หัวข้อที่น่าสนใจ
เป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจมาก ๆ ว่า ยกเลิกประกันรถ ได้เงินคืนไหม? ต้องบอกก่อนเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ มีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ของตัวผู้เอาประกันเอง ต้องบอกว่า “การขอยกเลิกกรมธรรม์สามารถทำได้ตามกฎหมาย” ไม่ว่าจะเป็นผู้เอาประกันยกเลิกเอง หรือบริษัทประกันภัยเป็นฝ่ายยกเลิก จะมีรายละเอียดอะไรบ้าง ตามไปทำความเข้าใจกันเลย !
ไขข้อสงสัย ยกเลิกประกันรถ ได้เงินคืนไหม ?
ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายยกเลิกกรมธรรม์ ฝ่ายผู้เอาประกันจะได้เงินคืนเสมอ ย้ำอีกครั้งว่าผู้เอาประกันมีสิทธิ์ได้รับเบี้ยประกันคืนตาม “อัตราส่วนการคืนเบี้ยประกัน” ที่กำหนดไว้ โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ที่ระบุอยู่ในกรมธรรม์ ซึ่งจะนับวันที่บริษัทได้รับเอกสารแจ้งยกเลิกเป็น “วันสิ้นสุดประกันภัย”
ในกรณีที่เป็นการต่อประกัน แนะนำว่าควร “ยกเลิกกรมธรรม์ก่อนวันคุ้มครอง” เพื่อจะได้ไม่เสียค่าดำเนินการมาก แถมยังใช้เวลาไม่นานอีกด้วย เพราะส่วนใหญ่ที่ยกเลิกหลังได้รับความคุ้มครองแล้ว มักใช้เวลาเป็นเดือนถึงจะสามารถยกเลิกได้อย่างสมบูรณ์
ยกเลิกประกันภัยรถยนต์ ได้เงินคืนเท่าไหร่ ?
โดยปกติแล้วการขอยกเลิกประกันภัยรถยนต์ ผู้เอาประกันจะได้รับเงินคืนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาคบังคับหรือภาคสมัครใจ แต่จะได้เงินคืนเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับ “ระยะเวลาที่ประกันคุ้มครองไปแล้ว” โดยจะมีอัตราการคืนเบี้ยประกันดังต่อไปนี้
อัตราคืนเบี้ยประกันรถยนต์ ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
จำนวนเดือนที่คุ้มครอง | เบี้ยประกันคืนร้อยละ | จำนวนเดือนที่คุ้มครอง | เบี้ยประกันคืนร้อยละ | จำนวนเดือนที่คุ้มครอง | เบี้ยประกันคืนร้อยละ |
---|---|---|---|---|---|
1 | 80% | 5 | 40% | 9 | 0% |
2 | 70% | 6 | 30% | 10 | 0% |
3 | 60% | 7 | 20% | 11 | 0% |
4 | 50% | 8 | 15% | 12 | 0% |
อัตราคืนเบี้ยประกันรถยนต์ ภาคสมัครใจ
จำนวนวันประกันภัย | ร้อยละของเบี้ยประกันเต็มปี | จำนวนวันประกันภัย | ร้อยละของเบี้ยประกันเต็มปี | จำนวนวันประกันภัย | ร้อยละของเบี้ยประกันเต็มปี |
---|---|---|---|---|---|
1-9 | 72% | 120-129 | 44% | 240-249 | 20% |
10-19 | 68% | 130-139 | 41% | 250-259 | 18% |
20-29 | 65% | 140-149 | 39% | 260-269 | 16% |
30-39 | 63% | 150-159 | 37% | 270-279 | 15% |
40-49 | 61% | 160-169 | 35% | 280-289 | 13% |
50-59 | 59% | 170-179 | 32% | 290-299 | 12% |
60-69 | 56% | 180-189 | 30% | 300-309 | 10% |
70-79 | 54% | 190-199 | 29% | 310-319 | 8% |
80-89 | 52% | 200-209 | 27% | 320-329 | 6% |
90-99 | 50% | 210-219 | 25% | 330-339 | 4% |
100-109 | 48% | 220-229 | 23% | 340-349 | 3% |
110-119 | 46% | 230-239 | 22% | 350-359 | 1% |
360-366 | 0% |
ขั้นตอนการยกเลิกประกันภัยรถยนต์
การยกเลิกประกันภัยรถยนต์ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ “ต้องแจ้งบริษัทประกันภัยเป็นลายลักษณ์อักษร” ถึงเหตุผลของการยกเลิกสัญญา ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ “ช่วงเวลา” ที่คุณยกเลิก ดังนี้
ยกเลิกก่อนถึงวันคุ้มครอง
การยกเลิกประกันภัยรถยนต์ “ก่อนถึงวันคุ้มครอง” แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีเอกสารกรมธรรม์ตัวจริงยังไม่ออก
- ติดต่อบริษัท โบรกเกอร์ หรือตัวแทนที่แจ้งทำประกันภัยรถยนต์ด้วย
- แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะ “ยกเลิกประกันภัยรถยนต์” พร้อมกับแจ้งเลขทะเบียนรถ ชื่อผู้เอาประกัน และสาเหตุที่ยกเลิก
กรณีเอกสารกรมธรรม์ตัวจริงออกแล้ว
- ติดต่อบริษัท โบรกเกอร์ หรือตัวแทนที่แจ้งทำประกันภัยรถยนต์ด้วย
- แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะ “ยกเลิกประกันภัยรถยนต์” พร้อมกับแจ้งเลขทะเบียนรถ ชื่อผู้เอาประกัน และสาเหตุที่ยกเลิก
- ส่งเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงให้เจ้าหน้าที่ เพื่อทำเรื่องยกเลิก
ยกเลิกหลังคุ้มครองไปแล้ว
- ติดต่อบริษัท โบรกเกอร์ หรือตัวแทนที่แจ้งทำประกันภัยรถยนต์ด้วย
- แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะ “ยกเลิกประกันภัยรถยนต์” พร้อมกับแจ้งเลขทะเบียนรถ ชื่อผู้เอาประกัน และสาเหตุที่ยกเลิก
- ส่งเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงให้เจ้าหน้าที่ เพื่อทำเรื่องยกเลิก
รถจักรยานยนต์ยกเลิกประกันภัย พรบ. ได้ไหม ?
สำหรับรถจักรยานยนต์ที่ต้องการ “ยกเลิกกรมธรรม์” สามารถยกเลิกได้เช่นเดียวกัน แต่ผู้เอาประกันจะได้รับเงินค่าเบี้ยคืนตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ในอัตราการคืนเบี้ยประกันภัย พรบ.รถจักรยานยนต์ ดังนี้
จำนวนเดือนที่คุ้มครอง | เบี้ยประกันคืนร้อยละ | จำนวนเดือนที่คุ้มครอง | เบี้ยประกันคืนร้อยละ | จำนวนเดือนที่คุ้มครอง | เบี้ยประกันคืนร้อยละ |
---|---|---|---|---|---|
1 | 80% | 5 | 40% | 9 | 10% |
2 | 70% | 6 | 30% | 10 | 0% |
3 | 60% | 7 | 20% | 11 | 0% |
4 | 50% | 8 | 15% | 12 | 0% |
ขั้นตอนการยกเลิกประกัน พรบ.รถจักรยานยนต์ และเอกสารที่ใช้
ผู้เอาประกันภัยสามารถขอยกเลิกได้ที่ “สาขาของบริษัทกลางฯ ทั่วประเทศ” โดยต้องเตรียมเอกสารไปให้พร้อม ดังต่อไปนี้
- ต้นฉบับกรมธรรม์ที่ขอยกเลิก
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
กรณีที่ไม่สะดวกเดินทางไปยกเลิกด้วยตัวเอง สามารถ “มอบอำนาจ” ให้ผู้อื่นมาทำการขอยกเลิกแทนได้ โดยแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
- หนังสือมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่า แม้ว่าจะขอยกเลิกกรมธรรม์เรียบร้อยแล้ว แต่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถต้อง “จัดทำประกันภัย พรบ. ด้วย” เพราะไม่อย่างนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย โดยมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
ประกันภัยรถยนต์ หรือประกันภัยรถจักรยานยนต์ นับเป็น “เพื่อนร่วมทาง” ที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจได้แล้ว ยังช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุได้อีกด้วย ดังนั้นหากต้องการยกเลิก เพื่อเปลี่ยนไปซื้อความคุ้มครองที่ครอบคลุมกว่า ได้รับการบริการที่ประทับใจกว่า ถือเป็น “การยกเลิกที่สมเหตุสมผล” แต่ถ้าหากยกเลิกเพราะมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เมื่อเกิดอุบัติเหตุคุณจะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งแพงกว่าค่าเบี้ยประกันหลายเท่าเลยล่ะ ! หรือให้ง่ายกว่านั้นคุณเข้าเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ที่เหมาะสมกับคุณก่อนได้ที่ มิสเตอร์ คุ้มค่า เราเป็นตัวช่วย เป็นตัวช่วยที่ดีให้คุณไม่เกิดปัญหาภายหลังได้