การทำประกันสุขภาพ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ตอบโจทย์คนยุคนี้ได้ค่อนข้างมาก เพราะนอกจาก ประกันสุขภาพ จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายแล้ว ยังช่วยเพิ่มทางเลือกในการรับการรักษาให้กับคุณอีกด้วย ด้วยแต่ละบริษัทก็มีความคุ้มครองโรคที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้หลายคนสงสัยว่า หากเป็นมะเร็งแล้วรักษาจนหายแล้ว จะยังสามารถทำประกันสุขภาพได้หรือไม่ ? มิสเตอร์ คุ้มค่า จะพาคุณไปดูคำตอบพร้อม ๆ กัน
ข้อควรรู้ก่อน ทำประกันสุขภาพ กับโรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง
ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจการทำ ประกันมะเร็ง หรือไขข้อสงสัยว่าหายจากมะเร็งแล้ว จะสามารถทำประกันสุขภาพได้หรือไม่ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคไหนบ้างที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง
- โรคเรื้อรังที่ตรวจพบก่อนทำประกันภัยสุขภาพ
- โรคที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ หรือการแท้งลูก
- โรคทางพันธุกรรม หรือโรคประจำตัวแต่กำเนิด
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ หรือกามโรค
- โรคทางจิตเวชหรือโรคทางจิตใจ รวมถึงอาการผิดปกติของบุคลิกภาพ เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า หรือโรควิตกจริต
นอกจากนี้ก็ยังมีโรคอื่น ๆ ที่บริษัทประกันภัยสุขภาพไม่คุ้มครองอีกมากมาย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขกรมธรรม์ของแต่ละบริษัทเป็นสำคัญ หรือบางบริษัทก็อาจจะเพิ่มความคุ้มครองโรคต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ ฉะนั้นควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโรคที่เป็นข้อยกเว้นให้ถี่ถ้วนก่อน
เป็นมะเร็ง /หายจากมะเร็งแล้ว ทำประกันสุขภาพได้หรือไม่ ?
อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้แล้วว่า ประกันสุขภาพจะไม่ให้ความคุ้มครองโรคประจำตัว โรคเรื้อรังหรือโรคร้ายแรงที่ตรวจพบก่อนทำประกัน ดังนั้นหากผู้ป่วยมะเร็งทั้งก่อนทำประกันก็ดีหรือหลังทำประกันก็ดี จะแบ่งการตอบคำถามนี้ออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
เป็นมะเร็งก่อนทำประกันภัยสุขภาพ
หากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งก่อนตัดสินใจทำประกันภัยสุขภาพ หรือ ประกันมะเร็ง จะไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้ ยกเว้นผู้ทำประกันได้ทำการแจ้งอาการเจ็บป่วยดังกล่าว ตั้งแต่ตอนทำประกัน บวกกับบริษัทให้ความยินยอมที่จะคุ้มครองโรคดังกล่าว ในกรณีที่ “รักษามะเร็งหายแล้ว” จะต้องหายขาดมาไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนตัดสินใจซื้อประกัน หรือโรคไม่แสดงอาการภายใน 3 ปี หลังตัดสินใจซื้อประกัน
เป็นมะเร็งหลังทำประกันสุขภาพ
หากตรวจพบเจอโรคมะเร็ง หลังจากครบกำหนด “ระยะเวลารอคอย” ตามเงื่อนไขแล้ว ก็จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ที่ซื้อไว้ แม้ว่าจะมารู้ภายหลังจากที่ทำประกันก็ตาม
ผลสรุปว่าหากคุณเป็นมะเร็งและรักษาหายขาดแล้ว เป็นเวลา 5 ปี หรือโรคมะเร็งจะไม่แสดงอาการภายใน 3 ปี หลังซื้อประกัน (ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ของแต่ละบริษัท) ก็จะสามารถทำประกันภัยสุขภาพได้ เมื่อรู้แบบนี้แล้วก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพทุกครั้ง แนะนำให้ศึกษารายละเอียดกรมธรรม์ เงื่อนไขการเอาประกันให้ดีก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เสียสิทธิประโยชน์ไปอย่างน่าเสียดาย
ประกันภัยสุขภาพ เริ่มให้ความคุ้มครองตั้งแต่ตอนไหน ?
แน่นอนว่าข้อกำหนดของแต่ละบริษัทจะมีความแตกต่างกันออกไป บางบริษัทอาจกำหนดไว้ว่าผู้ทำประกันจะต้องมีสุขภาพแข็งแรง ด้วยการให้ตรวจสุขภาพหรือตอบคำถามสุขภาพให้เรียบร้อยก่อน ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ทำประกันเอง รวมถึงสมาชิกในครอบครัวด้วย หรือบางบริษัทก็อาจจะกำหนด “ระยะเวลารอคอย” แทนการตรวจสุขภาพ
ระยะเวลารอคอย คืออะไร ?
หลายต่อหลายครั้งที่คุณมักจะสะดุดตากับคำว่า “ระยะเวลารอคอย (Waiting Period)” ในการทำประกันภัยสุขภาพ ซึ่งระยะเวลารอคอยก็คือ “ระยะเวลาที่ผู้ทำประกันยังเคลมประกันไม่ได้” เนื่องจากยังไม่ถึงระยะเวลาที่ประกันภัยจะให้ความคุ้มครอง โดยบริษัทจะเริ่มนับระยะเวลารอคอยตั้งแต่วันที่บริษัทเริ่มคุ้มครอง หรือวันที่กรมธรรม์ได้รับการอนุมัติ/มีผลบังคับ โดยจะมีตั้งแต่ 30, 60, 90 ไปจนถึง 120 วัน ซึ่งในส่วนนี้จะแตกต่างกันตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท
เหตุผลที่ต้องมีระยะเวลารอคอย ?
การกำหนดระยะเวลารอคอย ก็ถือเป็นการป้องกันความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย ในกรณีที่ผู้ทำประกันทราบดีอยู่แล้วว่าตัวเองป่วยแต่ไม่ยอมรักษาตัว และตัดสินใจมาทำประกันเพื่อนำเงินจากกรมธรรม์ไปรักษา ซึ่งสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับบริษัทค่อนข้างมาก และถ้าหากบริษัทไม่กำหนดระยะเวลารอคอย ผู้เอาประกัน “บางส่วน” อาจใช้ช่องทาง รอให้ป่วยก่อนแล้วค่อยมาซื้อประกันภัยสุขภาพซึ่งความเป็นจริงแล้วทำไม่ได้ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วบริษัทประกันจะไม่ตรวจสอบตั้งแต่แรก แต่จะไปตรวจสอบอีกครั้งในตอนที่เคลมประกัน เป็นต้น
แต่ถ้าหากครบระยะเวลารอคอยตามที่บริษัทประกันภัยต่าง ๆ ได้กำหนดไว้ ผู้ทำประกันสามารถที่จะถือกรมธรรม์ต่อได้ยาว ๆ และถ้าหากในอนาคตเกิดป่วยขึ้นมา ก็สามารถเข้ารับการรักษาและรับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัยได้ทันที โดยที่ไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา (กรณีที่ซื้อประกันแบบเจอ จ่าย จบ) หรือค่าใช้จ่ายในระหว่างที่พักรักษาตัว (กรณีที่ซื้อประกันแบบคุ้มครองค่ารักษา) แต่อย่างใด
แน่นอนว่าการเป็นมะเร็งหรือโรคร้ายแรง มักไม่มีใครอยากให้เกิดกับตัวเองทั้งนั้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะสามารถควบคุมได้ เพราะด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรงได้ตลอดเวลา สิ่งที่เราอยากแนะนำคือการดูแลสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้คุณก็จะสามารถป้องกันโรคร้ายแรงหรือโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้แล้ว ด้วยความเป็นห่วงจาก มิสเตอร์ คุ้มค่า