อย่างที่ทราบโดยทั่วกันว่า ประกันรถยนต์ชั้น 1 เป็นประกันรถยนต์ที่ “การคุ้มครองดีที่สุด” พ่วงตามมาซึ่งราคาสูงกว่าประกันประเภทอื่นด้วย เนื่องจากให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากกว่าประกันภัยรถยนต์ 2+ และประกันชั้น 2 แล้วถ้าไม่อยากจ่ายแพง แต่ยังอยากได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมจะต้องทำยังไง? MrKumka ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ไปดูกันเลย!
ทำไมค่าเบี้ยประกันแต่ละแผน ถึงมีราคาต่างกัน ?
เชื่อว่าหลายคนคงเกิดความสงสัยอยู่ไม่น้อย ว่าทำไมค่าเบี้ยประกันชั้น 1 และ ประกัน 2+ ถึงมีราคาที่ต่างกันอย่างชัดเจน บอกไว้ตรงนี้เลยว่าแต่ละแผนประกันมันมี “ตัวแปร” ที่ใช้คำนวณค่าเบี้ยนั่นเอง ซึ่งตัวแปรหลัก ๆ มีดังนี้
1. ประเภทของประกันภัยรถยนต์
อย่างที่ทราบกันดีว่าประกันภัยรถยนต์มีให้เลือกหลายประเภท เช่น ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1, ประกัน 2+, ประกันภัยชั้น 2 และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งแต่ละประเภทมี “เงื่อนไข” การชดเชยค่าเสียหายแตกต่างกันออกไป ทำให้ค่าเบี้ยประกันต่างกันตามไปด้วย
2. ทุนประกันความคุ้มครอง
ด้วยความที่ประกันแต่ละแผนให้ความคุ้มครองไม่เหมือนกัน เช่น ประกันรถยนต์ชั้น 1 ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด แม้กระทั่งอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณีก็ยังได้รับความคุ้มครอง แบบนี้ก็จะมีค่าประกันที่สูงตามไปด้วยเช่นเดียวกัน
3. การรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก
ซึ่งถือเป็น “วงเงินที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเอง” ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หากยินดีที่จะรับผิดชอบในส่วนนี้ ตามกำหนดของ คปภ. ผู้เอาประกันจะมีสิทธิ์ได้รับส่วนลด ทำให้ค่าเบี้ยประกันถูกลงแม้จะซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ก็ตาม
ในกรณีที่ไม่อยากลดความคุ้มครอง เช่น ไม่อยากเลือกประกันภัยรถยนต์ 2+ แทนที่จะเป็นประกันภัยชั้น 1 แม้ประกัน 2+ ราคาเบี้ยประกันจะถูกกว่า MrKumka รวมทริคลดค่าเบี้ยประกันมาให้ทำความเข้าใจ และนำไปทำตามมาให้เรียบร้อยแล้ว จะน่าสนใจแค่ไหน ? ตามไปดูในหัวข้อถัดไปกันได้เลย
ค่าเสียหายส่วนแรกคืออะไร ?
ต้องบอกก่อนว่า “ค่าเสียหายส่วนแรก” ที่ผู้เอาประกันได้ยินผ่านหูกันบ่อย ๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท แถมเงื่อนไขการจ่ายก็ยังแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากคุณกำลังหาข้อมูลในเรื่องนี้ ตามไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า
1. ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ
Deductible หรือค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ เป็น “จำนวนเงินที่ระบุชัดเจน ว่าผู้เอาประกันจะต้องจ่ายหากมีการเคลมประกันเกิดขึ้น” ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1,000-5,000 บาท ยิ่งเลือกจ่ายค่าเสียส่วนแรกประเภทนี้สูงเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้ค่าเบี้ยประกันถูกลงตามไปด้วย
ในกรณีที่ต้องการเคลมประกันรถยนต์ ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกตามที่ตกลงเอาไว้ก่อน ถึงจะสามารถดำเนินการซ่อมรถและเคลมประกันภัยรถยนต์ได้
2. ค่าเสียหายส่วนแรก
Excess หรือค่าเสียหายส่วนแรก คือ จำนวนเงินที่ต้อง “ชำระเพิ่ม” เมื่อเคลมประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่คุ้มครองเต็มจำนวน แต่กลับหาคู่กรณีมารับผิดชอบไม่ได้ เช่น เฉี่ยวชนกับกำแพงจนรถเป็นรอย ต้นไม้ล้มทับ ชนเสาไฟฟ้า ฯลฯ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1,000 บาท
5 ทริคลดค่าเบี้ยประกันภัยชั้น 1 มีอะไรบ้าง ?
หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังมองหา “ส่วนลด” ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ไม่จำเป็นต้องหันไปเลือกซื้อประกันรถยนต์ แบบชั้น 2 หรือ ประกันภัยรถยนต์ 2+ รวมถึงประกันชั้นอื่น ๆ เพื่อค่าเบี้ยที่ถูกลง เพราะ MrKumka ได้รวมทริคลดค่าเบี้ยประกันมาบอกต่อเรียบร้อยแล้ว แถมยังเป็นทริคที่ได้รับการอนุมัติโดย คปภ. อีกด้วย จะมีทริคอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย!
1. เปรียบเทียบราคาก่อนซื้อประกันภัย
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทั้งประกันชั้น1 ราคาจะมีความแตกต่างจากประกันชั้น 2, 2+ กันอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับ “เงื่อนไขความคุ้มครอง” ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนเลือกทำประกันให้ดี
นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของ “การเช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์ของแต่ละบริษัทประกัน” ด้วยเช่นกัน เพราะต่อให้เป็นประกันชั้น 2+ หรือประกันรถยนต์ชั้น 2 แต่ในส่วนของค่าเบี้ยก็มีความแตกต่างกันออกไป ยิ่งบริษัทไหนได้รับความนิยมสูง ค่าเบี้ยก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย แนะนำให้ทำการเปรียบเทียบราคา ‘อย่างน้อย’ 2-3 บริษัท เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
2. ส่วนลดผู้ขับขี่ประวัติดี
ส่วนลดผู้ขับขี่ประวัติดี (No Claim Bonus) เป็น “ข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)” ซึ่งระบุไว้ว่าผู้เอาประกันที่ไม่มีประวัติการเคลมตลอดทั้งปีที่ผ่านมา หรือถ้ามีก็เป็นฝ่ายถูกมาตลอด มีสิทธิ์ได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยจากบริษัทประกัน สูงสุด 50% ในปีถัดไป โดยสัดส่วนดังนี้
- ปีแรก ได้รับส่วนลดผู้ขับขี่ประวัติดี 20%
- ปีที่ 2 ได้รับส่วนลดผู้ขับขี่ประวัติดี 30%
- ปีที่ 3 ได้รับส่วนลดผู้ขับขี่ประวัติดี 40%
- ปีที่ 4 ขึ้นไป ได้รับส่วนลดผู้ขับขี่ประวัติดี 50%
3. ติดกล้องหน้ารถยนต์
กล้องหน้ารถยนต์จะช่วยบันทึกภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ บนท้องถนนได้เป็นอย่างดี แถมยังเป็น “พยานสำคัญ” เมื่อรถคันที่เอาประกันเกิดอุบัติเหตุ สามารถเปิดหาว่าใครเป็นฝ่ายถูกหรือผิดได้ ซึ่งถ้าหากรถยนต์คันไหนติดกล้องหน้ารถ จะได้รับส่วนลดสูงสุด 10% ตามกำหนดของ คปภ. ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการติดกล้องหน้ารถ โดยมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2560
4. ระบุชื่อผู้ขับขี่
การระบุชื่อผู้ขับขี่เมื่อทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ถือเป็นอีกหนึ่งทริคที่ช่วยลดค่าเบี้ยประกันได้เช่นกัน ซึ่งเหมาะสำหรับรถยนต์ที่มีผู้ขับขี่ไม่เกิน 2 คน สำหรับ “ช่วงอายุ” ที่สามารถนำมาลดค่าเบี้ยประกันภัยสามารถแยกได้ดังนี้
- อายุ 50 ปีขึ้นไป ได้รับส่วนลด 20%
- อายุ 36-50 ปี ได้รับส่วนลด 15%
- อายุ 25-35 ปี ได้รับส่วนลด 10%
- อายุ 18-24 ปี ได้รับส่วนลด 5%
กรณีที่ทำประกันแบบระบุผู้ขับขี่ แล้วปรากฏว่า “บุคคลที่ 3” นำไปเกิดอุบัติเหตุ รถยนต์คันที่เอาประกันจะไม่ได้รับความคุ้มครอง แถมยังจะถูกเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนแรกด้วย หากในความเป็นจริงรถยนต์คันที่เอาประกันมีผู้ขับขี่มากกว่า 2 คนขึ้นไป แนะนำว่าไม่ควรทำประกันแบบระบุผู้ขับขี่ เนื่องจากไม่คุ้มค่าเอามาก ๆ
5. กำหนดค่าเสียหายส่วนแรก
การกำหนดค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) คือ “ค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันกำหนดว่าจะจ่ายเอง เมื่อมีการเคลมเกิดขึ้น” ซึ่งทาง คปภ. กำหนดไว้ไม่เกิน 5,000 บาท ในส่วนที่เกิดจากนี้บริษัทประกันภัยจะต้องเข้ามาช่วยรับผิดชอบ
ยกตัวอย่าง หากคุณทำ เลือกซื้อประกันชั้น 1 ราคาเบี้ยประกัน 20,000 บาท เมื่อระบุค่าเสียหายส่วนแรก 5,000 บาทเต็มอัตรา จะทำให้ค่าเบี้ยประกันลดลงมาเหลือประมาณ 14,000-16,000 บาท หากคุณเป็นคนที่ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง มีความชำนาญพอสมควร บอกเลยว่าแบบนี้จะช่วยลดค่าเบี้ยประกันได้ดีมาก ๆ เลยล่ะ
ประกันรถไฟฟ้า EV แพงกว่าประกันรถน้ำมันเพราะอะไร?
สาเหตุที่ทำให้ประกันรถไฟฟ้า EV แพงกว่าประกันรถยนต์ชั้น 1 หรืออาจเทียบเท่า เป็นเพราะรถไฟฟ้ามี “ทุนประกัน” ค่อนข้างสูง เนื่องจากใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต รวมถึงค่าอะไหล่และค่าซ่อมบำรุงที่มีต้นทุนสูงตามไปด้วย ส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันแพงสุด ๆ
นอกจากนี้ยังให้ “ความคุ้มครองพิเศษ” เฉพาะรถไฟฟ้า เช่น การคุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายของสายชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแบตเตอรี่ ที่เกิดจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น การชน กระแทก จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ราคาเบี้ยประกันแพงกว่าประกันชั้น 2+ และประกันชั้น 2 แบบทิ้งห่างสุด ๆ
รถเก่าทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ได้ไหม ?
หนึ่งในประเด็นที่คนรักรถสงสัยกันมากที่สุด คือ “รถเก่า” สามารถทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ได้หรือไม่ ? ซึ่งถ้าหากอ้างอิงตามข้อกำหนดของ คปภ. ไม่ได้มีข้อกำหนดว่ารถยนต์ที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ไม่สามารถทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ “คู่สัญญา” ทั้ง 2 ฝ่าย และจะมีเงื่อนไขการคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป
และเหตุผลที่บริษัทประกันภัยรถยนต์ส่วนใหญ่ ไม่ให้รถเก่าทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เป็นเพราะมีเรื่องของ “ความเสี่ยง” เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย จึงได้มีการกำหนดอายุรถและประเภทประกันภัยดังนี้
- ประกันรถยนต์ชั้น 1 เหมาะสำหรับรถเก่าที่อายุไม่เกิน 10 ปี
- ประกันภัยรถยนต์ 2+ เหมาะสำหรับรถเก่าที่อายุไม่เกิน 15 ปี
- ประกันรถยนต์ 3+ เหมาะสำหรับรถเก่าที่อายุไม่เกิน 15 ปี
- ประกันรถยนต์ชั้น 3 เหมาะสำหรับรถเก่าที่อายุไม่เกิน 30 ปี
หากต้องการทำประกันรถยนต์ชั้น 1 แบบควักจ่ายค่าเบี้ยประกันน้อยที่สุด โดยไม่ต้องเปลี่ยนเป้าหมายไปที่ประกันภัยรถยนต์ 2+ แทน บอกเลยว่าทั้ง 5 ทริคที่ MrKumka นำมาบอกต่อ ช่วยได้เยอะมาก ๆ เลยล่ะ แต่แนะนำให้เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ชั้น 1 รวมถึงประกันรถยนต์ชั้นอื่น ๆ ให้ดีก่อน รวมถึงศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครองด้วย เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มค่าอย่างถึงที่สุด
คำจำกัดความ
คู่สัญญา | บุคคลที่มีความผูกพันตามสัญญา อาจเป็น 2 ฝ่ายหรือหลายฝ่ายก็ได้ |
ตัวแปร | ข้อมูลที่สามารถ แปรค่าหรือแปรเปลี่ยนได้ ตามคุณสมบัติหรือ ตามค่าที่กำหนด ซึ่งในบทความนี้ “ตัวแปร” ได้แก่ ประเภทประกันภัยรถยนต์, ทุนประกันความคุ้มครอง และการรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก ที่ทำให้ค่าเบี้ยประกันแต่ละแผนมีราคาต่างกัน |