สาว ๆ คนไหนที่กำลังประสบปัญหา “เส้นเลือดขอด” คงขาดความมั่นใจไม่น้อย เพราะทำให้เรียวขาไม่สวยงาม หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ เราจึงจะพาสาว ๆ ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันว่า เส้นเลือดขอดเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร เพื่อให้เรียวขากลับมาเรียบเนียนและสวยงามเหมือนเดิม เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาให้แล้ว ไปดูพร้อม ๆ กันได้เลย
ไขข้อสงสัย เส้นเลือดขอดเกิดจากอะไร ?
“เส้นเลือดขอด (Varicose Veins)” ภาวะหลอดเลือดดำบริเวณใกล้ชั้นผิวหนังขยายตัวผิดปกติ มีลักษณะเป็นเส้นคล้ายใยแมงมุม หรือเห็นเป็นเส้นเลือดขดปูดขึ้น สามารถพบเจอได้ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ที่ปรากฏบ่อยที่สุดคือ “เส้นเลือดขอดที่ขา” นอกจากจะทำให้เรียวขาไม่เรียบเนียนแล้ว ยังก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อย ไม่สบายตัว และในอนาคตอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอันร้ายแรงได้
เส้นเลือดขอด เกิดจาก สาเหตุอะไรได้บ้าง ?
จริง ๆ แล้วเส้นเลือดขอดที่ปรากฏตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณน่อง ล้วนเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกายและพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนี้
- การรักษาด้วยฮอร์โมน โดยเฉพาะยาคุมกำเนิด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเส้นเลือดขอดได้ ประกอบกับ “ฮอร์โมนเพศหญิง” ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ “ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย” เนื่องจากส่งผลต่อความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือดดำน้อยลงนั่นเอง
- แรงกดดันต่อเส้นเลือด อันเนื่องมาจากน้ำหนักเกิน
- การใส่รองเท้าส้นสูง ที่ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่ดี รวมถึงการนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ ทำให้เส้นเลือดบริเวณขาถูกกดทับ
- เมื่ออายุมากขึ้น “ลิ้นภายในหลอดเลือด” ที่ช่วยควบคุมการไหลเวียนของเลือดเริ่มเสื่อมสภาพ ทำให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าไปสะสมในเส้นเลือดส่วนปลาย จนกลายเป็นเส้นเลือดขอด
เส้นเลือดขอด อาการ เป็นยังไง ?
หลายคนอาจคิดว่า “เส้นเลือดขอด” คือการที่เส้นเลือดปูดบวมออกมาผิดปกติเท่านั้น ไม่ได้มีอาการหรือสร้างความเจ็บปวดใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจนำไปสู่ “มีแผลเส้นเลือดขอดเรื้อรัง” ซึ่งถือเป็นภาวะรุนแรง รักษาหายได้ยาก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
เส้นเลือดฝอยขดคล้ายเส้นใยแมงมุม (Spider Veins)
หากเส้นเลือดขอดบริเวณน่อง มีลักษณะคล้ายเส้นใยแมงมุม หมายถึง “เส้นเลือดขอดระยะเริ่มต้น” เกิดจากหลอดเลือดฝอยขด มักมีสีม่วงหรือสีแดง นอกจากนี้ยังมีโอกาสพบเจอได้ที่ใบหน้า ในขนาดที่แตกต่างกันออกไป
เส้นเลือดขอดลักษณะคล้ายเส้นเลือดโป่ง (Varicose Veins)
หากเส้นเลือดขอดบริเวณน่อง มีลักษณะคล้ายเส้นเลือดโป่ง หมายความว่า “ผนังเส้นเลือดเสียความยืดหยุ่น” เป็นเหตุให้เส้นเลือดปูดและขดเป็นหยัก มักเป็นสีเขียวหรือสีเขียวผสมม่วง มีขนาดประมาณ 1-3 มิลลิเมตร
เส้นเลือดขอดเป็นอันตรายหรือไม่ ?
หลายคนอาจพอจะ “จับทาง” ได้แล้วว่า เส้นเลือดขอดส่งผลต่อ “ประสิทธิภาพ” การไหลเวียนของเลือด หากปล่อยไว้โดยไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้เกิด “ภาวะแทรกซ้อน” ตามมา ดังนี้
มีเลือดออก
เส้นเลือดขอดอาจมีเลือดออกได้ หากบริเวณแผลหรือเส้นเลือดได้รับการกระทบ เมื่อใดก็ตามที่เลือดออกถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะอาจหยุดไหลได้ยาก
มีลิ่มเลือด
กรณีที่เส้นเลือดขอดเกิดลิ่มเลือดแถว ๆ หลอดเลือดที่อยู่ใกล้ผิวหนังมาก ๆ อาจนำไปสู่ “การอักเสบของผนังหลอดเลือดดำ” จนก่อให้เกิดอาการเจ็บ ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือรู้สึกร้อน
นอกจากนี้ยังก่อให้เกิด “ภาวะแทรกซ้อนอันตราย” ที่อาจพบได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก, ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด จึงเป็นเหตุผลที่ควรพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ หากปล่อยไว้นานจนกระทั่งสีผิวเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างเข้ารับการรักษาได้ ทำให้เกิดเป็นปัญหาโรคร้ายแรงได้
วิธีรักษาเส้นเลือดขอด ทำยังไง ?
ปัจจุบันการรักษาเส้นเลือดขอดมีทั้งหมด 8 วิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการวินิจฉัยของแพทย์ ดังนี้
รับประทานยาบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด
ยาที่ใช้ในการรักษาจะเป็นกลุ่ม Diosmin และ Hesperidin ช่วยลดอาการอักเสบของหลอดเลือดดำ ทำให้ลิ้นในหลอดเลือดเป็นปกติ
ใส่ถุงน่องทางการแพทย์สำหรับเส้นเลือดขอด
สามารถใส่ได้ทุกวัน ทั้งวัน ยกเว้นช่วงเข้านอน พร้อมกับยกปลายเท้าให้สูงขึ้นเวลานอน
รักษาด้วยเลเซอร์
เพื่อปิดหลอดเลือดดำขนาดเล็กและหลอดเลือดดำแมงมุม ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดขอดค่อย ๆ จางลง
ฉีดสารเคมี
เหมาะสำหรับเส้นเลือดขอดขนาดเล็กและขนาดกลาง วิธีนี้จะทำให้เกิดรอยแผลเป็น เนื่องจากเป็นการฉีดสารเคมีเข้าไปในเส้นเลือดขอด ซึ่งจะจางหายไปภายใน 2-3 สัปดาห์ การฉีดสารเคมีจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อฉีดมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป
ร้อยไหมเอ็นโดสโคปิดทรานสลูมิเนเตอร์
เป็น “แสงพิเศษ” ผ่านแผลใต้ผิวหนัง เพื่อให้แพทย์เห็นว่าต้องเอาเส้นเลือดส่วนใดออก จากนั้นจะ “ตัด” และเอาเส้นเลือดขอดนั้น ๆ ออกด้วยอุปกรณ์ดูดผ่านแผล ไม่ต้องกลัวว่าจะเจ็บ เพราะใช้ยาชาทั่วไปหรือยาชาเฉพาะที่ หลังเข้ารับการรักษาด้วยการร้อยไหมจะมีเลือดออกและฟกช้ำ
ผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
การรักษาด้วยวิธีนี้จะมีแผลเล็ก ๆ เหนือหรือใต้เข่า เป็นการร้อยท่อเล็ก ๆ เข้าไปในเส้นเลือด พร้อมกับปล่อยพลังคลื่นความถี่วิทยุเข้าไปในท่อ เหมาะสำหรับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่
ผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออก
เหมาะสำหรับเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่และยาวมาก แถมยังป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้อีกด้วย
ผ่าตัดส่องกล้อง
เป็นการผ่าตัดด้วย “กล้องวิดีโอขนาดเล็ก” ส่วนใหญ่ไม่ต้องพักฟื้น ผ่าตัดเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย แต่ถ้าหากผ่าตัดสองข้างพร้อมกัน อาจต้องนอนโรงพยาบาล 1 คืน
แม้ว่า “เส้นเลือดขอด” จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากมายนัก (กรณีเป็นไม่มาก หรือระยะเริ่มต้น) อาจมีเพียงความรู้สึกไม่สบายตัว ไม่มั่นใจ แต่ก็อย่าได้คิดชะล่าใจเด็ดขาด เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานจนเรื้อรัง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ ไม่ต้องรอให้เจ็บป่วยรุนแรง แค่ “กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน” แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องทันที