ขับรถชนเสาไฟฟ้า ประกันรถให้ความคุ้มครองยังไงบ้าง ?

แชร์ต่อ
ขับรถชนเสาไฟฟ้า ประกันรถให้ความคุ้มครองยังไงบ้าง ? | MrKumka.com

รู้หรือไม่ว่าความเสียหายที่มากกว่าอุบัติเหตุทั่วไปและไม่มีใครอยากเจอคือ รถชนเสาไฟฟ้า ที่นอกจากจะทำให้บ้านเรือนบริเวณข้างเคียงไฟดับแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน และชีวิตของผู้คนบนท้องถนนด้วย แต่ทีนี้แน่นอนว่าต้องตามมาด้วยคำถามมากมาย เช่น รถชนแบบนี้เคลมประกันได้ไหม ? หรือมีค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่ต้องควักเพิ่มอีกบ้าง MrKumka ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ไปทำความเข้าใจเพิ่มเติมพร้อม ๆ กันเลย เชิญทัศนา

เกิดอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้าต้องทำยังไง ?

แน่นอนว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้า การตั้งสติอาจเป็นไปได้ยาก เพราะบางครั้งสถานการณ์อาจร้ายแรงมากกว่าที่คิด แต่ถ้าหากอุบัติเหตุในครั้งนี้ไม่ร้ายแรงมาก เบื้องต้นแนะนำให้ทำตามข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสารภายในรถเมื่อเจอเหตุไม่คาดฝัน

เกิดอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้าต้องทำยังไง ? | MrKumka.com
  • 1. ขับรถชนเสาไฟฟ้าแล้วรถไฟไหม้

    กรณีที่ขับรถชนเสาไฟฟ้าแล้วผลที่ตามมาคือ “ไฟไหม้” สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือตั้งสติ พยายามอย่าสัมผัสชิ้นส่วนที่เป็นโครงเหล็กของตัวรถเด็ดขาด เนื่องจากกระแสไฟฟ้าอาจไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ จากนั้นให้กระโดดออกจากตัวรถในลักษณะขาชิดติดกัน เก็บมือทั้งสองข้างไว้ข้างหน้า พร้อมกระโดดขาคู่ติดพื้นแบบกระต่ายจนกว่าจะพ้นรัศมีอันตราย

  • 2. รถชนเสาไฟฟ้า แล้วมีสายไฟพาดมาโดนตัวรถ

    ในกรณีที่รถชนเสาไฟฟ้าแล้วมีสายไฟพาดมาโดนตัวรถ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม “ห้ามลงจากรถเด็ดขาด” เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่กระแสไฟฟ้าจะกระจายอยู่รอบ ๆ ตัวรถ ซึ่งกินรัศมีกว้างประมาณ 10 เมตร (ขึ้นอยู่กับความแรงของกระแสไฟฟ้า) จากนั้นเมื่อตั้งสติได้ดีแล้ว ให้รีบโทรแจ้งเบอร์ 1129 (PEA Online) เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาตัดกระแสไฟฟ้า

  • 3. พบเห็นอุบัติเหตุคนขับรถชนเสาไฟฟ้า

    หากคุณไม่ใช่คนที่ประสบเหตุด้วยตัวเอง แต่บังเอิญผ่านมาเจอคนขับรถ ชน เสาไฟฟ้าพอดี ห้ามเข้าใกล้รถที่เกิดเหตุเด็ดขาด เนื่องจากอาจมีกระแสไฟกระจายรอบตัวรถ แนะนำให้ขับขี่ให้ห่างจากจุดเกิดเหตุมากกว่า 10 เมตร พร้อมกับโทรแจ้ง 1129 หรือสายด่วน MEA 113 (การไฟฟ้านครหลวง) ทันที

    ในกรณีที่สังเกตสถานการณ์คร่าว ๆ แล้วพบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการขับรถชนเสาไฟฟ้า แนะนำให้ช่วยโทรเรียกรถพยาบาลเพื่อขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสียหายที่อาจแผ่ขยายเป็นวงกว้างมากกว่าเดิม

ขับรถชนเสาไฟฟ้า หรือทรัพย์สินของกรมทางหลวงมีความผิดไหม ?

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ของของกรมทางหลวง” หรือสิ่งของที่อยู่บนท้องถนนซึ่งเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐหรือกรมทางหลวง เช่น แบริเออร์ ป้ายจราจร เสาไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งต้นไม้ หากคุณขับรถโดยประมาท ขับรถชนเสาไฟฟ้าหรือสิ่งอื่น ๆ จะมีความผิดจากการสร้างความเสียหายต่อสาธารณสมบัติ ตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด 7 คือ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ในมาตรา 360

ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ขับรถชนเสา ทรัพย์สินกรมทางหลวง ต้องจ่ายค่าเสียหายเท่าไร ?

ทำผิดต้องยอมรับ ทำความเสียหายต้องชดใช้ ยิ่งถ้ารถชนจนของเสียหายเป็นทรัพย์สินส่วนรวมอาจ “ปวดหัวได้เลย” ตอนที่ชดใช้ค่าเสียหายหากไม่มีประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุขับรถชนเสา ผู้ขับขี่จำเป็นต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับหน่วยงานรัฐหรือกรมทางหลวง ด้วยการแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบความเสียหาย รวมถึงออก “ใบแจ้งหนี้” เพื่อให้คุณไปชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด ซึ่งสิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่บนท้องถนนมีมูลค่าความเสียหายดังนี้

ขับรถชนเสาไฟฟ้า ต้องจ่ายค่าเสียหายเท่าไหร่ ?

กรณีประกันชั้น 1 ถอยชนเสาไฟฟ้า ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐหรือกรมทางหลวง มีค่าเสียหายอยู่ที่ประมาณ 3,232.68 - 42,046.24 บาท/ตัน โดยไม่สามารถระบุมูลค่าความเสียหายได้อย่างชัดเจน เนื่องจากจะต้องประเมินความเสียหายจากปัจจัยอื่น ๆ รวมกัน เช่น ค่ารื้อถอน ค่าแรง ค่าเดินสายไฟใหม่ ค่าหม้อแปลง เป็นต้น

ขับรถชนป้ายจราจร ต้องจ่ายค่าเสียหายเท่าไหร่ ?

ป้ายจราจรเป็นสิ่งของที่เป็นความรับผิดชอบของกรมทางหลวงโดยตรง มีค่าเสียหายเริ่มต้นที่ 1,000-2,000 บาท/ป้าย โดยทางกรมทางหลวงจะประเมินความเสียหายเพื่อออกใบแจ้งหนี้ ว่าคุณชนไปทั้งหมดกี่ป้าย แต่ละป้ายมีขนาดเท่าไหร่ และมีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน

ขับรถชนแบริเออร์ ต้องจ่ายค่าเสียหายเท่าไหร่ ?

แบริเออร์เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐหรือกรมทางหลวง หากคุณขับรถชนจนได้รับความเสียหาย จะต้องจ่ายค่าเสียหายประมาณ 800-1,500 บาท/ชิ้น โดยความเสียหายจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณชนไปกี่ชิ้น แบริเออร์ที่ชนทำจากวัสดุอะไร หากเป็นแบริเออร์สำหรับกันดินทรายอาจมีค่าความเสียหายเพิ่มมากขึ้น

ขับรถชนต้นไม้ข้างทาง ต้องจ่ายค่าเสียหายไหม ?

เชื่อว่าหลายคนคงเกิดความสงสัยพอสมควร ว่าหากขับรถชนต้นไม้หรือพุ่มไม้ข้างทาง แบบนี้ต้องจ่ายค่าเสียหายด้วยหรือไม่? คำตอบคือ “จ่าย” โดยเฉพาะต้นไม้หรือพุ่มไม้ที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐหรือกรมทางหลวง เมื่อชนก็ต้องจ่ายค่าเสียหาย เริ่มต้นที่ 2,000 บาท/ต้น

โดยค่าเสียหายที่ต้องควักจ่ายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าคุณชนไปกี่ต้น ต้นไม้ที่เสียหายมีขนาดเท่าไหร่บ้าง นอกจากนี้ยังมีการนำ “อายุต้นไม้” มาใช้คำนวณความเสียหายอีกด้วย

แต่ถ้าหากคุณมีประกันรถยนต์ ค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะเป็นความรับผิดชอบของบริษัทประกันรถยนต์ทันที ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขกรมธรรม์ของประกันที่ซื้อไว้ด้วย ว่าให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกัน 2+ และชั้นอื่น ๆ แนะนำให้อ่านรายละเอียดความคุ้มครอง และเปรียบเทียบประกันรถให้ดีก่อนเสมอ

หากไม่มีประกันรถยนต์ เมื่อชนไม่มีคู่กรณี แถมยังไม่มีเงินจ่ายค่าเสียหาย จะทำยังไงได้บ้าง ?

สำหรับคนที่ขับรถชนเสาไฟฟ้า, ชนฟุตบาทเคลม, ชนไม่มีคู่กรณี หรืออื่น ๆ ที่ทำให้ของของหน่วยงานรัฐหรือกรมทางหลวงได้รับความเสียหาย แต่รถยนต์ของคุณเองไม่มีประกันชั้น 1 ทางออกคือ “ต่อรองค่าเสียหาย และขอผ่อนจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้” ซึ่งเรียกว่าการประนอมหนี้

เพียงเข้าไปติดต่อกับสำนักงานของเจ้าของทรัพย์สินหรือหน่วยงานภาครัฐที่ถือสิทธิ์ในวัตถุเหล่านั้น เสาไฟฟ้า แบริเออร์ ต้นไม้ หรืออื่น ๆ ที่คุณขับรถชนจนเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท หรือเทศบาลท้องถิ่น เข้าไปคุยเพื่อขอปรึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมดถึงจุดประสงค์การผ่อนผัน หรือขอไกล่เกลี่ยหนี้ทั้งหมด

ตอบคำถามประกันชั้น 1 ขับรถชนเสาไฟฟ้า ประกันจ่ายไหม เคลมประกันได้หรือเปล่า ?

ในกรณีที่คุณเป็นผู้ประสบภัยขับรถชนเสาไฟฟ้า หรือ “แค่คิด” ว่าตัวเองจะต้องพบเจอกับสถานการณ์น่าสะพรึงกลัวแบบนั้น เชื่อว่าคงเกิดความสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าประกันชั้น 1 ถอย ชนเสาหรือประกันชั้น 1 ชนไม่มีคู่กรณีแบบนี้ เคลมประกันกับบริษัทประกันรถยนต์ได้ไหม ? คำตอบคือ “เคลมได้”

ซึ่งทางบริษัทประกันรถยนต์จะชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด และให้ความคุ้มครองรถยนต์คันที่เอาประกัน เนื่องจากประกันรถยนต์ชั้น 1 ให้ความคุ้มครองครอบคลุมอุบัติเหตุรถชนแบบไม่มีคู่กรณี โดยบริษัทประกันรถยนต์จะชดเชยค่าซ่อมตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ความคุ้มครองประกันชั้น 1 ผู้เอาประกันสามารถแจ้งเคลมประกันกับทางบริษัทฯ ได้เลย

รถชนเสา ประกันชั้น 1 เคลมค่ารักษาพยาบาลได้ด้วยไหม ?

สำหรับกรณีที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารก็ตาม บริษัทประกันรถยนต์จะช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาลด้วยเช่นกัน โดย “จ่ายให้ตามจริง” ซึ่งเป็นการเพิ่มวงเงินค่ารักษาให้มากขึ้นจากการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ (ประกันรถยนต์ภาคบังคับ) นั่นเอง

ทั้งหมดนี้คือความคุ้มครองประกันชั้น 1 ที่ผู้เอาประกัน “ทุกคน” จะได้รับจากบริษัทประกันรถยนต์ตามวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ แต่ถ้าหากคุณทำประกันประเภทอื่น เช่น ประกันรถยนต์ 2, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3 หรือประกันรถยนต์ 3+ บอกไว้ก่อนเลยว่าทั้งหมดนี้ “ไม่คุ้มครองกรณีไม่มีคู่กรณี” การเคลมประกันจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อเคลมประกันแบบอุบัติรถชนรถเท่านั้น

เคลมประกันชั้น 2 ไม่มีคู่กรณี ได้ไหม ?

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า ผู้เอาประกันไม่สามารถเคลมประกันชั้น 2 ได้ กรณีจนวัตถุสิ่งของ เนื่องจากประกันรถยนต์ชั้น 2 ให้ความคุ้มครองรถเฉพาะกรณีรถหายหรือไฟไหม้เท่านั้น หากเป็นอุบัติเหตุอื่น ๆ โดยเฉพาะชนเสาเคลมประกันไม่ได้เลย รวมถึงกรณีชนฟุตบาท ชนต้นไม้ ชนแบริเออร์ ด้วยเช่นกัน ทวนอีกครั้งว่าเคลมประกันชั้น 2 ไม่มีคู่กรณีไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด

ในส่วนของความคุ้มครองบุคคลภายนอก บุคคลภายในรถ ค่ารักษาพยาบาลและทรัพย์สินของคู่กรณี ประกันรถยนต์ชั้น 2 จะให้ความคุ้มครองตามวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ พร้อมทั้งชดเชยให้อยู่แล้ว นอกจากนี้หากไม่ใช่ประกันชั้น 2 ไม่มีคู่กรณี ทางบริษัทประกันรถยนต์ยังให้ความคุ้มครองการประกันตัวเพื่อสู้คดีอีกด้วย

เคลมประกันชั้น 2 ไม่มีคู่กรณี แต่ทำไมใคร ๆ ยังเลือกทำ ?

หากมองผิวเผินประกันชั้น 2 ไม่สามารถแจ้งเคลมประกันได้ เป็นความคุ้มครองที่ไม่ค่อยจะคุ้มค่าสักเท่าไหร่ แต่ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงยังเลือกทำประกันประกันชั้น 2 แทนที่จะไปเลือกประกันชั้น 1 ที่สามารถเคลมได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม นั่นเป็นเพราะว่า “ไลฟ์สไตล์การขับขี่ของแต่ละบุคคล”

หากคนที่มีความชำนาญในการขับรถ มั่นใจว่ามีโอกาสแจ้งรถชนเสาเคลม ประกันน้อยมาก ๆ หรือแทบไม่มีโอกาสเกิดความประมาทใด ๆ บนท้องถนน เนื่องจากใช้รถค่อนข้างน้อย (ส่วนใหญ่จอดทิ้งไว้เฉย ๆ) การเลือกทำประกันรถยนต์ชั้น 2 ก็ตอบโจทย์ได้มากกว่า

แถมค่าเบี้ยยังถูกกว่าประกันชั้น 1 อีกด้วย จึงเป็นเหตุผลที่ควรสังเกตพฤติกรรมการขับขี่ และการใช้รถของตัวเองให้ดีก่อนตัดสินใจทำประกัน ไม่ใช่แค่มองเรื่องความคุ้มครองด้านรถ ชนเสาเคลมประกัน หรือการเคลมประกันแบบไม่มีคู่กรณีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อย่างที่เข้าใจกันดีว่า “อุบัติเหตุ” ไม่เลือกเวลาเกิด โดยเฉพาะอุบัติเหตุขับรถชนเสาไฟฟ้า ที่นำพามาซึ่งความเสียหายร้ายแรง ยิ่งถ้าหากชนเสาเคลมประกันไม่ได้ บอกเลยว่างานนี้ “เจ็บหนัก” แน่นอน จึงเป็นเหตุผลที่ทุก ๆ คนควรให้ความสำคัญในเรื่องความคุ้มครองด้านประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1 และชั้นอื่น ๆ เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุม อุ่นใจตลอดการเดินทาง

คำจำกัดความ
ใบแจ้งหนี้ เป็นเอกสารที่ส่งไปยังลูกค้า เมื่อเราต้องการให้ลูกค้าจ่ายเงินสำหรับค่าสินค้า หรือค่าบริการที่เราได้ทำเสร็จแล้ว ในบริบทนี้หน่วยงานรัฐหรือกรมทางหลวงจะมอบให้กับผู้ที่ทำข้าวของของกรมทางหลวงเสียหาย เพื่อแจ้งจำนวนที่ต้องชำระให้ทราบ
แบริเออร์ เป็นอุปกรณ์กั้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน · ช่วยลดความแรงของอุบัติเหตุ ลดความอันตรายของผู้ขับขี่และทำให้ยานพาหนะไม่เสียหาย
การประนอมหนี้ การขอเจรจาข้อตกลงเรื่องหนี้สินกับเจ้าหนี้ เช่น ลดหย่อน ผ่อนผัน และ/หรือปรับเปลี่ยนข้อตกลง เพื่อช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินการจากเจ้าหนี้อันเนื่องมาจากการผิดนัดชำระหนี้

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่