ค่าดัชนีมวลกาย bmi คือค่าอะไร ? มีผลยังไงต่อสุขภาพ

แชร์ต่อ
ค่าดัชนีมวลกาย BMI คือค่าอะไร ? มีผลยังไงต่อสุขภาพ

เชื่อว่าสายรักสุขภาพคงคุ้นเคยกับคำว่า BMI มาบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่ไม่รู้ และเกิดความสงสัยว่า ค่า BMI คือค่าอะไร ? คำนวณยังไง ? และแบบไหน ? ถึงเรียกว่า “ดีต่อสุขภาพ” หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่หันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเอง และกำลังหาคำตอบในเรื่องนี้อยู่ MrKumka ได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ไปดูและทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันได้เลย !

เช็กสุขภาพต้องรู้ก่อน BMI คือค่าอะไร ?

ทำความรู้จักกับค่านี้กันหน่อยสำหรับ BMI ย่อมาจากคำว่า Body Mass Index คือเกณฑ์ในการหาดัชนี มวล กาย ซึ่งเป็นการวัดค่าความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัวและส่วนสูงของแต่ละบุคคล เรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานที่ช่วยให้การควบคุมน้ำหนักของผู้มีส่วนสูงในแต่ละระดับ ทำให้สามารถรักษาเกณฑ์น้ำหนักได้อย่างเหมาะสม แถมยังช่วยประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย แบ่งออกเป็น 6 ระดับดังนี้

  1. BMI น้อยกว่า 18.5 = ผมเกินไป (น้อยกว่าเกณฑ์)
  2. BMI 18.5-22.9 = ปกติ
  3. BMI 23-24.9 = น้ำหนักเกิน (มากกว่าเกณฑ์)
  4. BMI 25-29.9 = โรคอ้วนระดับที่ 1
  5. BMI มากกว่า 30 = โรคอ้วนระดับที่ 2
  6. BMI มากกว่า 40 = โรคอ้วนระดับที่ 3

การคำนวณค่า BMI ทำอย่างไร ?

สำหรับการคำนวณ ค่า ดัชนี มวล กายที่นิยมใช้กันทั่วโลก มีสูตรการคำนวณ คือ

ดัชนีมวลกาย (ฺBMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง

เช่น คุณมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 1.70 เมตร เมื่อคำนวณหาค่า BMI จะได้เท่ากับ 60 / (1.70)² = 22.22 หมายความว่าค่า BMI ของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วนและไม่ผอมเกินไปนั่นเอง

ช่วงน้ำหนักที่สุขภาพดี คืออะไร ?

ในส่วนของช่วงน้ำหนักที่สุขภาพดีของชาวไทย ที่หลาย ๆ คนสงสัยว่า “แบบไหนค่าคือ BMI ที่ดีต่อสุขภาพ” จริง ๆ แล้วเกณฑ์มาตรฐานจะอยู่ที่ BMI 18.5-24.9 ถือเป็นดัชนีมวลกายปกติ

ซึ่งจริง ๆ แล้วค่า BMI ดังกล่าวไม่ใช่เฉพาะกับคนไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคนเอเชียหรือคนเชื้อชาติอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่า ค่า BMI เป็นเกณฑ์ที่นิยมใช้กันทั่วโลก พูดง่าย ๆ ว่ามีความเป็นสากลอยู่แล้ว ไม่จำเป็นจะต้องหาของคนไทย คนเอเชีย หรือคนยุโรปให้มากความ ถือว่าเป็นการดูแลสุขภาพให้อยู่ในดัชนีมวลกายปกติ

จะเกิดอะไรขึ้น หากดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน !?

จะเกิดอะไรขึ้น หากดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน

อย่างที่บอกไปคร่าว ๆ แล้วว่าหากค่าเกินมาตรฐานจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคร้ายต่าง ๆ ในอนาคต แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีผลเสียอื่น ๆ อีกมากมาย และเราได้ลิสต์มาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย

  1. ผลเสียต่อรูปร่างสัดส่วน

    “ความอ้วน” มักมาพร้อมกับไขมันใต้ผิวหนังที่สะมอยู่ทั่วทั้งร่างกาย ดังนั้นหากค่าเกินมาตรฐาน นอกจากจะทำให้เป็นโรคอ้วนระดับต่าง ๆ แล้ว ยังทำให้ร่างกายมีขนาดใหญ่ขึ้น

  2. ผลเสียต่อสุขภาพจิต

    ค่าดัชนีมวลกายที่เกินมาตรฐาน นอกจากจะทำให้อ้วน ร่างกายมีขนาดใหญ่ขึ้นแล้ว ยังทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกขาดความมั่นใจได้อีกด้วย บางคนอาจเก็บตัว กลายเป็นคนมีโลกส่วนตัวสูง ไม่อยากออกไปพบเจอใคร เพราะไม่มั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้า กับบางคนอาจร้ายแรงจนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้เลย

  3. ผลเสียต่อสุขภาพภาย

    ‘ความอ้วน’ นำพามาซึ่งความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือด รวมถึงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แถมยังมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติมากถึง 2-10 เท่า ตลอดจนความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ เช่น ปวดหลัง ปวดขา หรือปวดข้อเข่า เนื่องจากร่างกายรับน้ำหนักมากขึ้นนั่นเอง

เห็นแล้วใช่มั้ยว่าการที่ค่าดัชนีมวลกาย มีค่าเกินมาตรฐานที่กำหนด จะส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจของคุณมากขนาดไหน หากคุณไม่อยากพบเจอกับผลเสียต่าง ๆ ที่อาจตามมา แนะนำให้หมั่นคำนวณ ค่า ดัชนี มวล กายอยู่เสมอ รวมถึงเรียนรู้วิธีคุมค่านั้นให้อยู่ในเกณฑ์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายลดน้ำหนัก, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์, พักผ่อนให้เพียงพอ กรณีที่โรคอ้วนเกิดจากสาเหตุของโรคบางชนิด หรือเกิดจากความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกาย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรึกษาเพิ่มเติมและหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณ์ มีผลเสียหรือไม่ ?

ในกรณีที่ ค่าดัชนีมวลกาย ต่ำกว่าเกณฑ์ แน่นอนว่ามีผลเสียด้วยเช่นกัน เพราะกลุ่มคนที่มีค่าดัชนีมวลกาย ต่ำกว่า 18.5 จะมีความเสี่ยงที่มีภาวะทุพโภชนาการ กระดูกพรุน โลหิตจาง ภูมิคุ้มกันต่ำ และมีบุตรยาก

หากต้องการตรวจเช็กว่าจริง ๆ แล้วคุณมีภาวะทุพโภชนาการหรือไม่ “ตรวจเลือด” สามารถยืนยันได้อย่างตรงจุดมากที่สุด หากคุณจัดอยู่ในกลุ่มคนประเภทนี้ อย่าได้คิดชะล่าใจเด็ดขาด แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และตรวจเช็กอย่างละเอียดก่อนที่จะเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา

หลายคนมักมีภาพจำว่า ค่า BMI เป็นศัพท์หรือเป็นเรื่องราวทางการแพทย์ จึงเผลอละเลยทั้ง ๆ ที่สามารถควบคุมได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง แถมยังสามารถคำนวณค่า BMI ด้วยตัวเองได้ตลอดเวลา หากคุณอยากมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง รวมถึงคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักให้อยู่หมัด แนะนำให้หันมาให้ความสนใจค่า BMI ให้มาก ๆ เพราะสุขภาพที่แข็งแรงเป็น “พื้นฐานสำคัญ” ที่ทำให้คุณใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่มีโรคใด ๆ มาทำให้คุณต้องปวดหัวเลยล่ะ

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่