ลืมบ่อยไม่ใช่ปัญหา ตรวจเช็ค พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ได้ง่าย ๆ

แชร์ต่อ
ลืมบ่อยไม่ใช่ปัญหา ตรวจเช็ค พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ได้ง่าย ๆ

เมื่อถึงคราวต้องต่อ พ.ร.บ. รวมถึงต่อภาษีประจำปี แต่นึกยังไงก็นึกไม่ออกว่าทำไว้กับที่ไหน หรือไม่แน่ใจว่าวันอายุวันใด ไม่ต้องคิดมากให้ปวดหัว เพราะปัจจุบันสามารถเช็ค พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว แต่จะต้องทำยังไง ควรเตรียมตัวก่อนตรวจสอบ พ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ ยังไงบ้าง ? มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมรายละเอียดที่น่าสนใจมาให้แล้ว ตามไปดูกันเลย

หากไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะเกิดอะไรขึ้น ?

ถ้าคุณตัดสินใจไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่าลืม จำไม่ได้ว่าหมดอายุวันไหน รวมถึงไม่รู้วิธีเช็ค พ.ร.บ. รถ จนปล่อยเลยตามเลย อย่าลืมว่า พ.ร.บ.มีภาระผูกพันตามกฎหมาย หากไม่ต่อจะเกิดผลกระทบดังต่อไปนี้

  • การขับขี่รถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท นอกจากนี้ยังจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถ หรือต่อภาษีรถยนต์ได้
  • ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จะไม่ได้รับความคุ้มครองเลย พูดง่าย ๆ คือ ผู้ขับขี่/เจ้าของรถจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดด้วยตัวเอง

ข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.รถยนต์ vs ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ ให้ความคุ้มครองเหมือนกัน ไม่ว่าคุณจะเกิดอุบัติเหตุใด ๆ มาก็ตาม แถมยังคุ้มครองทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ไม่เหมือนกับประกันภาคสมัครใจ ที่มีแผนความคุ้มครองให้เลือกหลากหลาย จำเป็นต้องเปรียบเทียบประกันรถยนต์ให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อความคุ้มครองที่ตอบโจทย์มากที่สุด

เช็ค พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุผ่านช่องทางไหนได้บ้าง ?

ช่องทางการเช็คพ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุเมื่อไร | มิสเตอร์ คุ้มค่า

ต้องบอกก่อนว่าปกติทุกคนสามารถเข้าไปเช็ค พ.ร.บ. หมดอายุ ออนไลน์ รถยนต์ ได้อยู่ 2 ช่องทางใหญ่ ๆ คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และบริษัทประกันรถยนต์ ในกรณีที่จำไม่ได้ว่าเคยต่อ พ.ร.บ.ไว้กับที่ไหน การสอบถามกับ คปภ.จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า โดยสามารถติดต่อได้ดังนี้

  • 1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

    สามารถตรวจสอบหรือวิธีเช็ค พ.ร.บ. รถ ได้ที่สำนักงาน คปภ. ด้วยการโทรไปที่สายด่วนประกันภัย 1186 หน่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุ หมายเลขโทรศัพท์ 02-515-3999 ต่อ 5360, 5362, 5304 หรือยื่นคำขอข้อมูลประกันภัยรถยนต์ได้ที่สำนักงาน คปภ.ภูมิภาค หรือคปภ.จังหวัด ตามวันและเวลาราชการ

  • 2. บริษัทประกันภัย

    ในกรณีที่จำได้ว่าเคยต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ไว้กับที่ไหน สามารถเริ่มต้นด้วยการติดต่อสอบถามบริษัทประกันรถยนต์ ที่คุณต้องการใช้บริการก่อน ด้วยการติดต่อเบอร์ Call Center ของแต่ละบริษัทได้โดยตรงเพื่อขอคำปรึกษา และขอให้ตรวจสอบข้อมูลประกันภัยรถยนต์ หมายเลขประจำตัว ข้อมูลทะเบียนรถ และหมายเลขเฟรม เพียงแค่แจ้งชื่อและนามสกุล

  • 3. ตรวจสอบจากเอกสารกรมธรรม์

    ทุกครั้งที่ซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ มักจะได้รับเอกสารกรมธรรม์ที่ระบุข้อมูลสำคัญไว้มากมาย เช่น เลขที่กรมธรรม์ วันเริ่มคุ้มครอง และวันหมดอายุ ซึ่ง “ใบกรมธรรม์” นี่เอง ที่เป็นอีกหนึ่งวิธีเช็ค พ.ร.บ. รถยนต์ โดยสามารถเช็คได้จากรายละเอียดดังนี้

    • เอกสารตัวจริงที่ได้รับมาตั้งแต่ตอนซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์
    • ไฟล์ดิจิทัลในอีเมล (กรณีซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์)
    • ใบเสร็จรับเงิน ที่ออกโดยบริษัทประกันรถยนต์
    *หมายเหตุ: กรณีที่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์หาย หรือไม่แน่ใจว่าหมดอายุไปแล้วหรือยัง แนะนำให้เช็ค พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ ผ่าน คปภ. หรือบริษัทประกันรถยนต์ที่ทำกรมธรรม์ไว
  • 4. LINE ‘คปภ.รอบรู้’ หรือ แอป ‘ทางรัฐ’

    นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า “คปภ.ได้เปิดโครงการให้บริการ OIC Gateway NextGen บนแอปพลิเคชันทางรัฐ ร่วมกับนางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) หรือ สพร. เพื่อผลักดันให้บริการ OIC Gateway สามารถให้บริการผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐ ที่รวบรวมช่องทางการเข้าถึงบริการของหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ไว้ในช่องทางเดียว รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐเข้ากันเป็นหนึ่งเดียว นับเป็นการช่วยยกระดับการให้บริการของสำนักงาน คปภ. เป็นประโยชน์กับประชาชน และอุตสาหกรรมประกันภัยในภาพรวม” โดยระบบ OIC Gateway สามารถใช้บริการได้แล้วผ่านช่องทาง LINE ‘คปภ.รอบรู้’ หรือ แอปพลิเคชัน ‘ทางรัฐ’ (ที่มา : คปภ. - DGA เชื่อมข้อมูลประกัน ตรวจสิทธิผ่านแอปฯ "ทางรัฐ")

ทำให้ปัจจุบันการเช็ควันหมดอายุ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือการตรวจเช็คว่าซื้อประกันรถยนต์ที่ไหน มีความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือได้ง่าย ๆ ผ่านแอป คปภ.รอบรู้ หรือแอปทางรัฐ ตามขั้นตอนดังนี้

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่รองรับการตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์
  2. กรอกหมายเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขตัวถัง
  3. ระบบจะแสดงข้อมูลกรมธรรม์ที่ยังคงมีความคุ้มครองอยู่ในปัจจุบัน
  4. สามารถใช้แอปเพื่อต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่ได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานประกันภัย

จำไม่ได้ว่าทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ไว้ที่ไหน หมดอายุเมื่อไหร่ ต่อใหม่เลยได้ไหม ?

กรณีที่คุณจำอะไรไม่ได้เลยเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ ทั้งบริษัทประกันรถยนต์ที่ทำ หรือวันหมดอายุ แต่ก็มองว่าการเช็ค พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านช่องทางต่าง ๆ นั้นค่อนข้างเสียเวลา ไหน ๆ ก็ต้องต่อเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว “ต่อใหม่เลยได้ไหม” คำตอบคือสามารถต่อใหม่ได้เลย แต่มีข้อควรรู้เกี่ยวกับการเคลมความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยปกติ ‘กรมธรรม์ฉบับแรก’ จะเป็นผู้รับผิดชอบก่อน หากวงเงินความคุ้มครองเต็มจำนวนแล้ว ถึงจะสามารถเบิกจากกรมธรรม์ฉบับที่ 2 ได้ ตัวอย่างเช่น…

คุณเป็นฝ่ายถูกในอุบัติเหตุ รถโดนเฉี่ยว มีคู่กรณี จนเป็นเหตุทำให้ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 40 วัน คุณจะได้รับค่าชดเชยนอนโรงพยาบาลจากกรมธรรม์ฉบับแรก 20 วัน และจากกรมธรรม์ฉบับที่ 2 ที่ช่วยจ่ายอีก 20 วัน หลายคนมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากกว่า ถ้าอย่างนั้นก็ต่อใหม่ไปเลยละกันโดยไม่ต้องตรวจ สอบ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ให้วุ่นวาย

ซึ่งในกรณีที่มี พ.ร.บ.รถยนต์สองฉบับ และผู้เอาประกันต้องการเคลมประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แนะนำว่าควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ประกันให้ดีก่อน เพราะอาจมีรายละเอียดหรือเงื่อนไขบางประการ ที่ทำให้คุณไม่ได้รับความคุ้มครองครอบคลุมทุกความเสียหายตามที่คิดไว้

ใครบ้าง ที่สามารถขอเช็ควันหมดอายุ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ ?

ถ้าต้องการตรวจสอบข้อมูล และรายละเอียดประกันรถยนต์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเช็คข้อมูลในช่องทางไหน ล้วนจำเป็นต้องใช้ “ข้อมูลส่วนตัว” เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของเสมอ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขทะเบียนรถ เลขตัวถัง ฯลฯ เพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาสำหรับเปิดเผยข้อมูลกรมธรรม์

หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบ จะสงวนสิทธิ์ในการเปิดเผยข้อมูลให้เฉพาะ “เจ้าของของรถ” หรือ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับรถคันที่เอาประกันภัย” เท่านั้น โดยอ้างอิงจากความถูกต้องของข้อมูลที่ผู้ร้องขอตรวจสอบกับหน่วยงานนั้น ๆ

ไม่ว่าคุณจะหลง ๆ ลืม ๆ จำไม่ได้ว่าทำ พ.ร.บ.รถยนต์ไว้กับที่ไหน หรือไม่แน่ใจในเรื่องของวันหมดอายุ สามารถขอเช็ค พ.ร.บ. รถยนต์ได้หลากหลายช่องทาง (เลือกได้ตามที่สะดวก) ที่สำคัญสามารถเช็ควันหมดอายุ พ.ร.บ. รถยนต์และบริษัทที่ทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวก แค่นี้ก็ไม่ต้องกังวลและไม่ต้องกลัวว่า พ.ร.บ.รถจะขาดอีกแล้วล่ะ

คำจำกัดความ
หมายเลขเฟรม รหัสเฉพาะซึ่งรวมถึงหมายเลขประจำเครื่องที่อุตสาหกรรมยานยนต์ใช้
สงวนสิทธิ์ ถนอมรักษาไว้
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บุคคล กลุ่มคน หรือหน่วยงานที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจขของบริษัท ซึ่งสามารถ ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายและความสาเร็จของบริษัทฯ ได้

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่