“โรคตับ” เป็นโรคที่เกิดจากการที่ “ตับได้รับบาดเจ็บ” ปัจจุบันมีประเภทค่อนข้างหลากหลาย แถม อาการโรคตับ เริ่มแรก ยังแตกต่างกันออกไป เพื่อป้องกัน “ความเสี่ยง” ที่อาจเกิดขึ้น มิสเตอร์ คุ้มค่า จะพาคุณไปทำความรู้จักประเภท อาการ และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับบอกต่อ “ความคุ้มครอง” ของประกันภัย จะมีอะไรน่าสนใจและเป็นประโยชน์ ? ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กับเราได้เลย
ชี้ชัด ! แบบนี้แหละที่เรียกว่า อาการโรคตับ เริ่มแรก
โรคตับนับเป็นโรคร้ายโรคนึงที่อันตรายมาก หากคุณอยากสังเกตอาการของตัวเอง ว่าจริง ๆ แล้วมี “ภาวะเสี่ยง” จะเป็นโรคตับหรือไม่ แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน เราได้ลิสต์ “ประเภท และอาการ” มาให้คุณเช็กเรียบร้อยแล้ว ไปเช็กกันเลย
โรคตับแข็ง
“โรคตับแข็ง” เกิดจาก “ภาวะอักเสบเรื้อรัง” จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง, โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือไขมันคั่งในตับ จนทำให้เกิด “การก่อตัวของเนื้อเยื่อพังผืดส่วนเกินในตับ” เป็นเหตุให้ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ยิ่งระยะท้าย ๆ ยิ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต แถมยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น “มะเร็งตับ” อีกด้วย
อาการของโรคตับแข็ง
ความอันตรายของโรคนี้ก็คือ “ไม่แสดงอาการใด ๆ เลย” จนกว่าตับจะเสียหายขั้นรุนแรง เมื่อถึงตอนนั้นร่างกายจะมีความผิดปกติ หรือเกิดอาการดังต่อไปนี้
- รู้สึกอ่อนเพลีย
- เบื่ออาการ
- คลื่นไส้
- เลือดออกง่าย หรือเป็นจ้ำเลือดง่าย
- ขา เท้า หรือข้อเท้าบวม
- อาการคันบริเวณผิวหนัง
- มีน้ำสะสมในช่องท้อง ทำให้ท้องโต
- เกิดเส้นเลือดฝอยลักษณะคล้ายใยแมงมุมบริเวณหน้าอก และแผ่นหลัง
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- รู้สึกสับสน ซึม หรือพูดไม่ชัด
- ฝ่ามือแดงและเข้มขึ้น
ตับอักเสบ
“ตับอักเสบ” สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ “ติดเชื้อไวรัส” นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบยังมีหลายประเภท เราได้รวบรวมมาให้คุณเรียบร้อยแล้ว จะมีประเภทไหนบ้าง และมีสาเหตุมาจากอะไร ไปดูกัน
ไวรัสตับอักเสบ เอ
มักมีอาการอ่อนเพลีย ตาเหลือง ตัวเหลือง มีไข้ และส่วนใหญ่มักติดจาก “การกินอาหารที่ปนเปื้อน”
ไวรัสตับอักเสบ บี
ไวรับตับอักเสบ บี มักมีอาการเรื้อรัง ในบางครั้ง บางคนไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาเลย ส่วนใหญ่ติดจากการมีเพศสัมพันธ์ การสัก การให้เลือด ฯลฯ หากมีการคัดกรองแล้วรู้ว่า “ใครเป็นพาหะ” มีข้อบ่งชี้ในการกินยาต้านไวรัสตับอักเสบบี ก็จะช่วย “ลดความเสี่ยง” ไม่ให้เกิดตับแข็งและมะเร็งตับได้
ไวรัสตับอักเสบ ซี
ลักษณะอาการคล้ายกับไวรัสตับอักเสบ บี รวมถึง “การติดต่อ” ด้วยเช่นกัน โดยที่ในปัจจุบันมียารักษาใหม่ ๆ ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แถมยังช่วยลด “ผลแทรกซ้อน” ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ ตับแข็ง เป็นต้น
ไวรัสตับอักเสบ อี
มีลักษณะอาการและสาเหตุคล้ายกับไวรัสตับอักเสบ เอ ส่วนใหญ่มักพบในประเทศที่สุขอนามัยไม่ด
ตับไขมัน
“ตับไขมัน” หรือภาวะไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่กินไปใช้ได้หมด ส่งผลให้เกิด “การสะสม” เป็นไขมันในรูปไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ กรณีที่ปล่อยปละละเลยเพราะไม่ได้ไปตรวจสุขภาพเลย อาจทำให้กลายเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ ส่วนมากจะพบในอายุ 40-50 ปี ขึ้นอยู่กับ “ประสิทธิภาพการเผาผลาญ” ของแต่ละคน
สาเหตุหลัก ๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ จากการดื่มแอลกอฮอล์ และจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น รับประทานอาการที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ, เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือด, ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด, ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 เป็นต้น
อาการของโรคตับไขมัน
โรคตับไขมันจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้ป่วยหลายคนไม่ค่อยรู้ตัว และรู้ตัวอีกทีในตอนที่ตับบวมจนเกินอาการอักเสบ โดยหลัก ๆ แล้วจะมีลักษณะอาการดังนี้
- เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- มึนงง การตัดสินใจและสมาธิลดลง
- รู้สึกไม่สบายท้อง คลื่นไส้
- น้ำหนักลดผิดปกติ ประกอบกับความอยากอาหารลดลง
อุ่นใจได้มากกว่า ด้วย “ประกันโรคร้ายแรง”
“ประกันโรคร้ายแรง” ให้ความคุ้มครองกรณี “เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง” อันตรายถึงชีวิต และส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เช่น โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับสมอง หัวใจ อวัยวะสำคัญต่าง ๆ สามารถนำ “เงินก้อน” ไปใช้จ่ายสำหรับรักษาตัว หรือใช้จ่ายค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างเข้ารับการรักษา
ใครบ้างที่เหมาะกับประกันโรคร้ายแรง ?
หลายคนอาจยังไม่ค่อยเห็น “ความสำคัญ” ของการมีประกันโรคร้ายแรง แถมบางคนยังมองว่าตัวเองใช้ชีวิตดีอยู่แล้ว ไม่มีทางเป็นโรคร้ายได้หรอก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่สามารถมีใครล่วงรู้ได้เลยว่าจะมีโอกาสเป็นโรคร้ายหรือไม่ การมีประกันภัยที่ให้ความคุ้มครอง จึงถือว่าช่วยเพิ่มความอุ่นใจได้ดีกว่า แล้วใครกันที่เหมาะกับประกันรูปแบบนี้ ไปดูกันเลย
คนวัยทำงาน
คนวัยทำงานเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิต มลภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้ “เสี่ยง” ต่อการเป็นโรคร้ายแรงมากที่สุด ดังนั้นการทำประกันโรคร้ายแรงตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจได้มากกว่า แถมยังได้เบี้ยประกันที่ “ถูกกว่า” เมื่อเทียบกับการทำประกันในตอนที่อายุมากอีกด้วย
คนที่ต้องการเก็บเอาสำรองฉุกเฉินเอาไว้
ต้องบอกก่อนว่า “โรคร้ายแรง” ไม่ว่าจะเกี่ยวกับสมอง หัวใจ หรืออวัยวะสำคัญต่าง ๆ ล้วนมีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง แถมยังต้องรักษาต่อเนื่อง จนอาจทำให้เงินเก็บที่มีละลายหายไปกับค่ารักษาภายในชั่วพริบตา คงจะดีไม่ใช่น้อย หากมี “ประกันโรคร้ายแรง” ที่ซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้คุณ ไม่ต้องหมดเงิน (เก็บ) ไปกับค่ารักษา รวมถึงไม่ต้องกังวลเรื่อง “รายได้ที่หดหาย” เนื่องจากต้องหยุดงานเพื่อรักษาตัว
คนที่มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว
กรณีที่เป็นข้าราชการ พนักงานบริษัท ที่มี “ประกันสุขภาพ” จากบริษัทหรือต้นสังกัดอยู่แล้ว ทำให้หลายคนคิดว่า “เพียงพอและครอบคลุม” ไม่ต้องซื้อประกันโรคร้ายแรงเพิ่ม แต่ในความเป็นจริงนั้น “ไม่เพียงพอต่อการรักษาโรคร้ายแรง” เลยสักนิด ดังนั้นการตัดสินใจทำประกันโรคร้ายแรงเสริมไว้ด้วย จะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มครองได้หลากหลายยิ่งขึ้น
“ตับ” เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญ ยิ่งถ้าหากมีอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติ อาจนำไปสู่ “โรคร้ายแรง” ต่าง ๆ ได้มากมาย ดังนั้นควรตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่น ๆ พร้อมกับซื้อประกันโรคร้ายแรงที่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมเอาไว้ด้วย เพื่อให้คุณเข้ารับการรักษาได้อย่างสบายใจ อุ่นใจ ไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมากจนเกินไปนัก