หัวข้อที่น่าสนใจ
- สาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้เครื่องยนต์กระตุก ?
- 1. หัวเทียนเสื่อมสภาพ
- 2. ไส้กรองอากาศสกปรก
- 3. ลิ้นปีกผีเสื้อสกปรก
- 4. ปลั๊กหัวเทียนหลวม
- 5. หัวฉีดสกปรก
- 6. กรองน้ำมันเชื้อเพลิงตัน
- 7. น้ำมันเชื้อเพลิงมีสิ่งปนเปื้อน
- รถกระตุกจนเกิดอุบัติเหตุ ประกันรถยนต์คุ้มครองไหม ?
- วิธีแก้ไขเบื้องต้น เมื่อรถมีอาการเครื่องยนต์กระตุก
- รับมือยังไง หากรถมีอาการกระตุก เร่งไม่ขึ้นระหว่างขับ ?
เคยประสบปัญหาเหล่านี้หรือเปล่า ? ขับรถไป รถกระตุก เครื่องยนต์สะดุด รู้หรือไม่.. ว่าอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ารถคันรักของคุณกำลังมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นรถกระตุกเวลาขับ รถกระตุกเวลาเร่งเครื่อง ฯลฯ อาการพวกนี้เกิดขึ้นได้ยังไง มีวิธีแก้ไขไหม ? มิสเตอร์ คุ้มค่า หาคำตอบมาให้แล้ว
สาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้เครื่องยนต์กระตุก ?
“รถยนต์” เมื่อใช้งานไปนาน ๆ สิ่งที่หหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนต่าง ๆ จนส่งผลกระทบต่อรถของคุณ รวมถึงอาการรถกระตุกเวลาออกตัวด้วย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้รถคู่ใจแสดงอาการผิดปกติดังกล่าวด้วยเช่นกัน จะมีอะไรบ้าง ? ตามไปดูกันเลย
1. หัวเทียนเสื่อมสภาพ
หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “หัวเทียนบอด” อาการแรกที่จะเจอคือสตาร์ทติดยาก เมื่อติดและเดินเครื่องไปสักระยะจะเกิดอาการรถมีอาการกระตุก รอบเดินเบา สั่น อืด เร่งไม่ขึ้น เนื่องจากหัวเทียนจุดประกายไฟได้ยาก และจุดระเบิดไม่สม่ำเสมอ
2. ไส้กรองอากาศสกปรก
อีกหนึ่งสาเหตุที่พบบ่อยมาก ๆ คือ ไส้กรองอากาศสกปรก มีฝุ่นจับตัวอย่างหนาแน่น ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าไปที่ห้องเผาไหม้ได้ จึงทำให้เกิดปัญหารถเครื่องกระตุกได้
3. ลิ้นปีกผีเสื้อสกปรก
เกิดจากผงฝุ่นที่เล็ดลอดผ่านเข้ามาตามท่ออากาศ เนื่องจากกรองอากาศเสื่อมสภาพ โดยฝุ่นเหล่านี้จะไปสะสมในตัวเซ็นเซอร์ ทำให้การส่งสัญญาณไปกล่อง ECU ผิดเพี้ยน
4. ปลั๊กหัวเทียนหลวม
หากปลั๊กหัวเทียนหลวมเนื่องจากเสียบไม่แน่น จะทำให้เกิดกระแสไฟไม่สม่ำเสมอ จนหัวเทียนไม่มีไฟไปจุดระเบิดในแต่ละรอบของลูกสูบ จนทำให้รถเกิดอาการกระตุก หรือเครื่องสะดุดได้
5. หัวฉีดสกปรก
อีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยเช่นกัน คือ หัวฉีดสกปรกจนเกิดการอุดตัน ส่งผลให้ฉีดเชื้อเพลิงได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ น้ำมันที่ถูกฉีดออกไปจะไม่เพียงพอกับสัดส่วนการจุดระเบิด ส่วนใหญ่จะเกิดกับรถยนต์ที่ใช้งานมานาน หากปล่อยไว้นานนอกจากจะทำให้เปลืองน้ำมันโดยใช่เหตุแล้ว ยังทำให้รถพังได้อีกด้วย
6. กรองน้ำมันเชื้อเพลิงตัน
อธิบายก่อนว่ากรองน้ำมันเชื้อเพลิงมีหน้าที่กรอง และดักจับสิ่งสกปรกที่มาพร้อมกับน้ำมันเชื้อเพลิง หากกรองน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดการอุดตัน จะทำให้เครื่องยนต์มีอาการสะดุด รถกระตุก เนื่องจากน้ำมันมาไม่ทันความต้องการของเครื่องยนต์
7. น้ำมันเชื้อเพลิงมีสิ่งปนเปื้อน
ปัจจุบันปั๊มน้ำมันมีการจัดเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่สะอาด ปลอดภัยมากกว่าเมื่อก่อนมาก ดังนั้นสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ที่ปนมาจากน้ำมันจะน้อยมาก หมายความว่าสิ่งที่ปนเปื้อนน่าจะมาจากสิ่งสกปรกในถังน้ำมันรถมากกว่า เช่น การเกิดหยดน้ำในถังน้ำมัน เกิดจากความชื้นในถัง เนื่องจากเจ้าของรถปล่อยให้น้ำมันเหลือน้อยเป็นประจำ เป็นต้น
สำหรับคนที่พบเจอกับอาการเกียร์ออโต้ รถเร่งไม่ขึ้น กระตุก แนะนำให้ตรวจเช็กอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่บอกไปเมื่อข้างต้น เพื่อที่จะได้แก้ไขได้อย่างตรงจุด ทางที่ดีแนะนำให้นำรถไปตรวจเช็กตามระยะที่กำหนดอยู่เสมอ เพราะนอกจากจะทำให้ไม่เกิดอาการรถเก๋งกระตุกแล้ว ยังป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคตด้วย
รถกระตุกเวลาเหยียบเบรก เป็นเพราะอะไร ?
อาการรถกระตุกเมื่อเหยียบเบรก คือ ภาวะที่ระบบเบรกทำงานเร็วเกินไป หรือไวต่อแรงเบรกมากเกินไป ดังนั้นเมื่อคุณเหยียบที่แป้นเบรกเพื่อหยุดหรือชะลอความเร็ว รถจะมีอาการกระตุกหรือสั่นได้
นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากระบบเบรกมีปัญหา ดังนี้
- ระบบเบรกมีการปนเปื้อนของฝุ่น จาระบี หรือของเหลว
- การติดตั้งจานเบรกที่ไม่ถูกต้อง
- ชิ้นส่วนในระบบชำรุด เสียหาย เช่น จานเบรกคดงอ, ผ้าเบรกสึก ฯลฯ
วิธีป้องกันเครื่องยนต์กระตุกเมื่อเหยียบเบรก คือ ควรเข้ารับการติดตั้งชิ้นส่วนในระบบเบรกอย่างถูกต้อง รวมถึงควรบำรุงรักษาระบบดังกล่าวตามระยะที่คู่มือรถแนะนำ เพื่อช่วยให้ระบบเบรกทำงานได้อย่างถูกต้อง
ที่สำคัญควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ อย่าเห็นแก่ราคาที่ถูกเกินไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเบรกหรือผ้าเบรกก็ตาม เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาไม่รู้จบ และตามมาด้วยค่าใช้จ่ายในการซ่อมที่บานปลายขึ้น
รถกระตุกจนเกิดอุบัติเหตุ ประกันรถยนต์คุ้มครองไหม ?
อีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนสงสัยไม่แพ้ประเด็นอื่น ๆ คือ หากเหยียบคันเร่งแล้วรถกระตุก จนก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ประกันรถยนต์คุ้มครองและจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้หรือไม่ คำตอบคือ “ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของประกันภัย และสาเหตุของอุบัติเหตุ” โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ประกันรถยนต์ชั้น 1
หากเกิดอุบัติเหตุเวลาเร่งเครื่องรถกระตุก ประกันชั้น 1 จะครอบคลุมความเสียหายทั้งตัวรถและคู่กรณี รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากความประมาท (ขับขี่ไม่ระมัดระวัง) แต่ถ้าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความผิดพลาดของระบบเครื่องยนต์ รวมถึงการบำรุงรักษาที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง ทางบริษัทอาจมีการตรวจสอบเพิ่มเติม
2. ประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+
ความคุ้มครองของประกันชั้น 2+ และ 3+ จะครอบคลุมความเสียหายต่อตัวรถและคู่กรณี ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น โดยจะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถของผู้เอาประกันและรถของคู่กรณี
3. ประกันรถยนต์ชั้น 2 และ 3
กรณีที่เกิดอุบัติเหตุเนื่องจากรถเครื่องกระตุก แล้วคุณทำประกันชั้น 2 หรือ 3 เอาไว้ ให้ทำใจไว้เลย เพราะประกันทั้ง 2 ประเภท คุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อรถของคู่กรณีเท่านั้น หากคุณเป็นฝ่ายผิดจะไม่ได้รับความคุ้มครองความเสียหายต่อรถของคุณเอง
ทั้งนี้ หากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความผิดปกติของรถยนต์ เช่น เครื่องยนต์หรือระบบไฟฟ้ามีปัญหา ทางบริษัทฯ จะดำเนินการตรวจสอบว่าคุณได้บำรุงรักษารถตามกำหนดหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนด บริษัทมีสิทธิ์ปฏิเสธความคุ้มครองได้
หากถามว่าประกันชั้นไหนตอบโจทย์ และครอบคลุมมากที่สุด แน่นอนว่าต้องเป็นประกันชั้น 1 เท่านั้น คุ้มครองครบจบไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุเวลาเร่งเครื่องรถกระตุก รถชน ภัยธรรมชาติ รวมถึงมีบริการให้คำปรึกษาทางเทคนิคเมื่อรถกระตุกเหมือนจะดับ รวมถึงปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวรถ หากสนใจแต่ไม่รู้ว่าจะเลือกทำประกันกับบริษัทไหน ที่ราคาสบายกระเป๋ามากที่สุด เข้ามาเช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้เลย
วิธีแก้ไขเบื้องต้น เมื่อรถมีอาการเครื่องยนต์กระตุก
เมื่อเข้าใจแล้วว่าอาการรถกระตุกเกิดจากสาเหตุอะไร แม้ว่าจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกัน แต่ควรรู้วิธีแก้ไขเบื้องต้นกันสักหน่อย แต่ละสาเหตุจะมีวิธีแก้ไขเบื้องต้นยังไงบ้าง ตามไปดูกันเลย
1. หัวเทียนเสื่อมสภาพ
- ถอดหัวเทียนออกมาตรวจเช็กว่ามีคราบเขม่าดำ หรือมีคราบน้ำมันติดอยู่ที่ขั้วหัวเทียนหรือไม่
- รวมถึงดูที่เขี้ยวหัวเทียนว่าสึกกร่อน จนมีลักษณะโค้ง ไม่มีเหลี่ยมคมหรือเปล่า
กรณีที่พบความผิดปกติตามที่กล่าวไป ให้รีบเปลี่ยนหัวเทียนใหม่ และถ้าจะให้ดีควรเปลี่ยนพร้อมกันทั้งชุด เพื่อการทำงานที่ดีเท่า ๆ กัน
2. ไส้กรองอากาศสกปรก
ถอดไส้กรองออกมาเป่าไล่ฝุ่น แต่ถ้าสกปรกมาก ๆ แนะนำให้เปลี่ยนไส้กรองอากาศใหม่ (ปกติควรเปลี่ยนทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร)
3. ลิ้นปีกผีเสื้อสกปรก
- ถอดตัวเรือนลิ้นเร่งหรือลิ้นปีกผีเสื้อออกมาล้างทำความสะอาด
- หากเห็นว่ามีคราบติดมากเกินไป สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบเดียวกันที่ใช้กับรถล้างออกได้
สำหรับการถอนหรือประกอบลิ้นปีกผีเสื้อ สามารถดูได้จากคู่มือประจำรถ เนื่องจากรถแต่ละรุ่นมีวิธีถอดและประกอบไม่เหมือนกัน เลือกทำตามที่คู่มือบอกไว้ปลอดภัยที่สุด
4. ปลั๊กหัวเทียนหลวม
- ขยับเสียบปลั๊กหัวเทียนให้แน่น หากปลายสายเป็นโลหะให้ใช้คีมบีบเพื่อให้ตัวโลหะล็อกแน่นขึ้น
- หากตรวจเช็คแล้วพบว่าสายหรือบริเวณปลั๊กหัวเทียนขาด ชำรุด ให้ใช้เทปพันสายไฟพันรอบปลั๊กให้แน่นสัก 2 รอบ
- จากนั้นลองสตาร์ทเครื่องว่าติดหรือไม่ หากรถยนต์กลับมาใช้งานได้ตามปกติ ให้นำรถเข้าอู่หรือศูนย์บริการ เพื่อทำการเปลี่ยนหัวเทียนใหม่ เพื่อความมั่นใจในการขับขี่
5. หัวฉีดสกปรก
- เติมสารล้างหัวฉีดลงในถังน้ำมันเชื้อเพลิงตามสัดส่วนที่กำหนด (ปกติจะผสมในปริมาตร 1 ขวด ต่อน้ำมัน 1 ถัง หรืออย่างน้อยครึ่งถัง)
- หรือเลือกนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อถอดหัวฉีดออกมาทำความสะอาดทั้งระบบ เพื่อให้เครื่องยนต์กลับมามีกำลัง และเดินเรียบเหมือนใหม่ไปได้นาน ๆ
6. กรองน้ำมันเชื้อเพลิงตัน
ถอดกรองน้ำมันออกมาเปลี่ยนใหม่ หรือให้ช่างผู้เชี่ยวชาญปรับเปลี่ยนใหม่ (สามารถตรวจเช็กตามระยะที่กำหนดไว้ในคู่มือ ส่วนใหญ่จะกำหนดให้เปลี่ยนในระยะ 40,000-80,000 กิโลเมตร)
7. น้ำมันเชื้อเพลิงมีสิ่งปนเปื้อน
พยายามเติมน้ำมันให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ และไม่ปล่อยให้เหลือน้อยเกินไป โดยเฉพาะกับรถที่ไม่ค่อยได้ใช้ จอดทิ้งไว้นาน ๆ เพราะถ้าปล่อยให้น้ำมันเหลือน้อยบ่อย ๆ นอกจากจะเกิดความชื้นในตัวถังน้ำมันแล้ว ยังอาจทำให้เกิดสนิมได้อีกด้วย
รับมือยังไง หากรถมีอาการกระตุก เร่งไม่ขึ้นระหว่างขับ ?
ในกรณีที่เกิดอาการรถกระตุกเวลาเร่งเครื่อง, รถออกตัวกระตุก, รถกระตุกเหมือนจะดับ ฯลฯ แนะนำให้ว่าไม่ควรฝืนขับต่อ และควรประคองรถจอดข้างทางทันที พร้อมกับตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตัวเอง ดังนี้
- ปลั๊กหัวเทียนหลุดหรือไม่ หากหลุดให้เสียบกลับไปให้แน่น
- เช็กปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง ว่าเพียงพอสำหรับการเดินทางไหม
- เช็กสีของควันไอเสียว่าเป็นสีอะไร เป็นสีดำหรือสีขาวมากเกินไปหรือไม่ เพราะนั่นคือสัญญาณที่บ่งบอกความผิดปกติของเครื่องยนต์
ถ้าในท้ายที่สุดแล้วผู้ขับขี่ไม่สามารถตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ ประกอบกับรถยนต์ยังสามารถขับต่อได้อยู่ แนะนำให้รีบนำรถเข้าอู่หรือศูนย์บริการ เพื่อให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็กโดยละเอียด เพื่อดำเนินการซ่อมแซม แก้ไข ให้ชิ้นส่วนนั้น ๆ กลับมาทำงานได้ปกติดังเดิม อย่าได้คิดชะล่าใจเด็ดขาด ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามจนส่งผลกระทบต่อชิ้นส่วนอื่น ๆ ของเครื่องยนต์
แม้ว่าอาการรถกระตุก ทั้งรถกระตุกเวลาเหยียบคันเร่ง เบนซิน, รถกระตุกเหมือนจะดับ หรือรถมีอาการกระตุก รอบเดินเบา จะดูเหมือนว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่น่ากังวลอะไร แต่ไม่ควรปล่อยผ่านไปง่าย ๆ แนะนำให้รีบนำรถไปตรวจเช็กโดยด่วน เพราะถ้าหากปัญหาลุกลาม อาจทำให้ชิ้นส่วนอื่น ๆ ได้รับความเสียหายตามไปด้วย จากปัญหาเล็ก ๆ เช่น จากแค่เปลี่ยนหัวเทียน อาจกลายเป็นซ่อมเครื่องยนต์ยกชุดก็เป็นได้
คำจำกัดความ
ปนเปื้อน | ผสมอยู่, ปะปนอยู่, รวมอยู่ |
เล็ดลอด | แอบซ่อนไป, ลอบเข้าไป หรือออกมาด้วยความยากลำบาก โดยผ่านที่แคบ ๆ หรือที่ลับตาคน |
รอบเดินเบา | การที่เครื่องยนต์ของรถทำงานในขณะที่รถไม่ได้เคลื่อนที่ หรือเมื่อรถตกลงมาถึงจุดพักคือรอบต่อนาที |