หัวข้อที่น่าสนใจ
- ของตกใส่รถจนเสียหาย ควรทำยังไง ?
- 1. ตั้งสติ
- 2. โทรแจ้งตำรวจ
- 3. โทรแจ้งบริษัทประกัน
- ของตกใส่รถเมื่อขับผ่านถนนพระราม 2 เคลมประกันได้ไหม ?
- ของตกใส่รถอย่าลืมตรวจสอบความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์
- ในแง่ของกฎหมาย ของตกใส่รถ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอะไรได้บ้าง ?
- 1. ค่าซ่อมรถ
- 2. ค่ารักษาพยาบาล
- 3. รถพังต้องเช่าไปทำงาน
- 4. ค่าเสื่อมราคารถ
- 5. ค่าเสียหายอย่างอื่น
- อยากเที่ยวภาคใต้ แต่ไม่อยากเสี่ยงกับถนนพระราม 2 ควรไปทางไหนดี ?
เมื่อพูดถึงถนนพระราม 2 นอกจากคำว่า ”รถติด” ถนนเส้นนี้ยังมอบความตื่นเต้นให้กับผู้ที่สัญจรผ่านผ่านสิ่งของที่อาจตกใส่รถได้ทุกวินาที จากการก่อสร้างมาเป็นเวลานานไม่เห็นวันสิ้นสุด และมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะของตกใส่รถจนได้รับความเสียหายมีให้เห็นเป็นข่าวกันบ่อยครั้ง มีทั้งบาดแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงความเสียหายขนาดใหญ่
แบบนี้ทำให้หลายคนที่ใช้รถถนนเส้นนี้สงสัยว่า ถ้าหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับตัวเองขึ้นมาสักวัน จะสามารถเคลมประกันรถยนต์ได้หรือไม่ ? มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้ลิสต์ประเด็นที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจมาให้คุณแล้ว
ของตกใส่รถจนเสียหาย ควรทำยังไง ?
หากคุณต้องตกอยู่ในสถานการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ขับผ่านถนนพระราม 2 เหมือนปกติทุกวัน แต่อยู่ดี ๆ วันนี้มีของตกใส่รถหรือมีวัตถุชิ้นใหญ่ตกใส่รถจนได้รับความเสียหายรุนแรง อย่าเพิ่งตกใจ มิสเตอร์ คุ้มค่า มีวิธีรับมือมาบอกต่อเรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย
1. ตั้งสติ
หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น อย่างแรกที่ควรทำคือ “ตั้งสติ” จากนั้นควรตรวจสอบทันทีว่าผู้ขับขี่ ผู้โดยสารภายในรถได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หากบาดเจ็บควรตรวจสอบว่ายังสามารถขยับร่างกายได้หรือเปล่า ถ้าขยับได้ให้ทำการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปยังที่ที่ปลอดภัยก่อน
แต่ถ้าได้รับบาดเจ็บอย่างหนัก จนไม่สามารถขยับร่างหายได้ แนะนำให้โทรแจ้งหน่วยกู้ภัยหรือโรงพยาบาลทันที ไม่ว่าจะเป็น…
- หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิระพยาบาล โทร.1554
- ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร โทร.1555
- ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โทร.1646
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร.1669
2. โทรแจ้งตำรวจ
หลังจากโทรแจ้งหน่วยกู้ภัยหรือโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว อันดับต่อมาให้ทำการโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เบอร์สายด่วน 191 พร้อมให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ เช่น สถานที่เกิดเหตุ ชื่อผู้ประสบภัย และหมายเลขติดต่อกลับ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ยังควรลงบันทึกประจำวัน หรือแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าเยียวยาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
3. โทรแจ้งบริษัทประกัน
จากนั้นให้โทรแจ้งบริษัทประกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อตรวจสอบเบื้องต้นว่าอยู่ในความคุ้มครองตามเงื่อนไขหรือไม่ หากอยู่ในเงื่อนไขเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันจะเดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ และจัดทำเอกสารด้านการประกันภัยให้
นอกจากนี้ยังช่วยประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานที่ดูแล และตัวบริษัทประกันภัยเอง เพื่อเยียวยาผู้ประสบภัย เช่น กรณีคานปูนหล่นทับรถ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของกรมทางหลวง ทางบริษัทฯ จะช่วยประสานงานให้
ของตกใส่รถเมื่อขับผ่านถนนพระราม 2 เคลมประกันได้ไหม ?
ในกรณีที่คุณขับผ่านถนนพระราม 2 แล้วปรากฏว่ามีของตกใส่รถ ปูนกระเด็นมาโดนทำให้สีรถยนต์ได้รับความเสียหาย ร้ายแรงกว่านั้นคือสะพานถล่ม หรือคานปูนหล่นมาทับรถ บอกตรงนี้เลยว่าสามารถเคลมประกันรถยนต์ และเคลมสีรถเฉพาะจุดประกันชั้น 1 ได้ เนื่องจากถือเป็น “อุบัติเหตุ”
ในกรณีต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น หากทําประกันรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ สบายใจ หายห่วงได้เลย เพราะประกันรถยนต์ประเภทนี้ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม หรือถ้าหากทำประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือประกันชั้น 3+ เอาไว้ สามารถเคลมได้เช่นกัน แต่จะต้องเป็นการเคลมประกันรถยนต์แบบมีคู่กรณีเท่านั้น
ของตกใส่รถอย่าลืมตรวจสอบความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์
ในกรณีที่คุณไม่ได้ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือชั้นไหน ๆ เอาไว้เลย อย่าลืมตรวจสอบความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนที่พึงจะได้รับ โดยจะต้องมีเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นเรื่องในภายหลัง ดังนี้
- ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล
- หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล กรณีได้รับบาดเจ็บ
- ใบรับรองแพทย์ หรือความเห็นแพทย์
- หลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัย ซึ่งทุพพลภาพ
- สำเนามรณบัตร (กรณีมีผู้เสียชีวิต)
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
- หรือหลักฐานที่แสดงว่าได้รับความเสียหาย จากการประสบภัยจากรถเพิ่มเติม
จะเห็นได้ว่าทั้งประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจและภาคบังคับ ล้วนมีความสำคัญมาก ๆ ดังนั้นการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และต่อประกันภาคสมัครใจอย่างต่อเนื่อง จะช่วยคุณในยามคับขันได้ดีมาก ๆ โดยที่ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพียงลำพัง ทั้งค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล และอื่น ๆ ที่อาจตามมากวนใจในอนาคต
แจ้งเคลมประกันรถยนต์ยังไง ไม่ให้เสียค่า excess ?
หลายคนอาจยังไม่รู้ ว่าการเคลมประกันรถยนต์ ชั้น 1 ไม่มีคู่กรณี จำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) ด้วย มิสเตอร์ คุ้มค่า จึงได้ลิสต์เทคนิคเคลมประกันรถยนต์ แบบไม่เสียค่า Excess มาให้เรียบร้อยแล้ว ตามไปดูกันเลย
รีบแจ้งเคลมประกันทันที เมื่อรถเสียหาย
ทันทีที่รู้ตัวว่ารถยนต์คันโปรดได้รับความเสียหาย แนะนำให้ “เคลมสด” ทันที ไม่ควรปล่อยให้เวลาผ่านไป เนื่องจากการเคลมลักษณะนี้ เจ้าหน้าที่ประกันจะไม่คิดค่า Excess จากการประเมินรอยแผล ร่องรอยความเสียหาย และสำรวจที่เกิดเหตุ จะทำให้ง่ายต่อการพิจารณารับเคลมตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
ตอบให้ได้ว่าชนอะไรมา
ถ้าคุณไม่อยากควักจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) ในตอนแจ้งเคลมประกันรถยนต์ ห้ามตอบว่า “ไม่รู้หรือจำไม่ได้” เด็ดขาด ควรอธิบายลักษณะการเกิดเหตุให้ละเอียด แต่ถ้านึกไม่ออกจริงๆ ลองหาวัตถุที่ใกล้เคียงกับรอยแผลบนรถ มาประกอบการอธิบายร่วมด้วยก็ดี เพราะจะช่วยลดความยุ่งยากในการอธิบายได้เยอะมาก
เคลมน้อยชิ้นก็ช่วยได้
บางคนอาจไม่รู้เงื่อนไขของการเคลมประกันรถยนต์ ว่าจริง ๆ แล้วสามารถแจ้งเคลมอะไหล่ได้สูงสุด ครั้งละ 5 ชิ้น และสามารถทำได้แค่ 1-2 ครั้ง ตลอดอายุสัญญากรมธรรม์
กรณีที่อยากเคลมหลายแผลแนะนำให้แบ่งเป็นรอบ ๆ ไม่ว่าจะต้องการเคลมสีรถเฉพาะจุด ประกันชั้น 1 หรือเคลมส่วนไหนก็ตาม จะได้ไม่เสียค่า Excess ครั้งละหลายพันบาท
ความเสียหายที่ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่า Excess
หากรถยนต์ได้รับความเสียหาย เช่น รถเป็นรอย รถบุบ โดนขูดเป็นแผลลึก หรือใด ๆ ก็ตาม สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่บริษัทประกันได้เลย ไม่ต้องอธิบายอะไรให้มากมาย เพราะเป็นเหตุที่ค่อนข้างรุนแรง ไม่เหมือนกับรอยขีดข่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือหินกระเด็นใส่รถ แบบนี้จะต้องเสียค่า Excess เป็นรายเหตุการณ์ ประมาณเหตุการณ์ละ 1,000 บาท
เข้าใจเงื่อนไขประกันรถของตัวเอง
การทำประกันรถยนต์ให้คุ้มค่าและตอบโจทย์ นอกจากจะต้องเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ที่ใช่แล้ว ยังควรศึกษาเงื่อนไขการเคลมประกันรถยนต์ให้ดีด้วย เพราะการนำรถเข้าซ่อมแต่ละครั้ง อาจมีราคาค่าซ่อมสูงกว่าที่กำหนด จะทำให้ต้องเสียค่าส่วนต่างหรือค่า Excess
ในกรณีที่มีส่วนไหนไม่มั่นใจ เกิดความสงสัย แนะนำให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ประกันทันที โดยเฉพาะคนที่ทําประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่เบี้ยประกันสูงกว่าประกันชั้นอื่น ๆ เพื่อสิทธิประโยชน์ของตัวเอง
ในแง่ของกฎหมาย ของตกใส่รถ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอะไรได้บ้าง ?
เมื่อขับรถผ่านถนนพระราม 2 แล้วมีวัตถุใด ๆ ก็ตามร่วงหล่นมากระแทกรถจนได้รับความเสียหาย ในด้านกฎหมาย มาตรา 420 ระบุไว้ว่า “ผู้ใดจงใจประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิ์อย่างหนึ่งอย่างใด หากว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
โดย “ค่าสินไหมทดแทน” ที่สามารถเรียกร้องได้ มีดังนี้
1. ค่าซ่อมรถ
สามารถเรียกได้ตามจริงหรือตามใบเสร็จ และตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงได้ทั้งหมด หากซ่อมไม่ได้แล้ว (พังยับเยิน) จะต้องซื้อรถใหม่ให้แทน
2. ค่ารักษาพยาบาล
ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลสามารถเรียกได้ทั้งหมดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม
3. รถพังต้องเช่าไปทำงาน
สามารถเรียกร้องได้ตามที่จ่าย หรืออาจคำนวณตามความเป็นจริง แล้วเรียกเก็บเงินมาล่วงหน้าก็ได้หากตกลงกันได้ระหว่างรอรถคันใหม่ หรือรอรถที่กำลังซ่อม
4. ค่าเสื่อมราคารถ
ในส่วนนี้เป็นกรณีซ่อมรถคันเก่า เพราะถือว่ารถเสื่อมราคาเพราะเคยเกิดอุบัติเหตุมาแล้ว ทั้งนี้ต้องดูตามความเหมาะสมด้วย
5. ค่าเสียหายอย่างอื่น
ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่ไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ เช่น มีแผลเป็น บาดเจ็บจนพิการ ความเสียหายดังกล่าวจะติดตัวไปตลอด ให้ประเมินค่าเป็นเงินคงไม่ง่ายแต่สามารถทำได้ด้วยการประเมินสภาพบาดแผล อาการเจ็บป่วย และตัวบุคคลผู้เสียหาย
อยากเที่ยวภาคใต้ แต่ไม่อยากเสี่ยงกับถนนพระราม 2 ควรไปทางไหนดี ?
เมื่อเห็นความติดและความเสี่ยงของถนนเส้นนี้ ใครเลี่ยงได้คงอยากจะเลี่ยง แม้ว่ารถยนต์คันโปรดของคุณจะทําประกันรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ แต่คงไม่มีใครอยากเอารถไปเสี่ยงในจุดเสี่ยงให้บ่อย โดยเฉพาะเหตุการณ์ของหล่นใส่รถใช่ไหมล่ะ ? นอกจากเรื่องความปลอดภัย ปวดใจกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถ แถมยังเสียเวลารอรถซ่อมไปอีกนาน
ในกรณีที่อยากไปเที่ยวพักผ่อนที่ต่างจังหวัด ไม่ว่าจะไปใกล้ ๆ อย่างหัวหินหรือลงใต้ แต่ไม่อยากเสี่ยงกับถนนพระราม 2 “ขับผ่านนครปฐม-ราชบุรี” เป็นหนึ่งในเส้นทางทางเลือกที่น่าสนใจ เพียงแค่เลี่ยงไปใช้ถนนบรมราชชนนี (หมายเลข 338) มุ่งหน้าสู่ถนนเพชรเกษม (หมายเลข 4) ผ่านจังหวัดนครปฐมและจังหวัดราชบุรี ก่อนไปบรรจบกับถนนพระราม 2 บริเวณแยกวังมะนาว จากนั้นจึงมุ่งหน้าสู่ภาคใต้ได้ตามปกติ
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการขับผ่านถนนพระราม 2 ถือเป็นเส้นทางสุดระทึก เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุ ของตกใส่รถเมื่อไหร่ หากคุณอยากเที่ยวใต้ แต่ไม่อยากเสี่ยงการเลี่ยงเส้นทางอาจตอบโจทย์ได้ดีกว่า แต่ถ้าเป็นเส้นทางที่ “จำเป็น” ต้องผ่านจริง ๆ แนะนำให้ทําประกันรถยนต์ชั้น 1 จะดีกว่า เพราะเมื่อเกิดเหตุขึ้นมา คุณจะได้ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพียงลำพัง ทั้งนี้ควรเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ให้ดีก่อน ว่าคุ้มค่าและตอบโจทย์ได้จริงหรือไม่
คำจำกัดความ
คับขัน | ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากหรือจำเป็น, ที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้า หลีกเลี่ยงไม่ได้, จวนเจียน |
คานปูน | โครงสร้างส่วนล่างของอาคารสำหรับยึดเสา |
บรรจบ | จดกัน, ประชิดกัน ติดต่อกัน, ถึงกัน |
ละเมิด | ล่วงเกิน, ฝ่าฝืนจารีตประเพณี หรือกฎหมายที่บัญญัติไว้ |