เช็คให้ชัวร์ อะไหล่ช่วงล่างรถยนต์เสีย เคลมประกันได้ไหม ?

แชร์ต่อ
เช็คให้ชัวร์ อะไหล่ช่วงล่างรถยนต์เสีย เคลมประกันได้ไหม ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

อยู่ดี ๆ รถยนต์คันโปรดของคุณก็มีเสียงแปลก ๆ โดยเฉพาะอะไหล่ช่วงล่างรถยนต์ ที่มีเสียงดังแอ๊ด ๆ เอี๊ยด ๆ ให้ได้ยินอยู่ตลอด แบบนี้จะมีวิธีเช็คสภาพรถยังไง แล้วถ้ามันพังหรือเสียหายขึ้นมาจริง ๆ แจ้งเคลมประกันรถยนต์ได้ไหม ? มีอะไรที่เจ้าของรถจำเป็นต้องรู้บ้าง มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ตามไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลย

อะไหล่ช่วงล่างรถยนต์ คืออะไร ?

มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า “ช่วงล่างรถยนต์” คือ ระบบที่อยู่ใต้ท้องรถทั้งหมด การทำงานของอะไหล่ช่วงล่างรถยนต์ต่าง ๆ เปรียบเหมือนรากฐานสำคัญ ที่รองรับน้ำหนักตัวถังและผู้โดยสาร ควบคุมการทรงตัว และดูดซับแรงสั่นสะเทือนจากพื้นถนน ซึ่งการมีระบบช่วงล่างที่ดี จะช่วยให้การเดินทางของคุณเป็นไปอย่างราบรื่น และปลอดภัย ซึ่งอะไหล่ช่วงล่างรถยนต์แต่ละชิ้นมีหน้าที่เฉพาะตัว ดังนี้

  • สปริง : ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวรถ และช่วยลดแรงกระแทก
  • เหล็กกันโคลง : ควบคุมการเอียงตัวของรถขณะเข้าโค้ง
  • โช้คอัพ : อะไหล่ช่วงล่างรถยนต์ที่สำคัญ ทำหน้าที่ดูดซับแรงสั่นสะเทือน และควบคุมการทำงานของสปริง
  • ลูกหมาก : ช่วยในการบังคับเลี้ยว และรองรับการเคลื่อนที่ของล้อ
  • ปีกนก : ส่วนประกอบที่ยึดล้อกับตัวถังรถ และควบคุมการเคลื่อนที่

สาเหตุที่ทำให้อะไหล่ช่วงล่างรถยนต์พัง มีอะไรบ้าง ?

สำหรับคนที่สงสัยว่าอะไรบ้าง ? ที่เป็นสาเหตุทำให้อะไหล่ช่วงล่างรถยนต์พังเสียหาย ซึ่งเราก็ได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้ว โดยสาเหตุของปัญหาอาจแตกต่างกันออกไปตามรุ่นรถยนต์ และลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคล ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มีดังนี้

  • สปริงที่เสียหาย สึกหรอ หากฝืนใช้งานจนโช้คอัพชำรุดหรือเสียหาย จะทำให้ระบบช่วงล่างต่าง ๆ พังต่อเนื่องกันไปได้
  • การชนหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง สามารถทำให้ระบบช่วงล่างเสียหายได้เช่นกัน
  • การขับรถตกหลุม แรง ๆ ขับไปยังถนนที่ขรุขระด้วยความเร็ว ซึ่งจะทำให้ช่วงล่างต้องทำงานหนักทั้งระบบ เกิดการกระแทกรุนแรงบ่อยครั้ง และทำให้ลูกปืนล้อแตกได้

อาการอะไหล่ช่วงล่างรถยนต์พัง สังเกตได้จากตรงไหน ?

อาการอะไหล่ช่วงล่างรถยนต์พัง สังเกตได้จากตรงไหน ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจ ‘สาเหตุ’ ที่ทำให้อะไหล่ช่วงล่างรถยนต์พัง เสียหาย ชำรุดกันมาแล้ว แต่ในท้ายที่สุดก็ไม่รู้อยู่ดีว่ารถคันโปรดกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านั้นอยู่หรือเปล่า ถ้าอย่างนั้นตามไปดูวิธีเช็คสภาพรถกันหน่อยดีกว่า (หรือถ้าจะให้ชัวร์ จะนำรถไปร้านเช็คสภาพรถใกล้ฉันเลยก็ดีนะ)

  • 1. เกิดเสียงดังขณะเบรก

    • จานเบรกสกปรก ขณะเบรกจะมีเสียงครืด ๆ
    • ผ้าเบรกและจานเบรกเสื่อมสภาพ ขณะเบรกจะมีเสียงดังเอี๊ยดอ๊าด
  • 2. ได้ยินเสียงดังจากใต้ท้องรถ

    • ลูกหมากปีกนกหลวมหรือเสื่อมสภาพ ขณะขับรถด้วยความเร็วต่ำบนถนนขรุขระหรือกำลังเลี้ยว เกิดเสียงดังกึก ๆ ใต้ท้องรถด้านหลัง
    • ลูกปืนล้อแตก มีเสียงหวีดหอนขณะขับรถหรือเร่งความเร็ว
    • ลูกหมากชำรุดเสียงดังแอ๊ด ๆ เอี๊ยด ๆ ใต้ท้องรถขณะขับรถตกหลุมหรือเลี้ยวรถ
    • ลูกหมากแร็คเสีย รู้สึกถึงการขยับผิดปกติที่พวงมาลัยขณะเลี้ยวรถ หรือขับรถตกหลุม
    • ลูกหมากคันชักตัวนอกหลวมหรือเสื่อมสภาพ มีเสียงกุกกัก เวลาขับรถบนทางขรุขระ
  • 3. เกิดเสียงดังเมื่อเลี้ยวสุด

    ในขณะที่คุณเลี้ยวรถจนสุดแล้วพบว่ามีเสียงแปลก ๆ เกิดขึ้น อาจเกิดจากบูชเลี้ยวสึก ส่งผลให้ช่วงล่างเกิดการเสียดสีกันจนเกิดเป็นเสียงดัง ส่วนใหญ่มักพบในรถกระบะที่ใช้งานมานาน มีอายุมากกว่า 5 ปีเป็นต้นไป

วิธีดูแลอะไหล่ช่วงล่างรถยนต์ขั้นเบื้องต้น มีอะไรบ้าง ?

การดูแลอะไหล่ช่วงล่างรถยนต์เป็นสิ่งที่เจ้าของรถสามารถทำได้เบื้องต้น เพื่อยืดอายุการใช้งานของระบบช่วงล่าง ซึ่งจะมีวิธีที่สามารถทำเองได้บ้าง ตามไปดูกันเลย

  1. การตรวจสอบด้วยสายตา

    ควรหมั่นเช็คสภาพรถโดยเฉพาะช่วงล่างด้วยตาเปล่าบ่อย ๆ จากการสังเกตการรั่วซึมของน้ำมันโช้ค หรือความผิดปกติของชิ้นส่วนในระบบช่วงล่างรถยนต์

  2. การฟังเสียงผิดปกติ

    เมื่อได้ยินเสียงแปลก ๆ จากช่วงล่างรถยนต์ ควรจดบันทึกลักษณะเสียง และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อแจ้งช่างเมื่อนำรถเข้าตรวจสภาพที่ร้านเช็คสภาพรถใกล้ฉันหรือศูนย์บริการ

  3. ระยะเวลาที่ควรเข้าศูนย์ตรวจสอบสภาพรถ

    การดูแลช่วงล่างรถยนต์จำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งควรนำรถเข้าตรวจเช็คสภาพรถทุก 20,000-30,000 กิโลเมตร หรือเมื่อพบความผิดปกติใด ๆ

อะไหล่ช่วงล่างรถยนต์ เคลมประกันได้ไหม ?

สำหรับคนที่สงสัยว่าถ้าหากอะไหล่ช่วงล่างรถยนต์ได้รับความเสียหาย พัง ชำรุด หรือใด ๆ ก็ตาม คำตอบคือ “สามารถเคลมประกันชั้น 1 ได้” ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่ได้ซื้อเอาไว้

โดยทางบริษัทประกันจะชดเชยค่าเสียหายตามจริง และอาจมีการหักค่าเสื่อมสภาพอะไหล่ ทั้งแบบมีคู่กรณีหรือไม่มีคู่กรณี ทั้งนี้มี ‘ข้อยกเว้น’ ที่บริษัทประกันมีสิทธิ์ปฏิเสธความคุ้มครองได้เช่นกัน จะมีอะไรบ้าง ? ตามไปดูกันเลย

  • เมาแล้วขับ
  • ใช้รถในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น นำรถไปปล้นทรัพย์สิน, ขนยาเสพติด เป็นต้น
  • ดัดแปลงตัวรถโดยไม่แจ้งบริษัทประกัน
  • ใช้รถผิดประเภท การแต่งรถเพื่อนำไปแข่งขันเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น หรือการนำไปใช้งานแบบลากจูง ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวรถยนต์ โดยไม่ได้เกิดจากการใช้รถแบบปกติ

ขอย้ำอีกครั้งว่าถ้าหากคุณใช้รถปกติ แต่บังเอิญขับรถตกหลุมหรือใด ๆ ก็ตามที่ทำให้อะไหล่ช่วงล่างรถยนต์เสียหาย สามารถแจ้งเคลมประกันชั้น 1 ได้เลย หรือถ้ายังไม่มีและสนใจอยากจะซื้อความคุ้มครองที่จัดเต็มแบบนี้ แนะนำให้เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ชั้น 1 ของบริษัทแต่ละเจ้าให้ดีก่อนตัดสินใจ เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุม แถมค่าเบี้ยสบายกระเป๋า

เมื่อรถคันโปรดของคุณมีเสียงดังผิดปกติ แม้บางครั้งจะเป็นเสียงที่น่าขบขัน แต่อย่าได้ชะล่าใจให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นเพราะอะไหล่ช่วงล่างรถยนต์เสียหาย ควรไปเช็คสภาพรถโดยด่วน หรือทันทีที่มีเวลา เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาไม่รู้จบ จนค่าซ่อมอาจบานปลายไม่รู้ตัว ทั้งนี้หากมีประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็อุ่นใจได้มากกว่า เพราะสามารถแจ้งเคลมประกันได้ แต่แนะนำให้อ่านรายละเอียดและเงื่อนไขความคุ้มครองให้ดีสักหน่อย

คำจำกัดความ
​​ค่าเสื่อมสภาพ ​ค่าใช้จ่ายที่ทยอยตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่กิจการใช้ประโยชน์และเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป
​รากฐาน ​สิ่งสำคัญอันเป็นพื้นฐาน
​โคลง ​เอียงไปเอียงมา หรือทำให้เอียงไปเอียงมา​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่