สงสัยใช่ไหมล่ะว่าเมื่อต้องยื่นภาษีประจำปี ประกันสุขภาพลดหย่อนได้เท่าไหร่ ? หรือประกันแบบไหนสามารถลดหย่อนภาษีได้บ้าง ? หากคุณกำลังสงสัยอยู่ล่ะก็ บอกเลยว่า “คุณมาถูกทางแล้ว” เพราะ MrKumka ได้รวบรวมสิทธิในการลดหย่อนภาษีมาบอกต่อคุณแล้ว มาดูกันว่าสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขต่าง ๆ ในการลดหย่อนภาษี จาก “เบี้ยประกันสุขภาพ” จะมีอะไรกันบ้าง ?
ทำ ประกันสุขภาพลดหย่อนได้เท่าไหร่ ?
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทางรัฐบาลจึงได้ออก “มาตรการดูแล” เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน ด้วยการ “ปรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี” ของเบี้ยประกันสุขภาพ ดังนี้
1. ประกันสุขภาพตัวเอง
“ประกันสุขภาพตัวเอง” จะให้ความคุ้มครองสุขภาพ ในกรณีที่เจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ รวมถึงอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด และประกันสุขภาพตนเองที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ก็มีดังนี้
- ประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ที่เกี่ยวเนื่องจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ
- ประกันอุบัติเหตุ “เฉพาะ” กรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
- ประกันโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
- ประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long-Term Care)
ประกันสุขภาพตัวเองจะใช้ลดหย่อนภาษี ได้ “ไม่เกิน” 25,000 บาทต่อปี จากแต่ก่อนที่ลดหย่อนได้เพียง 15,000 บาทต่อปี ในส่วนของ “ประกันโควิด” ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังรวมถึงประกันสุขภาพประเภท UDR (Unit Deducting Rider) ที่พ่วงกับประกันชีวิตแบบ Unit Linked ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน แต่จะเป็นในส่วนของ “ค่าธรรมเนียม” เพื่อความคุ้มครองสุขภาพเท่านั้น หากรวมเบี้ยประกันสุขภาพเข้ากับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และเงินฝากแบบมีประกัน จะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
เงื่อนไขการนำประกันสุขภาพตัวเองมาลดหย่อนภาษีต้องซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยในประเทศไทยเท่านั้น
2. ประกันสุขภาพพ่อแม่ ลดหย่อนภาษี
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ “ประกันสุขภาพพ่อแม่” สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี หากเป็นการแบ่งจ่ายกับพี่น้องของตัวเอง จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุดตามจำนวนยอดเงินหารเฉลี่ย จากจำนวนพี่น้องที่ร่วมจ่าย เช่น จ่ายค่าเบี้ยประกัน จำนวน 15,000 บาท ร่วมกันจ่ายทั้งหมด 3 คน ลดหย่อนภาษี ต่อคนสูงสุด “ไม่เกิน” 5,000 บาท เป็นต้น หากคู่สมรสไม่มีรายได้ เบี้ยประกันสุขภาพของ “พ่อแม่คู่สมรส” ก็สามารถนำไปใช้ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปีได้เช่นกัน
เงื่อนไขการนำ ประกันสุขภาพพ่อแม่ ไปลดหย่อนภาษี- ประเภทเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ จะเหมือนกับประกันสุขภาพตัวเอง
- ตัวคุณ/คู่สมรสจะต้องเป็นลูกแท้ ๆ ตามกฎหมาย (ไม่นับรวมลูกบุญธรรม)
- พ่อแม่ต้องมีรายได้ต่อปี “ไม่เกิน” 30,000 บาท
- ตัวคุณ พ่อแม่ หรือคนใดคนหนึ่งจะอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีนั้น ๆ
ประกันชีวิตแบบ Unit Linked คืออะไร ?
จากที่พูดถึงประกันชีวิตแบบ Unit Linked ไปในข้อที่แล้ว หลายคนก็อาจจะสงสัยว่าคืออะไร ? ซึ่งเราก็ได้รวบรวม “ส่วนประกอบ” ของเบี้ยประกันประเภทนี้มาให้คุณ ดังนี้
- ค่าการจ่ายประกัน
เป็นการชำระเพื่อ “ซื้อความคุ้มครองชีวิต” เหมือนกับการซื้อประกันชีวิตทั่วไป และยังสามารถเลือกความคุ้มครองได้ตามต้องการอีกด้วย
- ค่าใช้จ่ายหลักอื่น ๆ ของกรมธรรม์
อาทิ ค่าดำเนินการ ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ เป็นต้น
- ส่วนของการลงทุน
หรือ “เบี้ยส่วนที่เหลือ” จากการหักค่าใช้จ่ายข้างต้น เพื่อใช้สำหรับจัดสรรลงทุนในหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม ตามสัดส่วนที่คุณต้องการ
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ “ประกันชีวิตแบบ Unit Linked”
ประกันชีวิตแบบ Unit Linked สามารถนำมา ลดหย่อนภาษี ได้เฉพาะส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ที่มีระยะความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปเท่านั้น หากนำมารวมกับประกันชีวิตทั่วไป จะสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
ใช้ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ต้องแจ้งบริษัทประกันภัยด้วยหรือไม่ ?
ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนให้ความสนใจเวลายื่นภาษี ในส่วนของการนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษี จะต้องแจ้งบริษัทประกันภัยด้วยหรือไม่ ? แน่นอนว่า “ต้องแจ้ง” เสมอ เพราะตั้งปี พ.ศ.2561 เป็นต้นไป คุณจะต้องทำการกรอก “แบบฟอร์มแจ้งความประสงค์” ในเว็บไซต์บริษัทประกันภัยที่คุณซื้อกรมธรรม์ เพื่อเป็นการ “ยินยอม” ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลของคุณต่อกรมสรรพากร
ซึ่งระยะเวลาในการส่งแบบฟอร์มสามารถส่งได้ถึงสิ้นปีของปีที่ต้องการลดหย่อนภาษี โดยบริษัทประกันภัยมีหน้าที่นำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร ภายในวันที่ 7 มกราคม ของทุกปี เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดหรือเสียสิทธิประโยชน์ แนะนำให้ส่งแบบฟอร์มให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม
**หมายเหตุ : สิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นเพียง “ผลประโยชน์เพิ่มเติม” ในตอนซื้อ ทางที่ดีที่สุดแนะนำให้ดูในส่วนของความคุ้มครองเป็นหลักจะดีกว่า แต่ถ้าหากคุณต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อความแน่ใจแนะนำให้ตรวจสอบ “รายละเอียดและเงื่อนไข” กับบริษัทประกันภัยก่อนตัดสินใจซื้อ
เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้หลายคนก็คงจะเกิดคำถามตามมาว่า ควรทำประกันสุขภาพแบบไหนดี ที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่มีได้มากที่สุด MrKumka เข้าใจในส่วนนี้ดี จึงได้เป็นตัวกลางในการรวบรวมกรมธรรม์จากบริษัทประกันชั้นนำมากมาย มาให้คุณเปรียบเทียบประกันสุขภาพ หรือ ประกันมะเร็ง ที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้คุณได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยลดหย่อนภาษีได้แบบเต็มแม็กซ์ แถมยังมีเงื่อนไขที่ง่าย ไม่ซับซ้อน บวกกับดูแลค่ารักษาพยาบาลอย่างครอบคลุม รู้แบบนี้แล้วก็เปรียบเทียบประกันเลย ! ที่เว็บไซต์ MrKumka.com