ค่าเสียหายส่วนแรก ค่า excess กับ Deductible ต่างกันยังไง ?

แชร์ต่อ
ค่าเสียหายส่วนแรก ค่า excess กับ Deductible ต่างกันยังไง ? ที่ MrKumka.com

เรื่องสำคัญที่คนซื้อประกันรถยนต์จำเป็นต้องรู้ นอกจากเรื่องความคุ้มครอง ค่าเบี้ย คือสิ่งนี้ “ค่าเสียหายส่วนแรก” ซึ่งแยกออกมาเป็น 2 แบบ คือ ค่า deductible และ ค่า excess ความหมายของค่าเสียหายส่วนแรกเหล่านี้ต่างกันยังไง ? จำเป็นต้องจ่ายทุกครั้งที่เคลมประกันหรือเปล่า ? MrKumka ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มาให้แล้วในบทความนี้ ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันได้เลย

หาคำตอบ ค่า deductible และ ค่า excess คืออะไร ?

หลายคนอาจพอเข้าใจคร่าว ๆ ว่าค่าเสียหายส่วนแรกคือ “ค่าใช้จ่าย” ที่ต้องจ่ายทุกครั้งเมื่อมีขั้นตอนการเคลมประกัน เนื่องจากเป็นเงื่อนไขที่ทำไว้เพื่อส่วนลดราคาประกันภัยรถยนต์ แต่อย่างที่บอกไปในช่วงแรกแล้วว่าค่าเสียหายส่วนแรกมีอยู่ 2 แบบ คือ ค่า deductible และค่า excess ซึ่งจะแตกต่างกันยังไงไปดูกัน

ค่า deductible คืออะไร ?

deductible แปลว่า “ค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ” พูดง่าย ๆ คือ ค่าเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกัน ‘ยอมจ่าย’ ให้กับบริษัทประกันภัยรถยนต์ทุกครั้งที่มีการเคลมประกันเกิดขึ้น และผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด ซึ่งถ้าหากเลือกซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ผู้เอาประกันสามารถเลือกได้ว่าต้องการที่จะจ่าย deductible หรือไม่ หากเลือกยินยอมที่จะจ่าย ก็จะช่วยลดค่าเบี้ยประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

ยกตัวอย่าง: ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยรายปี 15,000 บาท ผู้เอาประกันเลือกที่จะจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ 5,000 บาท เมื่อหักลบค่าเบี้ยประกันรถยนต์แล้วจะช่วยให้ประหยัดเงินในการซื้อประกันมากขึ้น หมายความว่าค่าเบี้ยประกันรถยนต์ที่ต้องจ่าย คือ 10,000 บาท แต่เมื่อต้องการเคลมประกัน มีขั้นตอนการเคลมประกัน จะต้องชำระค่า deductible ในราคา 5,000 บาท ถึงจะสามารถดำเนินการจัดซ่อมได้

ค่า excess คืออะไร ?

ค่าเสียหายส่วนแรก excess แปลว่า “ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ” ไม่ว่าคุณจะทำประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ 2+ หรือประกันชั้นไหน ๆ ก็ตาม เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์แบบไม่มีคู่กรณีและเป็นอุบัติเหตุบนท้องถนน “แบบไม่ใช่รถชนรถ” เช่น เฉี่ยวกำแพง ชนกระถางต้นไม้ ก้อนหินกระเด็นใส่ ฯลฯ โดยค่า excess จะเรียกเก็บตามจำนวนครั้งที่มีการเคลมประกัน ตั้งแต่ 1,000-5,000 บาท (ส่วนมากจะ 1,000 บาทต่อครั้ง)

แจ้งเคลมประกันทันที สามารถเลี่ยง ค่า excess ได้ไหม ?

กรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนแบบไม่มีคู่กรณี รวมถึงหินกระเด็นใส่ เฉี่ยวชนไม้ และอื่น ๆ แล้วอยากเลี่ยงค่า excess ในแต่ละครั้งสามารถเลี่ยงได้ แต่ผู้เอาประกันจะต้องแจ้งเคลมประกันกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ทันทีที่เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ขึ้น โดยระบุเวลา สถานที่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

หากทำตามนี้ครบ ไม่เก็บไว้เคลมประกันทีเดียวรอบคันในภายหลัง ‘อาจจะ’ ไม่ต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรกส่วนนี้ตามที่ คปภ. กำหนดเอาไว้ในเว็บไซต์ ในกรณีที่โดนเรียกเก็บจากบริษัทประกันแม้จะแจ้งอย่างชัดเจนในทันทีที่เกิดเหตุ ผู้เอาประกันสามารถนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการเคลมประกันไปร้องเรียนได้ที่สำนักงาน คปภ.

เงื่อนไขที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบค่า excess มีอะไรบ้าง ?

เงื่อนไขที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบค่า excess ที่ MrKumka.com

ต้องบอกก่อนว่าการเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ เป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมาย ซึ่งทางภาครัฐมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ขับขี่ทุกคนขับรถด้วยความระมัดระวัง มีวินัย และเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่อาศัยช่องว่างตามกรมธรรม์ ในการทำสีรถยนต์โดยไม่อุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง เพราะจะทำให้ผู้เอาประกันส่วนใหญ่ต้องแบกรับภาระค่าเบี้ยประกันรถยนต์ที่สูงขึ้น

และสำหรับ “เงื่อนไข” ที่ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ (จ่าย) ค่า excess หลัก ๆ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1. กรณีรถยนต์ได้รับความเสียหาย ที่ไม่ได้เกิดจากการชนและคว่ำ

  • ไม่สามารถระบุสาเหตุที่รถยนต์ได้รับความเสียหาย รวมถึงไม่สามารถระบุวัน เวลา และสถานที่ที่รถยนต์ได้รับความเสียหายได้อย่างชัดเจน
  • ความเสียหายอันเนื่องมาจากการมุ่งร้าย เช่น ถูกบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีขูดขีดหรือขีดข่วนรถให้ได้รับความเสียหาย โดยที่ผู้เอาประกันไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำ วัน เวลา และสถานที่ได้อย่างชัดเจน
  • ความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทบกับวัตถุ สิ่งของ ซึ่งทำให้รถได้รับความเสียหายเฉพาะพื้นผิวสีรถ แต่ไม่ได้ทำให้อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถได้รับความเสียหายถึงขนาดบุบ แตก หรือร้าว

ซึ่งกรณีนี้ขั้นตอนการเคลมประกันจะ “ไม่รวม” ความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่ทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวรถ(นอกเหนือจากพื้นผิวของสี) เสียหาย เช่น น้ำท่วม พายุพัดต้นไม้ทำให้รถได้รับความเสียหาย หรือกิ่งไม้ขนาดใหญ่หล่นใส่รถจนบุบ เป็นต้น

2. กรณีรถยนต์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการชนแบบไม่มีคู่กรณี

หมายความว่ารถยนต์คันที่เอาประกันถูกคันอื่น ๆ เฉี่ยวชน หรือไปเฉี่ยวชนคันอื่นได้รับความเสียหาย และผู้เอาประกันไม่สามารถแจ้งบริษัทประกันรถยนต์ได้ว่า “ใครคือคู่กรณี” กรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนแบบไม่ใช่รถชนรถ เช่น ชนรั้ว ต้นไม้ สัตว์ ฯลฯ ซึ่งทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก แต่ต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบได้อย่างชัดเจนถึงลักษณะการเกิดเหตุ วัน เวลา และสถานที่

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ 2+ หรือประกันรถยนต์ ชั้น 3+ ที่สามารถระบุค่า deductible เพื่อใช้เป็นส่วนลดราคาประกันภัยรถยนต์ MrKumka คือหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ มีแผนประกันให้เลือกหลากหลาย เช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องรับแรงกดดันจากตัวแทนขาย ได้รับข้อมูลชัดเจน ไม่มีลูกเล่นทางด้านราคา แถมขั้นตอนการเคลมประกันก็ไม่ยุ่งยาก

deduct คือ ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ แบบนี้ควรจ่ายไหม แบบไหนคุ้มกว่า ?

หลังจากพอจะมองเห็นภาพคร่าว ๆ แล้วว่า deductible แปลว่า “ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ” ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่าแบบนี้ควรจ่ายหรือไม่จ่าย แบบไหนคุ้มกว่ากัน ? ซึ่งคำตอบในประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับความคุณมีความชำนาญในการขับรถมากแค่ไหน

กรณีที่คุณชำนาญมากพอ และมั่นใจว่าการขับขี่ของคุณนั้นปลอดภัย มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ (กรณีเป็นฝ่ายผิด) น้อยมาก การเลือกจ่าย deductible จะตอบโจทย์ได้มากกว่า เพราะจะช่วยให้คุณประหยัดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ในแต่ละปีได้เยอะ หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์และคุณไม่ได้เป็นฝ่ายผิดก็ไม่ต้องจ่ายอะไร

แต่ในทางกลับกันหากคุณไม่มีความชำนาญในการขับรถสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะมือใหม่หัดขับมีโอกาสขับรถชนนั่น เฉี่ยวนี่อยู่บ่อยครั้ง การไม่จ่ายค่า deduct คือตัวเลือกที่ดีกว่า แม้ว่าการเลือกจ่ายจะช่วยลดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ได้ก็จริง แต่คงไม่คุ้มแน่หากคุณต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ “ทุกครั้ง” ที่มีขั้นตอนการเคลมประกันเกิดขึ้น

ควรกำหนดค่า deductible เท่าไหร่ถึงจะดี ?

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ตัดสินใจดีแล้วว่าจะจ่ายค่า deductible แต่ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่า ควรกำหนดค่าเสียหายส่วนแรกส่วนนี้มากหรือน้อย เนื่องจากสามารถระบุได้ตั้งแต่ 1,000 บาท ไปจนถึง 5,000 บาท กำหนดแบบไหนถึงดีกับตัวเองมากที่สุด ? ซึ่งคำตอบในประเด็นนี้ก็ขึ้นอยู่กับ “ความชำนาญและประสบการณ์ในการขับขี่” ของผู้เอาประกันเช่นเดียวกัน

ยิ่งผู้เอาประกันมีประสบการณ์และความชำนาญมาก มั่นใจว่าไม่มีทางเป็นฝ่ายผิดเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เมื่อกำหนดค่า deductible สูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยลดราคาประกันภัยรถยนต์สูงมากเท่านั้น

สรุปให้เห็นภาพชัด ๆ ค่า deductible และค่า excess ต่างกันยังไง ?

ผู้เอาประกันหลายคนเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ อาจยังมองภาพไม่ค่อยออก แม้จะรู้แล้วว่า deduct คืออะไร และ excess แปลว่าอะไร ? ก็ตาม ถ้าอย่างนั้นเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น MrKumka ขอสรุปชัด ๆ อีกครั้งเป็นการทิ้งท้ายสำหรับค่าเสียหายส่วนแรก ในกรณี “เคลมประกันแบบไม่มีคู่กรณี หรือไม่สามารถระบุสาเหตุได้” ดังนี้

  • 1. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1

    หากระบุ/สมัครใจที่จะจ่าย deductible จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันต้องควักจ่ายค่า deduct คือ 1,000 - 5,000 บาท (ระบุได้เองตามความสมัครใจ) + ค่า excess (ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ) จำนวน 1,000 บาท/เหตุการณ์

  • 2. ประกันรถยนต์ชั้น 1 Low Cost

    ทางบริษัทประกันรถยนต์จะกำหนดค่า deductible มาให้ โดยทั่วไปจะกำหนดไว้ที่ 3,000 บาท + ค่า excess (ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ) จำนวน 1,000 บาท/เหตุการณ์

  • 3. ประกันรถยนต์ 2+ และ ประกันรถยนต์ 3+

    เนื่องจากประกันรถยนต์ 2+ และประกันรถยนต์ 3+ ไม่ได้ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรืออุบัติเหตุบนท้องถนนแบบไม่มีคู่กรณี ดังนั้นผู้เอาประกันไม่ต้องจ่ายค่า excess แต่ถ้าหากต้องการเคลมประกัน “เจ้าของรถ” จะต้องเป็นฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าซ่อมเอง แต่สามารถระบุค่า deductible ได้ตามจำนวนที่บริษัทประกันระบุไว้ คือ 2,000 บาท

เชื่อว่าหลายคนคงพอเข้าใจแล้วว่าค่าเสียหายส่วนแรก คือ อะไร ทั้งค่า deductible และค่า excess แม้ว่าค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ จะมีข้อดีในเรื่องของการเป็น “ส่วนลด” ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ แต่ MrKumka อยากให้ผู้เอาประกันทุกคนขับขี่อย่างระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และไม่ต้องควักกระเป๋าออกมาจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกส่วนนี้

คำจำกัดความ
ผู้เอาประกัน คนที่ทำประกันและได้รับความคุ้มครองเมื่อป่วย, เกิดอุบัติเหตุ, หรือเสียชีวิต
ประกันรถยนต์ชั้น 1 Low Cost ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ในราคาถูก ประหยัด และคุ้มค่า แต่ไม่สามารถเลือกซ่อมศูนย์ได้ ต้องซ่อมอู่ในเครือของบริษัทประกันเท่านั้น
คู่กรณี บุคคลหรือฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ รวมถึงผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด.

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่