ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันรถยนต์ ต้องต่อพร้อมกันไหม ?

แชร์ต่อ
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันรถยนต์ ต้องต่อพร้อมกันไหม ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

กับสิ่งที่ต้องทำทุกปีให้กับรถของคุณ เป็นของ “จำเป็น” ขาดไม่ได้เรื่องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และเช่นกันสำหรับประกันรถยนต์ มีติดรถย่อมอุ่นใจกว่ายามอยู่หลังพวงมาลัย แต่ทั้งสองสิ่งนี้ต้องทำพร้อมกันทุกปีไหม ต่อพร้อมไปพร้อม ๆ กันเลยมีข้อดียังไง หรือถ้าต่อคนละบริษัทจะมีข้อจำกัดอะไรบ้าง มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้ลิสต์รายละเอียดที่น่าสนใจมาให้แล้ว รวมถึงเรื่องควรรู้เกี่ยวกับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาเท่าไหร่ รู้ลึกขึ้นเรื่องการคุ้มครองรถของคุณ ตามไปดูกันเลยในบทความนี้

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร ทำไมต้องต่อทุกปี ?

เจ้าของรถเคยสงสัยไหมว่าทำไมต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ทุก ๆ ปี เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่า จริง ๆ พ.ร.บ.รถยนต์ คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก ต้องทำไว้เป็น “หลักประกัน” ให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ว่าจะได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

และด้วยความที่ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ภาระผูกพันตามกฎหมาย จึงจำเป็นต้องต่อทุกปี แถมยังต้องใช้ส่วนท้ายของ พ.ร.บ.รถยนต์ ในการต่อภาษีประจำปี รวมถึงไปต่อป้ายทะเบียนรถอีกด้วย ในกรณีที่ไม่ต่อให้ถูกต้อง จะถือว่าทำผิดกฎหมาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และถ้าหากนำรถคันนั้น ๆ ไปประสบอุบัติเหตุ จะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ อีกด้วย

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ใช่การต่อภาษีรถยนต์ !

มือใหม่ใช้รถหลายคนไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วทั้งสองส่วนนี้ไม่เหมือนกัน การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์และภาษีรถยนต์ประจำปี “เป็นคนละส่วน” จริง ๆ แล้วทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้

ภาษีรถยนต์

จุดประสงค์ในการต่อภาษีรถยนต์เพื่อนำไปช่วยในการ “ดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง” ซึ่งตามปกติแล้วจะต้องชำระก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้ในทุกปี หากละเลย ขาดต่อจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไปจนถึงระงับทะเบียน

สำหรับอัตราต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถยนต์ ราคา ที่หลายคนสงสัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีดำ)
    • ขนาดเครื่องยนต์ 600 ซีซีแรก ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 4 ประตู ราคาซีซีละ 50 สตางค์
    • ขนาดเครื่องยนต์ 601-1,800 ซีซี ต่อ ภาษี พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาซีซีละ 1.50 บาท
    • ขนาดเครื่องยนต์ 1,801 ซีซีขึ้นไป ราคาซีซีละ 4 บาท
  2. รถบรรทุกบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว)
    • น้ำหนักรถ 0-500 กิโลกรัม ราคา 300 บาท
    • น้ำหนักรถ 501-750 กิโลกรัม ราคา 450 บาท
    • น้ำหนักรถ 751-1,000 กิโลกรัม ราคา 600 บาท
    • น้ำหนักรถ 1,001-1,250 กิโลกรัม ราคา 750 บาท
    • น้ำหนักรถ 1,251-1,500 กิโลกรัม ราคา 900 บาท
    • น้ำหนักรถ 1,501-1,750 กิโลกรัม ราคา 1,050 บาท
    • น้ำหนักรถ 1,751-2,000 กิโลกรัม ราคา 1,350 บาท
    • น้ำหนักรถ 2,001-2,500 กิโลกรัม ราคา 1,650 บาท
    • น้ำหนักรถ 2,501-3,000 กิโลกรัม ราคา 1,950 บาท
  3. รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน)
    • น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กิโลกรัม ราคา 1,300 บาท
    • น้ำหนักรถเกิน 1,800 กิโลกรัม ราคา 1,600 บาท
พ.ร.บ.รถยนต์

จุดประสงค์ในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ คือ เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ในรูปแบบ “ค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชย” แถมยังใช้เป็นเอกสารสำคัญในการต่อภาษีรถยนต์อีกด้วย หากไม่ต่อจะถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ในส่วนของ “ อัตราต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาเท่าไหร่ ” จะแตกต่างกันตามประเภทรถ ดังนี้

  1. ประเภทรถยนต์โดยสาร
    • รถยนต์เก๋งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถเก๋ง ราคา 600 บาท
    • รถตู้จำนวน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ราคา 1,100 บาท
    • รถโดยสารเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ราคา 2,050 บาท
    • รถโดยสารเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,200 บาท
  2. ประเภทรถกระบะ รถบรรทุก
    • รถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถกระบะ ราคา 900 บาท
    • รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน ราคา 1,220 บาท
    • รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน ราคา 1,310 บาท
  3. ประเภทอื่น ๆ
    • รถลากพ่วง รถหัวลากจูง ราคา 2,370 บาท
    • รถพ่วง ราคา 600 บาท
    • รถยนต์ใช้ในการเกษตร ราคา 90 บาท

พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ต่างกันยังไง ?

อีกหนึ่งประเด็นที่หลาย ๆ คนสงสัยกันค่อนข้างมาก คือ มีประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.รถยนต์) แล้ว ทำไมถึงยังต้องทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจด้วย มันต่างกันยังไง ? ไม่ทำได้หรือไม่ ? ถ้าอย่างนั้นเราไปดู “ความคุ้มครอง” ของประกันทั้งสองก่อนเลยดีกว่า

ประกันภาคบังคับ คุ้มครองอะไรบ้าง ?

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ จะคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยแบ่งสิ่งที่ “ผู้ประสบภัย” จะได้รับออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

  • ค่าเสียหายเบื้องต้น

    ผู้ประสบภัยจะได้รับทันที โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด

    • ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
    • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร (พิการ) 35,000 บาท
  • ค่าสินไหมทดแทนส่วนเกิน

    จะได้รับต่อเมื่อพิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก

    • ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
    • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
    • กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

ประกันภาคสมัครใจ ให้ความคุ้มครองยังไง ?

ประกันภาคสมัครใจ เจ้าของรถสามารถเลือกได้ว่าจะทำหรือไม่ทำก็ได้ โดยประกันประเภทนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ ประกันรถยนต์ชั้น 1, 2+, 2, 3+ และ 3 ซึ่งจะให้ความคุ้มครองที่ลดหลั่นกันไป

ตามปกติแล้วประกันภาคสมัครใจ จะให้ความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นการชนของตัวรถยนต์ และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง รวมถึงค่าซ่อม ค่าอะไหล่ต่าง ๆ ที่จำเป็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ “เงื่อนไข” ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ แนะนำให้เปรียบเทียบประกันรถยนต์ให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ

ข้อดีของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันรถยนต์ที่เดียวกัน

ข้อดีของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันรถยนต์ที่เดียวกัน | มิสเตอร์ คุ้มค่า

สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันรถยนต์ที่เดียวกัน จำเป็นแค่ไหน และมีข้อดียังไงบ้าง? มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์รายละเอียดที่เป็นประโยชน์มาให้เรียบร้อยแล้ว ไปทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจกันเลยดีกว่า

  • 1. ติดต่อประสานงานง่าย

    ข้อดีหลัก ๆ ของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันรถยนต์บริษัทเดียวกัน คือ ช่วยลดความยุ่งยากในการดำเนินการแจ้งเคลมประกันได้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังรวมถึงการยื่นเอกสารต่าง ๆ เนื่องจากสามารถใช้เอกสารชุดเดียวในการยื่นเรื่อง และติดต่อบริษัทฯ ที่เดียวจบทุกขั้นตอน

  • 2. แบ่งเบาค่าเสียหาย

    เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันบนท้องถนน พ.ร.บ.รถยนต์ จะทำหน้าที่ในการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลต่อคู่กรณี แต่ถ้าหากคู่กรณีเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ที่เกินวงเงินคุ้มครองขึ้นมาล่ะก็ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนนี้ทันที ทำให้ผู้เอาประกันสบายใจ และไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนเกินเพียงลำพัง

  • 3. ตรวจเช็คข้อมูลได้สะดวก

    ถ้าต้องการ “ความสะดวกสบาย” เมื่อถึงคราวต้องแจ้งเคลมประกัน การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันรถยนต์บริษัทเดียวกัน ถือเป็นตัวเลือกที่ดีมาก ๆ แถมยังสามารถตรวจสอบวันหมดอายุได้ง่าย ๆ ในที่เดียว ไม่ต้องกังวลเรื่องการขาดต่ออายุประกันเลยสักนิด

  • 4. ได้รับเงินชดเชยเร็วกว่า

    เพราะบริษัทประกันมีข้อมูลของคุณอยู่แล้ว ทำให้การติดต่อประสานงานไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องแจ้งเคลมหลายบริษัท แถมยังมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการช่วยเหลือตลอดกระบวนการ

จะเกิดอะไรขึ้นหากต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันรถยนต์คนละบริษัท ?

หากคุณมองว่าข้อดีของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ไม่ได้ตอบโจทย์ หรือตรงตามความต้องการขนาดนั้น เราลองมาดู “ข้อจำกัด” ของการทำประกันคนละบริษัทเพิ่มเติมกันบ้างดีกว่า เผื่อจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

  • 1. เสียเวลาในการดำเนินเรื่องของเคลม

    อีกหนึ่งปัญหาที่พบเจอได้บ่อย ๆ เมื่อต่อ พ.ร.บ. รถยนต์และประกันรถยนต์คนละบริษัท คือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ผู้เอาประกันจะต้องเสียเวลาในการเดินเรื่องเคลมประกัน “ด้วยตัวเอง” เกือบทั้งหมด ต้องยื่นเอกสารต่าง ๆ เพื่อขอเงินชดเชยทั้ง 2 บริษัท แน่นอนว่าอาจทำให้เกิดความยุ่งยาก เสียเวลามากกว่า

  • 2. ได้รับการบริการที่แตกต่าง

    ในกรณีบางบริษัทประกันมีสาขาเยอะ จะทำให้ได้รับการบริการที่รวดเร็ว ทันใจ แต่ถ้าบริษัทไหนมีสาขาน้อย อาจต้องใช้เวลาในการดำเนินการนานกว่าปกติ นอกจากนี้ยังอาจได้รับ “คุณภาพ” การบริการที่แตกต่างตามไปด้วยเช่นกัน

  • 3. ต้องรับผิดชอบ กรณีเกินวงเงิน พ.ร.บ.รถยนต์

    สำหรับกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน คู่กรณีได้รับบาดเจ็บ และมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน บอกไว้ก่อนว่า พ.ร.บ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองเฉพาะ “ค่ารักษาพยาบาล” เท่านั้น ซึ่งหากทำประกันคนละบริษัท อาจทำให้เกิดความยุ่งยาก และมีโอกาสเกิดปัญหาบริษัทประกันเกี่ยวกันจ่ายค่าเสียหาย เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์บริษัทเดียวกับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ถือว่ามีข้อดีและตอบโจทย์ได้ในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกสบาย ช่วยให้ประหยัดเวลา ไม่ต้องยื่นเอกสารหลายชุด แจ้งเคลมหลายที่ แถมยังช่วยให้คุณไม่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากลืมต่ออายุ พ.ร.บ. หรือประกันรถยนต์ได้อีกด้วย

คำจำกัดความ
​​หลักประกัน ​หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง, เงินสดหรือหลักทรัพย์ ที่นำมาประกันตัวผู้ห้องหา หรือจำเลย หรือประกันการชำระหนี้
​ผู้ประสบภัย ​บุคคลที่พบเจอหรืออยู่ในเหตุการณ์ที่น่ากลัว และมีอันตราย
​ผู้ป่วยใน ​ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาโดยนอนพักอยู่ที่โรงพยาบาล เป็นระยะเวลามากกว่า 6 ชั่วโมงเป็นต้นไป ​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่