ทริคในการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ของใครหลาย ๆ คน อาจมี “สิ่งที่ต้องเช็ก” ต่างกันออกไป และมีสิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจมองข้ามในความสำคัญคือ บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน หนึ่งในสิทธิประโยชน์ที่บริษัทประกันยินดีมอบให้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง บริการเปลี่ยนยางอะไหล่, บริการรถลากจูง, บริการจั๊มแบต เพื่อเพิ่มความอุ่นใจตลอดการเดินทาง ซึ่งจะมีรายละเอียดที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากแค่ไหน ? ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันได้เลย
บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน คืออะไร ?
บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน (Roadside Assistance Service) เป็น “สิทธิประโยชน์” ที่ติดมากับประกันภัยรถยนต์ มีจุดประสงค์ในการช่วยเหลือลูกค้าทุกคนเมื่อติดอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ บนท้องถนน เพื่อให้ลูกค้าของทางบริษัทฯ รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น โดยมีบริการหลากหลาย เช่น ให้คำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์ โดยช่างเทคนิคตลอด 24 ชั่วโมง หรือในกรณีที่รถเสียไม่ทราบสาเหตุ ก็มีบริการรถลากจูง, บริการพ่วงแบตเตอรี่ คอยให้บริการ
แม้กระทั่งขับรถเพลินจนน้ำมันหมด บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนยังมีบริการเติมน้ำมันให้อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในบริการดี ๆ ที่ช่วยให้ผู้เอาประกันคลายกังวลได้เยอะมาก ๆ เลยล่ะ หากคุณกำลังสงสัยว่าแท้จริงแล้วมีบริการอะไรอีกบ้าง ไม่ต้องไปหาจากที่อื่นให้เสียเวลา เพราะ MrKumka ลิสต์มาให้เรียบร้อยแล้ว ตามไปทำความเข้าใจในหัวข้อต่อไปกันได้เลย
บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน มีอะไรบ้าง ?
เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยทุกคนเข้าถึง “ความช่วยเหลือ” จากบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยไม่เสียผลประโยชน์ใด ๆ MrKumka จึงลิสต์บริการต่าง ๆ ที่ติดมากับประกันภัยรถยนต์ ให้ได้ทำความเข้าใจเพื่อสร้างความอุ่นใจตลอดการเดินทาง ซึ่งจะมีบริการอะไรที่สามารถเรียกใช้บริการได้บ้าง ไปดูกันเลย
1. บริการให้คำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์ โดยช่างเทคนิคตลอด 24 ชั่วโมง
เมื่อเกิดเหตุการณ์รถเสีย รถดับ หรือเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ผู้เอาประกันสามารถขอคำปรึกษา หรือขอความช่วยเหลือในการประสานงานต่าง ๆ กับทางบริษัทประกันภัยรถยนต์ได้ตามต้องการ เพราะทางบริษัทฯ มีบริการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคตลอด 24 ชั่วโมง
และไม่เพียงแต่ให้คำปรึกษาเท่านั้น บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนนี้ ยังช่วยจัดหารถเช่า ประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ แนะนำโรงพยาบาล และอื่น ๆ อีกมากมายได้อีกด้วย
2. บริการพ่วงแบตฟรี
กรณีที่แบตรถยนต์หมดกลางทาง แบตเสื่อม หรือใด ๆ ก็ตาม ไม่ต้องกังวลเลยสักนิด เพราะบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนมีบริการพ่วงแบตเตอรี่ด้วยการประสานงานจัดหาช่างจากร้านพ่วงแบตเตอรี่ใกล้ฉันมาพ่วงแบตนอกสถานที่หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ทันที
แต่ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแบตให้ใหม่แต่อย่างใด เนื่องจากบริการพ่วงแบตรถยนต์ใกล้ฉันเป็นเพียงการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้รถสามารถขับเคลื่อนไปยังอู่ซ่อมหรือศูนย์ซ่อม รวมถึงร้าน จั๊มแบตรถยนต์ใกล้ฉันที่ใกล้ที่สุดเท่านั้น
3. บริการรถยนต์ทดแทน
เพื่อให้การเดินทางของผู้เอาประกันภัยต่อเนื่อง เมื่อรถยนต์คันที่เอาประกันเสียฉุกเฉินระหว่างการเดินทางไกล ในระยะทางมากกว่า 100 กิโลเมตรขึ้นไป จนต้องเรียกใช้บริการรถลากจูงใกล้ฉันลากไปยังศูนย์บริการ และไม่สามารถซ่อมให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง
ทางบริษัทประกันจะดำเนินการจัดหา “รถยนต์ทดแทน” รวมถึงกรณีที่ต้องการที่พัก ตั๋วรถขนส่งสาธารณะ ทางบริษัทก็ยินดีจัดหามาให้ทั้งหมด ซึ่งบริการนี้ ‘อาจ’ มีค่าบริการหรือส่วนต่างที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเอง
4. บริการเติมน้ำมันฉุกเฉิน
หากรถยนต์คันที่เอาประกันดับกลางทาง เนื่องจากน้ำมันหมดฉุกเฉิน ไม่สามารถเคลื่อนรถไปยังปั๊มน้ำมันที่ใกล้ที่สุดได้ บริษัทประกันมีบริการเติมน้ำมันคอยให้บริการ โดยจะจัดหาเจ้าหน้าที่เพื่อนำส่งน้ำมันไปเติมให้ “ฟรี” ซึ่งจะเติมให้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการขับรถไปหาปั๊มน้ำมันที่ใกล้ที่สุด
แต่ต้องบอกก่อนว่าบริการนี้ อาจมีการจำกัดจำนวนครั้ง รวมถึงปริมาณในการเติมน้ำมัน (หน่วยเป็นลิตร) ต่อครั้งอีกครั้ง โดยจะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำ แนะนำให้ทำความเข้าใจรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีก่อน
5. บริการช่างกรณีทำกุญแจรถสูญหาย
กรณีที่กุญแจรถสูญหายผู้เอาประกันสามารถเลือกใช้บริการ “อย่างใดอย่างหนึ่ง” ได้เท่านั้น คือ ส่งเจ้าหน้าที่ไปรับกุญแจสำรองภายในระยะทางที่กำหนด โดยส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 20 กิโลเมตรต่อครั้ง หากเกินกว่าที่กำหนดอาจมีค่าบริการเพิ่มเติมเริ่มจาก 25 บาทขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับนโยบายของทางบริษัทประกัน)
หรือสามารถเลือกใช้บริการช่างกุญแจเพื่อเปิดประตูรถยนต์ ณ ที่เกิดเหตุได้เช่นเดียวกัน (ผู้เอาประกันเป็นผู้รับผิดชอบค่าบริการช่างกุญแจเอง) ในกรณีที่ล็อกรถโดยไม่ตั้งใจ เจ้าหน้าที่จะช่วยประสานงานเพื่อนำกุญแจสำรองมาให้ ณ จุดเกิดเหตุอีกด้วย
6. บริการรถลากจูง รถยก
กรณีที่รถเสียจนไม่สามารถขับเคลื่อนหรือซ่อมได้ ทางบริษัทประกันจะประสานงานจัดหารถลาก จูงใกล้ฉัน หรือรถยกใกล้ฉัน เพื่อช่วยเคลื่อนย้ายรถยนต์นำส่งอู่ซ่อมหรือศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุด ซึ่งบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนนี้ จะให้บริการฟรีที่ระยะทางเริ่มต้น 25 กิโลเมตร หากเกินกว่าระยะทางที่กำหนด ผู้เอาประกันอาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเอง
7. บริการช่วยเหลือฉุกเฉินหาคนขับรถ
หากผู้เอาประกันไม่สามารถขับขี่รถยนต์ได้ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการมึนเมา บริษัทประกันจะจัดหาคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อขับขี่ยานพาหนะที่ได้รับความคุ้มครอง (รถยนต์คันที่เอาประกัน) กลับไปยังที่พักอาศัยให้ โดยผู้เอาประกันจะต้องติดต่อบริษัทฯ ล่วงหน้า ‘อย่างน้อย’ 4 ชั่วโมง ก่อนทำการขอใช้บริการ
ในส่วนของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการซื้อสินค้า บริการ หรืออื่น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเรียกใช้บริการนี้ จะเป็นความรับผิดชอบระหว่างผู้เอาประกันและบุคคลที่สาม (ผู้เอาประกันจ่ายให้คนขับเอง เนื่องจากบริษัทฯ มีหน้าที่จัดหาคนที่เหมาะสมให้เท่านั้น)
ทั้งหมดนี้เป็นบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน ที่ห้อยมากับประกันภัยรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันภัยรถยนต์ 2+ ก็ตาม ซึ่งรายละเอียดและเงื่อนไขการเรียกใช้บริการต่าง ๆ เช่น บริการจั๊มแบต, บริการเปลี่ยนยางอะไหล่นอกสถานที่, บริการจัดหาร้าน จั๊มแบตรถยนต์ใกล้ฉัน และอื่น ๆ จะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละบริษัท แนะนำให้ทำความเข้าใจให้ดีก่อนเลือกใช้บริการ โดยเฉพาะคนที่เดินทางไกลบ่อย ๆ เพื่อความอุ่นใจตลอดการเดินทาง
สำหรับคนที่กำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ 2+ หรือประกันภัยรถยนต์ชั้นอื่น ๆ ที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ ค่าเบี้ยประกันสบายกระเป๋า แถมยังมาพร้อมกับบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนแบบจุก ๆ เช่น บริการจั๊มแบตรถยนต์ใกล้ฉัน, บริการเปลี่ยนยางอะไหล่นอก สถานที่, รวมถึงบริการจัดหาร้านพ่วงแบตเตอรี่ใกล้ฉัน เพื่อเพิ่มความราบรื่นให้กับการเดินทาง MrKumka พร้อมนำเสนอแผนประกันดีที่สุดให้คุณ แถมยังสามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้ก่อนใครอีกด้วย
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน มีวิธีรับมือยังไงบ้าง ?
การใช้รถใช้ถนนทุกวันนี้ แน่นอนว่าหลีกเลี่ยง “อุบัติเหตุ” ได้ยาก ดังนั้นตัวเราเองจึงต้องพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งจะมีวิธีรับมือที่ถูกต้องยังไงบ้าง ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันได้เลย
1. สังเกตสถานการณ์ และประเมินความเสี่ยง
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอันดับแรกให้ตั้งสติ พร้อมสังเกตสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ดี อย่าตื่นตระหนกมากจนเกินไป ในกรณีที่เป็นเพียงอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บสาหัส อาจไม่ต้องทำอะไรมาก แต่ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ แนะนำให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที
2. ใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินและตั้งสัญญาณเตือน
เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากจะต้องตั้งสติ ประเมินความเสี่ยง และสังเกตสถานการณ์แล้ว ยังต้องรีบเปิดไฟฉุกเฉิน และถ้าหากมีป้ายสามเหลี่ยมสะท้อนแสง ก็ควรนำออกมาตั้งทันที เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน หรือถ้าหากมีไฟฉาย รวมถึงอุปกรณ์สะท้อนแสง ก็ควรใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น
3. โทรแจ้งเหตุฉุกเฉิน
เมื่อสังเกตเห็นแล้วว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นค่อนข้างร้ายแรง ให้รีบโทรแจ้งเหตุฉุกเฉินที่เบอร์ 191 หรือ 1669 ทันที อย่าลืมบอกที่อยู่หรือจุดสังเกตใกล้เคียงอย่างชัดเจน ละเอียด เพื่อให้ทีมกู้ภัยและตำรวจเดินทางมาถึงจุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังควรแจ้งข้อมูลอื่น ๆ ที่สำคัญด้วย ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้บาดเจ็บ อาการของผู้บาดเจ็บ และสภาพรถที่เกิดเหตุ
4. ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
ในกรณีที่คุณมีความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือ (ปฐมพยาบาล) เบื้องต้น และอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ ควรช่วยเหลือผู้บาดเจ็บให้อยู่ในท่าที่สบายที่สุด แต่ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้กระทบกระเทือน แต่ถ้าหากมีอันตรายถึงชีวิต เช่น รถอาจจะไฟไหม้จนเกิดการระเบิด แบบนั้นถือเป็นเหตุร้ายแรงแนะนำให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัย
5. จดข้อมูลและรวบรวมหลักฐาน
ในขณะที่รอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทีมกู้ชีพ หรือบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน แนะนำให้จดบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเวลา สถานที่ และรายละเอียดของอุบัติเหตุ รวมถึงเก็บภาพถ่ายเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเคลมประกัน ไม่ว่าจะทำประกันภัยรถยนต์ 2+ หรือประกันชั้นไหน ๆ ก็ควรเก็บหลักฐานให้ละเอียด
เพราะหลักฐานต่าง ๆ นอกจากจะช่วยในเรื่องของการเคลมประกันได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนหาสาเหตุของเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย แนะนำว่าตั้งสติให้ดี และจดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
เกิดเหตุด่วน เหตุร้าย นอกจากบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน โทรหาใครได้อีกบ้าง ?
กรณีที่พบเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อุบัติเหตุร้ายแรง หรืออื่น ๆ เชื่อว่าหลายคนคงเกิดความสงสัยไม่ใช่น้อยว่า นอกจากบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนแล้ว ยังสามารถโทรหาใครเพื่อขอความช่วยเหลือได้อีกบ้าง MrKumka ได้ลิสต์เบอร์ฉุกเฉินหลัก ๆ มาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย
- 191 แจ้งเหตุด่วน
- 1669 แจ้งหน่วยกู้ภัย
- 1543 แจ้งอุบัติเหตุ เหตุฉุกเฉินบนทางด่วน
- 1586 แจ้งสายด่วนกรมทางหลวง
- 1728 แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางหลวง
- 1146 แจ้งตำรวจกรมทางหลวงชนบท
- 1155 แจ้งตำรวจท่องเที่ยว
- 1186 แจ้งสายด่วนประกันภัยตลอด 24 ชั่วโมง
- 1193 แจ้งตำรวจทางหลวง
- 1197 แจ้งสายด่วนจราจร ตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อยกเว้นในการเรียกใช้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน มีอะไรบ้าง ?
แม้ว่าบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนจะเป็น “สิทธิประโยชน์” ที่ผู้เอาประกันภัยประกันภัยรถยนต์ 2+ รวมถึงประกันชั้นอื่น ๆ ย่อมได้รับอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้วการเรียกใช้บริการพ่วงแบตนอกสถานที่ หรือบริการจัดหาร้านรับพ่วงแบตรถยนต์ใกล้ฉันก็มี “ข้อยกเว้น” ในการให้บริการเช่นเดียวกัน
โดยเงื่อนไขที่ทางบริษัทประกันจะไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากกรณีรถเสีย หรือเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ บนท้องถนน มีดังนี้
- มีผู้โดยสารเกินกว่าที่กำหนด
- อุบัติเหตุที่เกิดจากความมึนเมา
- บรรทุกน้ำหนักเกินจำนวน
- แข่งรถหรือทดสอบความเร็ว
- อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำผิดกฎหมาย เช่น หนีตำรวจ หรือขับรถฝ่าด่าน
สรุปได้ว่าไม่ว่าคุณจะเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ 2+ หรือชั้นไหน ๆ ก็มีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนติดมาด้วย เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้ผู้เอาประกันตลอดการเดินทาง ซึ่งทุก ๆ บริการ ไม่ว่าจะเป็นบริการเปลี่ยนยางอะไหล่, บริการพ่วงแบตฟรี, บริการรถลากจูง และบริการอื่น ๆ มีเงื่อนไขการเรียกใช้บริการที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ แนะนำให้ทำความเข้าใจให้ดีก่อน เพื่อผลประโยชน์ของตัวผู้เอาประกันเอง
คำจำกัดความ
สิทธิประโยชน์ | ประโยชน์ที่ได้ตามสิทธิ์ คือสิ่งที่เป็นผลดีที่บุคคลใด ๆ พึงจะได้รับตามที่ระบุไว้ในกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น |
ช่างเทคนิค | ตำแหน่งที่ครอบคลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางเทคนิค เช่น งานซ่อม สร้าง ประกอบ ดัดแปลง ออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ รวมถึงการดูแล บำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน |