หัวข้อที่น่าสนใจ
- รู้จักหน่อย พ.ร.บ. รถ คืออะไร ทำไมไม่ควรปล่อยให้ขาด ?
- การเบิก พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ สามารถเบิกอะไรได้บ้าง ?
- 1. ค่าเสียหายเบื้องต้น ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด
- 2. ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่เป็นฝ่ายถูก
- เบิกได้ไหม หากรถล้ม ไม่มี พ.ร.บ. ?
- รถยนต์ กับการเบิก พ.ร.บ. รถ มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง ?
- เอกสารเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ มีอะไรบ้าง ?
หลายครั้งที่รถมอเตอร์ไซค์เกิดอุบัติเหตุรถล้มบนท้องถนน ไม่ว่าจะกรณีล้มเอง โดนตัดหน้า หรือใด ๆ ก็ตาม มักต้องจบที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเองทั้งหมด เพราะหลายคนไม่รู้เกี่ยวกับการเบิก พ.ร.บ. รถ ว่าสามารถเบิกได้ไหมหรือต้องทำยังไง มิสเตอร์ คุ้มค่า จึงได้ลิสต์ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการเคลม พ.ร.บ. มาให้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น อะไรต้องรู้เป็นพื้นฐานเพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ที่ควรได้รับจากอุบัติเหตุ ตามไปดูกันเลย
รู้จักหน่อย พ.ร.บ. รถ คืออะไร ทำไมไม่ควรปล่อยให้ขาด ?
ก่อนไปทวงถามเรื่องสิทธิต่าง ๆ โดยเฉพาะการเคลม พ.ร.บ. อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่าคำคำนี้หมายความว่าอะไร “พ.ร.บ.” ที่ได้ยินผ่านหูกันบ่อย ๆ หมายถึงพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือ “ประกันภัยภาคบังคับ” ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก ต้องจัดให้มีประกัน ‘อย่างน้อยที่สุด’ คือ การทำ พ.ร.บ.
โดยวัตถุประสงค์ของประกันภัยประเภทนี้ ก็เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ประสบเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลนั้น ๆ เป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นคำตอบว่าทำไม คุณถึงไม่ควรปล่อยให้รถ พ.ร.บ. ขาดต่อ เพราะมันสามารถช่วยคุ้มครองคุณเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนน ช่วยผ่อนหนักเป็นเบาเรื่องค่าใช้จ่าย อย่างน้อยที่สุดไม่ต้องเสียค่าประกันภาคสมัครใจเพิ่ม มีประกันภาคบังคับนี้เป็นพื้นฐานไว้ช่วยให้อุ่นใจระดับหนึ่งได้
การเบิก พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ สามารถเบิกอะไรได้บ้าง ?
สำหรับคนที่สงสัยตั้งคำถามว่ารถมอเตอร์ไซค์สามารถเคลม พ.ร.บ. ได้ไหม และเคลมอะไรได้บ้าง โดยแบ่งการเบิก พ.ร.บ. รถออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด
เมื่อเกิดอุบัติเหตุล้มรถ พ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น โดยครอบคลุมทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร แม้จะยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูกหรือผิดก็ตาม ทั้งนี้สามารถเบิกจ่ายได้ทันที ดังนี้
- กรณีได้รับบาดเจ็บ จะได้รับเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง วงเงินไม่เกิน 30,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาท/คน
- หากเข้าข่ายทั้งสองกรณีข้างต้น จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท/คน
2. ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่เป็นฝ่ายถูก
เมื่อเกิดอุบัติเหตุและได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก พ.ร.บ.จะชดเชยค่าสินไหมทดแทนให้ โดยครอบคลุมทั้งตัวผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) ในวงเงินไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ จะได้เงินชดเชยจำนวน 300,000 บาท
- เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วทำให้สูญเสียอวัยวะบางส่วน จะได้รับค่าชดเชย 200,000 บาท สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน จะได้รับค่าชดเชย 250,000 บาท และสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ได้รับค่าชดเชย 300,000 บาท
- หากต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือเป็นผู้ป่วยใน จะได้รับค่าชดเชยวันละ 200 บาท แต่ต้องไม่เกิน 20 วัน
เบิกได้ไหม หากรถล้ม ไม่มี พ.ร.บ. ?
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าถ้าหากรถล้ม ไม่มี พ.ร.บ. ต้องทำยังไง เบิกค่ารักษาพยาบาลกับใครได้บ้าง ในส่วนนี้จะต้องเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก “กองทุนเงินทดแทน หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ” แทน และอาจต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นที่เบิกมา พร้อมดอกเบี้ย 20% คืนให้กับกองทุนในกรณีที่เป็นฝ่ายผิด รวมถึงยังต้องจ่ายค่าปรับกรณีใช้รถที่ไม่มี พ.ร.บ. อีกต่างหาก
โดยสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้ทั้งค่ารักษาพยาบาลตามจริง รายละไม่เกิน 15,000 บาท/คน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ รายละไม่เกิน 35,000 บาท จากนั้นกองทุนจะดำเนินการเรียกคืนค่าเสียหายที่จ่ายไปจากเจ้าของรถ (ฝ่ายผิด)
ถ้ามี พ.ร.บ. แต่ไม่มีคู่กรณีล่ะ เบิกได้หรือเปล่า ?
ในกรณีที่ “ รถล้มเอง “ เช่น เสียหลักชนกับสิ่งกีดขวาง ก็สามารถเคลม พ.ร.บ. ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ความผิด ดังนี้
- กรณีได้รับบาดเจ็บ จะได้รับเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) วงเงินไม่เกิน 30,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาท/คน
- หากเข้าข่ายทั้ง 2 กรณีข้างต้น จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท/คน
ในกรณีที่รถล้มเอง เบิก พ.ร.บ. ไม่มีใบขับขี่ หรือใบขับขี่หมดอายุก็สามารถใช้สิทธิ์ พ.ร.บ. ได้ ขอแค่ พ.ร.บ. รถไม่หมดอายุก็เพียงพอแล้ว เห็นแล้วใช่ไหมว่า พ.ร.บ. สำคัญมากแค่ไหน
รถยนต์ กับการเบิก พ.ร.บ. รถ มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง ?
สำหรับ พ.ร.บ. รถยนต์ ก็ให้ความคุ้มครองไม่ต่างจาก พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ เลยสักนิด แต่จะมีเพิ่มเติมในส่วนของ “ค่าเสียหายส่วนเกิน” ซึ่งจะจ่ายหลังจากพิสูจน์ความผิดแล้ว โดยบริษัทประกันของฝ่ายผิด จะเป็นคนชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ประสบภัย หรือทายาทของผู้ประสบภัย ซึ่งแบ่งเป็นกรณีดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ จะจ่ายค่าชดเชยค่ารักษาพยาบาล รวมค่าสินไหมทดแทนให้ไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะจ่ายชดเชยให้ทั้งหมดเป็นจำนวน 300,000 บาท ซึ่งรวมถึงค่ารักษาพยาบาลด้วย
เอกสารเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ มีอะไรบ้าง ?
สำหรับคนที่ต้องการเบิก พ.ร.บ. รถ จำเป็นต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ให้พร้อม
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้ใบสูติบัตรแทน)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
- สำเนาใบขับขี่พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่)
- ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์
กรณีบาดเจ็บ
- สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังเดินทางของผู้ประสบภัย
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
กรณีเสียชีวิต
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
กรณีทุพพลภาพ
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบเหตุ
- ใบรับรองแพทย์ และหนังสือรับรองการเป็นผู้พิการ
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบเหตุได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล (ผู้ป่วยใน)
- ใบรับรองแพทย์ หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
- สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
ในกรณีที่ต้องการความคุ้มครองที่มากกว่า โดยเฉพาะ “ค่าซ่อม” การทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือชั้นไหน ๆ ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะนอกจากจะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ฯลฯ ก็ยังมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง ที่คอยอยู่เคียงข้างคุณทุกเหตุการณ์ เข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์ กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนได้ เพื่อความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ แถมราคาสบายกระเป๋าสุด ๆ
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร ?
อีกหนึ่งประเด็นที่ควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม คือ “ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ “ ซึ่งก็การเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน กรณีถูกรถชน จากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี เพื่อใช้เป็นค่าเดินทางในระหว่างนำรถยนต์ส่งซ่อม โดยมีรายละเอียดที่จำเป็นต้องรู้ ดังนี้
อัตราขั้นต่ำค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
- รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
- รถยนต์รับจ้างสาธารณะไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
- รถยนต์ขนาดเกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
- รถประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามข้อ 1-3 โดยเฉพาะ “รถมอเตอร์ไซค์” ให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องและตกลงกันได้ โดยพิจารณาจากหลักฐานเป็นกรณีไป
ในกรณีที่คู่กรณีไม่มีประกันชั้น 2+ หรือประกันชั้นไหน ๆ เลยก็ตาม คุณก็ยังสามารถเรียกร้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ได้ แต่จะเป็นการเรียกร้องจากคู่กรณีโดยตรง
แนะนำให้ทำเป็นหนังสือหรือแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนรถชน ที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ว่าคู่กรณีจะชดใช้เท่าไหร่ จ่ายภายในระยะเวลากี่วัน เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับยืนยันในภายหลัง เมื่อไม่มีการชดใช้ตามที่ตกลงกันไว้
จะเห็นได้ว่าทั้ง พ.ร.บ. (ประกันภาคบังคับ) และประกันภาคสมัครใจ ล้วนมีความสำคัญมาก ๆ เพราะนอกจากจะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล พ.ร.บ. รถยนต์ รวมถึงกรณีรถล้มได้แล้ว ประกันภาคสมัครใจยังมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ที่พร้อมอยู่เคียงข้างคุณทุกเหตุการณ์ หากกำลังมองหาประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ แนะนำให้เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ให้ดีก่อน เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวคุณเอง
คำจำกัดความ
ค่าสินไหมทดแทน | เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน หรือแก่บุคคล อันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย |
ครอบคลุม | แผ่ไปถึง, รวมไปถึง |
มรณบัตร | หนังสือสำคัญที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายออกให้เป็นหลักฐานแสดงรายการคนตายแก่ผู้แจ้ง |