​​รถไม่ค่อยได้ขับ​​ ต้องทำประกันรถยนต์แบบไหน ถึงตอบโจทย์คุณได้มากที่สุด ?​

แชร์ต่อ
รถไม่ค่อยได้ขับ​​ ทำประกันรถยนต์แบบไหน ถึงตอบโจทย์มากที่สุด ?​ | มิสเตอร์ คุ้มค่า

บางบ้านมีรถแต่ไม่ค่อยได้ใช้ แต่ค่าใช้จ่ายก็ยังต้องมีอยู่ ทั้งการดูแลและเรื่องของประกันรถไม่ค่อยได้ขับต้องทำประกันรถยนต์แบบไหน ? แล้วถ้าหากจำเป็นควรเลือกความคุ้มครองประกันรถยนต์ระดับไหน ? ประกันชั้น1, 2 หรือ 3 ถึงตอบโจทย์ ”ความคุ้มค่า” ตรงใจมากที่สุด ไปดูกันกับความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท (ที่เหมาะสมกับการใช้งาน) ต้องเลือกแบบไหน MrKumka จะเล่าให้ฟัง

รถไม่ค่อยได้ขับ เลือกประกันประเภทไหนดี ?

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังตั้งคำถาม ว่ารถไม่ค่อยได้ขับควรซื้อความคุ้มครองประกันรถยนต์แบบไหน ให้ตอบโจทย์ ตรงใจ และคุ้มค่ามากที่สุด วันนี้เรามีประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท ที่เหมาะสำหรับรถไม่ค่อยได้ขับมาให้เรียบร้อยแล้ว หลัก ๆ มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

  • 1. ประกันชั้น 2

    คำตอบของ “ทางเลือก” ที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากทำประกันรถยนต์ให้กับรถไม่ค่อยได้ขับ ประกันรถยนต์ 2 อาจเป็นคำตอบที่ดี ด้วยจุดเด่นในเรื่องประกันชั้น 2 ราคาที่สบายกระเป๋า แต่ยังคงได้รับความคุ้มครองที่ค่อนข้างครอบคลุม เช่น รถหาย, ไฟไหม้, ความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ของคู่กรณี

    นอกจากนี้ประกัน 2 ยังคุ้มครองความเสียหายต่ออุบัติเหตุส่วนบุคคล และเงินค่าประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญาอีกด้วย สำหรับคนที่อยากได้รับความคุ้มครองประกันรถยนต์ ที่ให้ความคุ้มครองได้ดี ราคาไม่แพง แนะนำให้เช็คราคาประกันรถยนต์ 2 ให้ดีก่อนตัดสินใจทำประกันรถยนต์

  • 2. ประกันชั้น 3+

    อีกหนึ่งประกันรถยนต์ทางเลือกสำหรับรถไม่ค่อยได้ขับที่น่าสนใจ คือ ประกัน 3 พลัส มีจุดเด่นเรื่องราคาที่ไม่แพง ให้ความคุ้มครองครอบคลุมกว่าประกันรถยนต์ชั้น 3 ตรงที่ “ซ่อมรถให้คู่กรณีและรถยนต์คันที่เอาประกัน” แต่ต้องเป็นกรณีรถชนรถเท่านั้น ซึ่งประกันภัยรถยนต์ประเภทนี้ ถือเป็นประกันที่คุ้มค่าและตอบโจทย์ได้ดีมาก ๆ เช่นกัน

  • 3. ประกันชั้น 3

    ปิดท้ายกับประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองต่ำที่สุด อย่างประกัน 3 ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่มีความชำนาญในการขับขี่พอสมควร และยังเหมาะสำหรับรถไม่ค่อยได้ขับอีกด้วย แต่จะให้ความคุ้มครอง “เฉพาะคู่กรณี” เท่านั้น

อย่างที่เห็นว่าประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภทให้ความคุ้มครองแตกต่างกันออกไป ดังนั้นหากต้องการได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่า ราคาตอบโจทย์ เหมาะสำหรับรถไม่ค่อยได้ขับ แนะนำให้เปรียบเทียบประกันรถยนต์แต่ละประเภท รวมถึง “ราคา” ให้ดี เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เอาประกันเอง

ทำไมถึงควรเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ 2 ก่อนซื้อ ?

ไม่ว่าคุณจะซื้อประกันรถยนต์ชั้น 2, ประกันชั้น 2 บวก หรือชั้นไหน ๆ ก็ตาม สิ่งที่ควรทำมากที่สุด คือ “เช็คเบี้ยประกันรถยนต์” ก่อนตัดสินใจทำประกันรถยนต์ ด้วย “เหตุผล” ดังต่อไปนี้

  1. เช็คประกันรถยนต์ 2 ราคา ช่วยให้มีทางเลือกที่หลากหลาย

    การเช็คประกัน 2 ไม่จำกัดอายุรถ ก่อนตัดสินใจทำประกันจากหลาย ๆ บริษัท จะช่วยให้ผู้เอาประกันมีตัวเลือกที่มากขึ้น ยิ่งในปัจจุบันสามารถเช็คประกัน 2 ราคาผ่านช่องทางออนไลน์ได้แทบทุกบริษัท จึงทำให้ผู้เอาประกันได้รับค่าเบี้ยที่ตอบโจทย์ แถมสบายกระเป๋าสุด ๆ

  2. เช็คราคาประกันชั้น 2 ก่อนซื้อ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

    ด้วยที่สามารถเช็คเบี้ยประกันจากหลาย ๆ บริษัทได้อย่างอิสระ จึงทำให้ผู้เอาประกัน “ประหยัด” ได้มากขึ้น เนื่องจากเลือกซื้อประกันที่ราคาสบายกระเป๋า แต่ให้ความคุ้มครองที่คุ้มค่า จึงเป็นเหตุผลที่หลาย ๆ คนควรเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ 2 รวมถึงชั้นอื่น ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ

  3. เช็คประกัน 2 พลัส ช่วยวางแผนค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้

    ด้วยความที่เบี้ยประกันรถยนต์เป็นอะไรที่ต้อง “แบกรับ” ทุกเดือน ทุกปี (ขึ้นอยู่กับการเลือกจ่าย) หากมีการเช็คราคาเพื่อต่อล่วงหน้า นอกจากจะช่วยให้วางแผนการเงินได้ดีมาก ๆ แล้ว ยังทำให้ได้รับ “ส่วนลด” ด้วยเช่นกัน

ไม่ค่อยได้ใช้รถ จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะไหม ?

อีกหนึ่งคำถามคาใจของคนมีรถ คือ รถไม่ค่อยได้ขับจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ตามระยะที่กำหนดมาหรือไม่ ? บอกตรงนี้เลยว่า “จำเป็นต้องเปลี่ยน” เนื่องจากการเปลี่ยนถ่ายตามระยะที่กำหนด ถือเป็น “หัวใจสำคัญ” ของการดูแลรักษาเครื่องยนต์

เพราะนอกจากจะช่วยให้เครื่องยังคงทำงานได้ตามปกติแล้ว ยังป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วนได้รับความเสียหายจากคราบเขม่าของการเผาไหม้ เศษโลหะชิ้นส่วน หรือคราบสกปรกต่าง ๆ แม้ว่าจะเป็นรถไม่ค่อยได้ขับ แต่พอสตาร์ทรถขึ้นมาเมื่อไหร่ เครื่องยนต์ก็ทำงานเต็มระบบอยู่ดี ยิ่งฝืนใช้น้ำมันเครื่องเก่า ก็ยิ่งทำให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายตามไปด้วย

รถไม่ค่อยได้ขับ จอดทิ้งไว้ความเสียหายอะไรบ้างที่จะถามหา

รถไม่ค่อยได้ขับ จอดทิ้งไว้ความเสียหายอะไรบ้างที่จะถามหา | มิสเตอร์ คุ้มค่า

จอดทิ้งไว้นาน ๆ รถไม่ค่อยได้ขับ ไม่สตาร์ท ไม่เอาไปวิ่งวอร์มเครื่องเลย ใช่ว่าดีกลับกันผลเสียมีมากกว่าคุณใช้รถทุกวันเสียด้วยซ้ำ ไม่ว่าคุณจะไม่ค่อยได้ขับรถคันใดคันหนึ่ง เนื่องจากเหตุผลขี่มอเตอร์ไซค์สะดวกกว่าหรือมีรถหลายคัน จงรู้ไว้เลยว่ารถที่จอดนิ่ง ๆ เฉย ๆ อาจมีปัญหาตามมาหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น

  • 1. รอยต่าง ๆ บนรถ

    รอยต่าง ๆ ทั้งรอยที่เกิดจากฝุ่นละออง สิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่ปลิวมาบาดสีเคลือบรถภายนอก ทำให้เกิดรอยขนแมว หรือรอยคราบฝังลึก เช่น ขี้นก ขี้จิ้งจก หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดการฝังแน่นจนทำความสะอาดได้ยาก มากไปกว่านั้นยังอาจทำให้สีรถยนต์ได้รับความเสียหายตามไปด้วย

  • 2. แบตเตอรี่เสื่อม

    ต่อให้จอดรถทิ้งไว้แค่ 2-3 วัน ก็อาจทำให้เจอปัญหาสตาร์ทรถไม่ติด เนื่องจากเครื่องยนต์และแบตเตอรี่เย็นได้ ยิ่งถ้าหากจอดรถทิ้งไว้นาน ๆ เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน มีโอกาสที่แบตเตอรี่จะเสื่อมหรือไม่มีประจุทำงานเกิดขึ้นได้เช่นกัน เนื่องจากไม่ได้มีการจ่ายไฟไปยังส่วนต่าง ๆ ของรถนั่นเอง

  • 3. ของเหลวเสื่อมสภาพ

    “ของเหลว” เหมารวมถึงน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ และของเหลวอื่น ๆ โดยเฉพาะ “น้ำมันเชื้อเพลิง” ที่มีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์ เมื่อไม่ได้ใช้งานรถยนต์นาน ๆ อาจเกิดการระเหย ค่าออกเทนลดลง รวมถึงมีเชื้อราหรือแบคทีเรียเกิดขึ้น หากวันไหนอยากใช้รถขึ้นมา อาจทำให้การเผาไหม้เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ หรือบางคันอาจหนักถึงขั้นสตาร์ทรถไม่ติดก็เป็นได้

  • 4. สัตว์กัดแทะเครื่องยนต์

    ด้วยสภาพรถยนต์ทั้งห้องโดยสาร หรือห้องเครื่องก็ดี ถือเป็น “สถานที่ปิดมิดชิด” ที่สัตว์ต่าง ๆ เช่น จิ้งจก หนู ตุ๊กแก มด มองว่าเป็น “สถานที่ปลอดภัย” จึงพากันเข้าไปอยู่อาศัย กัดแทะสายไฟและอุปกรณ์ต่าง ๆ นอกจากจะสร้างความสำคัญแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ตามมาได้

  • 5. ยางรถยนต์เสื่อมสภาพ

    “ยางรถยนต์” ปกติก็จะเสื่อมสภาพตามการใช้งานอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นชิ้นส่วนที่สัมผัสกับถนนอยู่ตลอดเวลา กรณีที่เป็นรถไม่ค่อยได้ขับ จอดรถทิ้งไว้เฉย ๆ ไม่ใช่เรื่องดี หรือการถนอมยางอย่างที่เข้าใจ เพราะลมภายในจะค่อย ๆ ซึมออกมา รวมถึงด้านที่สัมผัสกับถนนเป็นเวลานาน จะเกิดการแบนและเสื่อมสภาพ ต้องเสียเงินเปลี่ยนยางใหม่อย่างแน่นอน

รถไม่ค่อยได้ขับต้องดูแลยังไง ?

หากคุณจำเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้นาน ๆ และไม่อยากให้ปัญหามาคอยกวนใจ หรือสร้างความเสียหายอื่น ๆ ตามมาไม่รู้จบ วันนี้เราลิสต์วิธีดูแลรถยนต์มาให้เรียบร้อยแล้ว ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

  • 1. หาที่จอดให้เหมาะสม

    นอกจากจะหาที่จอดรถให้เหมาะสมสำหรับจอดรถทิ้งไว้นาน ๆ แล้ว ยังต้องเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยด้วย เนื่องจากความชื้น แสงแดด และละอองฝน ล้วนมีผลต่ออุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถ เช่น ทำให้สีรถยนต์ซีดจาง ยางรถยนต์เสื่อมสภาพ หรืออาจทำให้เกิดเชื้อราและสนิมได้

    แนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงการจอดรถยนต์ใต้ต้นไม้ใหญ่ เพราะถึงแม้ว่าจะให้ร่มเงาแต่กิ่งไม้อาจหัก หรือต้นไม้อาจโค่นใส่รถได้ นอกจากนี้บริเวณโดยรอบต้องไม่เป็นป่ารกร้าง หรืออยู่ใกล้ถังขยะ เพราะอาจทำให้สัตว์นานาชนิดเข้ามาปักหลักปักฐานในรถยนต์ของคุณได้

  • 2. ทำความสะอาดรถยนต์

    แม้จะเป็นรถไม่ค่อยได้ขับ แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถละเลยการทำความสะอาดได้ ไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายในก็ตาม แนะนำว่าควรล้างรถอย่าสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่น รวมถึงคราบสกปรกต่าง ๆ ที่อาจทำให้สีรถยนต์ผิดเพี้ยนไปจากเดิมได้

    นอกจากนี้ยังควรหาผ้าคลุมรถมาใช้ด้วย เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันสิ่งสกปรกแล้ว ยังช่วยให้สีรถยนต์ของคุณดูเหมือนใหม่เสมอ และควรเก็บของที่ไม่จำเป็นออกจากรถให้เรียบร้อยแล้ว เพื่อลดน้ำหนักในการบรรทุกให้น้อยลง

  • 3. สตาร์ทรถเป็นระยะ

    แม้จะไม่ค่อยได้ขับรถไปไหน แต่ก็ควรสตาร์ทรถทิ้งไว้บ้าง “อย่างน้อย” ทุก ๆ 2-3 วัน หรือทุก ๆ 2 สัปดาห์ เพื่อให้เครื่องยนต์ภายในได้ทำงาน ของเหลวต่าง ๆ ได้มีการหมุนเวียน นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันแบตเตอรี่เสื่อมสภาพได้ดีมาก ๆ

    ทั้งหมดนี้เป็นทริคดูแลรถไม่ค่อยได้ขับที่ช่วยลดความเสียหายที่ ‘อาจ’ เกิดขึ้นตามมาได้ดีมาก ๆ นอกจากนี้ยังควรเช็ควัตถุที่เป็นอันตรายต่อตัวรถ โดยเฉพาะพาวเวอร์แบงค์ แว่นตา หรืออื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้

เชื่อว่าหลายคนที่มีรถไม่ค่อยได้ขับอยู่ในครอบครอง ก็คงเข้าใจแล้วว่าประกันรถยนต์ชั้น 2, ประกันรถยนต์ 3 รวมถึงประกัน 3 พลัส ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง และถ้าหากต้องการความคุ้มค่า ตอบโจทย์ต้องเลือกแบบไหน นอกจากนี้อย่าลืมให้ความสำคัญเรื่องการดูแลรักษารถยนต์ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายตามมาในอนาคต

คำจำกัดความ
เอทิลแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ที่สามารถนำมารับประทานได้ ผลิตได้จากกระบวนการหมัก (fermentation) เพื่อให้เกิดแอลกอฮอล์ (alcoholic fermentation)
ค่าออกเทน ตัวเลขที่บอกถึงความสามารถในการต้านทานการน็อก (Antiknock Quality) ของน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เบนซิน
เบี้ยประกัน จำนวนเงินที่บุคคล หรือ องค์กร ต้องจ่ายให้กับผู้รับประกันภัยตามรายละเอียดกรมธรรม์

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่