ชี้ชัด ๆ ประกันรถยนต์ vs ประกันอะไหล่รถยนต์ ต่างกันยังไง ?

แชร์ต่อ
ชี้ชัด ๆ ประกันรถยนต์ vs ประกันอะไหล่รถยนต์ ต่างกันยังไง ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

ผู้ใช้รถหลายคนน่าจะรู้จักเรื่องประกันรถยนต์กันดีอยู่แล้ว ว่าเป็น “ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ” และเหตุผลที่หลาย ๆ คนเลือกซื้อประกันรถยนต์ประเภทนี้ ประสงค์คือเพื่อต้องการเพิ่มความสบายใจ และความอุ่นใจทุกครั้งที่ใช้รถใช้ถนน หมดห่วงเรื่องซ่อมเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ถ้าหากพูดถึงประกันอะไหล่รถยนต์ น่าจะมีไม่มากนักที่เข้าใจว่าคืออะไร ? คุ้มครองยังไงให้รถคุณ และจำเป็นต้องติดรถไว้ด้วยไหม ? มิสเตอร์ คุ้มค่า จะพาคุณไป “ชี้ชัด ๆ” กับความต่าง ของประกันทั้ง 2 แบบนี้ เชิญทัศนา

ประกันรถยนต์ คืออะไร ?

ต้องบอกก่อนว่าประกันรถยนต์ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งให้ความคุ้มครองแตกต่างกัน ดังนี้

1. ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

หรือที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในชื่อว่า พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นประกันที่กำหนดให้เจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองรถทุกคันมีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หากคันไหนไม่ทำ หรือทำแล้วแต่ปล่อยให้ขาด (หมดอายุ) จะมีโทษทางกฎหมายตามมา

2. ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2, ประกันชั้น 2+, ประกันชั้น 3 และประกันชั้น 3+ ซึ่งในส่วนนี้ไม่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย จะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่ความคุ้มครองของประกันรถยนต์ประเภทนี้ จะช่วยแบ่งเบา “ค่าซ่อม” และความเสียหาย ๆ ที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ ได้มากกว่า พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะ “บุคคล”

เบี้ยประกันรถยนต์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง ?

เชื่อว่าหลายคนคงเกิดความสงสัยว่าทำไมประกันรถยนต์ แต่ละประเภท ถึงมีเบี้ยประกันรถยนต์แตกต่างกัน บอกไว้ตรงนี้เลยว่าค่าเบี้ยที่ควรเช็คราคาประกันรถยนต์ ก่อนตัดสินใจซื้อ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ดังนี้

  1. อัตราค่าเบี้ยประกันรถยนต์ภาคบังคับ ขึ้นอยู่กับประเภทรถ
  2. อัตราค่าเบี้ยประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
    • กลุ่มรถยนต์
    • อายุรถยนต์
    • จำนวนเงินเอาประกัน
    • อุปกรณ์เพิ่มเติมพิเศษ
    • เบี้ยประกันภัยพื้นฐานตามประเภทรถ
    • ลักษณะการใช้รถ
    • ขนาดรถยนต์
    • จำนวนผู้ขับขี่

อ้างอิงจาก “คำสั่งนายทะเบียนที่ 10/2563” เรื่องให้ใช้แบบข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมธรรม์ประกันรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ ที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ นอกเหนือจากความคุ้มครองที่จะได้รับจาก พ.ร.บ.รถยนต์ แนะนำ เช็คเบี้ยประกันรถยนต์และความคุ้มครองต่าง ๆ ให้ดี เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ ราคาสบายกระเป๋าตามที่ต้องการมากที่สุด

ประกันอะไหล่รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ?

​​ประกันอะไหล่รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ?​ | มิสเตอร์ คุ้มค่า

สำหรับคนที่กำลังหาคำตอบว่าประกันอะไหล่รถยนต์คืออะไร ? คุ้มครองอะไรบ้าง ? ตอบตรงนี้เลยว่า หากคุณซื้อประกันรถยนต์ประเภทนี้ คุณจะได้รับความคุ้มครองส่วนของอะไหล่รถ ชิ้นไหนเสีย ถ้าอยู่ในการคุ้มครองจะเคลมการซ่อมให้ “ไม่ต้องเกิดอุบัติเหตุ” ทั้ง ระบบไฟฟ้า ระบบเกียร์ ระบบเครื่องยนต์ ระบบความปลอดภัย ตลอดจนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอย่างครบครัน โดยให้ความคุ้มครองอะไหล่/ชิ้นส่วนต่าง ๆ ดังนี้

  • 1. ระบบเกียร์

    • เพลารอง/เพลารับกำลัง, เพลาหลัก/เพลาขับ, เพลาเสริม
    • เฟืองเกียร์, เฟืองจักรวาล (เพเนตตารี่เกียร์)
    • ชุดแหวนซิงโครเมช
    • ลูกปืนภายในเกียร์
    • ก้ามปูเกียร์, เสื้อเกียร์, เบรกเกียร์, โมดูลระบบเกียร์ธรรมดาและอัตโนมัติ, ระบบส่งสัญญานระบบเกียร์แบบจาน, พู่เล่ย์เกียร์ CVT, ชิ้นส่วนที่เป็นกลไกของระบบเกียร์
    • ปั๊มคลัตช์, ปั๊มน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
    • ชุดตลับซิงโครไนเซอร์
    • ทอร์คคอนเวอร์เตอร์
    • ชุดหล่อเย็นน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
  • 2. เครื่องยนต์

    • ลูกสูบ, ก้านสูบ, ลูกปืนก้านสูบ,
    • เพลาข้อเหวี่ยง, เซนเซอร์วัดตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง
    • ลูกปืนหลัก
    • วาล์ว, ชุดวาล์ว, ปลอกวาล์ว, วาล์วระบายแรงดันปั๊มน้ำมันเครื่อง
    • เพลาลูกเบี้ยว
    • เสื้อสูบ, ฝาสูบ, ปะเก็นฝาสูบ, แหวนลูกสูบ, กระบอกสูบ
    • ล้อช่วยแรง
    • โซ่ไทม์มิ่ง, เฟืองไทม์มิ่ง, สายพานไทม์มิ่ง
    • ปั๊มน้ำมันเครื่อง, เสื้อไส้กรองน้ำมันเครื่อง
    • ลูกกระทุ้ง
    • เครื่องยนต์แบบประกอบครึ่งท่อน, เครื่องยนต์แบบประกอบ3/4ท่อน, เครื่องยนต์แบบประกอบสำเร็จ
    • ล้อช่วยแรงแบบไฮโดรลิกสปริง
  • 3. ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

    • ปั๊มในถังน้ำมันเชื้อเพลิง, ปั๊มหัวฉีด
    • เซนเซอร์วัดปริมาณอากาศในท่อร่วมไอดี, เซนเซอร์สมดุลแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง, เซนเซอร์อุณหภูมิท่อไอเสีย
    • วาล์วกระจายเชื้อเพลิง, วาล์วหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง, วาล์วควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง
    • กล่องอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมระบบเครื่องยนต์
    • เทอร์โบชาร์จเจอร์, ซูเปอร์ชาร์จ
    • อุปกรณ์ควบคุมวาล์วหรือมอเตอร์ของลิ้นปีกผีเสื้อ, อุปกรณ์ควบคุมวาล์วหรือมอเตอร์ท่อร่วมไอดี
    • ฮีตเตอร์ระบบแอดบลู, ปั๊มแอดบลู, กล่องควบคุมระบบแอดบลู, หัวฉีดแอดบลู
    • ลิ้นปีกผีเสื้อไฟฟ้าระบบไอเสีย
  • 4. ระบบส่งกำลัง

    • เพลาขับ
    • ระบบป้องกันการลื่นไถล, ชุดไฮโดรลิกระบบป้องกันการลื่นไถล, ตัวสะสมความดันระบบป้องกันการลื่นไถล, ปั๊มไฮโดรลิคระบบป้องกันการลื่นไถล
    • ลูกปืนเพลากลาง, ลูกปืนล้อ
  • 5. ระบบบังคับเลี้ยว

    • ชุดเฟืองระบบบังคับเลี้ยว
    • แร็คพวงมาลัย, ปั๊มน้ำมันระบบพวงมาลัย
    • กล่องควบคุมระบบบังคับเลี้ยว
    • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของพวงมาลัย
    • มอเตอร์ช่วยแรงระบบบังคับเลี้ยว
    • เซนเซอร์วัดองศาพวงมาลัย, เซนเซอร์วัดแรงบิดระบบบังคับเลี้ยว
    • สวิตซ์แรงดันน้ำมันพาวเวอร์
    • ล็อกคอพวงมาลัยไฟฟ้า
  • 6. ชุดเฟืองท้าย เพลากลาง

    • ลูกปืนระบบเฟืองท้าย
    • ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ
    • เฟืองดอกจอก, ชุดเฟืองท้ายแบบประกอบสำเร็จ, เฟืองบายศรี, เฟืองเดือยหมู, เฟืองจักรวาล, ชุดล็อกเฟืองท้ายระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ
    • เสื้อเพลา, เสื้อเฟืองท้าย
    • แผ่นชิม
    • คลัทช์เฟืองท้ายแบบมัลติดิส
    • หน้าแปลนเฟืองท้าย
  • 7. ระบบไฟฟ้า

    • ไดชาร์จ
    • อุปกรณ์รักษาแรงตึงแบบไฟฟ้า, อุปกรณ์ประมวลผลการเดินทาง
    • มอเตอร์สตาร์ต, มอเตอร์ปัดน้ำฝน, มอเตอร์และชุดกำเนิดไฟ
    • โซลินอด์ยสวิตซ์, สวิทซ์สตาร์ต/ดับเครื่องยนต์
    • จานจ่าย
    • กล่องควบคุมการจุดระเบิด, ชุดสายไฟระบบจุดระเบิด, กล่องอิเล็คทรอนิกส์ควบคุมระบบไฟฟ้าตัวถัง, กล่องควบคุมการช่วยจอด, กล่องควบคุมระบบ Immobilizer
    • คอล์ยจุดระเบิด
    • แตร
    • เรือนไมล์
    • สายหัวเทียน
    • พัดลมแอร์ในห้องโดยสาร
    • เซนเซอร์วัดกระแสไฟฟ้าแบบฮอลล์
    • กล่องฟิวส์
    • รีเลย์หัวเผา
  • 8. ระบบความปลอดภัย

    • กล่องควบคุมระบบความปลอดภัย, กล่องควบคุมระบบดึงกลับของเข็มขัดนิรภัย, กล่องควบคุมระบบรักษาช่องทางการขับขี่, กล่องอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมระบบเตือนการชนล่วงหน้า, กล่องควบคุมระบบตรวจวัดลมยาง, กล่องควบคุมระบบรักษาเสถียรภาพการขับขี่, กล่องควบคุมระบบป้องกันการลื่นไถล
    • สายไฟระบบถุงลมนิรภัย และระบบดึงกระชับเข็มขัดนิรภัย
    • สลิปริงค์
    • เซนเซอร์วัดแรงชน, เซนเซอร์ใต้เบาะวัดน้ำหนักผู้โดยสาร, เซนเซอร์วัดแรงดันลมยาง, เซนเซอร์วัดแรงเหวี่ยงตัวถัง (Lateral), เซนซอร์วัดแรงดันน้ำมันเบรค, เซนเซอร์วัดแรงเหวี่ยงตัวถัง (Yaw)
    • ปลั๊กข้อต่อของระบบความปลอดภัย
  • 9. ระบบหล่อเย็น

    • หม้อน้ำ, ปั๊มน้ำ, ปั๊มน้ำเสริม, วาล์วน้ำ
    • แผงระบบทำความร้อน, พัดลมระบายความร้อน, เซนเซอร์ควบคุมการทำงานพัดลมระบายความร้อน
    • คลัตช์พัดลม
    • กล่องควบคุมระบบพัดลมระบายความร้อน หรือเสื้อวาล์วน้ำ
  • 10. ระบบเบรค

    • แม่ปั๊มเบรก, ปั๊มสุญญากาศระบบเบรก
    • หม้อลมเบรก
    • ลูกสูบเบรก
    • ชุดควบคุมระดับแรงดันน้ำมันเบรก, กล่องควบคุมระบบเบรก ABS, กล่องควบคุมระบบเบรกแบบลม, กล่องควบคุมระบบเบรกมือ
    • คาลิเปอร์เบรก
    • อุปกรณ์สะสมแรงดันระบบเบรกแบบลม
  • 11. ระบบไอเสีย

    • ออกซิเจนเซนเซอร์
    • ปั๊มลมระบบไอเสีย
    • วาล์วปั๊มลมระบบไอเสีย หรือระบบระบายความร้อน EGR
  • 12. ระบบปรับอากาศ

    • คอมเพรสเซอร์ระบบปรับอากาศ
    • คอยล์ร้อน, คอยล์เย็น
    • พัดลมระบายความร้อนระบบปรับอากาศ
    • แผงควบคุมระบบปรับอากาศแบบอัตโนมัติ, กล่องควบคุมระบบปรับอากาศ หรือคลัตช์คอมเพรสเซอร์
  • 13. อุปกรณ์อำนวยความสะดวก

    • มอเตอร์ยกกระจกประตู, มอเตอร์ซันรูฟ, มอเตอร์เซนทรัลล็อก,
    • กล่องควบคุมการปรับเบาะ, กล่องควบคุมระบบกระจกไฟฟ้า, กล่องควบคุมระบบซันรูฟ, กล่องควบคุมระบบกระจกมองข้าง, กล่องควบคุมระบบหลังคาแบบพับเก็บได้, กล่องควบคุมระบบประตู
    • สวิตซ์ยกกระจกประตู, สวิตซ์ควบคุมซันรูฟ, สวิตซ์เซนทรัลล็อก
    • ระบบไล่ฝ่ากระจกหน้า, ระบบไล่ฝ่ากระจกหลัง
  • 14. ระบบรองรับน้ำหนัก

    • ปีกนกรถยนต์
    • ชิ้นส่วนไฟฟ้าระบบรองรับน้ำหนัก
    • เหล็กกันโคลง, บูชเหล็กกันโคลง
    • ลูกหมากกันโคลง, ลูกหมาก, ลูกหมากปีกนก
    • โช้คอัพ
    • คอม้า
    • สปริง
    • ทอร์ชั่นบาร์
    • แหนบรถยนต์
    • เทรลลิ่งอาร์ม

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนประกันของแต่ละบริษัทเป็นหลัก แนะนำให้ตรวจสอบรายละเอียดและเงื่อนไขความคุ้มครองให้ดีก่อน แต่ยิ่งคุ้มครองครอบคลุมมากเท่าไหร่ เบี้ยประกันรถยนต์จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย จึงจำเป็นต้องเช็คราคาประกันรถยนต์ประเภทนี้ให้ดี หากไหวสามารถซื้อให้ครบได้เลย หรือถ้ามองว่าสูงไปก็สามารถเลือกแผนประกันที่ตอบโจทย์ได้ตามต้องการ

ประกันอะไหล่รถยนต์ จำเป็นแค่ไหน ?

แยกจำง่าย ๆ ประกันรถยนต์คือคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ส่วนประกันอะไหล่จะคุ้มครองเมื่อรถเสีย แต่คำถามก็คือ ประกันอะไหล่รถยนต์จำเป็นแค่ไหน ? จริง ๆ แล้วประกันประเภทนี้ ถือเป็น “ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ” จะทำหรือไม่ทำก็ได้ เช่น อะไหล่ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ราคาไม่แพง อาจไม่จำเป็นต้องซื้อ หรือถ้าหากอะไหล่ชิ้นนั้น ๆ เป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนรถ หากได้รับความเสียหายค่าซ่อมสูงมาก ๆ แบบนี้ประกันอะไหล่จำเป็นกว่า

ในความเป็นจริงแล้ว การใช้รถใช้ถนนทุกวัน ชิ้นส่วนหรืออะไหล่ต่าง ๆ มีโอกาสเกิดความเสียหายได้เสมอ และไม่มีทางรู้เลยเลยว่าจะเสียหายส่วนไหน มากน้อยอย่างไร ดังนั้นการซื้อประกันอะไหล่รถยนต์จะช่วยให้อุ่นใจได้มากกว่า แต่จะดีกว่านั้นหากคุณ “เช็คระยะรถยนต์” ตามกำหนด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมา

รถยนต์แบบไหนควรซื้อประกันอะไหล่รถยนต์

อีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนสงสัยไม่แพ้กัน คือ รถแบบไหนควรทำประกันอะไหล่รถยนต์บ้าง ๆ มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้ลิสต์ 4 ประเภทรถมาให้เช็คเรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย!

  • 1. รถแบรนด์ใหม่ ที่เพิ่งทำการตลาดได้ไม่นาน

    ในปัจจุบันมีแบรนด์รถยนต์ใหม่ ๆ เปิดตัวมากมาย ความน่าเชื่อถือน้อยกว่ารถตลาดทั่วไป ไม่มีใครรู้ว่าจริง ๆ แล้วทน ถึกหรือไม่ ดังน้ันการซื้อประกันรถยนต์ และประกันอะไหล่รถยนต์เอาไว้ จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจและลดภาระค่าใช้จ่ายได้ดีพอสมควร

  • 2. รถที่ใช้งานมานาน

    รถยนต์ที่ใช้งานมานาน เลขไมล์เยอะ มีโอกาสในการเปลี่ยนอะไหล่บางชิ้นมากกว่ารถใหม่ และไม่อาจรู้ได้ล่วงหน้าเลยว่า อนาคตจะต้องเปลี่ยนชิ้นไหน ราคาเท่าไหร่ หากต้องการความอุ่นใจ การซื้อประกันอะไหล่เอาไว้จะช่วยได้ไม่แพ้กัน

  • 3. รถมือสอง

    รถมือสองควรค่าแก่การซื้อประกันอะไหล่รถยนต์ ไม่แพ้ไปกว่ารถเก่าที่ใช้งานมานาน เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่ารถที่เปลี่ยนมือมาแล้ว มีอะไหล่ชิ้นไหนเสื่อมสภาพ จากการดูแลไม่ถูกวิธีบ้างหรือเปล่า

  • 4. รถยนต์ที่ราคาอะไหล่ค่อนข้างสูง

    สำหรับรถที่ค่าอะไหล่ค่อนข้างสูง หรือประเมินไม่ได้ว่าชิ้นส่วนไหนราคาเท่าไหร่ การเลือกซื้อประกันอะไหล่รถยนต์ถือว่าคุ้มกว่ามาก ๆ เมื่อเทียบกับค่าซ่อมที่ต้องควักจ่ายเอง

สำหรับคนที่สนใจอยากจะซื้อทั้งประกันรถยนต์และประกันอะไหล่รถยนต์ แนะนำให้เช็คประกันรถยนต์ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นค่าเบี้ย ความคุ้มครอง ว่าตอบโจทย์ความต้องการได้จริงไหม? เพื่อให้การเดินทางของคุณอุ่นใจ ไร้กังวล แถมยังไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงลำพังอีกด้วย

คำจำกัดความ
​​รถตลาด ​รถที่ได้รับความนิยม
​เบี้ยประกันรถยนต์ ​จำนวนเงินที่ต้องเสียให้กับบริษัทประกัน ในการซื้อความคุ้มครองจากประกันภัย
​ข้อผูกพันตามกฎหมาย ​ภาระผูกพันที่เกิดจากรายการใด รายการหนึ่งต่อไปนี้ 1. สัญญา (ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างชัดแจ้งหรือโดยนัย) 2. กฎหมายที่ใช้บังคับ 3. กระบวนการตามกฎหมายอื่น​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่