การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ปรับจริงแล้ววันนี้ ! สูงสุด 100,000 บาท ชายหาด 24 แห่ง แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงสำหรับโทษของสิงห์อมควันแต่ไม่ถูกที่ ในปี พ.ศ. 2565 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นรณรงค์ “บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม” ซึ่งถือเป็นปีแรกที่ประเด็นการรณรงค์เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยแผนควบคุมยาสูบ และการหันมาให้ความสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อม “ปลอดควันบุหรี่” ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญในการ “ขับเคลื่อน” การควบคุมและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ปรับ หนัก ปรับจริง!
แม้ว่าการควบคุมยาสูบจะมีความก้าวหน้า แต่อัตราการ สูบบุหรี่ ยังคงพุ่งสูง ผลสำรวจล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน หรือคิดเป็น 17.4% ของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยผู้ชายสูบมากกว่าผู้หญิงมากถึง 20 เท่า
อย่างไรก็ตามแม้ว่าอัตราการสูบบุหรี่จะสูงขึ้น แต่ตัวเลขดังกล่าวยังคงวิ่งไปสู่เป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2565-2570) เพื่อมุ่งมั่นที่จะลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Global NCDs Target) โดยกำหนดให้มีผู้สูบบุหรี่ไม่เกิน 15% ภายในปี 2568 และ 14% ภายในปี 2570
เงื่อนไข ประกาศ สถานที่ “ห้ามสูบบุหรี่” ล่าสุดมีที่ไหนบ้าง ?
สำหรับพื้นที่ “ห้ามสูบ” ทั้งภายในและนอก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2553 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบ โดยมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน โดยประกาศฉบับนี้เป็นการ “กำหนดสถานที่ห้ามสูบบุหรี่ 100% หรือห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด” ดังนี้
-
1. ห้ามสูบบุหรี่ทั้งในและนอกสถานที่สาธารณะที่ใช่ร่วมกันหรือสถานที่ราชการ
เช่น โรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่าง ๆ สถานศึกษา สนามกีฬา ศาสนสถาน ธนาคารและสถาบันการเงิน สถานที่สาธารณะทั่วไป อาทิ สถานที่ออกกำลังกาย ห้างสรรพสินค้า คอนโดมิเนียม ห้องเช่า หอพัก บริเวณโถงพักคอย และบริเวณทางเดินทั้งหมดภายในอาคารโรงแรม
-
2. ห้ามสูบบุหรี่โดยเฉพาะในอาคาร แต่สามารถจัดพื้นที่สูบไว้นอกอาคารได้
เช่น ปั๊มน้ำมันและปั๊มแก๊ส สถานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจ สถานที่ทำงานเอกชน มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับอุดมศึกษา สถานีขนส่งผู้โดยสารทางบกทุกประเภท และสถานีรถไฟ
-
3. สถานที่ที่อนุญาตให้สูบในอาคารได้
แต่จะต้องเป็นสถานที่จัดพื้นที่ไว้เป็นการเฉพาะ โดยปัจจุบันมีเพียงสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเท่านั้น
เห็นแล้วใช่ไหมว่าสถานที่ใดบ้างที่กฎหมายกำหนดเป็น “พื้นที่ห้ามสูบ” หากคุณฝ่าฝืนข้อกำหนดตรงนี้แล้วล่ะก็ นอกจากจะเสียเงินค่าปรับแล้ว ยังทำให้เสียสุขภาพอีกด้วย ซึ่งบอกเลยว่าค่าใช้จ่ายส่วนที่สองนั้น ทำเอาปาดเหงื่อกันเลยทีเดียว แต่ถ้าหากคุณไม่ต้องการแบกรับภาระค่าใช้จ่าย ในเรื่องของการเจ็บไข้ได้ป่วย นอกจากจะเลิกสูบบุหรี่แล้ว การเลือกซื้อประกันสุขภาพกับ MrKumka ก็ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เปรียบเทียบเบี้ยประกัน และเลือกกรมธรรม์ที่ถูกใจได้แล้ววันนี้ คลิกเลย !