สำหรับคนที่สังเกตตัวเองแล้วพบว่าขา/เท้าบวม คงนึกสงสัยไปตาม ๆ กันว่า “ขาบวมได้อย่างไร” เมื่อนึกย้อนถึงพฤติกรรมในช่วงที่ผ่านมา กลับไม่มีแนวโน้มว่าจะทำให้ขาบวมได้เลย เราจึงจะพาคุณไปทำความเข้าใจ ขาบวมเกิดจากอะไรบ้าง เพราะในบางครั้งอาจเป็น “สัญญาณ” ความเสี่ยงของโรคร้ายก็เป็นได้ จะมีโรคร้ายแรงอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยกับ มิสเตอร์ คุ้มค่า
ขาบวมเกิดจากอะไรบ้าง และเป็น “สัญญาณ” ของโรคใด ?
อาการขาบวมหรือเท้าบวม คือ อาการขาบวมที่เกิดขึ้นตั้งแต่บริเวณเท้า ข้อเท้า และหน้าแข้ง ส่วนใหญ่มักมีอาการปวดข้างใดข้างหนึ่ง เว้นแต่บางกรณีก็อาจบวมพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง โดยมีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีโซเดียมเกินกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการ
- อยู่ในภาวะตั้งครรภ์
- ใช้เท้ายืนเป็นเวลานาน
- มีอาการบาดเจ็บที่เท้า
- ผลข้างเคียงจากการทานยา
- ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง
- น้ำหนักเยอะเกินไป
นอกจากทั้ง 7 สาเหตุข้างต้น จะทำให้เท้าของคุณบวมและเกิดอาการเจ็บปวดได้แล้ว ยังเป็นสัญญาณที่กำลังบอกถึง “โรคร้าย” ด้วยก็เป็นได้ มีโรคอะไรบ้างไปดูกัน
“ขาบวม เท้าบวม” สัญญาณเตือนโรคร้าย ที่คุณควรเฝ้าระวัง
อาการติดเชื้อ
การติดเชื้อที่กำลังพูดถึงมีชื่อว่า “เซลลูไลติส” ซึ่งเป็นการติดเชื้อในผิวหนังชั้นลึก รวมถึงเนื้อเยื่อไขมัน-เนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ด้านล่าง ส่งผลให้ขาหรือเท้าบวม ส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
โรคไต
ต้องอธิบายก่อนว่าหน้าที่หลักของไต คือควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย รวมถึงปรับระดับเกลือและแร่ธาตุต่าง ๆ ในเลือดให้มีความสมดุล กรณีที่ไตทำงานผิดปกติ ไม่สามารถฟอกเลือดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้บริเวณขา เท้า และมือบวม นอกจากนี้ยังมีภาวะปัสสาวะตอนกลางคืนค่อนข้างบ่อยร่วมด้วย
ภาวะหัวใจล้มเหลว
“ภาวะหัวใจล้มเหลว” นับเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้มากที่สุด เนื่องจากการที่คุณขาหรือเท้าบวม อาจเกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้คุณเกิดภาวะบวมน้ำ โดยส่วนใหญ่จะบวมบริเวณเท้าและข้อเท้า
ขา/เท้าบวม มีกี่แบบ อะไรบ้าง ?
สำหรับอาการขาและเท้าบวมในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ มีรายละเอียดดังนี้
1. บวมแบบกดแล้วบุ๋มค้าง
การบวมแบบกดแล้วบุ๋มค้าง มี 5 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่
- แพ้ยา หรือสารต่าง ๆ
- บวมน้ำ เนื่องจากร่างกายมีน้ำหนักมากเกินไป
- หลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน
- ผลข้างเคียงของยา
- ได้รับอุบัติเหตุหรือการติดเชื้อ
2. ได้รับอุบัติเหตุหรือการติดเชื้อ
วิธีการทดสอบ คือ ให้ใช้นิ้วกดบริเวณที่บวมประมาณ 5-10 วินาที เมื่อยกนิ้วออกบริเวณดังกล่าวไม่เป็นลักษณะบุ๋มค้าง แต่เป็นเนื้อแข็ง ๆ รวมถึงผิวหนังบริเวณดังกล่าวมีสีคล้ำและหนาขึ้น สาเหตุอาจเกิดจากการอุดตันของทางเดินน้ำเหลือง แนะนำให้พบแพทย์ เพราะอาจเป็นภาวะติดเชื้อได้
อาการบวมแบบไหน เสี่ยงเป็น “โรคมะเร็ง”
หนึ่งภัยเงียบที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ก็คือ “โรคมะเร็ง” ภัยร้ายที่คร่าชีวิตผู้ป่วยมานักต่อนัก และอาการขา/เท้าบวม ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่จะบวมตามหน้าท้อง แขน ขา และเท้า ปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่เป็น “สาเหตุ” ของอาการบวมมากมาย เช่น การผ่าตัด เคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด รังสีบำบัด สเตียรอยด์ และยาแก้ปวดบางชนิด
การเป็นโรคร้ายอย่างโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะมะเร็งประเภทไหน ระยะใด ล้วนสร้างภาระด้าน “ค่าใช้จ่าย” อย่างมหาศาลชนิดที่บางคนอาจคาดไม่ถึง