รถติดแก๊ส LPG ประกันรถยนต์คุ้มครองไหม มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง ?

แชร์ต่อ
รถติดแก๊ส LPG ประกันรถยนต์คุ้มครองไหม ? | MrKumka.com

หากกำลังมองหา “ตัวช่วย” ที่ทำให้ประหยัดน้ำมันได้มาก นอกจากจะเลือกเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ทางเลือกที่ประหยัดกว่าแบบไม่ต้องไปเปลี่ยนรถใหม่คือรถติดแก๊ส ก็ช่วยประหยัดได้ดีไม่น้อยหน้า ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกทั้งติดแก๊ส LPG และ NPG แต่ทั้ง 2 อย่างต่างกันยังไง แล้วประกันรถยนต์คุ้มครองกรณีติดแก๊สไหม? มีข้อยกเว้นอะไรบ้างหรือไม่? MrKumka ลิสต์มาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลยดีกว่า

รถติดแก๊ส LPG ประกันให้ความคุ้มครองไหม ?

สำหรับคนที่ใช้หรือคิดจะใช้รถติดแก๊ส ทั้งติดแก๊ส LPG และ NGV นอกจากจะต้องเลือกร้านหรือศูนย์ติดแก๊สที่มีมาตรฐานแล้ว ยังต้อง “แจ้งเปลี่ยนชนิดการใช้เชื้อเพลิง” ไปยังกรมขนส่งทางบก รวมถึงแจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่จะทำประกันรถทุกครั้ง

หากไม่แจ้งกับบริษัทประกันรถยนต์ให้เรียบร้อย เมื่อรถคันที่เอาประกันเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา บริษัทประกันรถยนต์จะไม่รับผิดชอบในส่วนของตัวถังแก๊สที่ติดตั้งเพิ่ม หรือในบางบริษัทประกันภัยรถยนต์อาจไม่รับผิดชอบทั้งตัวรถ และตัวถังแก๊สที่ติดตั้งเพิ่มเติม สรุปง่าย ๆ ว่าบริษัทประกันรถยนต์คุ้มครองรถติดแก๊ส แต่จะต้องแจ้งให้ทราบก่อน

รถติดแก๊ส ทำประกันรถยนต์แบบไหนได้บ้าง ?

หากอยากรู้ว่ารถติดแก๊ส LPG ทำประกันรถแบบไหนได้บ้าง ที่ตอบโจทย์และคุ้มค่าที่สุด เอาจริง ๆ คำตอบนี้มีแต่ “เจ้าของรถ” เท่านั้นที่สามารถตอบได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์การขับขี่เป็นหลัก ดังนั้น MrKumka จึงได้ลิสต์รายละเอียดความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท มาให้คุณได้อ่านและทำความเข้าใจก่อนเลือกทำประกันรถ ซึ่งจะน่าสนใจแค่ไหนไปดูกันเลย

  • 1. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1

    ประกันรถติดแก๊ส ชั้น 1 มีราคาค่าเบี้ยที่ต้องจ่ายรายปีสูงที่สุด แต่ก็มาพร้อมกับความคุ้มครองแบบจัดเต็ม ทั้งคุ้มครองต่อตัวรถยนต์แบบมีและไม่มีคู่กรณี รวมถึงอุบัติภัยครบวงจร

  • 2. ประกันภัยรถยนต์ 2+

    ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 2+ เป็นประกันรถที่ให้ความคุ้มครองไม่ต่างจากชั้น 1 สักเท่าไหร่ แถมยังเป็นประกันรถติดแก๊สที่น่าสนใจมาก ๆ แต่จะให้ความคุ้มครองแบบที่ “มีคู่กรณี” เท่านั้น หากไม่มีจะคุ้มครองเฉพาะค่ารักษาพยาบาล และอุบัติเหตุส่วนบุคคลของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร และวงเงินประกันตัวผู้ขับขี่

  • 3. ประกันชั้น 2

    ประกันรถชั้น 2 ให้ความคุ้มครองจากความรับผิดทางกฎหมาย ต่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของ “บุคคลที่สาม” การบาดเจ็บทางร่างกาย หรือการเสียชีวิตจากรถติดแก๊สของคุณ ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี ตอบโจทย์สำหรับคนที่ขับรถปลอดภัย ชำนาญ มีความเสี่ยงที่จะเคลมประกันรถน้อยสุด ๆ

ไม่ว่ารถยนต์ของคุณจะติดแก๊ส LPG หรือเป็นรถติดแก๊สประเภทไหนก็ตาม แนะนำให้สำรวจพฤติกรรมการขับขี่ และการใช้รถของตัวเองให้ดี เพื่อที่จะตอบตัวเองได้ง่ายขึ้น ว่าจริงๆ แล้วรถยนต์ของคุณเหมาะกับประกันรถแบบไหนมากกว่า และอย่าลืมเปรียบเทียบประกันรถยนต์ให้ดีด้วย เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้รถของคุณมีประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองอย่างตอบโจทย์แล้วล่ะ

ติดแก๊ส LPG แบบไหนประกันภัยรถยนต์ไม่คุ้มครอง ?

ติดแก๊ส LPG แบบไหนประกันภัยรถยนต์ไม่คุ้มครอง ? | MrKumka.com

แม้ว่าบริษัทประกันภัยรถยนต์จะให้ความคุ้มครองรถติดแก๊ส ไม่ว่าจะติดแก๊ส LPG หรือประเภทอื่น ๆ ก็ตาม แต่อยากให้คุณทำความเข้าใจเพิ่มเติมในส่วนของ “เงื่อนไข” ที่เจ้าของรถ/ผู้เอาประกันต้องปฏิบัติ หากไม่อยากถูกปฏิเสธความคุ้มครองดังนี้

  • 1. ไม่แจ้งให้บริษัทประกันรถยนต์ทราบ

    กรณีที่ทำประกันรถแล้ว และมีการติดแก๊ส LPG ในภายหลัง โดยที่ผู้เอาประกันไม่แจ้งให้กับบริษัทประกันรถทราบ รวมถึงไม่ส่งเอกสารให้กับบริษัทประกันภัยรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเล็ก ๆ น้อย ๆ หรืออุบัติเหตุใหญ่ ผู้เอาประกันจะ “ไม่มีสิทธิ์แจ้งเคลมความเสียหายส่วนนี้ได้”

  • 2. ไม่แจ้งให้กรมการขนส่งทางบกทราบ

    หากผู้เอาประกันนำรถยนต์ไปติดแก๊ส LPG แต่ไม่ได้แจ้งให้กรมการขนส่งทางบกทราบ บริษัทประกันภัยรถยนต์ก็จะไม่ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกัน

  • 3. ติดตั้งแก๊สรถยนต์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

    ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการติดแก๊สรถยนต์อยู่หลายเจ้า หากผู้เอาประกันเลือกติดตั้งแก๊สรถยนต์ที่ “ตัวถังไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน มอก. หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” บริษัทประกันรถอาจไม่รับคุ้มครองในส่วนนี้

    เนื่องจาก “แก๊ส” เป็นเชื้อเพลิงที่เสี่ยงเกิดเพลิงไหม้ได้ง่ายกว่าระบบเติมน้ำมัน หรือเสี่ยงทำให้รถยนต์เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่า แนะนำให้ผู้เอาประกันหรือผู้ขับขี่ใส่ใน และให้ความสำคัญในการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแก๊สรถยนต์ที่ได้มาตรฐานด้วย

ทั้งหมดนี้คือ “ข้อควรรู้” ที่คนใช้รถติดแก๊สควรให้ความสำคัญมาก ๆ เพราะถ้าหากพลาดหรือละเลยไปแม้แต่ข้อเดียว อาจโดนบริษัทประกันรถยนต์ปฏิเสธความคุ้มครองได้ และเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาล่ะก็ บอกเลยว่า “เจ็บหนัก” แน่นอน

อยากใช้รถติดแก๊สต้องรู้ แต่ละประเภทมีข้อดีและข้อจำกัดอะไรบ้าง ?

อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้แล้วว่า รถติดแก๊สในปัจจุบัน มีทั้งแบบติดแก๊ส LPG และ NPG ซึ่งทั้ง 2 แบบมีส่วนช่วยในการประหยัดน้ำมันได้ดีมาก ๆ ซึ่งทั้งสองมีรายละเอียดในด้านข้อดีและข้อจำกัดดังนี้

  • ติดแก๊ส LPG ย่อมาจากคำว่า Liquefied petroleum gas หลายคนคุ้นเคยในชื่อ “แก๊สหุงต้ม” เป็นแก๊สปิโตรเลียมเหลว ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารในครัวเรือน ได้มาจากการแยกน้ำมันดิบในโรงงานกลั่นน้ำมัน ซึ่งมีแก๊สโพเพนและแก๊สบิวเทนเป็นองค์ประกอบหลัก สามารถนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและยานพาหนะได้

    มี “ข้อดี” คือ ราคาถูก เป็นแก๊สที่สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ แถมยังมีความปลอดภัย สามารถใช้ในรถยนต์ได้ ที่สำคัญเผาไหม้เต็มประสิทธิภาพ ปราศจากมลพิษ และมี “ข้อเสีย” คือ ปลอดภัยน้อยกว่า NPG และมีแนวโน้มจะเพิ่มราคาที่นำมาใช้กับรถยนต์ รวมถึงสิ้นเปลืองพื้นที่ใช้สอยท้ายรถมาก ๆ

  • ติดแก๊ส NPG ย่อมาจากคำว่า Natural Gas for Vehicles เป็น​ “แก๊สธรรมชาติ” ที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ตามชั้นหิน โดยมีแก๊สมีเทนเป็นองค์ประกอบ สามารถนำไปใช้กับยานพาหนะได้

    “ข้อดี” คือ มีประสิทธิภาพในการเผาไหม้สูง และด้วยมวลที่เบากว่าอากาศทำให้ปลอดภัยในการใช้งาน ที่สำคัญราคาถูก ปราศจากไอเสีย ช่วยลดการเกิดสภาวะเรือนกระจก ด้าน “ข้อเสีย” คือ ค่าใช้จ่ายและอุปกรณ์ในการติดตั้งค่อนข้างสูง สถานีให้บริการก็ค่อนข้างน้อย ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ขนาดถังบรรจุแก๊สไม่ใหญ่มาก ทำให้บรรจุแก๊สได้น้อย

ดูแลรถติดแก๊ส LPG ยังไงให้ปลอดภัยอยู่เสมอ ?

เชื่อว่าหลายคนคงกังวลอยู่ไม่น้อย เมื่อเห็นข่าวรถติดแก๊สระเบิด ไม่ว่าจะติดแก๊ส LPG หรือ NPG ก็มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะ MrKumka รวบตึงวิธีดูแลรถติดแก๊สมาให้เรียบร้อยแล้ว มีอะไรที่ต้อง “ตรวจเช็ก” บ้าง ไปดูกันเลย

  • ตรวจเช็กตัวกล่อง ECU ที่ควบคุมระบบการจ่ายเชื้อเพลิงทุก ๆ 5,000-10,000 กิโลเมตร
  • ตรวจเช็กตัวกรองแก๊สเพื่อป้องกันฝุ่นและสนิม และควรเปลี่ยนเมื่อถึงระยะ 100,000 กิโลเมตร
  • ตรวจเช็กหัวฉีดแก๊สทุก 3 ปี
  • ตรวจเช็กสายยางที่เชื่อมต่อกับระบบถังแก๊ส ด้วยการใช้น้ำสบู่ เพราะหากเกิดสายยางรั่ว น้ำสบู่จะเป็นฟองอากาศ
  • ตรวจเช็กตัวถังอยู่เสมอว่ามีกลิ่นแก๊สรั่วออกมาหรือไม่
  • ตรวจเช็กพร้อมกับตั้งวาล์วใหม่ทุกครั้ง เมื่อใช้รถถึงระยะทาง 40,000 กิโลเมตร
  • เปลี่ยนถังแก๊สใหม่เมื่อติดตั้งครบ 10 ปี

เรื่องที่ควรรู้ก่อนติดแก๊ส LPG มีอะไรบ้าง ?

สำหรับคนที่ยังมองภาพไม่ออกว่าการนำรถยนต์ไปติดแก๊ส LPG เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันมีข้อควรรู้อะไรที่ควรรู้ก่อนบ้าง ไม่ต้องไปหาข้อมูลจากที่อื่นให้เสียเวลา เพราะเราลิสต์มาให้เรียบร้อยแล้ว

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เพราะแก๊ส LPG มีราคาถูกกว่าหลายเท่า
  • การติดแก๊สรถยนต์มีค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ถังบรรจุแก๊ส ท่อ และวาล์ว
  • รถติดแก๊สมักมีความร้อนสะสมอยู่ภายในเครื่องยนต์ ส่งผลให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานสั้น ควรหมั่นบำรุงรักษาและตรวจสภาพรถมากขึ้น
  • มีความเสี่ยงจะเกิดความเสียหาย เช่น ไฟไหม้ ระเบิด แต่ในปัจจุบันการติดแก๊สมีความปลอดภัยมากขึ้น จึงช่วยลดอัตราความเสี่ยงลงได้

ขอย้ำอีกครั้งว่าหากอยากนำรถยนต์ไปติดแก๊ส LPG สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือเลือกศูนย์ติดตั้งแก๊สรถยนต์ที่มีมาตรฐาน เพื่อป้องกันบริษัทประกันรถปฏิเสธความคุ้มครอง นอกจากนี้อย่าลืมแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมการขนส่งทางบกและบริษัทประกันภัยรถยนต์ เพื่อความคุ้มครองที่อุ่นใจตลอดการเดินทาง

คำจำกัดความ
กล่อง ECU ย่อมาจากคำว่า Electronic Control Unit เป็นกล่องอุปกรณ์ที่ประมวลผลเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รับข้อมูลต่าง ๆ ของตัวรถ มาประมวลผลเพื่อการควบคุมสั่งจ่ายน้ำมัน และการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ให้ทำงานได้ตามมาตรฐานเครื่องยนต์
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ข้อกำหนดที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ผลิตสินค้า ให้สามารถผลิตสินค้าออกมาจัดจำหน่ายให้มีคุณภาพที่เหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพที่เหมาะสม
อุบัติภัย ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่