ประกันสุขภาพอันไหนดีสำหรับมะเร็ง เหมาจ่ายหรือเจอจ่ายจบ

แชร์ต่อ
เลือกประกันมะเร็งเหมาจ่ายหรือเจอจ่ายจบแบบไหนดี | มิสเตอร์ คุ้มค่า

ในยุคที่ภัยร้ายรอบตัวมีได้ทั้งอุบัติเหตุและโรคภัยต่างๆ โรคมะเร็ง ถือเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่มีโอกาสคร่าชีวิตผู้ป่วยได้สูง โดยที่ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าปัจจัยใด เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งในแต่ละบุคคลได้ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ในปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งเยอะขึ้น เราจึงไม่รู้ว่าเจ้าโรคร้ายนี้จะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไหร่ การมีความคุ้มครองเพื่อความอุ่นใจ จึงช่วยให้คุณคลายกังวลจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งวันนี้ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก็มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับประกันสุขภาพอันไหนดี ถ้าหากคุณเป็นกังวลเกี่ยวกับภัยร้ายไม่ใกล้ไม่ไกลตัวอย่าง โรคมะเร็ง การเลือกรูปแบบของแผนประกันสุขภาพแบบไหน จะตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้ดีที่สุด

 

ประกันมะเร็งมีกี่แบบ เลือกคุ้มครองแบบไหนถึงจะเหมาะกับตัวคุณ ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่อาจทำให้คุณเป็นโรคนี้และรักษามะเร็ง ทีมีอะไรบ้างที่คุณต้องทำ มิสเตอร์ คุ้มค่า จะเล่าให้ฟัง

 

คุ้มครองโรคมะเร็ง เลือกประกันสุขภาพอันไหนดี

สำหรับรูปแบบของประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับโรคมะเร็ง นั้น แบ่งเป็นรูปแบบของการดูแล 2 รูปแบบหลักๆ ก็คือ แบบเมื่อตรวจเจอจ่ายเงินก้อน และ แบบค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่าย โดยคุณจะเลือกว่ารูปแบบของประกันสุขภาพอันไหนดี ที่จะเหมาะสมกับความต้องการของคุณมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความกังวลและความคุ้มครองที่คุณต้องการจะได้รับเป็นสำคัญ โดยความแตกต่างหลักๆ สำหรับทั้ง 2 รูปแบบก็คือ

 
  • แบบเจอ-จ่าย-จบ

    รับเงินก้อนทันทีเมื่อตรวจเจอมะเร็ง ส่วนใหญ่เป็นการจ่ายเงินก้อนเพียงแค่ครั้งเดียว แต่อาจจะมีบางบริษัทที่มีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลบางส่วนเพิ่มเติมให้ด้วย รวมทั้งอาจมีการจ่ายเงินชดเชยรายได้ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรรมธรรม์ สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้

  •  
  • แบบเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล

    กรณีที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล แผนความคุ้มครองรูปแบบนี้จะช่วยดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา ทั้งค่าคีโม ค่าฉายรังสี รวมถึงค่ารักษาพยาบาลรูปแบบอื่นๆ ซึ่งบางแห่งอาจคลอบคลุมถึงค่าห้องให้ด้วย หรือ เพิ่มวงเงินการดูแลเมื่อเข้า ICU รวมทั้งอาจมีการจ่ายชดเชยรายได้เมื่อต้องแอดมิดอยู่ที่โรงพยาบาลด้วย

 

เพราะปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งมีมากมาย

ปัจจุบันนี้อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง และเนื้องอกทุกชนิด เป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลงในที่สุด ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า ในปี พ.ศ.2560 โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยเฉลี่ยถึง 120.5 คน ในทุก ๆ 100,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากในอดีตเป็นอย่างมาก โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ได้แก่

 
  • 1. อายุ

    โดยอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากขึ้นได้

  •  
  • 2. บุหรี่

    พบว่ามีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งหลายชนิด ซึ่งที่พบบ่อยๆ จะได้แก่ การเกิดมะเร็งปอด, มะเร็งช่องปากและลำคอ, มะเร็งกล่องเสียง, มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หรือมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นต้น

  •  
  • 3. แสงแดด (แสงอัลตร้าไวโอเลต)

    ส่งผลโดยตรงให้เกิดมะเร็งผิวหนัง หากได้รับ UV ในปริมาณสูงเป็นเวลานาน

  •  
  • 4. รังสีในธรรมชาติ รังสีเอกซเรย์ รังสีนิวเคลียร์

    ซึ่งหากได้รับในปริมาณที่สูงเกิดกำหนด ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งในเม็ดเลือด (ลูคิเมีย), มะเร็งไทรอยด์, มะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด และ มะเร็งในกระเพาะอาหาร

  •  
  • 5. สารเคมีบางชนิด

    เช่น แอสเบโทส, เบนซิน, เบนซิดีน, แคดเมียน, นิกเกิล หรือไวนิลคลอไรด์ ถือเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง

  •  
  • 6. เชื่อไวรัสและแบคทีเรีย

    เช่น เอชพีวี ไวรัส, ไวรัสตับอักเสบบี และ ซี, ไวรัสเอสไอวี เป็นต้น อาจส่งผลทำให้เกิดโรงมะเร็งได้

  •  
  • 7. การรับฮอร์โมนเอสโตรเจน

    สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยบางราย

  •  
  • 8. ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง

    ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของสารพันธุกรรม(ยีน) แต่จากการวิจัยยืนยันว่ามะเร็งที่ถ่ายทอดทางครอบครัวนั้น พบได้เป็นส่วนน้อย

  •  
  • 9. แอลกอฮอล์

    มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งช่องปากและลำคอ, มะเร็งทางเดินอาหาร, มะเร็งกล่องเสียง, มะเร็งตับ และ มะเร็งเต้านม

  •  
  • 10. รูปแบบการดำเนินชีวิต

    อย่างเช่นการกินอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้, มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนผู้ที่มีปัญหาความอ้วนหรือออกกำลังกายน้อย จะเสี่ยงกับการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เพิ่มยิ่งขึ้น

  •  
 

อย่างไรก็ตามผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ใช่ว่าจะเป็นมะเร็งทุกคน และเช่นเดียวกันกับผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ก็อาจเป็นมะเร็งได้เหมือนกัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้โรคมะเร็งน่ากลัวกว่าโรคอื่นๆ เพราะว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่กับใครก็ได้

 
ประกันสุขภาพ อันไหนดีสำหรับมะเร็ง เหมาจ่ายหรือเจอจ่ายจบ
 

การรักษามะเร็งมีกี่วิธี? ต้องมีความต่อเนื่องกับค่าใช้ที่เตรียมพร้อม

 

นอกเหนือจากความเสี่ยงของปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่มีเพิ่มขึ้นในปัจจุบันนี้แล้ว ในส่วนของการรักษาโรคมะเร็ง ยังมีความซับซ้อนและจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาต่อเนื่องในการรักษาจนกว่าเซลล์มะเร็งจะหมดไป หรือไม่ลุกลามแล้ว โดยมีความเป็นไปได้ที่จะต้องใช้การรักษาควบคู่กันมากกว่าหนึ่งแบบ โดยแนวทางการรักษามะเร็งที่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่

 
  • การฉายแสง

    เป็นการฉายลำแสงพลังงานสูงจะทะลุผ่านผิวหนังเข้าไปยังก้อนมะเร็งและพื้นที่รอบ ๆ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งเฉพาะจุด รวมไปถึงการฝังแร่หรือกลืนแร่ เพื่อให้สารกัมมันตรังสีออกฤทธิ์ในจุดที่มีเซลล์มะเร็งอยู่

  •  
  • เคมีบำบัด

    หรือที่เรียกว่า Chemotherapy ซึ่งยาเคมีจะออกฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งหยุดเจริญเติบโตหรือแบ่งตัวได้ช้าลง เพื่อควบคุมไม่ให้ลุกลามไปยังบริเวณอื่น และทำให้เซลล์มะเร็งเล็กลงในที่สุด

  •  
  • การผ่าตัด

    ใช้เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่ออกจากร่างกาย เหมาะกับการรักษามะเร็งที่เป็นก้อนเนื้อที่มีขอบเขตชัดเจน

  •  
  • การใช้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง

    หรือที่เรียกว่าการรักษาแบบมุ่งเป้า เป็นการให้ยาแบบที่เฉพาะเจาะจงกับชนิดของเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด ทำให้เซลล์มะเร็งนั้นถูกทำหลายหรือหยุดเติบโตนั่นเอง

 

จะสังเกตได้ว่าการักษามะเร็ง นั้นมีขั้นตอนและกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลา ซึ่งแน่นอนว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษามะเร็ง จึงช่วยให้แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่คุณกำลังรักษาอยู่

 

ประกันสุขภาพอันไหนดี? ต้องเลือก“ที่ใช่” สำหรับคุณมากที่สุด

หากคุณเป็นกังวลว่ารูปแบบของประกันสุขภาพที่คุณเลือกมา จะไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล หรืออาจจะไม่ตอบโจทย์ความต้องการด้านความจำเป็นในการรักษา ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจกันเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับความคุ้มครองของประกันว่ามีการดูแลค่าใช้จ่ายแบบไหนบ้าง

 
  • IPD (In Patient Department) : ผู้ป่วยใน

    หมายถึง ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป หรือที่คุณได้ยินบ่อยๆว่าการแอดมิดนั่นเอง โดยการดูแลค่าใช้จ่ายของแผนประกันสุขภาพโรคมะเร็งนั้น ต้องดูว่าออกค่าห้องให้เท่าไหร่ ต้องอ่านรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเป็นค่าใช้จ่ายแบบต่อครั้งหรือต่อคืน

  •  
  • OPD (Out Patient Department) : ผู้ป่วยนอก

    หมายถึง ผู้ป่วยที่รับการรักษาที่คลินิกหรือโรงพยาบาล โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งแผนประกันคุ้มครองมะเร็งที่คุณเลือกนั้นจะดูแลเฉพาะค่ารักษา หรือ ค่าบริการทางการแพทย์ต่างๆ เมื่อคุณไม่จำเป็นต้องค้างเพื่อรักษาตัวที่โรงพยาบาล

 

ซึ่งแผนประกันสุขภาพในปัจจุบัน มักจะมีทางเลือกให้คุณซื้อประกันเสริมเพิ่มเติมจากส่วนของประกันหลักได้ แต่อย่างไรก็ตามควรเลือกพิจารณา ประกันสุขภาพ อันไหนดี ที่ประกันตัวหลักให้ความคุ้มครองในรูปแบบที่คุณต้องการ เพื่อที่คุณจะได้รับความคุ้มค่าจากประกันสุขภาพที่คุณเลือกซื้อมากที่สุดนั่นเอง

 

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่