่เพิ่มขึ้น “ประกันภัยรถยนต์” ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีมาก ๆ หากไม่รู้จะซื้อประกันแบบไหน สามารถเข้ามา “เปรียบเทียบประกันรถยนต์ออนไลน์” ได้ที่เว็บไซต์ MrKumka.com ก่อนได้