ออกกำลังกายหนักเกินไป ระวังเสี่ยงหัวใจล้มเหลว

แชร์ต่อ
ออกกำลังกายหักโหม เสี่ยงหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน อ่านเพิ่มเติมที่ มิสเตอร์ คุ้มค่า

       “ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน” คือภัยเงียบจากการ ออกกำลังกายหนัก ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ด้วยความที่การออกกำลังกายค่อนข้างได้รับความนิยมค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก วัยเรียน วัยทำงาน ไปจนถึงวัยสูงอายุ ต่างก็พากันออกกำลังกายมากขึ้น แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปอาจนำพามาซึ่งโรคร้ายที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

 

มิสเตอร์ คุ้มค่า จึงได้ทำการรวบรวม “สาระน่ารู้” ของภาวะดังกล่าวมาบอกต่อคุณ เพื่อ “ลดความเสี่ยง” ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวในตอนที่ออกกำลังกาย แต่จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไรไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย

 

ภาวะหัวใจล้มเหลว จากการ ออกกำลังกายหนัก คืออะไร ?

“ภาวะหัวใจล้มเหลว” คือความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ ที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือโรคของหลอดเลือด

 

นอกจากการออกกำลังกายที่หักโหม ที่หลายคนเข้าใจว่าเป็นการรักษาสุขภาพ อีกหนึ่งวิธี จะเป็นสาเหตุสำคัญที่นำพาภัยเงียบมาสู่ร่างกายแล้ว ยังมีโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุสำคัญด้วยเช่นกัน อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจรูมาติก และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โดยสามารถแบ่งสาเหตุตามช่วงอายุได้ดังนี้

 
  • อายุน้อยกว่า 35 ปี : ส่วนใหญ่จะเกิดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจ “หนา” ผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง
  • อายุมากกว่า 35 ปี : ส่วนใหญ่จะเกิดจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
 

**หมายเหตุ : แม้ว่าการออกกำลังกายจะช่วย “ลด” โอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดตีบได้ก็ตาม แต่เมื่อเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบแล้ว การออกกำลังกายอย่างหนักจะเป็นการ “เพิ่ม” โอกาสในการเกิดภาวะโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้

 

อาการที่บ่งบอกว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว ใกล้เข้ามาทุกที

อาการที่บ่งบอกว่าเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว | มิสเตอร์ คุ้มค่า
 

หากในขณะที่คุณกำลังออกกำลังกายอยู่ แล้วเกิดอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอาการควบคู่กัน แนะนำให้ “หยุด” ออกกำลังกายทันที บวกกับแจ้งให้คนใกล้ตัวทราบโดยด่วน และรอดูอาการประมาณ 10-20 นาที หากไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที ซึ่งอาการที่บ่งบอกว่า “เสี่ยง” จะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวมีดังนี้

 
  • จุกแน่นหรือแสบบริเวณลิ้นปี่
  • หายใจสั้น หอบ
  • แน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ
  • (อาจจะ) มีอาการเจ็บร้าวที่บริเวณต่าง ๆ เช่น คอ ไหล่ แขน และกราม
  • เหงื่อออกท่วมตัว
  • คลื่นไส้ หน้ามืด ใจสั่น
 

แนวทางการตรวจ “ความเสี่ยง” ภาวะหัวใจล้มเหลว

ใครจะไปคิดว่าการออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพ ให้ร่างกายแข็งแรงและยืนยาว จะนำพาภัยเงียบมาให้อย่างไม่ทันตั้งตัว หากคุณมีความเสี่ยงหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลว ก็ไม่ต้องกังวลใจมากจนเกินไป เพราะปัจจุบันมีแนวทางการตรวจหลากหลายรูปแบบ และเราก็ได้รวบรวมมาให้คุณแล้ว ดังนี้

 

1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography : EKG)

คือการตรวจจับ “กระแสไฟฟ้า” ที่ออกมาจากหัวใจ หรือตรวจ “ความสมบูรณ์” ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งวิธีการนี้ยังช่วยวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อหัวใจได้อีกด้วย เช่น สภาวะหัวใจทำงานล้มเหลว โรคหัวใจ สภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงหาสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกได้อีกด้วย

 

สำหรับขั้นตอนในการตรวจด้วยวิธีการนี้ แพทย์จะทำการวัดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ ผ่านทางสื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่วางไว้บนจุดต่าง ๆ ของร่างกาย จำนวน 6 จุด ได้แก่ หน้าอก แขน และขา โดยจะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 นาที

 

**หมายเหตุ : แนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังก่อนเข้ารับการตรวจ เนื่องจากอาจจะส่งผลต่อ “ผลตรวจ” ที่ออกมาได้ และในขณะที่เข้ารับการรักษาจะต้องทำตัวให้ผ่อนคลาย และอยู่นิ่งให้ได้มากที่สุด

 

2. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST)

หรือที่ทางการแพทย์นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน” อธิบายง่าย ๆ ว่าเป็นการตรวจ “คลื่นไฟฟ้าหัวใจ” ขณะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพานหรือปั่นจักรยาน ซึ่งถือเป็นวิธีที่นิยมนำมาใช้ในกรณีที่หาความผิดปกติไม่พบในขณะพัก หรือไม่ได้อยู่ในช่วงที่ออกกำลังกายอย่างหนัก บางรายอาจเกิดอาการเจ็บ จุกแน่นหน้าอกในขณะที่ทำการตรวจสอบได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว

 

สำหรับขั้นตอนในการตรวจด้วยวิธีการนี้ แพทย์จะให้คนผู้ป่วย/ผู้ที่มีความเสี่ยงเริ่มเดินช้า ๆ บนสายพาน และค่อย ๆ เร่งความเร็วขึ้น โดยจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้แพทย์ตรวจพบการตอบสนองที่ “ผิดปกติ” ได้ เช่น อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาการหายใจลำบาก หรือการเต้นของหัวใจผิดปกติ เป็นต้น

 

การออกกำลังกายแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ แต่ถ้ามากไปใช่ว่าจะดี ดังนั้นหากคุณต้องการรักษาสุขภาพ ด้วยวิธีนี้ ควรจะออกกำลังกายภายใต้ความปลอดภัยของร่างกาย ประกอบร่วมกับการตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการตรวจเช็กสุขภาพหัวใจ ที่คุณไม่ควรละเลย

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่