4 สัญญาณเตือนที่บอกคุณให้ระวัง เพราะมันอาจเป็น อาการภูมิแพ้ฝุ่น pm 2.5

แชร์ต่อ
วิธีสังเกตอาการแพ้ฝุ่น pm2.5 | มิสเตอร์ คุ้มค่า

       กลับมาอีกแล้ว ! สำหรับ อาการแพ้ฝุ่น pm 2.5 ภัยคุกคามชาวกรุงเทพฯ ฝุ่นละอองตัวร้ายที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผม ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และยัง “ส่งผลกระทบ” ต่อระบบทางเดินหายใจ อาทิ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมโป่งพอง ที่สำคัญเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดอีกด้วย แล้วชาวแพ้ฝุ่น จะมีวิธีการรับมือกับ pm2.5 หรือมีวิธีสังเกตอาการอย่างไร ? มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมมาให้คุณหมดแล้ว !

 

“ฮัดชิ้ว !!” แบบนี้ใช่ อาการแพ้ฝุ่น pm2.5 หรือเปล่า ?

อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้

 
  • 1. ระยะสั้น

    ก่อให้เกิดการระคายเคือง ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ รวมถึงอาการภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ อาจทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อได้ง่าย บวกกับผิวหนังอักเสบและมีผื่นคันที่ผิวหนัง

     
  • 2. ระยะยาว

    ส่งผลให้ปอดทำงานแย่ลง เสี่ยงเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด รวมถึงผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร

     
 

ขั้นตอนการรักษาในผู้ที่มีอาการรุนแรง

ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษา ชื่อว่า Radio Frequency หรือ RF การรักษาด้วย “คลื่นความถี่วิทยุ” สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา หรือมีอาการคัดจมูกอันเกิดจากเยื่อบุจมูกส่วนล่างโต โดยมีกระบวนการรักษา ดังนี้

 
  • แพทย์จะใช้เข็มลักษณะพิเศษ ใส่เข้าไปในเยื่อบุโพรงจมูกของผู้ป่วย
  • จากนั้นคลื่นความถี่วิทยุจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
  • เยื่อบุโพรงจมูกจะสร้างพังผืดและหดตัว ส่งผลให้ช่องขนาดโพรงจมูกใหญ่ขึ้น
  • ผู้ป่วยสามารถหายใจได้โล่งและสะดวก
 
วิธีรับมือกับ PM2.5 | มิสเตอร์ คุ้มค่า
 

วิธีรับมือกับ PM2.5

อาการแพ้ฝุ่น ถือเป็นสิ่งที่กลุ่มคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ไม่ต้องการพบเจอ หรือต้องการหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ PM2.5 แพร่ระบาดอย่างหนัก ก็มีวิธีการรับมือง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

 
  • สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์หรือสวมหน้ากาก N95 เมื่อต้องออกไปข้างนอก
  • สวมแว่นกันแดด กันลม กันฝุ่น รวมถึงสวมเสื้อแขนยาว
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง
  • ลดเวลาอยู่นอกบ้าน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคปอด โรคไตเรื้อรัง และโรคภูมิแพ้
  • ควรใช้เครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้านหรืออาคารที่อยู่อาศัย
  • ติดตามรายงานสภาพอากาศและระดับ PM 2.5 อย่างสม่ำเสมอ
  *หมายเหตุ : ในกรณีที่พบว่าตัวเองหายใจไม่สะดวก มีน้ำมูกนานกว่า 1 สัปดาห์ หรือไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์ แนะนำให้รีบพบแพทย์ทันที  

โควิดยังต้องระวัง “เรื่องฝุ่น ๆ” PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมก็ยังมองข้ามไม่ได้ ส่งผลกระทบรุนแรงจนก่อให้เกิดโรคร้ายตามมามากมาย และเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับอาการแพ้ฝุ่น เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวัน ที่บีบบังคับให้คุณต้องออกไปข้างนอกตลอดเวลา ดังนั้นคุณจึงควรหมั่นสังเกตอาการ และป้องกันตัวเองให้ดี หากพบว่ามีอาการที่รุนแรงหรือมีทีท่าว่าจะเรื้อรัง แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรักษาตามขั้นตอนที่ถูกต้องต่อไป

 

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่