เช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชนได้ไหม ? และหากบัตรหายยังเช็คได้ไหม ?

แชร์ต่อ
เช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชนได้ไหม ? และหากบัตรหายยังเช็คได้ไหม ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

กรมธรรม์ คือหนังสือสัญญาที่ระบุรายละเอียดความคุ้มครองต่าง ๆ แต่ถ้าบางคนมีหลายตัว ทำประกันไว้หลายที่และไม่แน่ใจว่าทำประกันกับที่ไหนไว้บ้าง คำถามคือจะสามารถเช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชนได้ไหม? แล้วถ้าบัตรประชาชนหายต้องทำยังไง ยังเช็คได้อยู่หรือเปล่า เรื่องวุ่น ๆ ของวัยรุ่นมีประกัน มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้เรียบร้อยแล้ว ตามไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันเลย

กรมธรรม์ประกันภัยมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง ?

กรมธรรม์ประกันภัยมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

อย่างที่บอกไปแล้วว่า กรมธรรม์ คือ หนังสือสัญญาที่ระบุรายละเอียดความคุ้มครองทั้งหมด นั่นหมายความว่าสำคัญมาก ๆ สำหรับคนทำประกัน และเมื่อเกิดเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ต้องใช้ประกันภัย กรมธรรม์จะเป็นสิ่งที่ช่วย ‘ยืนยัน’ การคุ้มครองที่ได้รับจากบริษัทประกัน ยืนยันว่าทางบริษัทฯ จะให้ความช่วยเหลืออะไรบ้างแก่ผู้เอาประกันโดยจะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ทั้งหมด

ทั้งนี้ ‘รูปแบบกรมธรรม์’ ในปัจจุบัน แบ่งตามประเภทประกันภัย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประกันภัยชีวิต และประกันวินาศภัย โดยแบ่งออกได้ดังนี้

1. ประกันภัยชีวิต

แบ่งแยกย่อยได้อีก 4 รูปแบบ ได้แก่

  • แบบกำหนดระยะเวลา
  • แบบตลอดชีพ
  • แบบสะสมทรัพย์
  • แบบสะสมทรัพย์

2. ประกันวินาศภัย

เป็นรูปแบบประกันสำหรับให้ความคุ้มครองตาม ‘ลักษณะอันตรายที่เกิดขึ้น’ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

  • ประกันอัคคีภัย: ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากเหตุไฟไหม้ หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับที่อยู่อาศัย บ้าน หรือคอนโด
  • ประกันภัยรถยนต์: ให้ความคุ้มครองจากเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับรถยนต์
  • ประกันภัยทางทะเล: ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเรือ และทรัพย์สินบนเรือ (ระหว่างที่เรือยังไม่เทียบท่า)

เช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชนได้ไหม ?

หากต้องการเช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชน เพราะว่าจำไม่ได้ว่าทำประกันไว้กับที่ไหน บอกตรงนี้เลยว่า ‘ทำได้’ โดยมีวิธีการตรวจสอบกรมธรรม์ทั้งหมด 3 วิธี ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • 1. ตรวจสอบผ่านทางออนไลน์

    วิธีแรกสำหรับการเช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชน เป็นการเช็คผ่านแอปพลิเคชัน “กรมธรรม์ของฉันหรือ My Policy” ซึ่งทำได้ไม่ยาก เพียงทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

    1. เพิ่ม Line Official Account @OICConnect เป็นเพื่อน
    2. ลงทะเบียน พร้อมทำการยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน ด้วยการถ่ายบัตรประชาชน และถ่ายภาพตนเองคู่กับบัตรประชาชน
    3. กรอกเบอร์โทรศัพท์ของผู้ใช้งาน เพื่อขอรับรหัส OTP เพื่อยืนยันตัวตน
    4. เมื่อลงทะเบียนสำเร็จแล้ว ก็สามารถเช็คกรมธรรม์ได้ทันที
  • 2. ตรวจสอบโดยการยื่นเรื่องกับสำนักงาน คปภ.

    สำหรับการเช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชนวิธีต่อมา คือ “ยื่นเรื่องตรวจสอบที่สำนักงาน คปภ. หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย” โดยตรง ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังสายด่วนประกันภัย 1186 หรือยื่นคำร้องตามขั้นตอนต่อไปนี้

    1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอที่เว็บไซต์ คปภ.
    2. กรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำร้อง ดังนี้
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง
      • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
      • สำเนาใบมรณบัตร
      • สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี
      • สำเนาทะเบียนรถ
      • หลักฐานอื่น เช่น หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ หรือทะเบียนสมรส
    3. นำแบบฟอร์มและเอกสารทั้งหมดส่งในอีเมล
  • 3. ตรวจสอบโดยการยื่นเรื่องกับฐานข้อมูลกลางประกันวินาศภัย

    การเช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชนวิธีสุดท้าย คือ “ยื่นเรื่องกับฐานข้อมูลกลางประกันภัย หรือ TID” ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าแนท จำกัด บริษัทนี้มีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลด้านการประกันวินาศภัยทุกประเภทในประเทศไทย สามารถตรวจสอบกรมธรรม์ได้ที่เว็บไซต์ หรือส่งอีเมลไปยัง info@insure.co.th

นอกจากเช็คกรมธรรม์เพื่อตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ แล้ว หากกำลังมองหา “ประกันภัยรถยนต์” ที่ให้ความคุ้มครองรถคันโปแบบจัดเต็ม แนะนำให้เปรียบเทียบประกันรถยนต์ให้ดีก่อน ว่าความคุ้มครองตรงกับที่ต้องการไหม คุ้มค่ากับค่าเบี้ยที่จ่ายไปหรือเปล่า

เช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชน มีประโยชน์ยังไง ?

ต้องบอกก่อนว่าการเช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลการทำประกันได้ ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เพราะนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวก ในกรณีที่ผู้ถือกรมธรรม์ทำประกันหลายฉบับ หรือทำกรมธรรม์หายแล้ว ยังมี ‘ประโยชน์’ อื่น ๆ อีกมากมาย ดังนี้

  • ช่วยวางแผนบริหารความเสี่ยง การต่ออายุกรมธรรม์
  • ช่วยวางแผนการซื้อประกันเพิ่ม
  • ช่วยบริหารจัดการเงิน เพื่อวางแผนชำระประกันแต่ละงวด
  • ช่วยตรวจสอบสถานะใบอนุญาตตัวแทนประกันภัย และนายหน้าประกันภัย

เช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชน แล้วพบว่าหมดอายุ เรียกเงินคืนได้ไหม ?

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า “ประกันหมดอายุ” จากสาเหตุใดได้บ้าง?

  1. ประกันหมดระยะเวลาการคุ้มครองสิ้นสุด

    การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการคุ้มครอง ส่วนใหญ่มักจะเป็น ‘รายปี’ และเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ก็เท่ากับสิ้นสุดความคุ้มครอง และบริษัทฯ ซึ่งการคุ้มครองอาจถูกตัดให้โดยอัตโนมัติ

  2. หมดอายุเพราะขาดส่งเบี้ยประกัน

    การขาดส่งเบี้ยประกัน ก็ไม่ต่างจากการ ‘บอกยกเลิก’ โดยบริษัทฯ เพราะไม่จ่ายค่าเบี้ยประกันตามระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ประกันก็สามารถสิ้นสุดหรือประกันถูกตัดได้เช่นกัน

  3. ยอดการเคลมประกันครบตามสัญญา

    หากผู้ทำประกันเบิกเคลมประกัน เรียกร้องสินไหมต่าง ๆ ครบตามยอดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์แล้ว จะทำให้สัญญาประกันภัยสิ้นสุดการคุ้มครอง หรือประกันหมดอายุลงก่อนกำหนดได้เช่นกัน

และถ้าหากกำลังสงสัยว่าประกันไม่ครบสัญญา หรือประกันหมดอายุ สามารถเรียกเงินคืนได้ไหม? เรามีคำตอบมาให้ด้วยเช่นกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

  1. กรมธรรม์ครบสัญญาตามเงื่อนไข

    สามารถยื่นขอเงินคืนได้ ด้วยการนำกรมธรรม์ พร้อมบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ไปติดต่อบริษัทประกันเพื่อรับเงินคืนได้เลย

  2. กรณีส่งเบี้ยประกันไม่ครบ

    รวมถึงผู้เอาประกันไม่ประสงค์ส่งเบี้ยประกันต่อ สามารถเสนอเรื่องเพื่อ ‘ขอเวนคืนประกัน’ และรับเงินที่ได้ชำระไปแล้วได้

  3. กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิต

    ทายาทสามารถยื่นรับเงินเต็มทุนประกันที่ทำไว้ที่บริษัทประกันได้เลย

ทำบัตรประชาชนหาย ต้องแจ้งความไหม ?

เมื่อการตรวจสอบหากรมธรรม์ของคุณต้องมีบัตรประชาชนเป็นเอกสารสำหรับประกอบการยื่นคำร้อง แต่สำหรับคนที่ทำบัตรประชาชนหายไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจอีกต่อไป เพียงเดินทางไปติดต่อสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ พร้อมกับแจ้งบัตรประชาชนหาย เพื่อติดต่อขอทำใหม่ โดยมีรายละเอียด (เรื่องควรรู้) ดังนี้

  1. แจ้งบัตรประชาชนหาย/ติดต่อขอทำบัตรประชาชนใหม่ได้ที่อำเภอ หรือสำนักงานเขต ภายใน 60 วัน นับจากวันที่บัตรประชาชนหาย หากไม่สามารถมาขอทําบัตรประชาชนใหม่ บัตรหายได้ภายใน 60 วัน จะต้องเสียค่าปรับ 100 บาท
  2. เตรียมเอกสารสำคัญส่วนตัว เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน แล้วทําบัตรประชาชนใหม่ ใช้อะไรบ้าง ไปดูกันเลย
    • สำเนาทะเบียนบ้านตัวจริง
    • เอกสารอื่น ๆ ที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง, หลักฐานการศึกษา ฯลฯ
  3. ค่าธรรมเนียม ในการขอทําบัตรประชาชนใหม่ บัตรหาย อยู่ที่ 20 บาท
*หมายเหตุ: กรณีที่ไม่มีเอกสารยืนยันตัวตน (ข้อ 2) สามารถให้เจ้าบ้าน หรือบุคคลที่เชื่อถือได้ไปให้การรับรองแทนได้

ทําบัตรประชาชน (นอกเขต) ได้ไหม ? มีที่ไหนบ้าง ?

ปัจจบันประชาชนทุกคนสามารถทําบัตรประชาชน (นอกเขต) ได้แล้ว โดยสามารถขอออกบัตรประชาชนได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ กับหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการทำบัตรประชาชน ดังนี้

  1. สำนักงานเขต
  2. สำนักงานเทศบาล
  3. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
  4. ที่ว่าการอำเภอ

และสำหรับคนที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ก็สามารถขอทำบัตรประชาชนได้อย่างสะดวกสบาย รวดเร็ว แต่ต้องบอกก่อนว่า “กรณีบัตรประชาชนหาย จะไม่สามารถทําบัตรประชาชนที่สถานที่ต่อไปนี้ได้” ซึ่งจะมีที่ไหนบ้าง ? ตามไปดูกันเลย

  • 1. สถานีรถไฟฟ้าสยาม (ศูนย์การค้าสยามพารากอน)

    • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.30-19.00 น.
    • วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • 2. สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต

    • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    • วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • 3. สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่

    • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    • วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • 4. สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์

    • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    • วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • 5. สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข

    • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    • วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-19.00 น.

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเช็คกรมธรรม์ จากเลขบัตรประชาชน มี ‘ประโยชน์’ มากกว่าที่คิด แถมยังสะดวกสบาย เนื่องจากสามารถดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ นอกจากนี้หากทำบัตรประชาชนหาย แต่อยากเช็คกรมธรรม์ แนะนำให้ทําบัตรประชาชนใหม่ บัตรหายให้เรียบร้อยก่อน เพราะการเช็คกรมธรรม์ผ่านช่องทางออนไลน์ จำเป็นต้องใช้บัตรในการยืนยันตัวตนนั่นเอง

คำจำกัดความ
​​ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ​ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งไม่อาจควบคุมได้
​เทียบท่า ​เอามาใกล้ชิด หรือติดกัน
​นายหน้า ​บุคคลผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคล 2 ฝ่ายได้เข้าทำสัญญากัน​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่