หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “เลขถังรถ” ผ่านหูมาบ้างแล้ว แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร และไม่รู้ว่าตัวเลขถังรถ ดูตรงไหน มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจมาบอกต่อ พร้อมชี้ให้เห็นถึง “ความสำคัญ” ของชุดตัวเลขเหล่านี้ ว่ามีประโยชน์มาก ๆ ตอนทำประกันรถยนต์ มีประโยชน์ในด้านไหน อย่างไร และมีอะไรที่ต้องทำความเข้าใจก่อนบ้าง ตามไปเจาะลึกพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า
เลขตัวถัง คืออะไร ?
เมื่อคนเรายังมีเลขบัตรประชาชน “เลขตัวถัง” ก็ไม่ต่าง เพราะเป็นหมายเลขเฉพาะที่ผู้ผลิตกำหนดให้กับรถยนต์แต่ละคัน เพื่อบอกรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับรถคันนั้น ๆ เช่น สถานที่ผลิต บริษัทที่ผลิต เดือนและปีที่ผลิต ฯลฯ
ถอดรหัส เลขตัวถัง 17 หลัก บอกอะไรบ้าง ?
ต้องบอกก่อนว่าเลขตัวถึงทั้ง 17 หลัก ไม่คิดถูกคิดมาสุ่มสี่สุ่มห้าแต่อย่างใด เพราะทุกหลักล้วนมีความหมายระบุเอาไว้อย่างชัดเจน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
หลักที่ 1 : ระบุภูมิภาคที่ใช้ผลิตรถยนต์
- อักษร A-H หมายถึงทวีปแอฟริกา
- อักษร J-R หมายถึงทวีปเอเชีย (ยกเว้นอักษร O และ Q)
- อักษร S-Z หมายถึงทวีปยุโรป
- ตัวเลข 1-5 หมายถึงทวีปอเมริกาเหนือ
- ตัวเลข 6-7 หมายถึงทวีปออสเตรเลียหรือนิวซีแลนด์
- ตัวเลข 8-9 หมายถึงทวีปอเมริกาใต้
หลักที่ 2-3 : ระบุบริษัทผู้ผลิต
ตัวอักษรหรือตัวเลขที่ระบุผู้ผลิตนั้น ๆ จะถูกกำหนดขึ้นโดย International Organization for Standardization (ISO)
หลักที่ 4-8 : ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์
เช่น รูปแบบตัวถัง, รุ่นย่อย, ระบบเกียร์ เป็นต้น
หลักที่ 9 : ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้อง
โดยจะใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องอย่างแม่นยำ
หลักที่ 10 : ระบุปีที่ผลิต
โดยจะเริ่มนับจาก ค.ศ.1980 เนื่องจากเป็นปีที่มีการเริ่มใช้เลขตัวถังเป็นครั้งแรก
หลักที่ 11-17 : เลขคัสซี (Chassis Number)
จะรันตัวเลขตามสายผลิต (Serial Number) ดังนั้นเลข 7 ตัวสุดท้ายนี้จึงถือเป็น ‘เลขเฉพาะ’ ที่รถแต่ละคันจะไม่ซ้ำกันเลย แตกต่างจาก 10 หลักแรกที่ซ้ำกันได้
หลังจากถอดรหัสเลขตัวถังทั้ง 17 หลักมาแล้วว่าคืออะไรบ้าง เชื่อว่าหลายคนคงเกิดความสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าตัวเลขถังรถ ดูตรงไหน ถ้าอย่างนั้นตามไปหาคำตอบในหัวข้อถัดไปกันต่อเลยดีกว่า
เลขตัวถัง ดูตรงไหน ?
รถยนต์แต่ละคัน แต่ละรุ่น จะมีตัวเลขถังรถไม่เหมือนกัน มาดูกันเลยดีกว่าว่าตัวเลขถังรถ ดูตรงไหนได้บ้าง
- ผนังด้านในของเครื่องยนต์
- ใต้ยางอะไหล่รถยนต์
- แผงหน้าปัดรถยนต์
- กระโปรงรถยนต์ หรือกระโปรงหน้ารถ
- โครงหน้ารถยนต์
- ใต้กระบังลมของหน้ารถยนต์
- ใต้ซุ้มล้อของรถยนต์
- ประตูฝั่งคนขับ
- ป้ายวงกลม พ.ร.บ.
ตัวเลขถังรถ เกี่ยวข้องกับการทำประกันรถยนต์ยังไง ?
อย่างที่ทราบกันดีว่าเลขตัวเลขถังรถมีความสำคัญมาก ๆ เพราะเปรียบเหมือน ‘เลขประจำตัวประชาชนของรถยนต์’ เหตุผลที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันรถยนต์ ก็เพราะเวลาต้องการเคลมประกันรถยนต์ ทางบริษัทจะยึดตาม ‘เลขคัสซี’ เป็นหลัก เพื่อดำเนินการเคลมเงินคืนให้ แต่ถ้าหากเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบแล้วพบว่า เลขตัวถังรถผิดไปจากเดิม จะทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ จากบริษัทประกันเลย
นอกจากเลขคัสซีที่ผิดไปจากเดิม จะทำให้คุณไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ที่ทำไว้แล้ว ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่อาจทำให้คุณต้องแบกรับค่าเสียหายเพียงลำพังอีกมากมาย เพราะฉะนั้นก่อนทำประกันรถยนต์ นอกจากจะเช็คราคาประกันรถยนต์แล้ว ยังควรศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ดีก่อน โดยเฉพาะประกันชั้น 1 เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคต
ประโยชน์ของตัวเลขถังรถ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
หลังจากที่ได้รู้แล้วว่าตัวเลขถังรถคืออะไร มีกี่รูปแบบ และตัวเลขถังรถ ดูตรงไหน รวมถึงมีประโยชน์ต่อการทำประกันรถยนต์ยังไง ตัวเลขและตัวอักษรทั้ง 17 หลัก ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ มากกว่าที่คิด ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ใช้ตรวจสอบการโจรกรรรมรถยนต์
การใช้เลขตัวถังรถยนต์เพื่อระบุการโจรกรรม มีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาการโจรกรรมรถยนต์ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถตรวจสองเลขตัวถังรถยนต์ที่พบเห็น หรือยึดมาได้กับฐานข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก เพื่อตรวจสอบว่ารถยนต์คันดังกล่าวถูกโจรกรรมมาหรือไม่
ระบุประวัติการซ่อมบำรุงรถยนต์
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อรถมือสอง สามารถใช้เลขตัวถังในการตรวจสอบประวัติการซ่อมได้ เนื่องจากเมื่อมีการนำรถเข้าไปซ่อมที่ศูนย์ จะมีการบันทึกตัวเลขถังเอาไว้ พร้อมระบุรายละเอียดของการซ่อมครั้งดังกล่าวอย่างครบถ้วน
จะเห็นได้ว่าเลขตัวถังรถยนต์มีความสำคัญในทุก ๆ ด้าน หากคุณต้องการซื้อรถมือสอง หรือต้องการทำประกันรถยนต์ แนะนำให้ตรวจสอบให้ดีก่อนว่าเลขคัสซีมีความผิดปกติหรือไม่ ด้วยการเช็คจากแผงหน้าปัดรถยนต์, ฝากระโปรงรถ, ป้ายวงกลม พ.ร.บ. เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในภายหลัง โดยเฉพาะการถูกปฏิเสธความคุ้มครองจากประกันชั้น 1
คำจำกัดความ
เลขคัสซี | ชุดเลขประจำตัวของรถยนต์ |
การปลอมแปลง | การเลียนแบบสิ่งของที่แท้จริง โดยมีเจตนาที่จะขโมย ทำลาย หรือแทนที่ของเดิมเพื่อใช้ในธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย |
การโจรกรรม | วิธีการที่ผู้ร้ายใช้ในการเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน |