หากพูดถึง เคลมประกันรถยนต์ ไม่มีคู่กรณี หลายคนคงเข้าใจดีอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่มักคิดว่าการเคลมประกันรูปแบบนี้ “ยุ่งยาก” เนื่องจากเป็นการชนกับสิ่งของหรือวัตถุต่าง ๆ เช่น เสาไฟฟ้า รั้วกำแพง กระถางต้นไม้ หรืออื่น ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด มีรายละเอียดเป็นอย่างไรและเป็นประโยชน์ต่อการเคลมประกันรถยนต์มากแค่ไหน ? มิสเตอร์ คุ้มค่า จะเล่าให้ฟัง
4 ขั้นตอน เคลมประกันรถยนต์ ไม่มีคู่กรณี ง่าย ๆ
ต้องบอกก่อนว่าการ “เคลมประกัน ไม่มีคู่กรณี” มีเพียงประกันรถยนต์ชั้น 1 เท่านั้น สามารถแจ้งเคลมประกันได้ทันที (เคลมสด) หรือปล่อยเวลาไว้ประมาณ 2-3 วันแล้วค่อยแจ้งเคลม (เคลมแห้ง) โดยมีขั้นตอนการแจ้งเคลมดังนี้
1. โทรแจ้งบริษัทประกันภัย
หากเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี แนะนำให้โทรแจ้งบริษัทประกันภัยให้ทราบ พร้อมกับแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง เช่น เกิดเหตุบริเวณไหน ลักษณะการเกิดเหตุ ทะเบียนรถ เลขกรมธรรม์ ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้เอาประกัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เข้ามาตรวจสอบและเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุ ยิ่งแจ้งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งช่วยให้การเก็บหลักฐานง่ายยิ่งขึ้น
2. รวบรวมเอกสารประกอบการเคลม
หลังจากที่แจ้งรายละเอียดต่าง ๆ กับบริษัทประกันภัยเรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อมาให้จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม เช่น ใบเคลม กรมธรรม์ บัตรประชาชน เล่มทะเบียนรถ ใบขับขี่ รวมถึงภาพถ่ายความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยดำเนินการเคลมตามขั้นตอนต่อไป ในกรณีที่โดนชนแล้วหนี หากมีกล้องหน้ารถหรือจำทะเบียนรถของคู่กรณีได้ ให้แจ้งรายละเอียดเพื่อนำไปดำเนินคดีได้
3. นัดหมายเพื่อประเมินสภาพรถ
หลังจากบริษัทได้รับเอกสารทุกอย่างครบถ้วนแล้ว บริษัทฯ จะทำการนัดหมายเพื่อตรวจประเมินสภาพรถ ว่าตรงตามที่แจ้งไว้ในตอนแรกหรือไม่ พร้อมกับออกใบประเมินความเสียหาย โดยสามารถส่งไปเคลมในศูนย์รถยนต์ในเครือของบริษัทประกันภัยได้ทันที
4. นำรถยนต์เข้าจัดซ่อม
เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนเมื่อข้างต้นเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลานำรถยนต์ของคุณจัดซ่อมแล้ว ซึ่งสามารถนำไปซ่อมเมื่อไหร่ก็ได้ที่คุณสะดวก แต่จงจำไว้เสมอว่า “ใบเคลมมีอายุ 1 ปีเท่านั้น” เมื่อนำรถไปซ่อมที่ศูนย์บริการหรืออู่ในเครือ เพียงแค่นำใบเคลมพร้อมกับเซ็นเอกสารสั่งซ่อม ทางศูนย์หรืออู่ก็จะทำการประเมินและนัดวันรับรถทันที
ค่า Excess คืออะไร ?
หลายคนที่ทำ “ประกันรถยนต์” คงเคยได้ยินคำว่า Excess หรือ “ค่าเสียหายส่วนแรก” มาบ้างแล้ว แต่อาจเป็นการเข้าใจเพียงผ่าน ๆ เท่านั้น เราจึงได้รวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ มาอธิบายให้คุณเข้าใจอีกครั้ง โดยเฉพาะคนที่สงสัยว่า “จ่ายค่าเบี้ยประกันแล้ว ทำไมยังต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกอีก” คำตอบมีอยู่ด้วยกัน 2 ข้อ ดังนี้
- เพื่อให้ผู้เอาประกันไม่ขับขี่รถยนต์ด้วยความประมาท ไม่ใช้รถใช้ถนนด้วยความคิดที่ว่า “จะขับแบบไหนก็ได้” เนื่องจากรู้อยู่ว่าประกันเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
- เพื่อป้องกันผู้เอาประกันแจ้งเคลม ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุจริง เช่น ใช้คัตเตอร์กรีดรอบตัวรถ เพียงเพราะต้องการทำสีรถใหม่ เป็นต้น
กรณีไหนบ้างที่ต้องเสีย vs ไม่เสียค่า Excess
เมื่อทำความเข้าใจความหมายของค่า Excess เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่คุณยังมองภาพว่าจะต้องจ่ายตอนไหน เราได้ลิสต์ “กรณีที่ต้องจ่ายและไม่จ่ายค่า excess” มาให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะมีกรณีไหนบ้างนั้น ไปดูพร้อม ๆ กับเราได้เลย
กรณีที่ต้องเสียค่า excess
กรณีที่รถยนต์ของคุณ “เกิดความเสียหายแต่ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้” รวมถึงมีสาเหตุที่ไม่ชัดเจน ดังนี้
- หากรถยนต์ของคุณมีรอยขีดข่วนจากของมีคม หรือถูกกลั่นแกล้ง
- รถยนต์ของคุณเฉี่ยวชนกับวัตถุต่าง ๆ เช่น ลวดหนาม เสาไฟฟ้า รั้ว ฯลฯ
- ถูกสัตว์กัด ข่วน หรือแทะ
- มีรอยบุบเนื่องจากหินหรือวัตถุ/วัสดุต่าง ๆ กระเด็นใส่
- รถยนต์ตกหลุม หรือครูดไปกับพื้นถนน
แต่ต้องบอกก่อนว่า “เงื่อนไขความคุ้มครอง” ในกรณีนี้ ไม่รวมเมาแล้วขับ ขับรถแข่ง/ซิ่ง หรือใช้รถเพื่อทำผิดกฎหมาย แนะนำให้ขับขี่รถยนต์บนท้องถนนด้วยความระมัดระวัง และเคารพกฎจราจรอยู่เสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
*หมายเหตุ: กรณีที่รถยนต์ของคุณมีรอยบุบจากวัตถุต่าง ๆ กระเด็นใส่ และมีรอยขีดข่วนจากสัตว์ ทางบริษัทฯ จะนับเป็นความเสียหาย 2 เหตุการณ์ หมายความว่าคุณต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก x2 เช่น บริษัทกำหนดค่า excess 1,000 บาท คุณจะต้องจ่าย 1,000x2 = 2,000 บาทนั่นเองกรณีที่ไม่ต้องเสียค่า excess
กรณีที่รถยนต์ของคุณเกิดอุบัติเหตุ หรือได้รับความเสียหายที่สามารถระบุคู่กรณีได้ หรือมีหลักฐานชัดเจน เช่น ภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอ ณ ที่เกิดเหตุ ดังนี้
- รถพลิกคว่ำ
- รถชนเข้ากับยานพาหนะ และสามารถแจ้งรายละเอียดของคู่กรณีได้
- รถชนกับคนหรือสัตว์
- รถชนกับฟุตบาท กำแพง ต้นไม้ เสาไฟฟ้า ป้ายจราจร ฯลฯ
ในส่วนของ “เงื่อนไขที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง” ก็เหมือนกับกรณีที่ต้องเสียค่า excess ทุกประการ หากไม่อยากเสียเวลา และเสียสุขภาพจิต จงขับขี่รถอย่างระมัดระวัง ไม่ควรนำรถไปใช้ในทางที่ผิด หรือละเมิดกฎหมายจราจรเด็ดขาด
เลือกประกันที่ใช่สำหรับคุณ คุ้มค่ากว่าที่ มิสเตอร์ คุ้มค่า
จะเห็นได้ว่า “ประกันรถยนต์” มีรายละเอียดที่ยิบย่อยมากมาย คงจะดีไม่ใช่น้อยหากบริษัทประกันภัยที่คุณสนใจจะเลือกซื้อ ให้ความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ เบี้ยสบายกระเป๋า และให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ครบถ้วนชัดเจน หากไม่รู้ว่าจะต้องเลือกซื้อประกันกับที่ไหน มิสเตอร์ คุ้มค่า นับเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ สามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์ออนไลน์ เพื่อเลือกความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง