เทรนด์แรงที่มากกว่าแค่การเปลี่ยนรถ แต่เป็นยุคใหม่ของการขับขี่และอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างแท้จริง กับรถยนต์ไฟฟ้า หากคุณกำลังอยากเป็นเจ้าของรถ ev เรื่องเหล่านี้ต้องรู้ก่อนทั้งรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท ? หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้า เท่าไหร่ ? เพราะในปัจจุบันมีประเภทรถยนต์ไฟฟ้าให้เลือกหลากหลาย ทั้งรถยนต์ hev, รถยนต์ phev, รถยนต์ bev แล้ว hev phev bev คืออะไรกันล่ะ? แต่ละประเภททำประกันรถ ev ได้ไหม? MrKumka ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้ ไปทำความเข้าใจก่อนเลือกซื้อกันเลยดีกว่า
รถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท ต่างกันยังไง ?
ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท ตอบตรงนี้เลยว่าประเภทรถยนต์ไฟฟ้าหลัก ๆ แล้วมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท คือ รถยนต์ hev, รถยนต์ phev, รถยนต์ bev และรถยนต์ FCEV โดยรถยนต์ไฟฟ้า 4 ประเภทแตกต่างกันดังนี้
1. รถยนต์ hev (Hybrid Electric Vehicle)
รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริด หรือรถยนต์ hev หรือ รถ e hev คือ “รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานผสม” ขับเคลื่อนด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์สันดาปและมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้มีกำลังและอัตราการเร่งของรถยนต์ “สูงกว่า” รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดเดียวกัน แน่นอนว่ารถ hev คือตัวเลือกที่ดี เพราะช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันได้มากกว่า
2. รถยนต์ phev (Plug-in Hybrid Vehicle)
รถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริด หรือรถ phev คือ “รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานผสมแบบเสียบปลั๊ก” มีลักษณะการทำงานและชิ้นส่วนคล้ายกับรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (รถยนต์ hev) แตกต่างกันตรงที่สามารถชาร์จไฟฟ้าจากภายนอกได้ ทำให้สามารถสลับไปใช้งานการขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าในระยะสั้น ๆ ได้
3. รถยนต์ FCEV (Fuel Cell Electric Vehicle)
รถยนต์ไฟฟ้าประเภทเซลล์เชื้อเพลิง หรือรถยนต์ FCEV ที่หลายคนนิยมเรียกกันว่า “รถไฮโดรเจน” เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นหลัก แตกต่างจากรถยนต์ไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ ในส่วนของการใช้เทคโนโลยีไฮโดรเจนในการผลิตไฟฟ้า
โดยไฮโดรเจนจะถูกเก็บอยู่ในรูปแบบ “ของเหลว” จากนั้นจะถูกส่งไปที่แผงเซลล์ร่วมกับอากาศที่มีออกซิเจน เพื่อทำปฏิกิริยาในการสร้างไฟฟ้า จากนั้นไฟฟ้าจะถูกส่งไปเก็บที่แบตเตอรี่ สำหรับใช้เป็นพลังงานให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้รถยนต์ประเภทนี้ต้องเติมพลังงานไฮโดรเจนแทนการชาร์จไฟ
4. รถยนต์ bev (Battery Electric Vehicle)
รถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ หรือ bev คือ “รถยนต์ไฟฟ้า” ซึ่งเป็นประเภทรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ทำให้มีขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่มาก ๆ
มีข้อดีตรงที่ไม่มีการปล่อยควันไอเสียออกมาเลย แต่ก็มีข้อจำกัดคือต้องชาร์จไฟฟ้าก่อนใช้งานทุกครั้ง รวมถึงผู้ขับขี่ต้องคำนวณระยะทางในการเดินทาง รวมถึงสถานีชาร์จให้ดี
นอกจากนี้ยังมีรถยนต์ประเภท E-Power ที่สามารถทำประกันรถยนต์ไฟฟ้าได้เช่นกัน ซึ่งเป็นการทำงานระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้าร่วมกับระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ทำงานคล้ายกับระบบไฮบริด (รถยนต์ hev) แต่ของอีพาวเวอร์จะมีเครื่องปั่นไฟในการปั่นไฟเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และส่งต่อไปยังเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน
พารู้จักรถยนต์ E-Power คืออะไร ?
หลังจากที่รู้คร่าว ๆ แล้วว่ารถยนต์ hev phev bev คืออะไร? เรามาทำความรู้จักรถยนต์ E-Power กันบ้างดีกว่า เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกนอกเหนือจากรถยนต์ไฟฟ้า 4 ประเภทที่ได้รู้จักไปแล้ว โดยรถยนต์อี-พาวเวอร์ ประกอบไปด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และอินเวอร์เตอร์เพื่อจะไม่ต้องใช้การชาร์จไฟฟ้าจากภายนอก และขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 100%
เมื่อต้องการเร่งความเร็วเป็นพิเศษ หรือที่สูง เช่น ขึ้นเนิน ทางลาดชัน ขึ้นเขา มอเตอร์ไฟฟ้าจะได้รับพลังงานทั้งจากแบตเตอรี่และเครื่องยนต์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์ โดยเทคโนโลยีอี-พาวเวอร์จะให้ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่เหนือกว่า และปล่อยไอเสียน้อยกว่า เมื่อเทียบกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปทั่วไป
หลังจากที่ทำความเข้าใจดีแล้วว่ารถ bev, hev, phev และรถ e hev คืออะไร เชื่อว่าหลายคนคงเกิดความสงสัยอยู่นิด ๆ ว่า รถยนต์ไฟฟ้า 4 ประเภทดังกล่าวทำประกันรถยนต์ไฟฟ้าได้หรือไม่ ? โดยเฉพาะรถยนต์ hev และรถยนต์ phev ที่ไม่ใช่รถยนต์ไฟฟ้า 100% ถ้าอย่างนั้นตามไปทำความเข้าใจประเด็นนี้ในหัวข้อถัดไปกันได้เลย
ประเภทรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำประกันรถไฟฟ้าได้ มีอะไรบ้าง ?
หากคุณกำลังสงสัยว่ารถยนต์ไฟฟ้า 4 ประเภทที่เรานำมาบอกต่อเมื่อข้างต้น ประเภทไหนสามารถทำประกันรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้บ้าง ? ตอบตรงนี้เลยว่า “ได้เฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า BEV เท่านั้น ” แต่รถประเภทอื่น ๆ ก็สามารถทำประกันรถยนต์ทั่วไปได้ โดยเงื่อนไขของประกันรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละบริษัทประกันภัยจะมีการรับประกันแตกต่างกันออกไป แถมยังมีค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่ต่างกัน แนะนำให้เช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าให้ดีก่อน
ประเภทรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภท เหมาะกับใคร ?
เมื่อเข้าใจกันดีแล้วว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท ? และประเภทรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภทต่างกันยังไง ? แต่หลายคนก็เกิดความสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า รถยนต์ไฟฟ้า 4 ประเภทที่เรานำมาบอกต่อเหมาะกับทุกคนหรือไม่ ? หรือแบบไหนเหมาะกับใครมากกว่า? เราได้ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ไปดูกัน!
รถยนต์ไฟฟ้าพลังงาน 2 ระบบ หรือรถไฮบริด
รถยนต์ hev หรือรถยนต์ phev เป็นการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าสลับกับเครื่องยนต์ ทำให้หมดกังวลเรื่อง “สถานีชาร์จ” ระหว่างเดินทางได้เป็นอย่างดี แถมยังสามารถขับรถในระยะทางไกล ๆ ได้ตามต้องการ จึงเหมาะสำหรับคนที่ใช้รถเป็นประจำ รวมถึงคนที่เดินทางไปต่างจังหวัดบ่อย ๆ
รถยนต์ไฟฟ้า 100%
รถยนต์ bev เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ข้อดีหลัก ๆ คือช่วยประหยัดน้ำมัน และค่าบำรุงรักษาเครื่องยนต์ เหมาะสำหรับคนที่ขับขี่ในเมืองหรือจังหวัดใกล้เคียงเป็นหลัก เนื่องจากในเมืองมีสถานีชาร์จรองรับหลายพื้นที่ รวมถึงมีศูนย์ซ่อมที่เข้าถึงได้สะดวกอีกด้วย
หลังจากรู้แล้วว่าประเภทรถยนต์ไฟฟ้าประเภทไหนเหมาะกับใคร ? ก็หันมาสำรวจตัวเองให้ดีว่าปกติแล้ว มีไลฟ์สไตล์การขับขี่เป็นแบบไหน ? ออกต่างจังหวัดบ่อยไหม ? หรือขับในเมืองมากกว่า เพื่อให้คุณเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ตรงใจมากที่สุด บางคนพอสำรวจตัวเองแล้ว อาจพบว่าเหมาะกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นลองถามตัวเองให้ดีก่อนจะดีกว่า
การเลือกประกันรถยนต์ไฟฟ้า ควรพิจารณาอะไรบ้าง ?
อย่างที่ทราบกันดีว่าค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้าค่อนข้าง “แพงกว่า” รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปทั่ว ๆ ไป ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวข้อง แต่ถึงอย่างนั้นก็ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับผู้ขับขี่ได้ตลอดการเดินทาง ไม่ต้องกังวลเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น แต่การเลือกซื้อประกันควรพิจารณาจากปัจจัยอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลยดีกว่า
1. ความคุ้มครอง
อันดับแรกเลยคือต้องพิจารณา “ความคุ้มครอง” ก่อน ว่าคุ้มครองครอบคลุมหรือไม่ ? ทั้งในเรื่องของค่าอะไหล่ อุปกรณ์ต่าง ๆ และที่ขาดไม่ได้คือแบตเตอรี่ที่ใช้ชาร์จพลังงาน เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์มากที่สุด
2. ค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้าและทุนประกัน
การตรวจสอบค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้าและทุนประกัน ว่าทั้งสองสิ่งนี้มีความสอดคล้องกันหรือไม่ ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ผู้เอาประกันไม่ควรมองข้าม กรณีที่จ่ายค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้าสูง ก็ควรได้รับความคุ้มครองที่สูงตามไปด้วย เพื่อให้ได้รับความคุ้มค่ามากที่สุด
นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบว่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปนั้น มีบางกรณีที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมเองอีกหรือไม่ เพื่อให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อประกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ศูนย์ซ่อม
แม้ว่าในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งรถยนต์ bev, รถยนต์ hev, รถยนต์ phev จะเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น แต่ศูนย์ซ่อมที่มีอะไหล่และอุปกรณ์ต่าง ๆ อาจยังไม่แพร่หลายมากนัก ดังนั้นการเลือกบริษัทประกันที่มีศูนย์ซ่อมในเครือ ก็จะช่วยประหยัดเวลาและลดปัญหากวนใจได้ดีมาก ๆ เช่นกัน
“ปัจจัย” ต่าง ๆ ที่เรานำมาบอกต่อถือว่าสำคัญมาก ๆ เพราะจะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มครองคุ้มค่ากับค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่จ่ายไปมากที่สุด แนะนำให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน รอบคอบ อย่าได้เห็นแก่ “เบี้ยถูก” จนเกินไป เพราะอาจทำให้คุณต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าอื่น ๆ เพิ่มเติมในภายหลัง แนะนำให้จำให้ดีว่า “รถยนต์ไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ซื้อประกันทั้งทีควรคุ้มครองครอบคลุมทุกอย่าง”
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำความเข้าใจว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท ? เป็นหนึ่งในสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะประเภทรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภท มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป และไม่ได้เหมาะกับผู้ใช้งานทุกคน เช่น รถยนต์ bev คือ รถยนต์ไฟฟ้า 100% เหมาะกับคนที่ขับรถในเมืองเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น หากอยากได้รับรถที่ตอบโจทย์ ตรงใจ อย่าได้คิดมองข้ามรายละเอียดส่วนนี้เด็ดขาด
คำจำกัดความ
ไฮโดรเจน | ชื่อธาตุลำดับที่ 1 สัญลักษณ์ H เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไวไฟมาก เบาที่สุดในบรรดาแก๊สทั้งหมด และมีมากที่สุดในจักรวาล |
ปั่นไฟ | ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้า, เดินเครื่องให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน |