รถความร้อนขึ้น… ใจเย็น ๆ

แชร์ต่อ
car overheating what to do
รถความร้อนขึ้น เรื่องใหญ่ที่หลายคนอาจไม่รู้  เมื่อเครื่องยนต์ร้อน หรือเรียกกันว่า โอเวอร์ฮีท (Over heat) ถือว่าเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะมันทำให้อายุการใช้งานของรถสั้นลง และทำให้มีปัญหาอีกหลายอย่างตามมา หลายคนอาจจะรู้สึกตกใจ เมื่อรถความร้อนขึ้นขณะขับขี่ และทำอะไรไม่ถูก มิสเตอร์คุ้มค่าจะเข้ามากอบกู้สถานการณ์นี้เอง ด้วยข้อมูลที่มีประโยชน์และนำไปแก้ปัญหาได้จริง แบบไม่ต้องหัวร้อน เพียงมีสติ ทำใจร่ม ๆ เย็น ๆ  ไว้ เมื่อเกิดเหตุจะได้รับมือได้อย่างถูกต้อง ก่อนอื่นคุ้มค่าจะปูพื้นฐานความเข้าใจให้คุณก่อน ปกติแล้วมาตรวัดความร้อนของเครื่องยนต์นั้นมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ คือ
  1. แบบเข็ม โดยจะมีเข็มชี้วัด ทำงานปกติเมื่อเครื่องยนต์อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของมาตรวัด แต่เมื่อเข็มชี้วัดเด้งขึ้นมาเกินครึ่งหนึ่ง แสดงว่าเครื่องยนต์ร้อนแล้ว ต้องพึงระวังว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบหล่อเย็น หรือส่วนอื่น ๆ
  2. แบบไฟเตือน สำหรับรถรุ่นใหม่ มักจะใช้ระบบนี้เป็นส่วนใหญ่ โดยการสังเกตไฟเตือนนี้ จะมีสีที่แตกต่างเป็นตัวบอกความหมาย อันนี้ควรลองศึกษารายละเอียดสำหรับรุ่นรถของคุณเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ถ้ารถมีไฟสีเขียวหรือสีฟ้าขึ้น แสดงว่าเครื่องยนต์หรือระบบหล่อเย็น มีอุณหภูมิต่ำเกิน แต่ถ้าเป็นไฟสีแดง ก็ชัดเจนเลยว่าเครื่องยนต์หรือระบบหล่อเย็น มีอุณหภูมิสูงเกิน
  ไม่ใช่แค่ไฟสีแดงเท่านั้นที่แสดงถึงความอันตราย ไม่ว่าจะเป็นสีอะไรก็แล้วแต่ ถ้าขึ้นเตือนขึ้นมาก็แสดงว่าความไม่ปกติได้มาเยือนรถของคุณแล้ว สันนิษฐานไว้เลยว่าต้องมีอะไรบางอย่างที่เสียหาย อาจจะเป็นปั๊มน้ำ หม้อน้ำ พัดลมระบายความร้อนเกิดความผิดปกติ นอกจากไฟเตือนแบบนี้แล้ว เรายังสามารถสังเกตอาการผิดปกติเกี่ยวกับอุณหภูมิของเครื่องยนต์ได้อีกจากหลายสิ่ง เช่น เสียงเครื่องยนต์ที่ไม่เหมือนเดิม ไฟเตือนสีส้มที่ไม่ยอมดับ และสำหรับรถยนต์บางรุ่น เมื่อเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับเครื่องยนต์ ระบบจะตัดการทำงานของเครื่องยนต์แบบอัตโนมัติ เพื่อป้องกันความเสียหายใหญ่ที่จะเกิดขึ้นตามมา
thermometer car heating
  เมื่อพอจะเข้าใจเรื่องนี้แล้ว งั้นเราต่อไปลองมาดูวิธีจัดการกับปัญานี้ เมื่อเกิดเหตุขึ้นจริง ๆ กันเถอะ  
  1. เมื่อขับรถอยู่ดี ๆ แล้วไฟเตือนความร้อนขึ้น ให้ใจเย็น ๆ ตั้งสติแล้วขับรถไปจอดในที่ปลอดภัย สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เปิดฝากระโปรงหน้าขึ้น เพื่อระบายความร้อนให้ออกจากห้องเครื่อง
  2. สิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือ อย่าเปิดฝาหม้อน้ำขณะเครื่องร้อน ย้ำนะว่า! อย่าเปิดฝาหม้อน้ำขณะเครื่องร้อน! ถ้าไม่อยากหน้าพัง เพราะน้ำที่ร้อนระอุอาจจะพุ่งมาเข้าหน้าเข้าตาได้ ควรรอสักพักให้เครื่องเริ่มเย็นลง ค่อยหาผ้าช่วยรองมืออีกชั้น แล้วค่อย ๆ เปิดฝาหม้อน้ำออก
  3. จากนั้นค่อย ๆ เติมน้ำในหม้อน้ำทีละนิด ๆ โดยให้ทิ้งช่วงไว้ครั้งละประมาณ 5 นาที ระหว่างที่เติมก็ต้องคอยสังเกตดูระกับน้ำในหม้อน้ำไปด้วย ว่ามันค่อย ๆ เพิ่มขึ้นมาหรือเปล่า ถ้าเติมเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม นั่นแสดงว่าหม้อน้ำอาจจะรั่ว หากมองใต้ท้องรถก็จะเห็นน้ำที่เจิ่งนองพื้นอยู่อย่างสงบ ถ้าแบบนี้เตรียมแจ้งศูนย์บริการหรือบริการช่วยเหลือฉุกเฉินของประกันได้เลย
  4. กรณีที่หม้อน้ำแค่รั่วแบบซึมเล็ก คุณอาจจะยังสามารถขับรถต่อไปได้ โดยต้องแวะเติมน้ำบ่อย ๆ เป็นระยะ ๆ จนไปถึงอู่หรือศูนย์ซ่อม แต่อย่าลืมว่า ทุกครั้งที่จอดรถ ต้องจอดในที่ปลอดภัย รอเครื่องเย็น แล้วค่อยๆ เติมน้ำเข้าไป

ถ้าหากคุณไม่อยากเจอปัญหาเหล่านี้ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่มีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ซึ่งแต่ละแผนประกัน จะมีความแตกต่างกันออกไป รีบมองหาประกันที่ที่คุ้มค่า คลิกเปรียบเทียบราคาประกันรถยนต์ ผ่าน Mr.คุ้มค่า ได้เลย เร็ว ง่าย จริงใจ เลือกความคุ้มครองที่ใช่ ในราคาที่ชอบ

 

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่